ตอบ

ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: ตุลาคม 01, 2010, 04:47:06 pm »

 :13:   อนุโมทนาครับพี่มด^^
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ตุลาคม 01, 2010, 10:37:50 am »

 
 
 
                                    :13:         :45: :45: :45:   
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: ตุลาคม 01, 2010, 10:29:44 am »


 
ปฐมบท

พระพุทธาตังสกะ มหาไวปุลยสูตร ( Da Fang Guang Fo Hua Yan Jing ) มีชื่อในภาษา อังกฤษว่า The Flower Garland Sutra หรือ The Great and Vast Buddha Garland Sutra เป็นพระสูตรว่าด้วยศูนยตาภาวะ ( สุญญตา ) ที่มีจุดประสงค์มุ่งเน้นให้ผู้ศึกษาได้ ละวางความแตกต่างระหว่างกันและความมีอยู่ของกันและกัน ให้เข้าถึงสภาวะที่เรียกว่า เอกภาพ หรือ ตถตา หรือก็คือสิ่งสากลชนิดหนึ่งของสรรพสิ่ง ว่ามีลักษณะร่วมบางอย่าง ( มูลฐาน ) ที่เหมือนกัน โดยได้แสดงตามหลักปัจยาการที่เกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันโดยตลอด ซึ่งให้ความหมายว่าประดุจอินทรชาละ หรือตาข่ายของพระอินทร์ที่ถักทอร้อยเรียงเข้า ด้วยกัน ด้วยแก้วรัตนมณีจำนวนมหาศาลที่สาดแสงส่องประกายถึงกันตลอดทั้งหมดด้วย เหลี่ยมมุมบ้าง ความกลมมนบ้าง เหมือนกับหลักธรรมที่เกี่ยวเนื่องกัน สะท้อนถึงกัน เพราะมีสภาวะเดิมแท้ที่ว่างเปล่า คือการยึดมั่นถือมั่นไม่ได้เหมือนกัน จึงไม่มีอุปสรรค แก่กัน ซึ่งท่านจะได้พบความพิศดาร อัศจรรย์และคัมภีรภาพได้ต่อไปนี้ โดยขอให้ท่านได้กระทำจิตตนให้เหมือนอากาศธาตุที่กว้างใหญ่ไพศาล ไร้สี กลิ่น รส ปราศจากความสูงต่ำ และปราศจากสิ่งกีดขวาง อันเป็นคุณสมบัติของอากาศที่สามารถแทรกซึมไปในทุกอณู ของสรรพสิ่งและในทุกสถานที่เสียก่อน แล้วจึงเปิดใจศึกษาพระธรรมที่ไร้สภาวะนี้ อัน พระสูตรนี้มีความหายตามภาษาจีนว่า

Da / มหา = ความยิ่งใหญ่ของพระธรรมสูตรหรืออรรถธรรมนี้ อันสามารถนำไปสู่พระ มหาปรินิรวาณ แบ่งเป็น

๑ ) วิสัยอันเป็นมหา คือ ๑.๑ ได้ยึดมั่นในผลวิสัยอันเป็นมหา และ ๑.๒ เที่ยงในผลวิสัยอันเป็นมหา
๒ ) มีหทัยอันเป็นมหา
๓ ) มีจริยาอันเป็นมหา ดังเช่น จูลวรรคที่พระสุธนกุมารออกเดินทางเพื่อแสวงหาโมกขธรรม
๔ ) ธำรงฐานะอันเป็นมหาทั้งห้าประการ มี ๔.๑ ฐานะที่มีมหาศาล ๔.๒ ฐานะที่มีมหาวิภาค
รู้จำแนกธรรมอย่างไพบูลย์ ๔.๓ ฐานะที่มีมหาปณิธาน ๔.๕ ฐานะที่มีมหาบรรลุ
๕ ) ได้บรรลุความเป็นมหา
๖ ) มีเหตุอันเป็นมหา
๗ ) มีผลอันเป็นมหา ดังเช่นอจินไตยจุลวรรค
๘ ) มีสัญฐานอันเป็นมหา
๙ ) มีประโยชน์อันเป็นมหา
๑o ) มีความเป็นธรรมอันเป็นมหา แบ่งได้เป็นอีกสามประการมี ๑o.๑ การสั่งสอนอันเป็นมหา
ดังเช่นในแต่ละประโยคล้วนแสดงถึงธรรมธาตุทั้งปวงในทศทิศ ๑o.๒ มีอรรถอันเป็นมหา
๑o.๓ มีกิจกรรมอันเป็นมหา กล่าวคือในอณูหนึ่ง ๆ ยังได้แสดงถึงสรรพสิ่งอันความเป็นมหา
โดยอรรถทั้งสิบประการนี้ได้รวบรวมไว้ซึ่งธรรมธาตุแล้ว


Fang / ตำรา , วิธี , แบบแผน = มีสามนัยยะ ดังนี้ ๑ ) เป็นแบบแผนอันถูกต้อง มันจะยังให้ ออกจากมิจฉาทิฐิตามนัยยะแห่งความเป็นมหาทั้งสิบประการข้างต้น ๒ ) เป็นตำราแห่งพระธรรม ๓) เป็นวิธีแห่งแพทย์ คือนำคุณแห่งอรรถทั้งสิบข้างต้นมาเยียวยาทุรโรคาทั้งปวง


