ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: กันยายน 30, 2010, 09:32:20 pm »

 :13: อนุโมทนาครับพี่มด
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: กันยายน 30, 2010, 04:04:17 pm »

คุยข้ามพรมแดน กับ คนตัวเล็กที่เปลี่ยนแปลงโลก



โดย ณัฐฬส วังวิญญู
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 24 กรกฎาคม 2553

หลังจากวิกฤติราชประสงค์ ต้องนับว่าสังคมไทยตื่นตัวและเรียนรู้มากขึ้น แม้หลายคนจะกลับคืน สู่วัฎจักรของการใช้ชีวิตและการทำงานหาเลี้ยงชีพตามปกติ แต่วิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นดูจะรุนแรงมาก พอที่จะกระทบความรู้สึกนึกคิดของผู้คนจำนวนมากของประเทศที่จะมาทำความเข้าใจร่วมกัน เพราะอย่างน้อย บทเรียนหนึ่งที่สำคัญคือ ไม่ว่าเราจะเลือกหรือไม่ เราไม่สามารถอยู่รอดได้ตาม ลำพังโดยไม่รับ ผลจากเหตุการณ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และระบบนิเวศที่เกิดขึ้น “ทุกเรื่องเป็น เรื่องของทุกคน” (ฟังดูอาจรู้สึกหนักอึ้ง) แต่ถ้ามองกลับกันก็จะเห็นว่า “ทุกคนมีอิทธิพล ต่อทุกเรื่อง” ไม่มากก็น้อย

ระยะนี้มีเวทีการเรียนรู้ของสังคมอยู่มากมาย ทั้งที่ผ่านสื่อวิทยุโทรทัศน์ อินเทอร์เนต และเวทีสาธารณะต่างๆ เวทีหนึ่งที่น่าสนใจ คือเวทีความสุขมวลรวมประชาชาติ ที่ School of Well-Being จัดขึ้นเดือนละครั้ง โดยตอนเช้าจะมีการเชิญนักวิชาการในด้านต่างๆ เช่น เศรษฐศาสตร์ มนุษยวิทยา และรัฐศาสตร์ มาพูดถึงมุมมองของตัวเองเพื่อสะท้อนให้เห็นจุดแข็งและจุดอ่อนของการใช้ ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติมาเป็นเครื่องชี้วัดระดับการพัฒนาประเทศ เพราะจะเห็นได้ชัดว่า ประเทศที่จีดีพีสูงอย่างสหรัฐอเมริกา ประชาชนทุกคนไม่ได้มีคุณภาพชีวิตที่ดี หรือมีความสุขเหมือน กับประเทศที่ยากจนกว่าประเทศอื่นๆ เช่น มาดากัสกา

นี่เป็นเวทีสาธารณะที่เชื้อเชิญให้ประชาชนได้มาเรียนรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และทัศนคติเกี่ยวกับเครื่องมือวัดการพัฒนาประเทศผ่านผลผลิตมวลรวมประชาชาติ (GDP) ส่วนตอนบ่ายก็สนทนาแบบสภากาแฟ ที่มีความหลากหลายและให้ได้รู้จักกันมากขึ้น ทำให้ผมเห็นคุณค่าของการสร้างความสัมพันธ์ที่ผ่านการบอกเล่าชีวิต ที่ไม่ใช่เพียงแค่การแลกเปลี่ยน “ความคิดเห็น” เท่านั้น แต่เป็นการแบ่งปันสิ่งที่แต่ละคนให้คุณค่าแก่ชีวิต ความสัมพันธ์ที่ดีนำไป สู่การเรียนรู้ที่เปลี่ยนมุมมองและโลกทัศน์ได้ นี่เป็นส่วนสำคัญของการสร้างสังคมแห่งมิตรภาพ และการเรียนรู้

นอกจากนี้งานสภาสันติภาพโลก ที่จัดไปเมื่อช่วง ๙-๑๑ ก.ค. ๒๕๕๓ ที่ผ่านมา ณ รอยัลฮิลล์ รีสอร์ท จ.นครนายก โดย อ.สุลักษณ์ ศิวรักษ์ เป็นผู้กล่าวเปิดงาน และคุณสุรสีห์ โกศลนาวิน เป็นประธานจัดงานภายใต้มูลนิธิเสฐียร โกเศศ-นาคะประทีป ก็เป็นอีกเวทีหนึ่งที่สะท้อนถึงประสบการณ์ คล้ายๆ กัน โดยสภาสันติภาพโลกนี้เริ่มต้นขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ การชักชวนพลเมืองโลกมาพูดคุยแลกเปลี่ยนเพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจในเหตุและปัจจัยที่ส่งผลต่อสันติภาพและความรุนแรง เพื่อหาแนวทางการสร้างสรรค์สังคมแห่งสันติอย่างแท้จริง

