ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ตุลาคม 05, 2010, 03:08:59 pm »




                               
                            อนุโมทนาสาธุธรรมค่ะ คุณมด
ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: กันยายน 23, 2010, 09:48:46 pm »


 :13: อนุโมทนาครับพี่มด ^^
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: กันยายน 23, 2010, 03:11:50 pm »

ดังนั้นแล พระมัญชุศรีกุมารภูตะ เมื่อจะชี้ให้เห็นข้อความเดียวนั้นให้ชัดเจนยิ่งขึ้นจึงได้ตรัสคาถาเหล่านี้ในเวลานั้น ว่า

57     ข้าพเจ้าได้ระลึกถึงอดีตกาลในกัลป์ ที่ใครคิดไม่ได้ และนับไม่ได้ ครั้งนั้น  พระชินเจ้านามว่า จันทรสูรยประทีป เป็นผู้สูงสุดแห่งชนทั้งหลาย

58     พระองค์เป็นผู้นำของชนทั้งหลาย ทรงแสดงพระสัทธรรม ทรงแนะนำสัตว์ทั้งหลายมากมายนับไม่ได้ว่ากี่โกฏิ ทรงให้พระโพธิสัตว์จำนวนมาก ตั้งมั่นอยู่นพระพุทธญาณ อันสูงสุดและเป็นอจินไตย

59     พระโอรสทั้ง 8 พระองค์ ของพระกุมารภูตะ (จันทรสูรยประทีป) ซึ่งเป็นผู้นำที่วิเศษ เห็นพระมหามุนีนั้น (พระบิดา) ที่ผนวชแล้ว จึงพากันละกามเสีย แล้วทั้งหมดก็พากันผนวชโดยพลัน

60     ก็พระองค์ (จันทรสูรยประทีป) ผู้เป็นโลกนาถนั้น เมื่อประกาศธรรมแก่สรรพสัตว์หลายแสนโกฏิ ทรงแสดงพระสูตร มีชื่อว่า “อนันตนิรเทศวรสูตร” ซึ่งเรียกชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า “ไวปุลยสูตร”

61     ทันทีที่แสดงจบลง พระมุนีผู้ประเสริฐ ผู้เป็นที่พึ่งของชาวโลก พระองค์นั้น ทรงนั่งขัดสมาธิ บนธรรมมาสน์ เข้าอนันตนิรเทศวรสมาธิ

62     ได้มีสายฝนดอกมณฑารพอันเป็นทิพย์ตกลงมา และกลองทั้งหมดได้ดังขึ้นโดยไม่มีคนตี เทวดาทั้งหลายที่สิงสถิตอยู่ในอากาศ และพวกยักษ์ได้ทำการบูชาพระมุนีผู้ประเสริฐกว่ามนุษย์นั้น

63     ในขณะนั้น พุทธเกษตรทั้งปวงก็สั่นสะเทือน ได้ปรากฏความอัศจรรย์ยิ่งใหญ่ ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค ได้ทรงเปล่งพระรัศมีที่งดงามยิ่งดวงหนึ่งออกจากท่ามกลางพระขนงของพระองค์

64     ก็แล พระรัศมีนั้นพุ่งไปสู่ทิศบูรพา แผ่ไปทั่ว 18000 พุทธเกษตรสว่างจ้า ทำให้โลกสว่างไสวไปทั่ว การจุติและการเกิดได้ปรากฏแก่สัตว์ทั้งหลาย

65     เพราะรัศมีของพระผู้ทรงเป็นผู้นำนั้น ทำให้พุทธเกษตรบางแห่งปรากฏเหมือนประดับด้วยเพชรนิลจินดา บางแห่งมองเห็นเหมือนแสงแก้วไพทูรย์

66     ในโลกธาตุทั้งหลาย เทวดา มนุษย์ นาค ยักษ์ คนธรรพ์ นางอัปสร กินนร และผู้ใฝ่ใจในการบูชาพระสุคต ย่อมปรากฏเห็นได้อย่างชัดเจน แล้วทำการบูชา (พระตถาคต)

67     พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้เป็นพระสยัมภู ปรากฏพระรูปสวยงามเหมือนทองคำ แสดงธรรมอยู่ ท่ามกลางบริษัท (ปรากฏเหมือน) พระประติมาทองคำ ในท่ามกลางแก้วไพทูรย์

68     ไม่มีการนับจำนวนพระสาวก เพราะพระสาวกของพระสุคต มีจำนวนมากจนประมาณไม่ได้ แม้กกระนั้นแสงพระรัศมีของพระผู้มีพระภาค ก็ส่องสว่างให้เห็นกันได้ทั่วไปในแต่ละพุทธเกษตร

69     บุตรแห่งพระตถาคต (ผู้นำแห่งนรชน) ผู้ประกอบด้วยความเพียร มีศีลไม่ด่างพร้อย บริสุทธิ์ผ่องใสเหมือนมณีรัตนะ ได้อาศัยอยู่ที่ถ้ำตามภูเขา

70     พระโพธิสัตว์จำนวนมากดุจเม็ดทราย ในแม่น้ำคงคา แม้ทั้งหมดเป็นปราชญ์ที่กำลังบริจาคทานทุกชนิด มีขันติเป็นพลัง ยินดีในสมาธิ ปรากฏให้เห็นได้ ด้วยพระรัศมีนั้น

71     บุตรทั้งหลายที่เป็นโอรสแท้ๆ ของพระสุคตนั้น มีจิตมั่นคง ไม่เอนเอียงไม่หวั่นไหว ตั้งมั่นในขันติ ยินดีในสมาธิ เป็นที่ปรากฏ ท่านเหล่านั้นได้บรรลุพระโพธิญาณ อันประเสริฐด้วยสมาธินั้น

72     (พุทธบุตรทั้งหลาย) ย่อมมีความรู้ ประกาศสัจบท อันสงบ และไม่มีอาสวะ แสดงธรรมในโลกธาตุจำนวนมาก การกระทำเช่นนี้ เป็นอานุภาพของพระสุคต

73     บริษัทสี่เหล่านั้น เห็นปรากฏการณ์นี้ของพระสุคตจันทรสูรยประทีป ผู้เป็นเช่นนั้น แล้วมีความปลื้มปิติ ต่างก็ถามกันและกัน ขณะนั้นว่า ทุกสิ่งทุกอย่างนั้นเป็นอย่างไร

74     ไม่นานนัก พระสุคตจันทรสูรยประทีปพระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้นำของชาวโลกที่มนุษย์ เทวดาและยักษ์บูชาแล้ว ได้ทรงออกจากสมาธิแล้ว ตรัสกับพระโอรสวรประภา ซึ่งเป็นพระโพธิสัตว์ที่ฉลาด และเป็นผู้ประกาศธรรมว่า

75     ท่านเป็นจักษุและเป็นคติ (ที่พึ่งที่อาศัย) ของชาวโลก ท่านเป็นผู้มีความรู้ควรแก่การไว้วางใจ และเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งธรรมของเรา ก็ ณ ที่นี้ ท่านจะเป็นพยานในหลักธรรม (ธรรมโกศ) ที่เราจักแสดง เพื่อประโยชน์แก่หมู่สัตว์ทั้งหลาย

76     พระชินเจ้าพระองค์นั้น ทรงให้พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ตั้งมั่นหรรษาสังวรรณนา และสรรเสริญแล้ว ทรงประกาศธรรมอันเลิศทั้งหลาย ตลอด 60 กัลป์บริบูรณ์

77     พระโลกนาถ พระองค์นั้น ซึ่งประทับบนอาสนะเดียว ได้ทรงแสดงธรรมอันประเสริฐใดไว้ พระชินบุตร วรประภา ผู้ประกาศธรรม ได้ทรงจำธรรมนั้นไว้ได้ทั้งหมด

78     พระชินเจ้าที่เป็นผู้นำพระองค์นั้น ทรงตรัสธรรมอันเลิศ ให้หมู่ชนจำนวนมาก รื่นเริงหรรษา ในวันนั้น ทรงตรัสธรรมต่อหน้าชาวโลก พร้อมทั้งเทวดาว่า

79     “เรา (ตถาคต) ได้ประกาศผู้นำแห่งธรรมแล้ว สภาวะแห่งธรรมเป็นเช่นใด เราก็ได้กล่าวแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คืนวันนี้ ในมัชฌิมยาม กาลเป็นที่ดับขันธปรินิพพานของเรา (ได้มาถึงแล้ว)”