Guang / ไวปูลย = ความไพบูลย์ กว้างขวาง มีสองนัยยะ ดังนี้ ๑ ) แผ่ซ่านไปทั่วในสถานะ( เทศะ) ทั้งหลาย ดังเช่น ในธรรมประการหนึ่งก็ได้ครอบคลุมถึงสรรพสิ่งในโลกธาตุจำนวนไม่มีประมาณ ๒ ) ครอบคลุมถึงช่วงเวลา ( กาละ) ทั้งปวง เช่นว่า ในตรีกาลล้วนระลึกแจ้งในขณะเดียว แลด้วย นัยยะอีกสองประการว่า ประดุจอินทะชาละ หรือ ตาข่ายของพระอินทร์ที่ถักทอด้วยรัตนะแวววาว อันประกายแสงถึงกันเป็นระยะ ๆ จนทั้ว คือ ๒.๑ แม้นว่าเอกภพก็สงเคราะห์รวบรวมไว้ซึ่งสรรพสิ่ง เรียกว่าเป็น " มหา " ๒.๒ หากความเป็นหนึ่งแผ่ซ่านไปสู่สรรพสิ่งทั้งปวง เรียกว่า " ไวปุลย "


Fo / พุทธ แสดงถึงความสมบูรณ์ในพระโพธิญาณ มีนัยยะ คือ สามารถลุถึงมนุษย์ได้ หรือ วิสัย แห่งการรู้แจ้ง หมายถึง การได้รู้แจ้งในปัญญาญาณ

Hua / คัณฑะ = ดอกไม้ เป็นการเปรียบเทียบถึงจริยาทั้งปวง ว่าเป็นดั่งกลีบมาลา ( บางแห่งว่า พวงดอกไม้ที่ร้อยเรียงไว้ด้วยกัน ) ที่แม้จะต่างกลีบ / ดอก แต่คือดอก / พวงเดียวกัน มีสามนัยยะ ดังนี้ ๑ ) มีอรรถอันวิเศษงดงาม ๒ ) มีอรรถอันให้ผลรับรู้ได้แก่ใจ ๓ ) มีอรรถอับตบแต่งไว้ยิ่ง แล้ว กล่าวว่า พระสูตรนี้มีอรรถที่ยังให้สรรพกุศลอันประเสริฐเลิศเลอแห่งจริยาของพระโพธิสัตว์ ทั้งปวงได้บังเกิดอุปมาดั่งมาลีผลิดอกงดงาม

Yan / วยูหะ = อุปมาเป็นเครื่องตบแต่งกายให้อลังการ กล่าวว่าทั้งหมื่นจริยานั่นดุจมาลีไว้ประดับ ในสัตยภาวะ ด้วยในหลักการและเหตุผลจึงได้ปรับปรุงเป็นหลากประการ หรือว่า อันสัตยภาวะ ก็เป็นดังมาลีไว้ประดับ เพื่อความอลังการแห่งการบำเพ็ญจริยาทั้งปวงเช่นกัน ด้วยจริยาทั้งปวง ที่เกิดแต่หลักการและเหตุผลนี้ จึงกล่าวได้ว่า มิมีสิ่งใดที่หลั่งไหลจากกายคือธรรมนี้ และมิมี สิ่งใดที่ได้หวนสู่กายคือธรรมนี้ด้วย กล่าวคือเป็นการปฏิเสธมติทั้งสองประการ ถือเป็นศูนยตา คือไร้ซึ่งการเกิดและดับจากสิ่งหนึ่งสู่สิ่งหนึ่ง จึงเรียกว่า มาลีอันเป็นเครื่องประดับแห่งพระพุทธะ

Jing / สูตร = เป็นการเรียกขานหนังสือที่ให้ความเคารพ เช่น คัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ หรือปกรณ์โบราณ ของจีน เช่น คัมภีร์เต๋า ในที่นี้รวมถึงตำราทางพระพุทธศาสนาทั้งหมด
กล่าวความหมายโดยรวมคือ " พระสูตรที่แสดงถึงความสมบูรณ์ในจริยาแห่งพระโพธิญาณ ( การรู้แจ้ง ) อันประดุจพวงมาลาที่ตบแต่งไว้อลังการ ด้วยการกล่าวขยายความอย่างไพบูลย์และยิ่งใหญ่ "

- หน้า 24 ถึง 27 -

http://www.mahaparamita.com/?p=689
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: ตุลาคม 01, 2010, 10:28:43 am »



 
พระสูตรมหายานอีกสูตรหนึ่ง ไม่เป็นที่รู้จักกว้างขวางนักแต่ก็มีความลึกซึ้งอย่างที่เป็นแกนนำ สำหรับพุทธศาสนิกที่เชื่อถือและปฏิบัติตามนี่ก็คือ อวตังสกสูตร กล่าวว่าพระสูตรนี้เกิดขึ้นจาก พระพุทธเจ้าดำรัสเมื่อแรกตรัสรู้ หากลุ่มลึกเกินกว่าเวไนยนิกรสมัยพุทธกาลจะเข้าใจได้ จึงมา ปรากฎความขึ้น เมื่อพุทธปรินิพพานล่วงแล้วไปได้ราว ๆ ๕oo ปีแล้วแปลออกเป็นภาษาจีนอีก สามร้อยปีต่อแต่นั้นมา
 