งานนี้มีคนไทยที่สนใจมาร่วมกว่าร้อยคนจากส่วนต่างๆ ของประเทศ ผมเห็นว่าแรงบันดาลใจ ที่เกิดขึ้น ไม่ได้มาจากการรับฟังคำปราศัยของผู้นำทางความคิดและปฏิบัติ ไม่ว่าจะเป็น อ.สุลักษณ์ ศิวรักษ์ ภิกษุณีธรรมนันทา หรือดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา เพียงเท่านั้น แต่เกิดจากการได้พูดคุ ยแลกเปลี่อนอย่างใกล้ชิด ข้ามพ้นพรมแดนของผลประโยชน์ สถานภาพทางสังคม หรือจุดยืนทางการเมือง ในประเด็นต่างๆ ที่น่าสนใจทั้งสิ้น เช่น ความยุติธรรมทางเพศ วิทยาศาสตร์และอภิปรัชญา สิทธิชนเผ่าและ ชาติพันธุ์ ศาสนากับการพัฒนา จริยธรรมสากล กฎหมายและรัฐศาสตร์ นโยบายทางทหาร สันติภาพใน สยาม และอื่นๆ

หลายคนที่รู้สึกว่าเป็นคนตัวเล็กๆ ที่พยายามทำสิ่งดีๆ ก็ได้รับกำลังใจในสิ่งที่ตัวเองทำ แม้จะดูน้อยนิด เช่น ชาวปกาเกอญอที่ทำงานอนุรักษณ์ ที่ ต.แม่ยาว จ.เชียงราย หรือแม้แต่ข้าราชการ ชั้นผู้น้อยที่ดูแลป่าใหญ่บริเวณเขื่อนศรีนครินทร์ที่มีวิธีการทำงานกับประชาชนอย่างเข้าใจ โอบอ้อมอารี และช่วยลดปัจจัยที่ก่อให้เกิดความรุนแรง คนอย่างคุณป้าชาวไทยดำ ที่มีสัญชาตญาณแห่ง ความเป็นแม่และศิลปิน เธอสำแดงพลังสีสันของชีวิตออกมาโอบอุ้มเผื่อแผ่ทุกคน หรือคนอย่างบังแวฮามะ จากบ้านตันหยงลูโละ ที่เสนอทางแก้ปัญหาใน ๓ จังหวัดภาคใต้จากมุมมองของมุสลิม คือให้ถอนปืน รถถัง อาวุธและทหาร เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนได้จัดการปัญหาด้วยปัญญาชุมชนเอง ผู้เข้าร่วมบางคนทำงาน เพื่อดูแลและปกป้องแรงงานต่างด้าวชาวพม่าในภาคใต้จากการกระทำอันไม่ควรโดยเจ้าหน้าที่รัฐ บางคนเดินทางตามตะเข็บชายแดนพื้นที่เสี่ยงภัย และให้ความช่วยเหลือเหยื่อ ความรุนแรงตามแนว เขตชายแดน บางท่านเป็นนักบวชที่นำเสนอธรรมะให้กับเยาวชนคนรุ่นใหม่ และดูแลกลุ่มเยาวชน แกะดำที่อยู่ในมุมมืดของสังคม และอีกมากมายที่ไม่อาจกล่าวถึงได้ทั้งหมดในบทความนี้

ประเด็นไม่ใช่อยู่ตรงแค่ว่าสังคมเรามีคนดีๆ ที่กำลังทำสิ่งดีๆ ให้เกิดขึ้นเท่านั้น แต่อยู่ตรงที่เมื่อ ทุกคนได้เข้ามารับรู้ “โลก” ของกันและกันแล้ว ๑) ทำให้เกิดความเข้าใจในสังคมที่มีความซับซ้อนมากขึ้น ๒) ทำให้เห็นแบบแผนหรือโครงสร้างสังคมที่เป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งและความรุนแรง ๓) ตระหนักรู้ว่าเราต่างเป็นส่วนหนึ่งที่สนับสนุนโครงสร้างที่เอื้อต่อความขัดแย้งเหล่านี้ ไม่ว่าจะรู้ตัวไม่ก็ตาม ดังที่สตรีท่านหนึ่งกล่าวตอนปิดงานว่า ตนเองเพิ่งมารู้ว่าชีวิตที่สะดวกสบายของชนชั้นกลางในกรุงเทพฯ หมายถึงการสร้างเขื่อนที่หยิบยืมต้นทุนมาจากธรรมชาติและสังคมชนบท ส่วนคนที่มาจากชนบท ก็เริ่มเห็นคุณค่าของสิ่งที่ตัวเองทำ ที่แม้จะดูเล็กน้อย แต่ส่งผลต่อภาพรวมทั้งหมดของสังคม ๔) เกิดมิตรภาพและแรงบันดาลใจในการกลับไปกระทำการด้วยมุมมองใหม่ ที่กว้างใหญ่และเห็นผล เชื่อมโยงมากขึ้น