80     “ท่านทั้งหลายจงอย่าประมาท จงตั้งมั่นเพื่อความหลุดพ้น เอาใจใส่ในธรรมคำสอนของเรา พระชินเจ้ามหามุนีทั้งหลาย เป็นผู้ที่หายาก ต้องใช้เวลาหลายหมื่นโกฏิกัลป์กว่าจะอุบัติขึ้น

81     พุทธบุตรจำนวนมาก เกิดความไม่สบายใจและทุกข์ใจยิ่งนัก เมื่อได้ยินคำว่าพระตถาคตจะเสด็จดับขันธปรินิพพานในเร็วๆ นี้ ซึ่งเป็นพระสุรเสียงของพระตถาคต (ผู้ประเสริฐกว่ามนุษย์

82     พระตถาคต ผู้เป็นนเรนทรราช ได้ทรงปลอบโยนสรรพสัตว์ทั้งหลายจำนวนมากหลายโกฏิ ที่คิดคำนวณไม่ได้เหล่านั้นว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอย่ากลัวไปเลย เมื่อเรานิพพานแล้ว ต่อจากเราไปจะมีพระพุทธเจ้าอีกองค์หนึ่ง(อุบัติขึ้น)”

83     พระศรีครรภโพธิสัตว์ผู้นี้ มีความรู้ บรรลุคติโนฌานอันปราศจากอาสวะแล้ว จักบรรลุพระโพธิญาณ อันประเสริฐสูงสุด และจักเป็นพระชินเจ้ามีพระนามว่า “วิมลาครเนตร”

84     ในมัชฌิมยามของคืนนั้น พระตถาคตเจ้าก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน ดุจดวงประทีปที่ดับลงแล้ว เพราะสิ้นเหตุปัจจัยฉะนั้น พระบรมสารีริกธาตุของพระองค์ ได้รับการแบ่งปันกันไป และพระสถูปสำหรับพระบรมสารีริกธาตุมีอยู่ทั่วไปหลายหมื่นโกฏิ

85     ภิกษุและภิกษุณีทั้งหลายจำนวนไม่น้อย ณ ที่นั้น เท่ากับจำนวนเมล็ดทรายในแม่น้ำคงคา ได้ปฏิบัติตนอยู่ในธรรมคำสอนของพระสุคตพระองค์นั้น จนได้ถึงพระโพธิญาณอันประเสริฐและสูงสุด

86     ภิกษุนามว่า วรประภา ผู้ประกาศธรรมและทรงจำธรรมไว้ ได้แสดงธรรมอันประเสริฐตามคำสอนของพระตถาคตนั้น เป็นเวลานานถึง 80 กัลป์บริบูรณ์

87     ท่าน(วรประภา) มีศิษย์ 800 คน ซึ่งทุกคนท่านได้อบรมดีแล้ว ศิษย์ทั้งหมดนั้นได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าจำนวนมากหลายโกฏิและได้ทำการสักการะพระมหามุนีพุทธเจ้าเหล่านั้น

88     ศิษย์ทั้งหลายเหล่านั้นได้ประพฤติธรรมตามลำดับ จนได้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าในหลายโลกธาตุ และท่านเหล่านั้นได้สอนธรรมเพื่อพระโพธิญาณอันประเสริฐแก่องค์อื่นๆต่อเนื่องกันตามลำดับ

89     ก็โดยลำดับของพระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านั้น พระทีปังกรพุทธเจ้า ได้เป็นพระพุทธเจ้าองค์สุดท้าย พระองค์ผู้เป็นเทพยิ่งกว่าเทพ ทรงเป็นผู้ที่หมู่ฤษียกย่องบูชา ได้ทรงแนะนำพร่ำสอนสรรพสัตว์จำนวนหลายพันโกฏิ

90     พระสุคตบุตร วรประภา ผู้สอนธรรมพระองค์นั้น ได้มีศิษย์คนหนึ่งซึ่งขี้เกียจโลเล และชอบแสวงหาลาภ พร้อมทั้งชื่อเสียงเกียรติยศ

91     (ศิษย์คนนั้น) เป็นผู้ทะเยอทะยานในชื่อเสียงเกียรติยศ ถือตัว จะต้องเกิดอีกหลายชาติ คำสอนที่ได้ฟังและเรียนทั้งหมด ย่อมไม่ติดอยู่ในสมองเขาเลย (ไม่มีเพื่อกล่าว) ในขณะนั้น

92     ศิษย์คนนั้นปรากฏชื่อทั่วไปในทุกทิศว่า “ยศัสกาม” เขาจึงได้มีชื่ออย่างนี้ เขาได้กระทำทั้งกรรมที่เป็นกุศลและอกุศลประปนกันไป

93     เขา (ยศัสกาม) เลื่อมใสพระพุทธเจ้าหลายพันโกฏิพระองค์ และได้ทำการสักการะบูชาอย่างกว้างขวางต่อพระพุทธเจ้าเหล่านั้น เป็นผู้รอบรู้ มีความประพฤติคล้อยตามผู้ประเสริฐ และได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าศากยสิงหะนี้ด้วย

94     เขา (ยศัสกาม) ผู้เกิดในไมเตรยะโคตรจะเป็นคนสุดท้าย ที่จะได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า สั่งสอนสรรสัตว์จำนวนหลายพันโกฏิ

95     เขา (ยศัสกาม) ผู้เป็นเช่นนี้ที่ถึงเกียจคร้านในคำสอนของพระสุคต ซึ่งเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว (ในกาลครั้งนั้น) คือท่าน (พระไมเตรยะ) ส่วนในขณะนี้ และพระวรประภา ผู้ประกาศธรรม (ในขณะนั้น คือข้าพเจ้า (พระมัญชุศรี)

96     เพราะเหตุการณ์นี้ ข้าพเจ้าได้เห็นนิมิตอย่างนี้ ที่พระองค์ ผู้ทรงญาณแสดง จึงได้กล่าวถึงนิมิต ที่ข้าพเจ้าได้เห็นในครั้งแรก ณ ที่นั้นว่า

97     แน่นอน พระตถาคตผู้เป็นจอมแห่งชินะ ผู้เป็นอธิราชแห่งศากยะ ผู้ทรงมีพระจักษุโดยรอบ (สมันตจักษุ) ผู้ทรงเห็นประโยชน์สูงสุด ปรารถนาจะแสดงธรรมบรรยายอันประเสริฐ ที่ข้าพเจ้าเคยฟังมาแล้ว

98     วันนี้พระศากสิงหะกระทำนิมิตที่บริบูรณ์นี้นั่นแล ให้เป็นข้อกำหนดความฉลาดในอุบาย (อุปายโกศล) ของพระผู้นำแห่งโลกทั้งหลาย (ว่า) พระองค์จะประกาศสภาวธรรมที่สำคัญ

99     ท่านทั้งหลายจงทำจิตให้สงบ ประคองอัญชลีไว้ พระองค์ผู้อนุเคราะห์ประโยชน์ต่อชาวโลก จักแสดงธรรมดุจสายฝนตกลงอย่างไม่ขาดสาย สรรพสัตว์ทั้งหลายที่ดำรงอยู่เพื่อเหตุแห่งการตรัสรู้ จักได้เอิบอิ่ม

100  บุตรตถาคตและพระโพธิสัตว์ที่ตั้งอยู่ในโพธิผู้ใด มีความสงสัย ข้องใจ ลังเลใจ ในเรื่องนี้ พระตถาคตผู้ทรงปัญญา ก็จะขจัดความสงสัยข้องใจ และความลังเลใจของผู้นั้นให้หมดไปได้

บทที่1 นิทานปริวรรต ว่าด้วยบทนำ

ในธรรมบรรยาย สัทธรรมปุณฑรีกสูตร อันประเสริฐ

มีเพียงเท่านี้

*********

http://www.mahayana.in.th/tmayana/พระสูตรสัทธรรมปุณฑริก/สัทธรรมปุณทรีกะบท1.htm
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: กันยายน 23, 2010, 03:11:06 pm »