พระสูตรนี้มีถ้อยคำอุปมาที่สำคัญอันว่าด้วยข่ายของพระอินทร์(ท้าวสักกะ) ซึ่งถักไว้ด้วยมณีรัตนะ ต่าง ๆ แต่ละเม็ดจะสะท้อนให้เห็นแสงของกันและกัน เป็นการโยงปัจจยาการ หรือ อิทัปปัจจยตา ของสรรพสิ่งในสกลจักรวาล ซึ่งอยู่ในเครือข่าย หรือแหของพระอินทร์(จะเรียกว่า อินทรชาลสูตร โดยเปรียบกับ พรหมชาลสูตร ของเถรวาทเราก็ได้ เพราะ ชาล ก็คือร่างแหนั้นแล)

อวตังสกสูตร เก็บความอย่างละเอียด แต่ย่อยสุดไปจนใหญ่สุดและในทุกอณูมีพระพุทธเจ้าและ พระโพธิสัตว์เจ้าปรากฏอยู่ด้วยเสมอไป พระสูตรเริ่มแรกจากการพรรณาถึงภาวนาวิธี ที่กระทำ ได้ทุก ๆ วัน ของทุก ๆ คน ก่อนเข้าถึง อวตังสก หรือ ดอกไม้อันประดับ อย่างเป็นเลิศ อันได้แก่ พระไวโรจนพุทธ ซึ่งก็คือพระธรรมกายของพระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ในสกลจักรวาล หรือจะ กล่าวว่าพระไวโรจนพุทธก็คือสกลจักรวาลนั่นเอง

 
พระไวโรจนพุทธทรงแสดงออกซึ่งพุทธภาวะ อันได้ก่อสัจภาวะของธรรมชาติ หากกระจายและ และขยายความออกไปเป็นพระโพธิสัตว์ต่าง ๆ เช่น พระสมันตรภัทรโพธิสัตว์ ซึ่งทรงแสดงออก ซึ่งการกระทำทุก ๆ อย่าง
 
 
พระสูตรนี้เน้นที่พระไวโรจนพุทธและพระสมันตรภัทรโพธิสัตว์แล้วจึงอธิบายว่าด้วยทศภูมิกะ หรือการเจริญโพธิสัตวธรรมบารมีเป็นขั้น ๆ ทั้งสิบขั้น
 
บทท้ายสุดของพระสูตร มีชื่อว่า คัณฑวยูหสูตร ซึ่งนับว่ายาวที่สุดและแบ่งเป็น ๓๙ ตอน ทางเมือง จีนเน้นบทนี้เป็นที่ยิ่ง กล่าวพรรณาว่าด้วยการเข้าถึงเมืองแก้ว อันกล่าวแล้วคือดินแดนซึ่งเป็นสัตยะ ด้วยการเล่าถึงบุญจาริกของท่านสุธน ซึ่งพระโพธิสัตว์มัญชุศรีส่งให้ไปแสวงหาสัจธรรม ท่านสุธน ไปแสวงหาครูอาจารย์ถึง ๓๒ ท่าน จากวิถีชีวิตต่าง ๆ จนในที่สุด ท่านสุธนไปพบพระศรีอริยเมตไตรยโพธิสัตว์ ซึ่งชี้ให้ดูหอใหญ่ หมายความว่าหอนี้รวมภูมิปัญญาของพระโพธิสัตว์ไว้ จนท่านเข้าใจ สกลจักรวาล
 
ท่านสุธนเข้าไปยังหอใหญ่ที่ว่านี้ แล้วไปเจอหอใหญ่อื่น ๆ อีกมาก ทั้งยังไปค้นพบด้วยว่าพระศรีอริย เมตไตรยนั้นได้บรรลุธรรมถึงที่สุดในโลกต่าง ๆ มามากแล้วหากยังคงอธิษฐานโพธิสัตวธรรมบารมี รอเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ต่อไป เพื่อคอยช่วยสรรพสัตว์
 
แต่ละหอที่ท่านสุธนค้นพบ ล้วนกว้างขวางอย่างไพศาล มีเนื้อที่ที่รวมเอาเนื้อที่ของหออื่น ๆ เข้า มาด้วย จนไปรู้จักจบสิ้น ในที่สุดพระศรีอริยเมตไตรยโพธิสัตว์ทรงส่งท่านสุธนกลับไปหาพระมัญชุศรี โพธิสัตว์ เพื่อไปเรียนรู้เพิ่มเติม แต่แล้วพระมัญชุศรีโพธิสัตว์ก็เพียงตบศรีษะท่านสุธนให้ท่านกลาย สภาพไปเป็นพระสมันตรภัทรโพธิสัตว์ ภายในเสี้ยวเวลา๕๒ วินาที นี้แลคืออวสานของพระสูตร
 
ชื่อพระสูตรว่า อวตังสก นี้ กลายเป็นนิกายหนึ่งของมหายานในเมืองจีนคือ หัวเหยียนจง วึ่งสอน พุทธปรัชญาอย่างลึกซึ้ง ด้วยการแปลภาวนาวิธีต่าง ๆ ให้เกิดตื่นขึ้นจากการบีบรัดของกองกิเลส จนหลายคนเห็นกันว่านิกายนี้ในเมืองจีนเป็นจุดสุดยอดของปรัชญามหายาน ซึ่งเน้นในเรื่อง ปัจจยาการ อันนำมาใช้ได้กับปัญหาสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ เป็นเหตุให้พวกนิเวศวิทยาสมัยใหม่ ของฝรั่งหันมาสนใจพระสูตรนี้และนิกายนี้กันเป็นอันมาก
 