ดังที่ปราชญ์จาก จ.แพร่ คุณประสาท ประเทศรัตน์ ได้กล่าวว่า “กลองดีไม่ดังเอง” หมายความ คุณค่าของตัวเองนั้น จะมาได้เมื่อเรามีปฏิสัมพันธ์กันอย่างเห็นคุณค่าของกันและกัน นี่คือพลังของ การสร้างประชาสังคม ผมคิดว่าประชาชนจะร่วมกันเปลี่ยนแปลงประเทศไทย หากทุกคนได้รับ คุณค่าอย่างแท้จริงและได้รับโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างเชื่อมโยง เพื่อช่วยสร้างสังคมไทย ที่ยืนอยู่บนพื้นฐานของความเป็นกัลยาณมิตรที่เรียนรู้จากกันและกันอย่างต่อเนื่อง ยั่งยืน โดยมีความ กล้าหาญที่จะขยายขอบเขตความเชื่อและความเข้าใจของตัวเองออกไป

ผมเห็นว่าเวทีเหล่านี้เปรียบเสมือนมหาวิทยาลัยเปิดของสังคม (Civic University) ที่เอื้อต่อกา รเรียนรู้ และทำความเข้าใจระบบชีวิตและสังคมที่ซับซ้อน ที่ส่งผลกับชีวิตเราอยู่ โดยมีครูคือทุกๆ คน และเป็นอิสระจากการยึดกุมความรู้โดยผู้เชี่ยวชาญ หากเป็นพื้นที่การเรียนรู้ผ่านมิตรภาพ ที่เปิดรับและเห็นคุณค่าของทุกคน ทุกเสียง ทุกความคิด ความใกล้ชิดและความเป็นกันเอง ทำให้เราสามารถคุยข้ามพรมแดนของผลประโยชน์และภาพลักษณ์ โดยแต่ละคนสามารถก่อประกอบ “ความจริง” ของตัวเองใหม่ได้เรื่อยๆ แม้ว่าจะต้องทำลายกรอบความจริงเหล่านี้ด้วยความยากลำบากบ้าง โดยผู้คนสามารถตรวจสอบความจริงจากคนจริงๆ และเรียนรู้ผ่านข้อมูลจากคำบอกเล่าของบุคคลจริงๆ นี้มีลักษณะเด่นที่น่าสนใจและน่าจะเป็นช่องทางการสื่อสารที่สำคัญอีกช่องทางหนึ่งในการขับเคลื่อนประชาสังคม (Information with human faces)

ในความคิดเห็นของผม ความสำเร็จอันหนึ่งของคือการที่คนตัวเล็กหลายคนรู้สึกมีพลัง มีแรงบันดาลใจจากการได้มาพบปะเพื่อนคนอื่นๆที่ทำงานเพื่อสร้างสรรค์สันติภาพเช่นกัน ซึ่งช่วยยืนยันในคุณค่าของสิ่งที่ตัวเองทำ เพื่อที่จะกลับไปทำงานของตนต่อ นอกจากนี้ผู้คนยังได้ขยาย มุมมองของ ตัวเองให้กว้างขวางและซับซ้อนยิ่งขึ้น เช่น คนที่เคยทำแต่เรื่องความอยู่รอดของ วัฒนธรรมชนเผ่าก็เห็น จุดอ่อนของวิถีการพัฒนาแบบตะวันตกยิ่งขึ้น เป็นต้น แม้ว่าเราจะมองว่าโลกและ สังคมดูเป็นสิ่ง ที่ยิ่งใหญ่เกินกำลังใครคนใดคนหนึ่งจะเปลี่ยนแปลงขยับเขยื้อนได้ แต่โลกที่อยู่ในตัวเรา แต่ละคน กลับเต็มไปด้วยศักยภาพของการเปลี่ยนแปลง ผมขอลงท้ายด้วยคำพูดของคุณประกอบ ช่วยศรีนวล เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี ที่มาร่วมงานกับเราว่า “ผมเปลี่ยนโลกไม่ได้ แตผม่จะเปลี่ยนตัวเองเพื่อจะให้โลกเปลี่ยน และเพื่อให้เกิดสันติภาพขึ้นบนโลก”

พลังที่เกิดขึ้นจากการเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างชีวิต ระหว่างมุมมองที่แตกต่างในงาน สภาสันติภาพ โลกคงจะช่วยกระตุ้นความหวังที่ได้หดถอยหลังจากวิกฤติการเมืองที่ผ่านไป ให้ฟื้นกลับคืนมาได้บ้าง


วันศุกร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 at ที่ 12:00 by knoom    
ป้ายกำกับ: ณัฐฬส วังวิญญู, บทความมติชน
 
 
http://jitwiwat.blogspot.com/search?updated-max=2010-08-20T12%3A00%3A00%2B07%3A00&max-results=3