ภาพ เวลาที่หลอมเหลว โดย Dali : The Persistence of Memory, 1931
แพข้ามแม่น้ำ การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ใหม่ ๆ ทำให้ความคิดเก่า ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการอธิบายความเป็นจริงในโลกต้องล่มสลายลงไป คุณประโยชน์หนึ่งของทฤษฎีสัมพัทธภาพนั้นก็คือการล้มล้างความคิดเรื่อง กาละ - เทศะแบบเก่าลงอย่างสิ้นเชิง ด้วยความ คิดใหม่ของการเกี่ยวเนื่องอยู่ของกาละ-เทศะตามทฤษฎีนี้ ทุกสิ่งจะมีโครงสร้างจาก ๔ มิติ เป็น ๔ มิติของกาละเทศะนี้แสดง ให้ปรากฏได้ด้วยกราฟเส้นโค้งในความสัมพันธ์ ๔ มิติ ของกาละ-เทศะ ไอน์สไตน์ทิ้งแบบจำลองจักรวาลแบบ ๓ มิติซึ่งเป็น เส้นตรงแบบยูคลิ ( คือแบบเรขาคณิตที่เราร่ำเรียนกันมา ) เขาได้จินตนาการและจำลองจักรวาลที่ประกอบขึ้นด้วยเส้นโค้ง ด้วยกาละ-เทศะจะเกี่ยวเนื่องกันเป็น ๔ มิติ ในปี ๑๙๑๗ เขาได้นำเสนอแบบจำลอง ๔ มิติ ซึ่งมีกาลเวลาเป็นแกน ในแต่ละ นาที รูปทรงของแต่ละเนื้อที่จะไม่ใช่รูปทรงเดียวกัน แต่กระนั้นก็ไม่ได้แยกขาดออกจากกัน เปรียบประดุจแผ่นฟิล์มที่จะให้ ภาพต่อเนื่องกันไป จักรวาลของไอน์สไตน์เป็นทั้งจักรวาลที่สิ้นสุดและไม่สิ้นสุด ในขณะเดียวกัน มดที่เดินอยู่บนผลส้มก็ สามารถเดินตรงไปได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด เพราะมดเดินอยู่บนผิวโค้ง แต่มดก็เดินอยู่บนผลส้มนั่นเอง ซึ่งนั่นก็คือข้อจำกัดของมัน ไอน์สไตน์ขยายมิติของเส้นตรงขึ้นมาเป็นเส้นโค้ง และได้พบจุดผสานระหว่างความสิ้นสุดและความไม่สิ้นสุด แต่ถ้ากาละและเทศะอันไม่สิ้นสุดเป็นเพียงรูปแบบหนึ่งของการรับรู้แห่งจิตแล้วไซร้ แบบจำลองเส้นโค้ง ๔ มิติ แห่งกาละและ เทศะ ถึงแม้จะเข้าไปไกล้ความเป็นจริงมากขึ้นก็ตาม ก็ยังจะคงเป็นเพียงรูปแบบหนึ่งของการรับรู้เท่านั้น ถ้าหากการมองดูยัง ไปไม่พ้นการปรากฏของ " สิ่งของ " ๔ มิติแห่งกาละและเทศะนี้ก็ยังไปไม่พ้นรูปแบบทางความคิดหนึ่งที่ถูกสร้างขึ้น ด้วยความ คิดที่ว่าด้วย " สิ่งของ " และ " ความเคลื่อนไหว " เส้นโค้งในมิติแห่งกาละและเทศะที่ควรจัดอยู่ในความคิดหนึ่งที่เข้ามาแทนที่ ความคิดที่มองจักรวาลเป็น ๓ มิติแห่งเทศะ ที่ดำรงอยู่ในกาละอันไม่สิ้นสุด และที่ใช้แบบจำลองแบบเส้นตรง เราจะต้องทิ้ง ความคิดนี้ไว้เบื้องหลัง เช่นเดียวกับที่เมื่อถึงฝั่งเราจะต้องทิ้งแพ เราจึงจะสามารถข้ามฟากได้