คัดมาจาก ความเข้าใจเรื่องมหายาน โดย ส ศิวลักษณ์
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: ตุลาคม 01, 2010, 10:27:40 am »


 
อวตังสกสูตร หรือ อวตัมสกสูตร
 
ฝ่ายปัญญาสูตร สูตรนี้จะมีอยู่ในยุคพระนาคารชุนหรือไม่ ไม่อาจทราบได้ แต่ท่านอ้างถึงทศภูมิ ของโพธิสัตว์อันเป็นบทหนึ่งของพระสูตรนี้
 
สูตรนี้เป็นมโนคตินิยม ซึ่งมีคาถาที่สำคัญคาถาหนึ่งว่า " สรรพธรรมในโลกธาตุนี้ เนื่องจากจิต และจิตเสมือนช่างวาดภาพ ได้วาดภาพอันเป็นขันธ์ของทุก ๆ สิ่ง "
 
สูตรนี้บรรยายในแรกเริ่มว่า เมื่อพระองค์ตรัสรู้แล้ว ภายใน ๒๑ วันนั้น ได้ปรากฎเป็นพระ ไวโรจนพุทธเจ้าแสดงสูตรนี้แก่บรรดาโพธิสัตว์ในขณะที่ต่างอยู่ใน " สาครมุททาสมาธิ " ข้อความนี้อ้างอิงประวัติศาสตร์ที่เราทราบกันผิดแต่ในส่วนที่พระองค์แสดงสูตรนี้ในขณะ ที่อยู่ในสมาธิ ซึ่งสามัญชนไม่มีทางทราบได้เท่านั้น
 
สูตรนี้ถือว่า ปัจจยาการ (ปฏิจจสมุปบาท) อันเริ่มด้วยอวิชาและจบด้วยชรามรณะนั้น เมื่อ พระองค์ได้ดับอวิชาและตั้งอยู่ในจิตอันบริสุทธิ์แล้ว ปัจจยาการย่อมเกิดจากจิตอันบริสุทธิ์
 
โลกทัศน์ของสูตรนี้ ถือว่าโลกนี้เป็นการปรากฏขึ้นของพระวรกายของพระไวโรจนะพุทธเจ้า ทุกสิ่งในโลกนี้ แม้เล็กเท่าเล็ก ก็เป็นสิ่งสะท้อนจากส่วนรวม กาลเวลาจะสั้นเท่าใดก็ตาม ก็ เป็นส่วนหนึ่งของกาลเวลาที่ยาวทั้งหมด โลกนี้ประกอบด้วยปัจจยาการอันนับไม่ถ้วน กาลกับ เทศะ ก็มีส่วนสัมพันธ์กัน ไม่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใด ที่ไม่ต้องพึ่งพิงสิ่งอื่น โลกนี้ปรากฏขึ้นด้วยความ อลงกรณ์ที่นับไม่ถ้วน ธรรมหนึ่งๆ คือสรรพธรรม สรรพธรรมก็คือธรรมหนึ่ง ๆโลกนี้คือ ธรรมกาย ผู้ซึ่งเข้าถึงความบริสุทธิ์แห่งจิต ผู้นั้นจะทราบถึงความจริงนี้ นี่คือการแสดงธรรม ของธรรมกายของพระองค์ ซึ่งกำเหนิดจากเอกจิตอันหลุดพ้นแล้ว
 
หลักธรรมในยุคพุทธกาลซึ่งมีปัจจยาการอันเนื่องด้วยจิตเท็จและต้องดับ แต่เมื่อได้เข้าถึงความ สูญที่แท้จริงแล้ว ก็จะเข้าถึงปัจจยาการซึ่งเนื่องจากจิตแท้และจะสืบเนื่องไปโดยไม่มีวันดับ
 
คัดส่วนหนึ่งมาจาก ประวัติแนวคิดมหายาน โดย ล. เสถียรสุต
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: ตุลาคม 01, 2010, 10:26:55 am »



 
เป็น ต้นสน เพื่อขับร้องระหว่างฟ้ากับดิน...(สู่ชีวิตอันอุดม - พระติช นัท ฮันห)

