ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: ตุลาคม 03, 2010, 09:07:21 pm »

 :06: น้ำพริกอ่องน่าทานที่สุดครับ ผมไม่ค่อยชอบแกงส้มนะครับมันเปรี้ยวๆไงไม้รู้
ปกติผมก็ทานผักทุกวันครับ ^^ ขอบคุณครับพี่หนุ่ม
ข้อความโดย: สายลมที่หวังดี
« เมื่อ: ตุลาคม 03, 2010, 08:17:32 pm »

 :45: น้ำพริกผักลวกนี้ของโปรดต้องเลย ขอบคุณนะค่ะคุณหนุ่ม :13:
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ตุลาคม 03, 2010, 10:21:21 am »



                   :02:  ขอบพระคุณ คุณหนุ่มนะคะ...

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: ตุลาคม 03, 2010, 08:52:52 am »

ชวนทุกบ้านกินเพื่อสุขภาพ ลดความดันโลหิตสูง
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    30 กันยายน 2553 17:34 น.


"วีรวรรณ เตชะเกรียงไกร"

อย่าง ที่ทราบกันดีว่า วัฒนธรรมการกินของคนไทย ณ ปัจจุบันถูกชาติตะวันเข้าครอบงำ เนื่องจากมีค่านิยมของการรับประทานอาหารฟาสฟู้ด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นทางเลือกที่ตอบโจทย์ความสะดวกสบายของสังคมคนเมืองทุกครอบ ครัวในอันดับต้นๆ จึงไม่แปลกที่เห็นคนไทยรับประทานอาหารไทยน้อยลง ทั้งๆ ที่มีสารอาหารครบ 5 หมู่ แต่ก็ยังสู้ความสะดวกรวดเร็วของอาหารฟาสฟู้ดไม่ได้ โดยกลุ่มเป้าหมายหลักจะเป็นเด็กที่คุณพ่อคุณแม่ต้องรีบเร่งไปทำงาน จนไม่มีเวลาดูแลเรื่องอาหารการกินให้กับลูกว่าลูกจะได้รับสารอาหารที่มี ประโยชน์หรือไม่ ซ้ำร้ายไปกว่านั้นไม่ทันยั้งคิดถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้นเลย
       
       กับประเด็นปัญหานี้ "วีรวรรณ เตชะเกรียงไกร" นัก กำหนดอาหาร โรงพยาบาลกรุงเทพ สะท้อนมุมมองว่า ทุกวันนี้เด็กๆ เป็นกลุ่มเสี่ยงที่ตกเป็นทาสของอาหารฟาสฟู้ด เนื่องจากถูกปลูกฝังค่านิยมมาตั้งแต่เด็ก ส่งผลให้เกิดความเคยชินในการกินไปจนถึงวัยของผู้ใหญ่ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดโรคภัยตามมาเมื่อเข้าสู่วัยชรา โดยเป็นผลพวงมาจากการกินที่สะสมตั้งแต่ในวัยเด็ก คือ โรคความดันโลหิตสูง ที่มีสาเหตุมาจากการมีไขมันในเลือดสูงเกินไป พันธุกรรม สูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอร์ มีความเครียดสะสม และที่สำคัญรับประทานอาหารที่มีรสเค็มจัดเป็นประจำ
       
       แม้โรคความดันโลหิตสูงจะเป็น โรคที่ไม่แสดงอาการอย่างชัดเจน แต่บางรายอาจพบอาการปวดศีรษะบริเวณท้าทอย มึนงง อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย นอนไม่หลับ ใจสั่น ตามัว มือ-เท้าชา และอาจมีเลอดกำเดาไหลได้ หากเป็นในระยะเวลาที่นานและไม่ได้รับการรักษาก็จะทำให้หลอดเลือดแดงเสื่อม สภาพ ส่งผลให้เกิดโรคแทรกซ้อนตามมา เช่น อัมพฤกษ์ อัมพาต ตาบอดจนถึงขั้นตาบอดได้ ไตวายหรือไตพิการ หัวใจขาดเลือด หัวใจวาย ถ้ามีอาการรุนแนงอาจชักจนหมดสติและเสียชีวิตในที่สุด
       