นัยว่า ครั้งนั้น พระมัญชุศรีกุมารภูตะ ได้ตรัสกับพระไมเตรยโพธิสัตว์มหาสัตว์ และหมู่พระโพธิสัตว์ทั้งปวงว่า ดูก่อนกุลบุตรทั้งหลาย วันนี้ พระตถาคตทรงมีพระประสงค์ทำให้ฝน คือหลักธรรมตกลงมา ทำการตีกลองหลักธรรม ทำการชักธงหลักธรรม ทำการจุดประทีปหลักธรรมให้สว่างไสว  ทำการเป่าสังข์หลักธรรม ทำการตีกลองเภรีหลักธรรม  และทรงการแสดงหลักธรรม ดูก่อนกุลบุตรทั้งหลาย ที่ข้าพเจ้าเคยรู้และเคยเห็นมา ปุพพนิมิตอย่างนี้ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย พระองค์ก่อนๆ ก็ได้เคยทรงเปล่งพระรัศมีสว่างไสวอย่างนี้ ฉะนั้นข้าพเจ้าจึงเข้าใจว่า พระตถาคตคงประสงค์จะทำการสนทนาถึงหลักธรรม ประสงค์ให้ได้ยินเสียงธรรม เพราะฉะนั้น พระองค์จึงทรงแสดงปุพพนิมิตเช่นนี้ ข้อนั้นเป็นเพราะอะไร? พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงประสงค์ให้ธรรมบรรยายได้ยินไปถึงฝ่ายตรงกันข้ามในโลกทั้งปวง ฉะนั้นจึงทรงแสดงปุพพนิมิตเป็นมหาปาฏิหาริย์ จึงเปล่งพระรัศมีสว่างไสวอย่างที่เห็นนี้

ดูก่อนกุลบุตรทั้งหลาย ข้าพเจ้าจำได้ว่า สมัยอดีตกาล ที่ล่วงมาแล้วช้านาน หลายกัลป์จนนับไม่ได้ นานเกินกว่าที่จะนับ คำนวณก็ไม่ได้ คิดก็ไม่ได้ ประมาณก็ไม่ได้ กาลสมัยนั้น พระตถาคตอรหัตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า จันทรสูรยประทีป ได้อุบัติขึ้นในโลก พระองค์ทรงเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เป็นพระสุคต รู้แจ้งโลก เป็นนายสารถีผู้ฝึกบุรุษที่ประเสริฐ เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่น เป็นผู้มีโชค พระองค์ได้ทรงแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น ท่านกลางและที่สุด ได้ทรงประกาศพรหมจรรย์มีเนื้อความงาม มีพยัญชนะงาม อันบริสุทธิ์ บริบูรณ์สะอาดหมดจดโดยสิ้นเชิง กล่าวคือพระองค์ได้ทรงแสดงธรรมมีอริยสัจสี่ พร้อมกับปฏิจจสมุปบาท โดยลำดับ ตั้งแต่ ชาติ ชรา พยาธิ มรณะโศกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จบลงด้วยนิพพาน แก่พระสาวกทั้งหลาย สำหรับพระโพธิสัตว์มหาสัตว์ทั้งหลาย พระองค์ได้ทรงแสดงธรรมอันยิ่ง ซึ่งประกอบด้วยบารมีหก เริ่มจากสัมมาสัมโพธิ และจบลงด้วย พระสัพพัญญุตญาณ

ดูก่อนกุลบุตรทั้งหลาย ก็แลหลังจากพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า จันทรสูรยประทีปพระองค์นั้นแล้ว ได้มีพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าอีกพระองค์หนึ่ง ทรงอุบัติขึ้นในโลก มีพระนามว่า จันทรสูรยประทีปเช่นกัน ดูก่อนอชิตะ ในกาลลำดับต่อมานั้น  ได้มีพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าจำนวน 20,000องค์ ที่มีพระนามว่า จันทรสูรยประทีป ซึ่งมีนามเรียกขานตระกูลและโคตรเป็นนามเดียวกัน เหมือนที่มีพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ที่มีพระนามว่า ภรัทวาชะ ซึ่งตระกูลและโคตรเป็นนามเดียวกัน ดูก่อนอชิตะ บรรดาพระตถาคต 20,000 องค์เหล่านั้น เริ่มแต่พระองค์แรก จนถึงพระองค์สุดท้าย มีพระนามว่า จันทรสูรยประทีป เป็นพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า นามว่า ภัทระ ผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะเป็นพระสุคต  เป็นผู้รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ประเสริฐ เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่น เป็นผู้มีโชค พระองค์ได้ทรงแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุด ได้ประกาศพรหมจรรย์ มีเนื้อความงาม มีพยัญชนะงามอันบริสุทธิ์บริบูรณ์ สะอาดหมดจดโดยสิ้นเชิง กล่าวคือ พระองค์ได้ทรงแสดงธรรม มีอริยสัจสี่ พร้อมกับปฏิจจสมุปบาท โดยลำดับ ตั้งแต่ ชาติ ชรา พยาธิ มรณะโศกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จบลงด้วยนิพพาน แก่พระสาวกทั้งหลาย สำหรับพระโพธิสัตว์มหาสัตว์นั้น พระองค์ได้ทรงแสดงธรรมอันซึ่งประกอบด้วย บารมีหก เริ่มจากสัมมาสัมโพธิ และจบลงด้วย พระสัพพัญญุตญาณ

ดูก่อน อชิตะ ก็แล พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงพระนามว่า จันทรสูรยประทีป ขณะที่ยังทรงเป็นราชกุมาร ยังมิได้ทรงสละราชสมบัติ ก่อนออกผนวช ได้ทรงมีพระโอรส 8 พระองค์ คือพระราชกุมารมติ พระราชกุมารสุมติ พระราชกุมารอนันตมติ พระราชกุมารรัตนมติ พระราชกุมารวิเศษมติ พระราชกุมารวิมติสมุทฆาฏี  พระราชกุมารโฆษมติ  และพระราชกุมารธรรมมติ ดูก่อนอชิตะ ก็นัยว่า พระราชกุมารผู้เป็นพระโอรสของตถาคตพระนามว่า จันทรสูรยประทีป ทั้ง 8 พระองค์เหล่านั้น ทรงมีฤทธิ์มาก แต่ละพระองค์ได้ทรงปกครอง 5 มหาทวีป และทุกพระองค์ได้ทรงครองราชย์ด้วย พระราชกุมารทั้งหมด เหล่านั้น ครั้นทรงทราบว่า พระผู้มีพระภาค (พระบิดา) ได้สละราชสมบัติ ทรงออกผนวชและทรงสดับว่าพระองค์ได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ก็ได้สละราชสมบัติและการปกครองทั้งปวง ผนวชตามพระบิดาที่เป็นพระผู้มีพระภาคนั้น ทุกพระองค์ทรงสำเร็จพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณและประกาศธรรม พระราชกุมารเหล่านั้นทรงเป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์และได้ทรงสร้างบุญกุศลไว้ในพระพุทธเจ้าหลายแสนพระองค์ในอดีตกาลที่ผ่านมา

ดูก่อนอชิตะ ก็นัยว่าสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า จันทรสูรยประทีปนั้น ได้ทรงแสดงพระสูตรอันเป็นธรรมบรรยายชื่อว่า “มหานิรเทศ” ซึ่งมีเนื้อความกว้างขวาง เป็นคำสอนที่เหมาะแก่พระโพธิสัตว์ และเป็นที่ยึดถือของพระพุทธเจ้าทั้งปวง ในขณะเดียวกัน ณ ที่ประชุมบริษัทนั้น (พระองค์) ทรงขึ้นประทับบนธรรมมาสน์ ทรงเข้าอนัตตนิรเทศประดิษฐานสมาธิ ด้วยพระวรกายและจิตที่ตั้งมั่นสงบนิ่ง ก็แลในขณะที่พระผู้มีพระภาคทรงเข้าสมาธิอยู่นั้น ฝนดอกไม้ทิพย์ ดอกมณฑารพ ดอกมหามณฑารพ ดอกมัญชูษกะและดอกมหามัญชูษกะ โปรยลงมา ฝนนั้นได้ถูกต้องพระผู้มีพระภาค พร้อมทั้งเหล่าบริษัทพุทธเกษตรทั้งปวง ก็สั่นสะเทือนเป็นหกจังหวะ คือ เคลื่อนไป-เคลื่อนมา ฟูขึ้น-ยุบลง โคลงไป-โคลงมา   ดูก่อนอชิตะ ก็กาลสมัยนั้น ในที่ประชุมนั้น ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เทวดา นาค ยักษ์ คนธรรพ์ อสูร ครุฑ กินนร พญานาค มนุษย์ อมนุษย์ รวมทั้งพระราชา พระจักรพรรดิ ผู้มีพลัง ซึ่งครองนครโดยรอบและพระจักรพรรดิผู้ครองทวีปทั้งสี่ ที่นั่งประชุม รวมกันทั้งหมด พร้อมทั้งบริวาร พากันจ้องมองพระผู้มีพระภาค ต่างประหลาดอัศจรรย์ใจไปตามๆกัน ก็แล ในเวลานั้น พระรัศมีดวงหนึ่งได้ฉายออกจากกลุ่มพระจูรณะ ระหว่างพระขนงของพระผู้มีพระภาคตถาคตจันทรสูรยประทีปนั้น พระรัศมีนั้น แผ่คลุมไปทั่ว 18000 พุทธเกษตร ในทิศบูรพา พุทธเกษตรทั้งหมดนั้น ได้ปรากฏสว่างไสวไปด้วยแสงพระรัศมีนั้น ดูก่อนอชิตะปรากฏการณ์นั้นก็เป็นเช่นเดียวกับพุทธเกษตรทั้งหลาย ที่ปรากฏอยู่ในขณะนี้