เป็น ต้นสน เพื่อขับร้องระหว่างฟ้ากับดิน 3 -4 ปี ที่ติดตามงานของ พระติช นัท ฮันห์ มา แม้จะไม่นาน แต่ได้ข้อสรุปว่า ถึงท่านเป็นพุทธมหายาน แต่เวลาอ่านงานของท่านแล้ว พุทธต่างนิกายอย่างเรา สามารถ "ซาบซึ้ง" ธรรมของท่านได้มาก บางที่ไม่ได้เข้าไปลึกถึงแดนธรรมอะไรเลย เพียงแค่อ่าน เหมือนอ่านหนังสือทั่วไป กลับรู้สึกเหมือน ปูเสื่อนั่งใต้ต้นไม้ใหญ่ๆ ที่เย็น-นิ่ง-สงบ ทุกทีไป เช่นเดียวกับที่อ่านงานของท่านพระธรรมปิฏก ที่จะรู้สึกเหมือนเราเข้าไปอยู่ในห้องสมุดใหญ่ๆ ที่ เย็น-นิ่ง-สงบ ทุกทีไป เช่นกัน งานของ พระติช นัท ฮันห์ ออกมาให้อ่านอีกเล่มแล้ว คือ เรื่อง "สู่ชีวิตอันอุดม" แปล และเรียบเรียง โดย ส.ศิวรักษ์ เมื่อเทียบกับงานชุดก่อนๆ ที่มีผู้แปลเป็นภาษาไทย ยอมรับว่า "สู่ชีวิตอันอุดม" ซึ่ง เป็นคาถา 50 บท และคำอธิบายว่าด้วยธรรมชาติของวิญญาณวิถีแห่งมหายาน มรรควิถีสู่ความสุขแห่งชีวิตนั้น อ่านยาก เข้าใจยาก ย่อยยาก อย่างไรก็ตาม ส.ศิวรักษ์ ปลอบเอาไว้ในหนังสือว่า "เวลาอ่าน ถ้าท่านไม่เข้าใจคำใด หรือวลีใดๆ อย่าพยายามเข้าให้มากเกินไป ปล่อยให้คำสอนเข้าถึงท่าน ดังที่ท่านฟังดนตรีนั้นแล หรืออย่างที่พื้นพิภพยอมรับน้ำฝนฉะนั้น ถ้าท่านใช้แต่หัวสมองเพื่อศึกษาคาถาเหล่านี้ จะกลายเป็นว่าท่านเอาผ้าพลาสติกมาคลุมพื้นพิภพไว้ แต่ถ้าท่านปล่อยให้น้ำฝนแห่งธรรมะเข้าไปได้จนถึงจิตใจของท่าน คาถาทั้ง 50 โศลก นี้จะช่วยให้ท่านเข้าใจคำสอนทั้งหมดของพระอภิธรรม" คำปลอบ ของ ส.ศิวรักษ์ ทำให้ ปรับท่าทีในการอ่าน "สู่ชีวิตอันอุดม" ได้มาก เพราะแรกๆ ที่อ่าน รู้สึกติดขัดไปหมด ตรงนี้ก็ไม่เข้าใจ ตรงนั้นไม่รู้ว่าหมายถึงอะไร ไม่เป็นสุขเอาเลย ลองปรับใหม่ ให้รู้สึก เหมือนน้ำฝนซึมเข้าไปในจิตใจ ทีละเล็ก ละน้อย คาถาหรือบทไหนที่ไม่รู้เรื่องข้ามไปก่อน คำไหน ประโยคไหน ติดขัด ก็ "วางเอาไว้" แม้จะข้าม จะวางเอาไว้เกินครึ่งเล่ม แต่ ความรู้สึก เย็น-นิ่ง-สงบ เริ่มมีเหมือนอ่านหนังสือหลายๆ เล่มของท่าน ใ นคาถาบทที่ 26 ท่านติช นัท ฮันห์ พูดถึง กวีเวียดนาม ที่ชื่อ เหงียน กอง ตรู ซึ่งเขียนกวีไว้บทหนึ่งว่า ชาติหน้า ขออย่าให้ข้าเกิดเป็นคน หากขอให้เป็นต้นสน เพื่อขับร้องระหว่างฟ้ากับดิน กวีต้องการที่จะสื่อให้เห็นถึง "คน" ที่มีภาวะสับสนวุ่นวาย ยากที่จะมีความสุขที่แท้จริงได้ บางที การเป็นต้นสน ที่ "นิ่ง" อยู่กับ ที่อาจมีความสุขมากกว่า ท่านติช นัท ฮันห์ อธิบายว่า ต้นสนอยู่ในดินแดนที่ไม่มี "ความจำได้-หมายรู้" ดินแดนแห่งนี้สดใสกว่าดินแเดนที่มีความจำได้-หมายรู้ แม้ออกจะแปลกไปก็ตาม แต่การมีชีวิตนั้นไม่จำต้องจำได้-หมายรู้ เลยด้วยซ้ำไป สัตว์ที่มีกำเนิดโดยปราศจากจากความจำได้-หมายรู้ นั้นดูจะมีชีวิตชีวายิ่งกว่าเรา มีสุขภาพดีกว่า มีปีติยิ่งกว่าเรา แม้ การไม่มีความจำได้-หมายรู้ ในทางธรรมนั้นเป็น "เรื่องสูง" สูงในระดับที่มีสมาธิภาวนาถึงขั้น นิโรธสมาบัติ ซึ่งเป็นระดับที่ไม่มีความจำได้หมายรู้ ไม่มีเวทนา ไม่มีสัญญา ไม่มีสังขาร จิตเป็นสมาธิจนขาดหายไปซึ่งเวทนาและสังขาร นับเป็นสถานะที่พระอรหันต์เข้าถึง นับเป็นภูมิที่ 8 ของพระโพธิสัตว์ ซึ่งเป็นเรื่อง "สูง" ที่มนุษย์ปุถุชนอย่างเราคงไขว่คว้าไปไม่ถึง แต่ถ้า ตีความบทกวีของ เหงียน กอง ตรู ประสาคนกิเลสหนา ไม่ต้องเข้าไปสู่สมาธิภาวนาขั้นใดๆ บางที สักช่วงขณะ หากเราสามารถนิ่งอยู่กับตนเอง โดยไม่มีความจำได้-หมายรู้ เป็นเพียงต้นสน ที่ดำรงอยู่เพียงเพื่อ "ขับร้องระหว่างฟ้ากับดิน" เราก็อาจมีความสงบสุข อย่างยิ่งแล้ว พูดถึง ความสงบสุข การอยู่ร่วมกัน เป็นสิ่งสำคัญ ในคาถาบทที่ 34 ของหนังสือเล่มนี้ แม้จะเป็นการพูดถึงเรื่องอื่นอย่าง "อัตตากับอนัตตา" แต่มีบางตอนที่สามารถโยงไปถึง การอยู่ร่วมกัน เพื่อความสงบสุขได้ ท่านติช นัท ฮันห์ พูดถึงความโกรธว่า เมื่อเราโกรธ แม้การแสดงออกถึงความโกรธนั้นจะเป็น "ปัจเจกภาพ" ซึ่งก่อความเดือดร้อนให้แก่ตัวเราโดยตรง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า จะไม่กระทบส่วนอื่นๆ เวลาเราโกรธ ยากที่คนรอบๆ เราจะมีความสุข คนอื่นมักพลอยได้รับผลจากความโกรธนั้นด้วยเสมอ เปรียบได้ดังกับ ปรากฏการณ์ทั้งหลาย ย่อมเป็นไปทั้งทาง "ปัจเจกภาพ" กับ "สมุหภาพ" พร้อมๆ กันกันไปในตัว ท่านติช นัท ฮันห์ ยกตัวอย่างว่า รูในระดับชั้นของโอโซนย่อมโยงมาถึงความอยู่รอดของสรรพสัตว์บนโลกพิภพนี้ฉันใด ความสุขหรือความทุกข์ของคนบางคนในกัมพูชา ก็โยงมาถึงความสุขหรือความทุกข์ของคนบางคนในทวีปอเมริกาเหนือฉันนั้น ดังนั้น หากเราเน้นเฉพาะเรื่องที่ "เนื่องด้วยเรา" เท่านั้น ก็ยากที่จะมีความสงบสุขที่แท้จริงได้ เพราะเราได้พบว่า ถ้าเราไม่ดูแลในเรื่องที่ไม่ใช่เรา ผลที่ตามมาออกจะน่ากลัว ถ้าเราไม่ดูแลเพื่อร่วมงานของเรา เราก็จะได้รับผลของการไม่ดูแลอันนั้น นับเป็นศตวรรษๆ มาแล้วที่ประชาชาติซึ่งถือตัวว่า พัฒนาแล้ว ทำการต่างๆ อย่างเห็นแก่ตัว ดูแลจำเพาะสิ่งที่ถือว่าเป็น ความสนใจของประชาชาติตน ดูแลแต่ในเรื่องเศรษฐกิจของตน สถานภาพของตน และการศึกษาสำหรับประชากรของตน เขาพากันประกาศว่าไม่ใช่ธุรกิจของพวกเขาที่จะต้องไปดูแลประเทศอื่นๆ แต่ตอนนี้ ประเทศที่ถือตัวว่า พัฒนาแล้ว ได้เริ่มเรียนรู้ว่าถ้าพวกเขาไม่เอาใจใส่ถึงประเทศโลกที่สาม ประเทศที่พัฒนาแล้วก็จะตายตามไปด้วย ตัวเราจึงสัมพันธ์กับคนอื่นเสมอ จะคำนึงถึงแต่ตัวเองเพียงอย่างเดียวไม่ได้ เราจะต้องคำนึงถึงคนอื่น สังคมอื่น ประเทศอื่น โลกนี้ โลกอื่น อยู่เสมอ เพราะนั่นเป็นเพียงทางเดียวที่เราจะไปสู่ความสงบอันแท้จริงได้ ผู้เขียน สุวพงศ์ จั่นฝังเพ็ชร
 