       อย่างไรก็ดี นักกำหนดอาหารท่านนี้กล่าวว่า อาหารเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งในการดำรงชีวิต คนเราต้องบริโภคอาหารทุกวัน ดังนั้นการเลือกรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม จะส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ เพราะอาหารและสุขภาพเป็นเรื่องระยะยาว ขอให้เลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมก่อนที่ร่างกายจะต้องเผชิญกับโรคร้าย เพื่อป้องกันการการเจ็บป่วยเรื้อรังและเมื่อท่านป่วยอาหารก็เป็นปัจจัยหนึ่ง ที่ชะลอหรือควบคุมการเกิดของโรคได้
       
       สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง จะต้องเลือกรับประทานอาหารประเภท DASH diet (Dietary Approch to Stop Hypertension) เช่น ผัก ผลไม้ และนมไขมันต่ำ เนื่องจากอาหารประเภทนี้มีไขมันอิ่มตัวและคลอเลสเตอรอลต่ำ มีใยอาหารสูง โดยเน้นการบริโภคอาหารที่มีสารอาหารที่ส่งผลให้ลดความดันโลหิต (เช่น โปแตสเซียม, แคลเซียม และแมกนีเซียม) ซึ่งสามารถควบคุมได้ทั้งความดันโลหิตและไขมันในเลือด หากเป็นเมนูอาหาร ควรเลือกรับประทานอาหารไทย เช่น น้ำพริกผักต้มและแกงส้ม แต่ควรหลีกเลี่ยงเมนูที่มีส่วนประกอบหลักเป็นกะปิ เกลือและกุ้งแห้ง เช่น น้ำพริกกะปิ น้ำพริกกุ้งเสียบ เนื่องจากทั้งกะปิและกุ้งแห้งมีปริมาณโซเดียมที่ค่อนข้างสูง และไม่ควรรับประทานแกงที่มีส่วนผสมของกะทิอีกด้วย ขณะเดียวกันการรับประทานน้ำพริกให้รับประทานเหมือนคนโบราณ คือเป็นเครื่องจิ้มไม่ใช่การตักปริมาณมากๆ ในแต่ละคำที่บริโภค
       
       "ถึงแม้ว่าจะสามารถหลีกเลี่ยงอาหารรสเค็มได้แล้วยังมีอาหารบางประเภทที่มีรสชาดไม่เค็ม แต่มีส่วนผสมของโซเดียมอยู่จำนวนมาก เช่น เครื่อง ปรุงรสทุกชนิด ซอสมะเขือเทศ ซอสพริก น้ำจิ้มไก่ และอาหารแปรรูปที่ส่วนใหญ่ที่มีการถนอมอาหารด้วยวิธีการต่างๆ เช่น หมูยอ กุนเชียง ปลากระป๋อง รวมทั้งอาหารกึ่งสำเร็จรูปที่เรีกว่าอาหาร ready-to-eat ต่างๆ ที่ปัจจุบันมีวางขายจำนวนในท้องตลาด โดยจากงานวิจัยของต่างประเทศพบว่าประเทศที่รับประทานอาหารที่มีเกลือสูงจะมี อุบัติการณ์โรคความดันโลหิตสูงขึ้นหลายเท่าตัว และเกิดในกลุ่มที่อายุน้อยลง ไม่เพียงแต่ในวัยผู้สูงอายุเท่านั้น" วีรวรรณกล่าว
       
       อย่างไรก็ตาม วีรวรรณกล่าวทิ้งท้ายว่า นอกจากการควบคุมเรื่องอาหารของผู้ป่วยโรคนี้แล้ว ควรมีการทำกิจกรรมหรือมีการดูแลสุขภาพ ถ้าน้ำหนักตัวเริ่มมากขึ้น ควรออกกำลังกายให้กลับมาอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม แต่ถ้าจะให้ดีต้องออกกำลังกายทุกๆ วัน วันละ 30 นาที หรืออย่างน้อย3 ครั้งต่อสัปดาห์ งดสูบบุหรี่อละเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รวมถึงใส่ใชเรื่องสภาวะจิตใจให้อารมณ์ดี อยู่เสมอ
       