ดูก่อนอชิตะ ก็โดยสมัยนั้น พระโพธิสัตว์จำนวน 20 โกฏิ ได้ติดตามพระผู้มีพระภาคนั้น ท่านเหล่านั้น ซึ่งฟังธรรมอยู่ในที่ประชุมนั้น ครั้นได้เห็นโลก สว่างไสวด้วยแสงของพระรัศมีนั้น ก็เกิดความประหลาด อัศจรรย์ใจไปตามๆกัน

ดูก่อนอชิตะ โดยสมัยนั้น ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น (จันทรสูรยประทีป) ได้มีพระโพธิสัตว์องค์หนึ่งมีนามว่า “วรประภา” ซึ่งมีศิษยานุศิษย์ 800 องค์ ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ได้ทรงออกจากสมาธิแล้ว ทรงปรารภถึง วรประภาโพธิสัตว์นั้นจึงทรงแสดงธรรมบรรยายที่ชื่อว่า “สัทธรรมปุณฑรีกสูตร” พระองค์ทรงประทับนั่ง ณ ที่ประทับ แห่งเดียว โดยมีพระวรกายไม่ไหวติง และทรงมีพระหทัยจิตตั้งมั่น แสดงธรรมนั้นอยู่เป็นเวลา 60 กัลป์บริบูรณ์ บริษัททั้งหมดที่นั่งอยู่ ณ อาสนะเดียวนั้น ได้ฟังธรรมอยู่ใกล้ๆ พระองค์ตลอด 60 กัลป์ ความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้ากายและใจ จะได้มีแก่ใครสักคนหนึ่ง ในที่ประชุมนั้น ก็หาไม่

ต่อมา พระผู้มีพระภาคตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า จันทรสูรยประทีปนั้น ครั้น ทรงแสดงธรรมบรรยายสัทธรรมปุณฑรีกสูตร อันเป็นสูตรที่มีเนื้อความกว้างขวาง เป็นคำสอน ที่เหมาะแก่พระโพธิสัตว์ และเป็นที่ยึดถือของพระพุทธเจ้าทั้งปวง เป็นเวลาถึง 60 กัลป์แล้ว ในชั่วขณะนั้น ก็ได้ทรงประกาศพระนิพพานเบื้องหน้าประชาชน พร้อมทั้งเทพ มาร พรหม และสมณะพราหมณ์พร้อมด้วยเทวดา มนุษย์และอสูรว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในมัชฌิมยาม คืนนี้แล ตถาคตจะดับขันธปรินิพพาน โดยอนุปาทิเสสนิพพานแล

ดูก่อนอชิตะ พระผู้มีพระภาคตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าจันทรสูรยประทีปนั้น ได้ทรงพยากรณ์พระโพธิสัตว์มหาสัตว์นามว่า “ศรีครรภ” ไว้ในอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ แล้วได้ตรัสกับบริษัททั้งปวงว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระโพธิสัตว์มหาสัตว์ ศรีครรภ นี้ จักบรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณต่อจากเรา เป็นพระตถาคตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า “วิมลเนตร” ดังนี้

ดูก่อนอชิตะ นัยว่าครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านามว่า จันทรสูรยประทีป ได้เสด็จดับขันธปรินิพพาน โดยอนุปาทิเสสนิพพานในมัชฌิมยาม คืนนั้นแล และพระโพธิสัตว์มหาสัตว์วรประภานั้น ได้ทรงจำธรรมบรรยายที่ชื่อว่า “สัทธรรมปุณฑรีกสูตร” นั้นไว้ พระโพธิสัตว์มหาสัตว์วรประภานั้น ได้ทรงจำ และได้ประกาศคำสอนของพระผู้มีพระภาคนั้นเป็นเวลา 80 กัลป์ ในขณะนั้น พระโอรสทั้ง 8 พระองค์ของพระผู้มีพระภาคนั้น ซึ่งมีพระราชกุมารมติเป็นประมุข ก็ได้เป็นอันเตวาสิกของพระโพธิสัตว์มหาสัตว์ วรประภานั่นเอง ท่านเหล่านั้นได้สั่งสมบารมีเพื่อตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ และหลังจากนั้นท่านเหล่านั้นได้ทรงเห็นและทรงสักการะพระพุทธเจ้าหลายหมื่นแสนโกฏิ ก็แลท่านเหล่านั้นทั้งหมด ได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในบรรดาพระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านั้น พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์สุดท้าย คือพระทีปังกรพุทธเจ้า

บรรดาอันเตวาสิกทั้ง 8 องค์นั้น พระโพธิสัตว์องค์หนึ่ง เป็นผู้หนักในลาภสักการะ สรรเสริญ และยศ มากยิ่งเหลือประมาณ  บทและพยัญชนะทั้งหลาย ที่แสดงแล้วแสดงอีกแก่ท่าน ท่านก็ทำให้ลบเลือนหายไป ท่านมิได้ทรงจำบทและพยัญชนะเหล่านั้น ฉะนั้น ท่านจึงถูกขนานนามว่า “ยศัสกาม” ด้วยกุศลมูลที่ท่านได้เลื่อมใสพระพุทธเจ้าหลายหมื่นแสนโกฏิพระองค์ และเมื่อเลื่อมใสแล้วท่านได้สักการะ เคารพ นบนอบ บูชา นับถือและยกย่องพระพุทธเจ้าหลายหมื่นแสนโกฏิยุตเหล่านั้น ดูก่อนอชิตะ ท่านคงสงสัย คลางแคลง ลังเลใจว่า โดยกาลสมัยนั้น ยังจะมีพระโพธิสัตว์มหาสัตว์ ผู้แสดงธรรม นามว่า วรประภา องค์อื่นอีกหรือ ? ก็แล ท่านไม่ควรคิดเห็นเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไรเล่า ? เพราะโดยกาลสมัยนั้น พระโพธิสัตว์มหาสัตว์ ผู้สอนธรรม นามว่า วรประภา นั้นคือ ข้าพเจ้าเอง ส่วนพระโพธิสัตว์ผู้เกียจคร้านนามว่า ยศัสกาม นั้นก็คือตัวท่านนั่นเอง

ดูก่อนอชิตะ ด้วยการบรรยายนี้ ข้าพเจ้าได้เห็นปุพพนิมิตนั้น ของพระผู้มีพระภาคเหมือนกับรัศมีที่แผ่ซ่านไปอย่างนี้ จึงอนุมานว่า พระผู้มีพระภาคทรงปรารถนาจะตรัสพระสูตร ธรรมบรรยายชื่อว่า สัทธรรมปุณฑรีกะ นั้น ซึ่งเป็นสูตรที่ไพบูลย์ยิ่ง เหมาะแก่การศึกษาของพระโพธิสัตว์ และเป็นที่ยอมรับของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: กันยายน 23, 2010, 03:10:29 pm »

   ได้ยินว่า ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์มหาสัตว์ไมเตรยะ ได้ทรงกล่าวกับพระมัญชุศรีกุมารภูตะ ด้วยคาถาทั้งหลายว่า