พุทธศาสนาสำหรับสังคมสมัยใหม่ สนทนากับ ติช นัท ฮันห์
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: ตุลาคม 01, 2010, 10:25:58 am »



ระเบียบแบบแผนที่เราทราบได้เพียงนัยนั้นเหมือนกับปรมัตถมิติ และระเบียบแบบแผนที่อธิบาย ได้ก็เทียบได้กับสมมติสัจแห่งสังสารวัฏที่เกี่ยวเนื่องกับการเกิดและตาย เริ่มต้นและถึงที่สุด นี่และ นั่น เป็นไม่เป็น แต่ในทางปรมัตถ์นั้น ไม่อาจสามารถอธิบายได้ด้วยถ้อยคำหรือความคิดเพราะ ถ้อยคำและความคิดมีธรรมชาติไปในทางที่ตัดสัจภาวะออกเป็นเสี่ยง ๆ

พร้อมกันนั้นก็พึงตราไว้ว่าการศึกษาพุทธศาสนา และการเจรจากับคนอื่น ๆ เราต้องใช้ถ้อยคำ ความคิด และคำนิยามต่าง ๆ แต่เมื่อถึงที่สุดแล้ว เราต้องเอาสิ่งสมมติต่าง ๆ นั้นออกให้หมด เพื่อเข้าถึงสัจภาวะที่แท้

