ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: กันยายน 30, 2010, 09:30:55 pm »

 :13: อนุโมทนาครับพี่มด^^
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: กันยายน 30, 2010, 03:58:21 pm »


หัวใจของคนหนุ่มสาว



โดย ชลนภา อนุกูล
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 3 กันยายน 2553

ยง - เด็กหนุ่มชาวไทยเชื้อสายจีน พ่อชื่อหลี แม่ชื่อเฮียะ ถือกำเนิดในสมัยรัชกาลที่ ๕ มีโอกาสเข้าโรงเรียนอัสสัมชัญซึ่งมีการเรียนการสอนแบบใหม่ แต่ก็ไม่มีโอกาสเรียนจนจบมัธยมปลาย เพราะหลังจากขึ้นชั้น ม. ๕ ได้ไม่นานก็ต้องลาออกเพื่อทำงานหารายได้มาเลี้ยงครอบครัว ทำงานที่โรงแรมโอเรียนเต็ลกับฝรั่งไปได้หน่อยหนึ่ง ก็ไปสมัครเป็นเสมียนในกรมศุลกากรเพื่อเลี่ยงการเกณฑ์ทหาร รับราชการจนได้ยศช้างขุนนางพระตั้งแต่ขุน หลวง พระ จนเป็นพระยาอนุมานราชธน เมื่ออายุได้ ๓๗ ปี

นายยงได้เรียนหนังสือน้อย แต่หมั่นศึกษาหาความรู้จากครูบาอาจารย์ทั้งไทยและเทศ กระทั่งสามารถแปลหนังสือภาษาอังกฤษอย่าง หิโตปเทศ กามนิต ฯลฯ อันเป็นต้นแบบหนังสือแปลงดงามคลาสสิกมาจนถึงปัจจุบัน มีบทบาทสำคัญในราชบัณฑิตยสถานในการจัดทำพจนานุกรมและสารานุกรมในยุคแรกเริ่ม เป็นอธิบดีกรมศิลปากรที่ให้ความสนับสนุนเป็นอย่างดีต่องานของพระเจนดุริยางค์และอาจารย์ศิลป์ พีระศรี เป็นอธิการบดีคนแรกของมหาวิทยาลัยศิลปากร ผลิตงานเขียนทางด้านไทยคดีศึกษาอันทรงคุณค่าอย่างชุดประเพณีไทย และเรื่องความรู้ต่างๆ ถือว่าเป็นโปรเฟสเซอร์ด้านไทยคดีศึกษาที่ไม่จบมัธยมปลายคนแรกของประเทศไทยที่แม้กระทั่งฝรั่งมังค่าก็ยังให้การยอมรับ

ปรีดี - ลูกชายชาวนา หลังจากจบมัธยมปลายก็ไปช่วยที่บ้านทำนาอยู่หนึ่งปี ก่อนกลับเข้ามาเรียนกฎหมาย สอบไล่เนติบัณฑิตได้ตั้งแต่อายุยังน้อย จากนั้นจึงสอบชิงทุนไปเรียนต่อที่ฝรั่งเศส ได้เป็นด็อกเตอร์คนไทยคนแรกจากมหาวิทยาลัยปารีสเมื่ออายุเพิ่งย่างเบญจเพศ เป็นหัวหอกเชื้อเชิญนักเรียนนอกจากอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน และสวิสเซอร์แลนด์มาประชุมที่หอพักนักศึกษาถนน Rue de Summard ซึ่งถือว่าเป็นการประชุมคณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นครั้งแรก ห้าหกปีหลังจากนั้น คนหนุ่มหัวก้าวหน้าเหล่านี้ ซึ่งกลับเข้ามารับราชการทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน ก็สามารถยึดอำนาจและเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นระบอบประชาธิปไตยได้สำเร็จในนามของคณะราษฎร

นายปรีดี พนมยงค์หรือหลวงประดิษฐ์มนูญธรรม ในวัย ๓๒ ปี ได้จัดทำร่างเค้าโครงเศรษฐกิจที่ถือหลักการประกันสังคมและการกระจายทรัพย์สินเสนอต่อรัฐบาลใหม่ หากด้วยความล้ำสมัยเกินความรับรู้และเข้าใจของผู้คนยุคนั้น จึงถูกกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์และต้องระเห็จไปอยู่ต่างประเทศเสียปีหนึ่ง ก่อนจะกลับเข้ามารับตำแหน่งรัฐมนตรีมหาดไทย รัฐมนตรีต่างประเทศ และรัฐมนตรีคลัง ตามลำดับ มีผลงานเป็นที่ประจักษ์จำนวนมาก เช่น การจัดตั้งเทศบาลนครกรุงเทพฯ ก่อตั้งคณะกรรมการกฤษฎีกา ก่อตั้งธนาคารชาติ ก่อตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง ยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขตในสัญญาอันไม่เป็นธรรมกับต่างประเทศในยุคสมบูรณาญาสิทธิราชรวม ๑๒ ประเทศ เป็นต้น

ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ นายปรีดีไม่เห็นด้วยกับการที่รัฐบาลสยบยอมกับญี่ปุ่นและประกาศสงครามกับฝ่ายพันธมิตร และรัฐบาลขอให้ลาออกจากคณะรัฐมนตรี นายปรีดีในวัย ๔๒ ปี ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในรัชกาลที่ ๘ และดำรงตำแหน่งลับ-ลับเป็นหัวหน้าเสรีไทยเพื่อดำเนินการต่อต้านญี่ปุ่น ทำให้ขบวนการเสรีไทยได้รับการยอมรับจากอังกฤษและสหรัฐอเมริกา ซึ่งไม่ทำให้ไทยอยู่ในฐานะผู้แพ้สงคราม แถมได้รับการยอมรับเข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติอีกด้วย

ป๋วย – เด็กน้อยผู้กำพร้าพ่อตั้งแต่เก้าขวบ แม่เซาะเซ็งพยายามกัดฟันส่งเข้าเรียนที่อัสสัมชัญ จบชั้นมัธยมแปดแล้วก็ทำงานเป็นครูตั้งแต่อายุ ๑๘ ปี พร้อมกันนั้นก็สมัครเรียนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมืองจนจบปริญญาตรี กลางวันทำงานกลางคืนอ่านหนังสือ สอบชิงทุนรัฐบาลไปศึกษาปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยลอนดอนก็ได้คะแนนสูงสุดในบรรดาเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง ได้รับทุนจากมหาวิทยาลัยให้ศึกษาระดับปริญญาเอกได้ทันที ต่อมาเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ นักเรียนนอกอนาคตไกลขอพักการเรียนมาเป็นทหารชั่วคราว เพื่อเข้าร่วมขบวนการเสรีไทยในอังกฤษ ปฏิบัติการลับและเสี่ยงตายอยู่หลายครั้ง จนกระทั่งสิ้นสุดสงครามจึงกลับไปศึกษาต่อจนจบ

ภายใต้รัฐบาลเผด็จการทหาร ดร. ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เลือกที่จะกลับมารับราชการเงินเดือนต่ำเตี้ยแทนการทำงานเอกชน เพราะถือว่าเกิดเมืองไทย กินข้าวไทย รับทุนรัฐบาลจากชาวนาไทยไปเมืองนอก ควรที่จะรับราชการเป็นเครื่องสนองคุณ เป็นข้าราชการกระทรวงการคลังที่กล้าคัดง้างกับผู้มีอำนาจยุคนั้นอย่างตรงไปตรงมาหลายครั้งหลายหน เมื่อจอมพลสฤษดิ์ก่อรัฐประหารและเชิญมารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ป๋วยปฏิเสธ โดยอ้างคำสาบานครั้งปฏิบัติหน้าที่เป็นเสรีไทยว่า จะไม่รับตำแหน่งทางการเมืองใดจนกว่าจะเกษียณอายุราชการ จอมพลสฤษดิ์จึงแต่งตั้งให้เป็นผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งช่วงเวลา ๑๒ ปีที่ดำรงตำแหน่ง ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ชื่อว่าปลอดจากการเมืองมาแทรกแซง เพราะป๋วยได้รับความเชื่อถือจากนักการเมือง ในฝีมือการบริหาร ความรู้ด้านเศรษฐกิจการเงิน และความซื่อสัตย์สุจริต

เงื่อม – เรียนจบเพียงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ เพราะต้องออกมาค้าขายแทนพ่อที่ถึงแก่กรรมด้วยโรคลมปัจจุบัน บวชเรียนเมื่ออายุ ๒๐ ปี ตั้งใจเข้ากรุงเทพฯ หวังศึกษาพระธรรมให้แตกฉานลึกซึ้ง แต่กลับพบพฤติปฏิบัติที่ย่อหย่อนไปจากพระวินัยของพระเมืองกรุง ยิ่งศึกษาค้นคว้าเองนอกตำรายิ่งขัดแย้งกับการเรียนการสอนในระบบที่ใช้วิธีท่องตามกันมา ปราศจากการคิดวิเคราะห์ พระหนุ่มทั้งสับสนเบื่อหน่าย เมื่อสอบตกเปรียญธรรม ๔ ก็เริ่มมองเห็นว่าชีวิตนักบวชตามระบอบระบบไม่อาจทำให้บรรลุเป้าหมายทางธรรมได้