1         ข้าแต่พระมัญชุศรี เพราะเหตุใดเล่า พระผู้นำของนรชน (พระผู้มีพระภาค) จึงทรงเปล่งพระรัศมีออกมา และพระรัศมีซึ่งมีแสงประกายนี้ ได้ปรากฏจากกลุ่มพระอูรณะ ซึ่งอยู่ระหว่างพระขนง

2         ทวยเทพทั้งหลาย มีความยินดีได้โปรยปรายดอกมณฑารพ ดอกมัญชูษกะผสมผงผงจันทน์ซึ่งเป็นทิพย์ มีกลิ่นหอมน่ารื่นรมย์ ลงมาเป็นห่าฝน

3         ปฐพีทั้งปวงงามไปทั่วทุกสารทิศ บริษัททั้งสี่ก็ได้รับความปิติ และพุทธเกษตรทั้งปวง ก็สั่นสะเทือนถึงหกจังหวะอย่างน่าสะพรึงกลัวเป็นอย่างยิ่ง

4         ก็แลรัศมีนั้น แผ่ไปทั่วทั้ง 18,000 พุทธเกษตรในทิศบูรพา และพุทธเกษตรทั้งหมด สว่างไสวปานสีทองพร้อมกัน

5         สัตว์ทั้งหลาย ที่อยู่ในภูมิทั้ง 6 ทั้งที่ตายและกำลังเกิดอยู่ในสถานที่ต่างๆ ตั้งต้นแต่ อเวจีมหานรกจนถึงพรหมโลก (เราก็เห็นสัตว์เหล่านั้นได้)

6         กรรมชนิดต่างๆ ของสรรพสัตว์ที่มีสุขและมีทุกข์ ที่เลว ประณีต และปานกลาง ที่ปรากฏในคติทั้งหลาย ผู้ยืนอยู่ที่นี่ก็สามารถมองเห็นกรรมทั้งหมดนั้นได้

7         ข้าพเจ้าได้เห็นพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้เป็นจอมแห่งพระราชา ซึ่งกำลังประกาศและแสดงธรรม ยกอุทาหรณ์ให้ปรากฏแก่สรรพสัตว์จำนวนหลายโกฏิ ด้วยพระสุรเสียงอันไพเราะ

8         พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เมื่อประกาศพุทธธรรม ด้วยการแสดงเหตุผลหลายหมื่นโกฏิวิธี ย่อมทรงเปล่งพระสุรเสียงลึกซึ้งไพเราะ และอัศจรรย์ ในพุทธเกษตรของแต่ละพระองค์

9         ก็แลสัตว์ที่โง่เขลาเบาปัญญา ถูกความทุกข์บีบคั้น มีจิตใจเดือดร้อน เพราะการเกิดและความแก่ พระพุทธเจ้าทั้งหลายก็ทรงประกาศวัตรปฏิบัติเพื่อความสงบสุขแก่สัตว์เหล่านั้น ด้วยพระดำรัสว่า โอ ภิกษุทั้งหลาย นี่คือที่สุดแห่งความทุกข์

10     ส่วนชนที่มีพลังแข็งกล้า ถึงพร้อมด้วยบุญบารมี ประกอบด้วยทัศนะที่ดีต่อพระพุทธเจ้า เมื่อพระพุทธเจ้าทั้งหลาย จะทรงแสดงธรรมเครื่องนำทางแก่เขาก็ตรัสยานเฉพาะแก่เขา

11     ส่วนชนเหล่าอื่น ที่เป็นบุตรพระสุคต ที่กำลังแสวงหาญาณอันวิเศษสุด ซึ่งได้ทำงานมาตลอดกาล พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมตรัสสอนพรต เพื่อการตรัสรู้แก่เขา

12     ข้าแต่ท่านมัญชุโฆษะ ข้าพเจ้ายืนอยู่ ณ ที่นี้ย่อมได้ยินและเห็นเรื่องเช่นนี้และเรื่องพิเศษอื่นๆ รวมเป็นจำนวนพันโกฏิเรื่อง จากเรื่องเหล่านั้น ข้าพเจ้าจะเล่าเพียงบางเรื่อง

13     ในพุทธเกษตรจำนวนมากมายนั้น ข้าพเจ้าได้เห็นพระโพธิสัตว์จำนวนมากหลายพันโกฏิ มีจำนวนเท่ากับเมล็ดทรายในแม่น้ำคงคา ที่ได้บรรลุโพธิญาณ ด้วยความเพียรต่างๆกัน

14     พระโพธิสัตว์บางพวกในทาน คือ การบริจาคทรัพย์สมบัติ เงินทอง แก้วมุกดา แก้วมณี สังข์ ศิลา แก่ประพาฬ ทาสชาย ทาสหญิง รถ ม้า และแกะ เป็นต้น

15     พระโพธิสัตว์บางพวกมีจิตเบิกบานทำตนให้เจริญอยู่ เพื่อการตรัสรู้ธรรมอันประเสริฐในโลก ในทานด้วยการบริจาคควอ และเครื่องประดับที่เป็นรัตนะทั้งหลาย ด้วยคิดว่า เรา เมื่อน้อมใจไปอยู่ พึงได้ยานในพระโพธิญาณอันประเสริฐนี้

16     พระโพธิสัตว์บางพวก ในทานเช่นนี้ ด้วยคิดว่า พุทธยาน ที่พระสุคตทั้งหลายได้แสดงแล้ว เป็นยานที่ประเสริฐและวิเศษสุด ในโลกธาตุทั้งสาม เราจงได้พุทธยานนั้นโดยพลันเถิด

17     พระโพธิสัตว์บางพวก ให้ทาน เช่นรถเทียมม้า 4 ตัว ซึ่งมีที่นั่งประดับด้วยดอกไม้และธงชัยพร้อมทั้งธงเวชยันต์ และบางพวกบริจาควัตถุทั้งหลายที่ทำด้วยรัตนะ

18     พระโพธิสัตว์บางพวก บริจาคบุตรชาย และบุตรหญิงทั้งหลาย บางพวกบริจาคเนื้อหนังอันเป็นที่รักของตน และบางพวกปรารถนาธรรมอันเลิศนี้ ได้บริจาคมือและเท้าทั้งหลาย ที่บุคคลอื่นขอ

19     พระโพธิสัตว์บางพวก บริจาคศีรษะ บางพวกบริจาคนัยน์ตา บางพวกบริจาคร่างกายอันประเสริฐ ก็แล ครั้นบริจาคทานทั้งหลายแล้ว เป็นผู้มีจิตผ่องใส ย่อมปรารถนาการบรรลุญาณของพระตถาคตทั้งหลาย

20     ข้าแต่พระมัญชุศรี ข้าพเจ้าเห็นว่า ในที่บางแห่ง กษัตริย์ทั้งหลาย สละราชสมบัติจำนวนมาก สละถิ่นที่ประทับ ทวีป อำมาตย์ และพระญาติทั้งปวง สละทุกสิ่งทุกอย่าง

21     กษัตริย์เหล่านั้น เข้าไปเฝ้าพระผู้นำของชาวโลกทั้งหลาย (พระตถาคตเจ้าทั้งหลาย) เพื่อความเป็นสิริมงคล แล้วถามข้อธรรมอันประเสริฐ ทรงตัดพระเกศา พระมัสสุ แล้งครองผ้ากาสาวพัสตร์

22     และข้าพเจ้าได้พบเห็นพระโพธิสัตว์ทั้งหลายบางพวก ที่เป็นเช่นภิกษุผู้อยู่ในป่าใหญ่ บางพวกอาศัยป่าที่ว่างเปล่า และยินดีในการศึกษาค้นคว้า (พระธรรม)

23     อนึ่งข้าพเจ้าได้พบเห็นพระโพธิสัตว์ของท่านซึ่งมีปัญญา เข้าไปสู่ถ้ำที่ภูเขาเจริญวิปัสสนา ใคร่ครวญพุทธญาณ พิจารณาตนเองอยู่

24     บุตรทั้งหลายเหล่าอื่นของพระสุคต ละกามโดยไม่เหลือ อบรมตนจนมีอารมณ์บริสุทธิ์ ได้บรรลุอภิญญา5 อาศัยอยู่ในป่า

25     บางพวกที่ปราชญ์ ยืนชิดเท้าประคองอัญชลีต่อหน้าพระผู้นำทั้งหลาย (พระตถาคตเจ้าทั้งหลาย) กล่าวสดุดีพระชิเนนทรราช ที่ก่อให้เกิดความหรรษาด้วยคาถาหลายพัน