ถ้อยคำอย่างเช่น เหมือนกัน ต่างกัน สมุหภาพ ปัจเจกภาพ ล้วนเป็นแต่ละขั้นบันได เราต้องไต่ขึ้น ไปทีละขั้น แต่อย่าไปหลงในพลความนั้น ๆ

ถ้าเราหลงในถ้อยคำ ความคิด หรือพลความต่าง ๆ เสียแล้ว เราจะขึ้นไม่ถึงมิติแห่งความเป็นปรมัตถ์

ใช้คำสอนเรื่องทะลุทะลวงเข้าไปตามที่ปรากฎใน อวตัมสกสูตร เราอาจไขประแจประตูไปสู่สัจภาวะ ได้โดยทิ้งถ้อยคำที่ผูกเราให้ติดไว้ในโลก

ความคิดต่าง ๆ ที่เรามานิยามสัจภาวะจำต้องปลาสนาการไป เรารู้ว่าเรามีปอดไว้สำหรับหายใจ เข้าและออก แต่เมื่อเรามองให้ลึกลงไป เราก็จะเห็นว่าในปอดเรานั้นมีภูเขาต่าง ๆ และป่าต่าง ๆ รวมอยู่ด้วย ถ้าปราศจากสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นเราจะหายใจเข้าออกได้อย่างไร

เรามีหัวใจที่ใช้งานได้ดี และเราก็รู้ว่าถ้าหัวใจไม่ทำงาน เราก็ย่อมจักไม่มีชีวิตอีกต่อไป แต่เมื่อมอง ให้ลึกลงไปก็จะเห็นได้ว่าพระอาทิตย์ก็คือหัวใจที่สองของเรา ถ้าพระอาทิตย์หยุดทำงาน เราก็จะ ตายภายในทันที ดุจดังหัวใจหยุดทำงานด้วยเช่นกัน เราเห็นว่าร่างกายของเราคือร่างกายของ จักรวาล และจักรวาลคือร่างกายของเรา

เรารู้ได้อย่างลึกซึ้งก็ต่อเมื่อเราเห็นมิติต่าง ๆ ทั้งภายในภายนอกทั้งตัวเราและผู้อื่น
เวลาเรามองตามสายตาของ อวตัมสกสูตร เราก็จะเห็นสกลจักรวาลและ สรรพธรรมในตาข่าย ของพระอินทร์ พลันเราก็จะเข้าใจว่าแนวคิดในรื่องหนึ่งกับหลาย ไปกับมา สมุหภาพและปัจเจก ภาพ บนกับล่าง รวมถึงเป็นกับไม่เป็น ฯลฯ ว่าเอามาใช้กับปรมัตถสัจไม่ได้

พระพุทธองค์ตรัสว่า " นี่มี เพราะนั่นมี " นับว่าเป้นคำสอนที่เรียบง่ายและลึกซึ้ง หมายความว่าทุกสิ่งโยงใยไปยังทุก ๆ สิ่ง ทุกอย่างเกิดขึ้นก็เพราะทุกอย่างอื่น ๆ เข้ามารวมอยู่ด้วย

แสงแดดทะลุทะลวงมายังพืชผัก พืชผักทะลุทะลวงไปยังสัตว์ และทะลุทะลวงไปยังกันและกันในหนึ่ง เราเห็นทั้งหมด ในทั้งหมด เราเห็นหนึ่ง เวลาเราสัมผัสหนึ่ง เราสัมผัสทั้งหมด เวลาเราสัมผัสทั้งหมด เราสัมผัสหนึ่ง นี้แลคือคำสอนของ อวตัมสกสูตร นับเป็นคำสอนที่ลึกซึ้งที่สุดของพระพุทธศาสนาในเรื่องการ โยงใยถึงกันและกัน


จาก สู่ชีวิตอันอุดม
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: ตุลาคม 01, 2010, 10:24:33 am »





 
 
๑๓ . ตาข่ายพระอินทร์
 
พีชและสังขารมีธรรมชาติ
ที่โยงใยถึงกันและทะลุทะลวงถึงกัน
หนึ่งเกิดจากทั้งหมด และ ทั้งหมดเกิดจากหนึ่ง
 
จากคำนำได้เอ่ยไว้แล้ว ท่านอสังคะกับวสุพันธุ์เริ่มนิกายวิญญาณวาทในราวคริสต์ศตวรรษที่ ๔ ตอนนั้นคำสอนของ อวตัมสกสูตร ยังไม่ได้เข้ามาสู่ระบบคำสอนในทางจิตวิทยาของพุทธศาสนา ซึ่งเนื้อหามาจากพระอภิธรรม

จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ ๗ แล้วที่ท่านพระถังซำจั๋งได้นำเอานิกายวิญญาณวาทไปเมืองจีน แม้กระ นั้น อวตัมสกสูตร ก็ยังไม่เข้าสู่นิกายนั้น
 
ท่านฟาซัง ( ค.ศ. ๖๔๓-๗๑๒ ) เป็นสังฆปรินายกองค์ที่ ๓ ของนิกายอวตัมสกะในเมือง จีนและท่านเป็นคนแรกที่นำเอาข้อความจาก อวตัมสกสูตร เข้ามาสู่ระบบจิตวิทยาอย่างพุทธ ดังนั้นท่านเขียนอรรถาธิบายไว้ในเรื่องนี้อย่างชัดเจน ( Notes on the Mystical in the Avatamsaka Sutra )
 