ในปีพ.ศ. ๒๔๗๕ พระเงื่อม อินทปัญโญ – ผู้ไม่จบเปรียญธรรม ๔ - กลับบ้านเกิด อ.ไชยา สุราษฎร์ธานี อุทิศตนเป็นทาสพระพุทธเจ้า ใช้มรดกที่มารดามอบให้ทำนุบำรุงสวนโมกขพลารามและคณะธรรมทาน สถานปฏิบัติธรรมตามแบบพุทธกาลของพระเงื่อมปฏิเสธพิธีกรรมและวัตถุนิยม ตัวพระเงื่อมเองก็พยายามนำหลักธรรมคำสอนอันเป็นเนื้อหาสาระซึ่งเคยเชื่อกันว่าเป็นเรื่องยากต่อการเข้าถึงในโลกนี้มาเผยแพร่ เป็นต้นว่า ความว่าง อิทัปปัจจยตา ปฏิจสมุปบาท และยืนยันว่านิพพานก็เป็นเป้าหมายในโลกนี้ได้โดยไม่ต้องรอโลกหน้า มีงานเขียนแพร่หลายจำนวนมากทั้งภาษาไทยและต่างประเทศ

ในยุคสมัยของความเปลี่ยนแปลง จากสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นประชาธิปไตย คนเล็กคนน้อยทั้งสี่มีชาติกำเนิดเป็นสามัญชนคนธรรมดา สองคนเป็นนักเรียนใน อีกสองคนเป็นนักเรียนนอก ในขณะที่สองคนได้ชื่อว่าเรียนเก่งเป็นเลิศ แต่อีกสองคนเข้าถึงความเป็นเลิศจากการศึกษาด้วยตนเอง ยงมีวิถีเป็นปราชญ์สมถะใจสัตย์ซื่อ ปรีดีและเงื่อมเป็นนักปฏิรูป ต่างแต่ว่าปรีดีเป็นนักการเมืองที่มุ่งปฏิรูปในทางโลก พระเงื่อมมุ่งแหวกแผ้วถางทางในทางธรรม ส่วนป๋วยนั้นสวมเสื้อข้าราชการรับใช้รัฐบาลเผด็จการ และดูเหมือนว่าผู้คนทั้งสี่แทบไม่มีอะไรที่เป็นพิมพ์นิยมของคนเก่งและดีของยุคสมัยปัจจุบันนี้เลย แต่ผู้คนทั้งสี่มีหัวใจชนิดเดียวกัน – หัวใจของคนหนุ่มสาว หัวใจที่มุ่งอุทิศตนให้กับผู้อื่น หัวใจที่ปรารถนาซึ่งความเปลี่ยนแปลง หัวใจชนิดนี้เป็นหัวใจใหม่-สด นำความเปลี่ยนแปลงมาสู่ยุคสมัยได้ และหัวใจใหม่-สดนี้ย่อมอดทนต่อความทุกข์ความบีบคั้นเพื่อการเปลี่ยนแปรได้

หัวใจของคนหนุ่มสาวนี้เราจะพบได้ทั่วไปในเรื่องราวของปูชนียบุคคล พวกเขาล้วนผ่านการเคี่ยวกรำจากสถานการณ์ มีปณิธานยิ่งใหญ่ตั้งแต่วัยเยาว์ มุ่งทำประโยชน์เพื่อส่วนรวมมากกว่าทรัพย์และยศส่วนตัว มุ่งทำการงานที่ยังประโยชน์ข้ามกาลเวลามาสู่คนรุ่นหลัง และมีความรักความกรุณามากกว่าความโกรธความเกลียด

หัวใจในประวัติศาสตร์นี้มีเต้นอยู่กลางใจคนร่วมสมัยอยู่บ้างไหม? – คำถามนี้คงต้องช่วยกันตอบ สำคัญกว่านั้นก็คือ – หาหัวใจชนิดนี้ในตนเองให้เจอ


วันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2553 at ที่ 11:00 by knoom     ป้ายกำกับ: ชลนภา อนุกูล, บทความมติชน
 
http://jitwiwat.blogspot.com/search?updated-max=2010-09-10T11%3A00%3A00%2B07%3A00&max-results=3