26     บางพวกมีสติ ฝึกอินทรีย์ได้แล้ว เป็นผู้คงแก่เรียนและรู้ศิลปะทั้งปวง ถามซึ่งธรรมของพระสุคตผู้ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์ และครั้นได้ฟังแล้วก็จดจำธรรมนั้นไว้

27     ข้าพเจ้าได้เห็นพระชิเนนทรบุตรบางพวก ซึ่งได้อบรมตนแล้ว ณ ที่นั้นๆ แสดงธรรมแก่มนุษย์ จำนวนหลายโกฏิ ด้วยการแสดงเหตุผลหลายหมื่นอย่าง

28     พระชิเนนทรบุตรเหล่านั้น เกิดความปราโมทย์  ชักชวนพระโพธิสัตว์จำนวนมากให้เผยแผ่ธรรมอยู่ ท่านเหล่านั้นได้ทำลายมารผู้มีกำลัง  พร้อมทั้งเสนามารได้แล้ว จึงลั่นกลองธรรม

29     ข้าพเจ้าได้เห็นบุตรตถาคต บางพวกผู้ไม่เย่อหยิ่ง ถ่อมตน มีจริยวัตรสงบเสงี่ยมในศาสนาของพระตถาคต เป็นที่บูชาของมนุษย์ เทพ ยักษ์ และรากษสทั้งหลาย

30     บางพวกอาศัยอยู่ในป่าทึบ เปล่งรัศมีจากกาย ยกสัตว์ทั้งหลายขึ้นจากนรกให้เตรียมพร้อมเพื่อพระโพธิญาณ

31     พระชินบุตรบางพวกเหล่าอื่น ตั้งอยู่ในความเพียร ละความเกียจคร้านได้โดยสิ้นเชิง ประกอบการเดินจงกรม ตั้งอยู่ในความบริสุทธิ์ด้วยความเพียร ท่านเหล่านั้น ย่อมบรรลุธรรมอันวิเศษได้

32     และพระชินบุตรบางพวก รักษาศีลให้บริสุทธิ์ ไม่ให้ด่างพร้อยทุกเมื่อ เช่นเดียวกับแก้วมณีและรัตนะทั้งหลาย และมีความประพฤติอันสมบูรณ์แบบ ท่านเหล่านั้นสามารถบรรลุพระโพธิญาณอันประเสริฐได้ด้วยศีลนั้น ณ ที่นั้น

33     พระชินบุตรทั้งหลาย บางพวก มีความอดทนเป็นพลัง ย่อมอดทนต่อภิกษุทั้งหลายที่มีความเย่อหยิ่ง ด่าบริภาษและติเตียน พระชินบุตรเหล่านั้น สามารถบรรลุพระโพธิญาณอันประเสริฐได้ ด้วยความอดทนนั้น

34     ข้าพเจ้าได้พบเห็นพระโพธิสัตว์ บางพวก ละความยินดีในโลกิยสุขทั้งปวง ละทิ้งสหายผู้เป็นพาลทั้งหลายแล้ว ยินดีการสังสรรค์ ดำรงอยู่กับหมู่ชนผู้เป็นอริยะทั้งหลาย

35     พระโพธิสัตว์เหล่านั้น ละความคิดที่ฟุ้งซ่าน เข้าสมาธิทำจิตให้เป็นอารมณ์เดียวในป่าและถ้ำเป็นเวลาหลายพันโกฏิปี ท่านเหล่านั้น สามารถบรรลุพระโพธิญาณอันประเสริฐได้ด้วยสมาธินั้น

36     พระชินบุตรบางพวก บริจาคสิ่งของที่เป็นขาทนียะ โภชนียะควรเคี้ยว ข้าว น้ำ ยารักษาโรค จำนวนมาก ให้เป็นทาน ณ เบื้องพระพักตร์ ของพระชินเจ้าพร้อมทั้งหมู่ศิษย์

37     พระชินบุตรบางพวก ทำการบริจาคผ้าจำนวนร้อยโกฏิ ซึ่งมีมูลค่าหลายร้อยพันโกฏิ และบางพวกบริจาคผ้าทั้งหลายที่มีค่านับไม่ได้ ณ เบื้องพระพักตร์ พระชินเจ้าพร้อมทั้งหมู่ศิษย์

38     พระชินบุตรบางพวก ให้สร้างวิหารตั้งร้อยโกฏิ ประดับประดาด้วยรัตนะ และไม้จันทน์ ที่นอนที่นั่งมากมาย ให้เป็นทาน ณ เบื้องพระพักตร์ของพระสุคตเจ้าทั้งหลาย

39     พระชินบุตรบางพวก ถวายสวนอันสะอาดและน่ารื่นรมย์ ซึ่งมีผลไม้และดอกไม้หลากสี แด่พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย พร้อมด้วยสาวกเพื่อพักผ่อน ในเวลากลางวัน

40     ท่านทั้งหลายเหล่านั้นมีความยินดีปรีดา บริจาคทานหลายอย่างที่วิจิตร ก็แล ครั้นบริจาคแล้ว ได้ทำความเพียรให้เกิดขึ้นเพื่อพระโพธิญาณ ท่านเหล่านั้นย่อมบรรลุธรรมอันวิเศษได้ด้วยทานนั้น

41     พระชินบุตรบางพวก อธิบายธรรมอันเกี่ยวกับความสงบด้วยการแสดงเหตุผลเป็นจำนวนไม่น้อย นับได้หลายหมื่นอย่าง และแสดงธรรมนั้นแก่ประชาชนจำนวนหลายพันโกฏิ ท่านเหล่านั้นย่อมบรรลุธรรมอันวิเศษได้ด้วยญาณนั้น

42     บุตรพระตถาคตเจ้าบางพวก รู้อยู่ ไม่ปรารถนา ไม่ยึดติดสิ่งใด เหมือนความเสมอภาคของพระอาทิตย์  แล้วประพฤติธรรมเป็นทวีคูณ ท่านเหล่านั้นย่อมบรรลุธรรมอันวิเศษได้ ด้วยปัญญา

43     ข้าแต่ท่านมัญชุโฆษะ ยิ่งกว่านั้น ข้าพเจ้ายังได้เห็นพระโพธิสัตว์จำนวนมาก ผู้มั่นคงในพระศาสนาของพระตถาคตเจ้าทั้งหลาย ที่ปรินิพพานแล้ว ยังทำการสักการะพระธาตุของพระชินเจ้าทั้งหลาย

44     ข้าพเจ้าเห็นพระสถูปมากมายหลายพันโกฏิ เท่ากับเมล็ดทรายในแม่น้ำคงคา ที่พระชินบุตรทั้งหลาย ให้สร้างขึ้นประดับแผ่นดินเป็นจำนวนหลายโกฏิ

45     พระสถูปอันประเสริฐทั้งหลาย สร้างด้วยวัตถุมีค่า 7 ประการ สูง 5,000 โยชน์ และวัดโดยรอบที่ฐาน 2,000 โยชน์ ที่พระสถูปนั้นมีทั้งฉัตรและธงหลายพันโกฏิ

46     ตลอดเวลา พระสถูปประดับด้วยธงและมีเสียงกลุ่มระฆังดังอยู่เป็นนิจ และงดงามยิ่งนัก มนุษย์ เทวดา ยักษ์ รากษส บูชาพระสถูปนั้นด้วยดอกไม้ ของหอมและดนตรี

47     บุตรทั้งหลายของพระสุคต ให้การะทำการบูชา พระบรมสารีริกธาตุ ของพระชินเจ้าทั้งหลายเช่นนี้อยู่ ประหนึ่งว่าทิศทั้งสิบ สวยงามด้วยต้นปาริชาตทั้งหลาย ที่ออกดอกสะพรั่ง

48     ข้าพเจ้าและสัตว์โลกจำนวนหลายโกฏิเหล่านี้ ซึ่งยืนอยู่ ณ ที่นี่ ได้เห็นทุกสิ่งทุกอย่าง แม้พระรัศมีหนึ่งเดียวนี้ ที่พระชินเจ้าเปล่งออกสู่โลกนี้ ซึ่งมีดอกไม้เบ่งบาน รวมทั้งเทวโลก

49     โอ อำนาจของพระผู้มีพระภาค โอ พระโพธิญาณของพระองค์บริสุทธิ์ไพบูลย์ยิ่งนั้น พระรัศมีนิดหนึ่งของพระองค์ได้แผ่ไปทั่วโลก ย่อมส่องให้เห็นพุทธเกษตร มากมายหลายพันแห่ง

