ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: ตุลาคม 01, 2010, 04:49:37 pm »

 :13: อนุโมทนาสาธุครับ ขอบคุณครับพี่แป๋ม^^
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ตุลาคม 01, 2010, 12:26:22 pm »



Zen เป็นการผสมผสาน(ปรับตัว)ของแนวคิดวิธีการพุทธ
จากอินเดียกับวิถีชีวิตของจีน

แนวทางของพุทธจากอินเดีย จะเน้น homeless life
คือ การมีชีวิตแบบพรหมจรรย์ แบบบรรชิต เน้นการหลุดพ้น
การเป็นอิสระจากโลก ... ในส่วนของปรัชญาก็ลึกซึ้ง
ต้องใช้หลักภาษาที่ซับซ้อน มีการวิเคราะห์ การตีความหมาย

ในขณะที่วิถีชีวิตของชาวจีนนั้นอยู่กับวิถีชีวิตปรกติธรรมดา ยังติดอยู่กับโลก
กิจกรรมต่างๆทางโลก การสัมผัสอยู่กับความหลากหลายของสิ่งต่างๆ



When a Zen master was asked what his future would be,
he unhesitatingly answered,
" Let me be a donkey or a horse and work for the villagers."

เมื่ออาจารย์เซนถูกถามว่า ชีวิตของท่านจะเป็นอย่างไรต่อไป ท่านตอบโดยไม่ลังเลใจว่า
" ให้ฉันเป็น  ลา หรือ ม้า ที่จะทำงานให้กับชาวบ้าน "

วิถีการดำเนินชีวิตของพระเซนนั้นแตกต่างจากคณะสงฆ์ที่เคยมีมาก่อนของอินเดีย
พระเซนไม่เพียงแต่ใช้หลักประชาธิปไตย (เณร พระใหม่ พระแก่ ทำงานเหมือนกัน ช่วยกัน)
แต่ยังเกี่ยวข้องกับวิถีปฏิบัติปกติของชีวิต และดังนั้นจึงมีความเข้าใจ
ในเรื่องเศรษฐศาสตร์(พอเพียง) และหลักการเมืองการปกครอง (ธรรมาธิปไตย)




" If you want to see, see right at once.
When you begin to think, you miss the point. "
(Zen Master)
หากคุณต้องการที่จะเห็น ก็จงเห็นในทันที เมื่อคุณเริ่มที่จะคิด คุณก็พลาด




有了禅心,就能随遇而安。在生活里面有也好、无也好、
多也好、少也好、大也好、小也好。有了禅心,就不会斤斤计较世间上的五欲尘劳、

เมื่อมีเซนในใจ สภาพรอบตัวทุกอย่างก็เรียบง่าย จะมีก็ดี หรือจะไม่มีก็ดี
มากก็ดี  น้อยก็ดี  จะใหญ่ก็ดี  จะเล็กก็ดี  ทุกอย่างย่อมดีหมด
ใจที่มีเซน จะไม่เข้าไปกอดรัดความต้องการทั้ง5ของมนุษย์ (ร่ำรวย  สวยหล่อ  เด่นดัง 
ความเอร็ดอร่อย   ความหลับเพลิดเพลินหลงใหล)

无门就是入禅之门
ไร้ประตู ก็คือ ประตูทางเข้าของเซน


เซนคือ ไม่มีเซน  เซนคือ มีเซน
เซนคือ ความจริง  เซนคือ ไม่มีจริง
เซนคือ การศึกษาจาก100ไปหา0

ก่อนเริ่มศึกษาเซน ต้นไม้ คือต้นไม้ ภูเขาคือภูเขา
ระหว่างศึกษาเซน ต้นไม้ไม่ใช่ต้นไม้ ภูเขาไม่ใช่ภูเขา
เมื่อเข้าใจเซน ต้นไม้กลับเป็นต้นไม้ ภูเขากลับเป็นภูเขา




http://www.vcharkarn.com/vcafe/155727/1
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ตุลาคม 01, 2010, 12:07:19 pm »



เซ็นคือ...

เซน เป็นสำนักหนึ่ง หรือแนวทางในการสอนแนวทางหนึ่ง
ของพุทธมหายาน
มาจากคำภาษาจีน และจากภาษาสันสกฤตอีกทีหนึ่ง ซึ่งมีความหมายว่า
การทำสมาธิภาวนา

เซน เน้นการปฏิบัติ และประสบการณ์ทางปัญญา  โดยเฉพาะการทำสมาธิที่เรียกว่า
ซาเซน เพื่อที่จะบรรลุการตื่นพร้อม(ฉับพลัน)
ดังนั้น จึงไม่เน้นหลักการความรู้ทางทฤษฏี ไม่เน้นตำราทางศาสนา
เพื่อการที่จะได้พบประสบกับความจริง