       **แนะนำเมนูเพื่อสุขภาพ
       
       วันนี้ทีมงาน Life & Family จึงขอแนะนำเมนูอาหารไทยเพื่อสุขภาพให้ทุกครอบครัวไปลองทำกัน โดยเฉพาะบ้านที่กำลังมีคุณตา คุณยายป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงต้องรีบเปิดครัวลงมือทำกันกับ 2 เมนูสุขภาพนี้


       
       1. น้ำพริกอ่อง (อาหารพื้นเมืองของภาคเหนือ)

น้ำพริกอ่อง
       เครื่องปรุง
       - หมูสับ 200 กรัม
       - มะเขือเทศลูกเล็ก 150 กรัม
       - พริกแห้ง 4-5 เม็ด
       - กระเทียม 3-4 กลีบ
       - เกลือ กะปิ อย่างละ 1/2 ช้อนโต๊ะ
       - น้ำมัน 3 ช้อนโต๊ะ
       - ถั่วเน่าแผ่น 1/2 แผ่น
       - หัวหอม 2 หัว
       - น้ำปลา
       - น้ำตาล
       - ผักชี ต้นหอม หั่นหยาบ
       
       วิธีทำ
       1. นำถั่วเน่าแผ่นมาย่างไฟ ทิ้งไว้ให้กรอบ แล้วนำมาโขลกให้ละเอียด
       2. โขลกพริกแห้ง เกลือ กระเทียม กะปิ หัวหอม ให้ละเอียด แล้วนำถั่วเน่าแผ่น ที่โขลกเอาไว้ มาโขลกรวมกับน้ำพริก
       3. นำหมูสับมาโขลกกับเครื่องปรุงในข้อ 2 ใส่มะเขือเทศลงไป โขลกเบา ๆ ให้เข้ากัน
       4. ใส่น้ำมันลงในกะทะ แล้วนำเครื่องปรุงที่โขลกเข้ากันดีแล้ว ลงไปผัดจนเห็นว่าได้ที่ดีแล้ว ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำตาล ชิมรส ยกลงโรยด้วยต้นหอมผักชี
       
       เครื่องจิ้ม
       รับประทานคู่กับแคบหมูและผักสด เช่น แตงกวา ถั่วฝักยาว กระถิน ถั่วพู หรือผักต้ม เช่น ถั่วฝักยาว มะเขือ ผักบุ้ง หัวปลี ยอดแค กะหล่ำปลี ฟักทอง
       


       2. แกงส้มผักรวม

แกงส้ม
       เครื่องน้ำพริกแกงส้มผักรวม
       -พริกแห้ง 25 กรัม
       -กระชาย 2 ช้อนโต๊ะ
       -เกลือ 2 ช้อนชา
       -หอม 25 กรัม กะปิ 2 ช้อนชา
       
       ส่วนผสม
       -น้ำ 6 ถ้วยตวง
       -แตงโมอ่อน 500 กรัม
       -ถั่วฝักยาว 250 กรัม
       -ปลาช่อน 700 กรัม
       -กะหล่ำปลี 300 กรัม
       - ดอกแค 300 กรัม
       
       ปรุงรส
       -น้ำมะขามเปียก 3/4 ถ้วยตวง
       -น้ำตาล 3 ช้อนโต๊ะ
       -น้ำปลา 1/3 ถ้วยตวง
       
       วิธีทำ
       1.โขลกส่วนผสมของน้ำพริกให้ละเอียด ส่วนกระชายถ้าชอบกลิ่นก็ใส่ แต่ถ้าไม่ชอบก็ไม่ต้องใส่
       2.ขอดเกล็ดปลาช่อนล้างน้ำให้สะอาดต้มกับน้ำเดือด
       3.ตั้งน้ำพอเดือดใส่ส่วนหางที่แบ่งไว้ต้มให้เปื่อย แกะก้างออกโขลกเนื้อกับน้ำพริกให้เข้ากัน น้ำพริกละลายในน้ำเดือดใส่ผักที่สุกยากก่อน ใส่น้ำปลา น้ำมะขามน้ำตาล ปรุงรส ใส่ผักที่เหลือตั้งให้เดือดอีกครั้งใส่เนื้อปลา ชิมรสเปรี้ยว หวาน เค็ม สุก ยกลง
       ***ข้อควรระวังในการรับประทานแกงส้ม ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตไม่ควรซดน้ำแกงมาก ควรรับประทานผักให้มากกว่า

http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9530000137492