50      พวกข้าพเจ้าได้เห็นนิมิตนี้ที่ปรากฏ ไม่มีสิ่งใดจะเปรียบได้เช่นนี้แล้ว ได้เกิดความมหัศจรรย์ใจยิ่งนั้น ข้าแต่ท่านพุทธบุตรมัญชุสวระ ขอท่านได้โปรดอธิบาย ข้อความนี้ ของท่านจงกำจัดความสงสัยของพวกข้าพเจ้าด้วยเถิด

51     ข้าแต่ท่านผู้กล้าหาญ บริษัทที่เหล่านี้ มีจิตผ่องใส กำลังเฝ้ามองดูท่านและข้าพเจ้าอยู่ ณ ที่นี้ ข้าแต่ท่านสุคตบุตร ขอท่านจงทำความรื่นเริงให้เกิดขึ้นขจัดความสงสัย (ของเขาเหล่านั้น)และจงชี้แจงให้ประจักษ์เถิด

52     เหตุใดวันนี้ พระสุคตเจ้าจึงทรงเปล่งพระรัศมีเช่นนี้ โอ อำนาจพระสุคต โอ พระโพธิญาณของพระองค์ บริสุทธิ์ไพบูลย์ยิ่งนัก

53     พระรัศมีนิดหนึ่งของพระองค์แผ่ไปทั่วโลก ส่องให้เห็นไปถึงหลายพันพุทธเกษตร การที่พระองค์ทรงเปล่งรัศมีอันไพบูลย์เช่นนี้ คงจะมีประโยชน์แน่

54     พระสุคตเจ้า ผู้เป็นยอดบุรุษ เป็นนาถะแห่งโลก มีพระประสงค์จะแสดงธรรมอันเลิศที่พระองค์ได้สัมผัส (ตรัสรู้) แล้ว ณ โพธิมณฑลนั้น หรือว่าพระองค์จะทรงพยากรณ์พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย

55     การที่พุทธเกษตรจำนวนหลายพัน ปรากฏสวยงามด้วยสิ่งวิจิตร ทั้งโศภิต แพรวพราวด้วยรัตนะและพระพุทธเจ้าจำนวนมาก ที่ปรากฏแก่จักษุโดยไม่มีที่สุด เหตุการณ์นี้น่ากลัวมิใช่น้อย

56     ขณะที่ท่านไมเตรยะ กำลังถามพระชินบุตรอยู่นั้น มนุษย์ เทวดา ยักษ์ รากษส และบริษัทสี่ในธรรมสภานั้น กำลังตั้งตารอคอยอยู่ว่า พระมัญชุสวระจะพยากรณ์อย่างไร

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: กันยายน 23, 2010, 03:09:54 pm »



พระสูตรสัทธรรมปุณฑรีกะ
วัดโพธิ์แมนคุณาราม
นายชะเอม แก้วคล้าย แปลจากต้นฉบับสันสกฤต

                โอม ข้าพเจ้าขอนมัสการพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ทุกพระองค์ ข้าพเจ้าขอนมัสการ พระตถาคต พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอริยสาวกทั้งปวง และพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ที่มีในอดีตอนาคตและปัจจุบัน ข้าพเจ้าจักพรรณนา สัทธรรมปุณฑรีกสูตร ซึ่งเป็นสูตรที่สมบูรณ์และสำคัญ เป็นสูตรที่แสดงการจุติ (อวตาร) เพื่อแนะนำประโยชน์สูงสุด และเป็นแนวทางอันยิ่งใหญ่แก่สัตว์ทั้งหลาย

บทที่1 นิทานปริวรรต
บทนำ


                ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ว่า สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฎ ในเมืองราชคฤห์ พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์จำนวนมาก คือพระภิกษุ 1200 รูป ทั้งหมดเป็นพระอรหันต์ขีณาสพ หมดทุกข์ ปราศจากกิเลส มีจิตและปัญญาหลุดพ้นแล้ว เป็นบุรุษอาชาไนย ได้กระทำกิจอันความกระทำแล้ว เหมือนพญาช้างผู้มีภารกิจที่ได้ทำสำเร็จแล้ว เพราะความรู้ชอบในการควบคุมความคิดทั้งปวง ได้ฌานอภิญญา พระมหาสาวกเหล่านั้น อาทิ ท่านอัชญาตเกาณฑินยะ ท่านอัสวชิตะ ท่านวาษปะ ท่านมหานามะ ท่านภัทริกะ ท่านมหากาศยปะ ท่านอุรุวิลวกาศยปะ ท่านนทีกาศยปะ ท่านคยากาศยปะ ท่านศาริบุตร ท่านมหาเมาทคัลยายะ ท่านมหากาตยายนะ ท่านอนิรุทธะ ท่านเรวตะ ท่านกัปผินะ ท่านความปติ ท่านปิลินทวัตสะ ท่านพักกุละ ท่านมหาเกาษฐิละ ท่านภรทวาชะ ท่านมหานันทะ ท่านอุปนันทะ ท่านสุนทรนันทะ ท่านปูรณไมตรายณีปุตระ ท่านสุภูติ และท่านราหุล พร้อมทั้งมหาสาวกอื่นๆนอกจากที่กล่าวแล้ว  อาทิ ท่านอานนท์ผู้เป็นเสขบุคคล พร้อมด้วยพระภิกษุอื่นอีก 2000 รูป บางรูปเป็นพระเสขะ บางรูปเป็นพระอเสขะ ภิกษุณี 6000 รูป มีพระนางมหาประชาบดีเป็นประมุข และท่านภิกษุณียโสธรา ผู้เป็นพระมารดาของพระราหุล รวมทั้งบริวารด้วย กับ พระโพธิสัตว์ 80000 องค์

ทุกองค์เป็นผู้ไม่หวั่นไหว มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดเพียงชาติเดียว เป็นผู้ได้ธารณีในการตรัสรู้อันประเสริฐยิ่ง เป็นผู้ดำรงอยู่ มีมหาปฎิภานยิ่ง ผู้ได้เข้าใกล้ พระพุทธเจ้าหลายแสนพระองค์ ที่ได้หมุนธรรมจักรให้เคลื่อนไป ผู้มีกุศลมูล ที่ได้ทำกับพระพุทธเจ้าหลายแสนพระองค์ ผู้ได้สดุดีพระพุทธเจ้านับแสนพระองค์มาแล้ว ผู้มีกายและจิตอันเปี่ยมด้วยเมตตา ผู้มีสายสกุลสืบต่อปัญญาของพระตถาคต มีปัญญามาก เข้าถึงคติแห่งปรัชญาปารมิตา เป็นที่รู้จักในหลายแสนโลกธาตุ และเป็นผู้ช่วยเหลือสัตว์จำนวนหลายหมื่นโกฎิ เหมือนอย่างพระโพธิสัตว์มหาสัตว์มัญชุศรีกุมารภูตะ พระอวโลกิเตศวร พระมหาสถามปราปตะ พระสรวารถนามัน พระนิตโยทยุกตะ พระอนิกษิปตธุระ พระรัตนปาณี พระไภษัชยราช  พระไภษัชยสมุทคตะ  พระวยูหราช พระประทานศูระ พระรัตนจันทระ พระรัตนประภานะ พระสตตสมิตาภิยุกตะ พระธรณีธระ พระอักษยมติ  พระปัทมศรี  พระนักษัตรราช  พระโพธิสัตว์มหาสัตว์ไมไตรยะ  พระโพธิสัตว์มหาสัตว์สิงหะ กับสัตบุรุษ16 คน ซึ่งมีภัทรปาละ เป็นผู้น้ำ คือภัทรปาละ  รัตนากระ  สุสารถวาหะ  นรทัตตะ คุยหคุปตะ  อรุณทัตตะ อินทรทัตตะ อุตตรมติ  วิเศษมติ  วรรธมานมติ  อโมฆทรรศี  สุสัมประสถิตะ  สุวิกรานตวิกรามี  อนุปมมติ  สูรยครรภะ  และธรณีนธระ  พร้อมกับพระโพธิสัตว์ 80,000องค์ 