คาถาต้นบทนี้เอ่ยถึงคำสอนในเรื่องที่โยงใยถึงกัน และทะลุทะลวงถึงกัน ดังปรากฎความอยู่ใน อวตัมสกสูตร
 
อวตัมสกสูตร นับได้ว่าเป็นต้นตอที่มาจากภาพลักษณ์ในเรื่องตาข่ายของพระอินทร์
 
 
ตาข่ายที่ว่านี้เป็นส่วนหนึ่งของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ตาข่ายของพระอินทร์กว้างใหญ่ไพศาล แต่ละ ช่วงของตาข่ายในจักรวาลมีมณีรัตนะต่าง ๆ ทุกครั้งที่ตาข่ายทอดไปถึง
 
มณีรัตนะเรือนโกฏิผูกติดอยู่กับตาข่าย และแต่ละมณีรัตนะก็เจียรไนออกไปอย่างต่าง ๆ กัน เวลา มองไปยังด้านใดด้านหนึ่งของมณีรัตนะดวงใดก็จะเห็นมณีรัตนะทุก ๆ ดวงอยู่ในนั้น ดังความใน อวตัมสกสูตร มีว่า ในตาข่ายของพระอินทร์นั้น หนึ่งอยู่ในทั้งหมดและทั้งหมดอยู่ในหนึ่ง
 
 
นักคิดชั้นนำชาวพุทธนำเอาภาพลักษณ์อันวิเศษนี้มาใช้เพื่ออธิบายในเรื่องโยงใยถึงกันและทะลุ ทะลวงถึงกัน
 
ตามความคิดอย่างธรรมดา ๆ แบบแยกแยะของเรา เราเห็นกาน้ำชาเป็นหนึ่งหน่วย เป็นวัตถุ โดด ๆ แต่ถ้าเรามองให้ลึกลงไปอย่างเพียงพอก็จะเห็นว่ากาน้ำชาประกอบด้วยธรรมะอันมาก หลาย กล่าวคือ ดิน น้ำ ลม ไฟ กาละ เทศะ ฯลฯ และเราจะพิจารณาจนเห็นได้ว่าจักรวาลทั้งหมด รวมลงมาอยู่ในกาน้ำชานี้ นี้แลคืออิทัปปัจจยตาของความเป็นกาน้ำ
 
ดอกไม้ดอกหนึ่งก็ประกอบไปด้วยธาตุอื่น ๆ นอกเหนือดอกไม้ดอกนั้น เช่น เมฆ พื้นดิน และแสง แดด ถ้าไม่มีเมฆไม่มีพื้นดินจะมีดอกไม้ได้อย่างไร นี้แลคือการอิงอาศัยซึ่งกันและกัน คือหนึ่งขึ้น กับทั้งหมด และทั้งหมดเป็นไปได้ก็มาจากหนึ่ง
 
เราจะเห็นได้ถึงธรรมชาติของการโยงใยถึงกันและทะลุทะลวงถึงกันในทุก ๆ พีชและในทุกๆ สังขาร
 
การทะลุทะลวงถึงกันหมายความว่าทั้งหมดคือหนึ่ง ดอกไม้ไม่อาจดำรงอยู่ได้โดด ๆ หากต้องโยง ใยกับทุกอย่าง ธรรมทั้งหมดเป็นเช่นนั้น
 
เดวิด บอร์มซึ่งเป็นนักนิวเคลียฟิสิกส์ชาวอังกฤษ เสนอศัพท์ทางวิชาการขึ้น ๒ คำคือ explicate order(ระเบียบแบบแผนที่อธิบายได้ ) กับ implicate order (ระเบียบแบบแผน ที่ทราบโดยนัยเท่านั้น )ซึ่งใกล้เคียงกับศัพท์ทางพุทธศาสนาในเรื่องสมมติสัจกับปรมัตถสัจ
 
ในทางที่อธิบายได้ แต่ละอย่างมีขึ้นนอกเหนือไปจากอย่างอื่น ๆ ช้างอยู่นอกกุหลาบ โต๊ะอยู่นอก ป่า เธออยู่นอกจากฉัน ฯลฯ ระเบียบแบบแผนที่อธิบายได้ คือสิ่งซึ่งเรามองเห็นโดยได้มองให้ลึก ลงไป แต่บอร์มก็ค้นพบด้วยว่าถ้าเรามองลึกลงไปยังธรรมชาติของทุกสิ่งที่เขาเรียกว่าอนุภาคพื้น ฐาน(elementatypartical ) ก็จะเห็นได้ว่าอนุภาคหนึ่งเกิดขึ้นโดยอนุภาคอื่น ๆ
 
มติในชีวิตประจำวันของเราเอามาใช้ได้กับสิ่งซึ่งเล็กน้อยอย่างหาที่สุดมิได้

ในอนุภาคหนึ่งซึ่งเรารับรู้ได้ว่ามีอนุภาคอื่น ๆ ปรากฎอยู่ด้วยและเมื่อมองให้ลึกลงไปในธรรมชาติ ของอนุภาคหนึ่งก็จะช่วยให้เราเข้าถึงระเบียบแบบแผนที่เข้าได้โดยนัยเท่านั้น กล่าวคือมีทุกอย่าง อยุ่ในทุก ๆ อย่าง
 
นี่คือคำสอนของ อวตัมสกสูตร