ผู้ให้กำเนิดเซน คือ พระที่เคยเป็นเจ้าชายชาวอินเดีย
ชื่อว่า พระโพธิธรรม (ตั๊กม้อ)
ซึ่งจาริกมายังประเทศจีน เพื่อถ่ายถอดแนวทางการเข้าถึงธรรม
ที่พ้นไปจากการพูดการใช้ภาษาอธิบาย

ต่อมาเซนได้แพร่ขยายเข้าไปในเวียดนาม เกาหลีและญี่ปุ่น

เห็นได้ชัดว่า เซน ใช้วิถีทางแห่งปัญญา
ในขั้นต้น ต้องพ้นไปจากภาษา คำอธิบาย
(แบบธรรมดาๆ หรือตามอย่างที่เคยทำ เคยเข้าใจ โดยความเชื่อ ความคิด)

แต่การที่บอกว่าไม่เน้นการศึกษาจากตำรา ... ก็ไม่ได้หมายความว่า ไม่ศึกษาเลย
การศึกษาเซนเพียงผิวเผิน แล้วพยายามอธิบายว่าเซนเป็นอะไรนั้น
เป็นอันตรายมาก

จากการค้นในเบื้องต้น ได้พบเห็นการแสดงความเข้าใจเกี่ยวกับเซน
ของผู้อ่านผู้ศึกษาเซน ที่เห็นว่ามีความคลาดเคลื่อน และน่าเป็นห่วง

(ซึ่งจะไม่ขอยกมาที่นี้ เพราะเจตนา ให้ช่วยกันเรียนรู้เซน โดยที่ไม่ต้องรู้คำอธิบายอะไร
ที่เราจะไปรับมาว่าเป็นอย่างนั้น ...ใช้ปัญญา และจิตใจที่เปิดกว้าง
และในขณะเดียวกัน เอาใจของเรา เข้าไปรู้จักกับเซน)


เห็นได้ชัดเจนว่า เซน ไม่ใช่การเล่นสำนวน ไม่ใช่การเล่นภาษา
หากแต่เป็นการใช้ภาษา เพื่อแทงทะลุเข้าไป ในความคิด จิตใจ ที่มีต่อเรื่องนั้นๆ

ที่สำคัญ ปัญญา ต้องมาก่อน ก่อนการใช้ภาษาที่เป็นอุบาย กระตุ้นเช่นนั้น
การอธิบายเซน จึงขึ้นอยู่กับ ระดับของสติปัญญา ความสว่าง
สะอาด สงบของจิตใจของเรา การมองเห็นความคิด ความติดยึดต่างๆ

ซึ่งพิจารณาเช่นนี้แล้ว จึงไม่ควรมีการอธิบาย เว้นเสียแต่จำเป็นต้องทำ
และต้องทำอย่างถูกต้อง
กล่าวเช่นนี้ ไม่ได้หมายความว่า หนังสือเซนที่มีผู้แต่ง เรียบเรียง รวบรวม
อธิบายต่างๆนั้น ไม่ควรจะเป็นอย่างที่พยายามอธิบาย

หากแต่ต้องทำอย่างระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง
ผู้ที่เข้าใจเซนมากเท่าใด ก็จะอธิบายน้อยลงเท่านั้น



เซน ในภาษาจีนกลางออกเสียงว่า ฉาน มาจากคำว่า ฌาน
 
[禅] 佛教 “禅那” 的简称,巴利语 Jhāna 的音译。梵语是 Dhyāna 。

จากข้อความข้างบน แปลได้ดังนี้

(ฉาน) พระเรียก "ฉานน่า" มาจากคำบาลีว่า Jhāna (คือคำว่า ฌาน) .
สันสฤตคือ Dhyāna (คำว่า ธยาน ध्यान )

***********

禅,是一种思考,一种表现,是集合的智慧结晶。禅之所以要突破,
便是为了明确生老病死不可避免的事实,以无畏之精神全身心去投入,
去认识,去了解,去体验,于其中发现秘密之所在,

如何在有限的“生之旅”而不为五欲八风所迷惑,
使自我意识转变成由看破而放下,
获得一个圆满的大自在!禅的思考是:逆境来时顺境因 ,
人情疏处道情亲;梦中何必争人我,放下身心见乾坤。

เซน คือ ความคิด  เซน คือ การแสดงออก
เซน คือ การรวมของความรู้ทั้งปวง

เซน ทำให้พบความจริงที่เราหลีกหนีไม่ได้ คือ เกิด แก่ เจ็บ ตาย 
และเผชิญหน้ากับมันได้อย่างกล้าหาญ

เป็นการปรับตัว เป็นความเข้าใจ  เป็นประสบการณ์ของตนเอง
ในการค้นหาความลับที่จะไม่ถูกจำกัดด้วย ความต้องการทั้ง5
(รวย สวย ดัง กิน นอน) และโลกธรรม8 (ลาภ ยศ ......)