ซึ่งท่านที่กล่าวมาแล้วนั้น เป็นผู้นำ พร้อมด้วยท้าวสักกะ จอมแห่งทวยเทพ  ซึ่งมีเทพบุตร 20,000 องค์  เป็นบริวาร อาทิ  จันทรเทพบุตร  สูรยเทพบุตร  สมันตคันธเทพบุตร  รัตนประภาเทพบุตร  อวภาสประภาเทพบุตร และเทพบุตร 20,000 องค์ ซึ่งมีเทพที่กล่าวมาแล้วเป็นผู้นำ และพร้อมทั้งมหาราชทั้ง 4 ซึ่งมีเทพบุตร 30,000 องค์ เป็นบริวาร คือมหาราชวิรูตกะ  มหาราชวิรูปากษะ  มหาราชธฤตราษฎระ  และมหาราชไวศรวณะ  และเทพบุตรอีศวร  เทพบุตรมเหศวร  ซึ่งทั้งสองมีเทพบุตร 30,000 องค์เป็นบริวาร และพร้อมทั้งสหามบดีพรหม  ซึ่งมีเทพบุตรรูปพรหม 12,000 องค์เป็นบริวาร ได้แก่ ศิบิพรหม และชโยติษประภาพรหม เป็นต้น พร้อมด้วยเทพบุตรรูปพรหม 12,000 องค์ ซึ่งมีพรหมที่กล่าวนามมาแล้วเป็นผู้นำ  พร้อมด้วยพญานาคราช ทั้งแปด ซึ่งมีพญานาคราชหลายแสนโกฏิเป็นบริวาร  ได้แก่ นาคราชนันทะ  นาคราชอุปนันทะ  นาคราชสาคระ  นาคราชวาสุกี  นาคราชตักษกะ  นาคราชมนัสวิน  นาคราชอนวตัปตะ  และนาคราชอุตปลกะ  พร้อมด้วยกินนรราชทั้งสี่  ซึ่งมีกินนรหลายแสนโกฏิเป็นบริวาร  ได้แก่กินนรราชทรุมะ  กินนรมหาธรรมะ  กินนรสุธรรมะ  กินนรธรรมธระ  และเทพบุตรคนธรรพ์ทั้งสี่  ซึ่งมีคนธรรพ์หลายแสนเป็นบริวาร  คืนคนธรรพ์มโนชญ์  คนธรรพ์มโนชญ์สวระ  คนธรรพ์มธุระ  และคนธรรพ์มธุรสวระ  จอมอสูรทั้งสี่ ซึ่งมีอสูรหลายแสนโกฏิเป็นบริวาร  คือจอมอสูรพลี  จอมอสูรบรัสกันธะ  จอมอสูรเวมจิตรี และจอมอสูรราหู  กับจอมครุฑทั้งสี่  ซึ่งมีครุฑหลายแสนโกฏิเป็นบริวาร  คือจอมครุฑมหาเตชะ  จอมครุฑมหากายะ  จอมครุฑมหาปูรณะ  จอมครุฑมหาฤทธิปราปตะ  รวมทั้งพระเจ้าอชาตศัตรูราชาแห่งมคธนคร ผู้เป็นโอรสของพระนางเวเทหิด้วย


                นัยว่า สมัยนั้นพระผู้มีพระภาค  ซึ่งมีบริษัทสี่ แวดล้อม ถวายความเคารพ นบนอบ ยกย่อง นับถือ สรรเสริญ บูชา และนอบน้อมแล้ว หลังจากได้ตรัสพระสูตรธรรมบรรยายที่ซึ่อว่า “มหานิรเทศ”  อันเป็นคำสอนที่ไพบูลย์ยิ่ง เป็นคำสอนที่ทรงแสดงแก่พระโพธิสัตว์และเป็นคำสอนที่เกื้อหนุนต่อพระพุทธเจ้าทั้งหลาย แล้วทรงประทับนั่งบนธรรมาสน์ใหญ่นั้น นั่นแล ทรงเข้าสมาธิที่เรียกว่า “อนันตนิรเทศประดิษฐาน” มีพระวรกายนิ่ง จิตสงบ ก็ในขณะที่พระผู้มีพระภาค ทรงเข้าสมาธินั้น สายฝน ดอกไม้ทิพย์จำนวนมาก คือดอกมณฑารพ ดอกมหามณฑารพ ดอกมัญชูษกะ และดอกมหามัญชูษกะ ได้โปรยลงเหมือนสายฝนตกต้องที่พระผู้มีพระภาค และบริษัททั้งสี่ ทำให้พุทธเกษตรทั้งปวง สั่นสะเทือนเป็นหกจังหวะคือ เคลื่อนไป-เคลื่อนมา ฟูขึ้น-ยุบลง โคลงไป-โคลงมา นัยว่า สมัยนั้น ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เทวดา นาค ยักษ์ คนธรรพ์ อสูร ครุฑ กินนร พญานาค มนุษย์และอมนุษย์ทั้งหลาย ซึ่งอยู่ในที่ประชุมนั้น ทั้งพระราชา พระจักรพรรดิผู้มีพลัง ที่ครองนครทั้งหลายและจักรพรรดิผู้ครองทวีปทั้งสี่ ซึ่งประทับนั่งอยู่ที่นั้น ทั้งหมดพร้อมด้วยบริวาร ได้พากันมองมาที่พระผู้มีพระภาค และได้ถึงความประหลาดใจ อัศจรรย์ใจไปตามๆกัน

                ก็ในเวลานั้นแล  รัศมีดวงหนึ่งได้ฉายออกมาจากกลุ่มพระอูรณะ (พระโลมารูปวงกลม) ระหว่างพระขนงของพระผู้มีพระภาค พระรัศมีนั้นแผ่คลุมไปทั่ว 18,000 พุทธเกษตร ในทิศบูรพา และพุทธเกษตรทั้งหมดนั้น ได้ปรากฏ สว่างไสวไปด้วยแสงรัศมีนั้น จนถึงอเวจีมหานรก และจรดจุดสูงสุดของขอบจักรวาล อนึ่งในพุทธเกษตรเหล่านั้น สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ที่มีอยู่ในคติทั้งหก ก็เห็นกันโดยถ้วนทั่ว และในพุทธเกษตรเหล่านั้น  พระพุทธเจ้าทั้งหลายทั้งปวง ที่ทรงประทับยืน นั่ง และดำเนินไปอยู่  ก็ได้เห็นกันทั่ว พระธรรมทั้งหมด  ที่พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย แสดงก็ได้ยินกันอย่างทั่วถึง ในพุทธเกษตรเหล่านั้น ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ผู้ฝึกโยคะ ผู้บรรลุ และยังไม่ได้บรรลุผลวิเศษทุกคนก็ได้เห็นกันถ้วนทั่ว ในพุทธเกษตรเหล่านั้น พระโพธิสัตว์ มหาสัตว์ ทั้งหมด  ที่ประพฤติข้อวัตร ปฏิบัติของพระโพธิสัตว์ ด้วยความฉลาดในอุบาย อันมีการฟัง การยึดมั่นและการน้อมใจเชื่อเป็นเหตุต่างๆ มิใช่น้อย ก็ได้ปรากฏให้เห็นในพุทธเกษตรทั้งหลายเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลายทั้งปวงที่ปรินิพพานแล้ว ก็มาปรากฏให้เห็นในพุทธเกษตรเหล่านั้น  แม้พระสถูปที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุทั้งหลายทั้งปวง ที่สร้างด้วยรัตนะต่างๆ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลาย ผู้ดับขันธปรินิพพานนานแล้ว ก็ปรากฏให้เป็นเช่นกัน

                ครั้งนั้นแล พระโพธิสัตว์มหาสัตว์ไมเตรยะ ได้ทรงมีดำริว่า พระตถาคตได้ทรงทำมหานิมิตปาฏิหาริย์นี้ จักมีเหตุอะไรหนอ  อะไรเป็นเหตุให้พระผู้มีพระภาค ได้ทรงกระทำมหานิมิตปาฏิหาริย์เห็นปานนี้ และพระผู้มีพระภาค ได้ทรงเข้าสมาธิแล้ว ฤทธิ์ปาฏิหาริย์ที่ยิ่งใหญ่และมหัศจรรย์เห็นปานนี้ จึงเป็นอจินไตย ได้ปรากฏให้เห็นแล้ว เราควรจะถามเนื้อความที่ควรจะถามนี้หรือหนอแล ณ ที่นี้ ใครหนอ พึงเป็นผู้สามารถที่จะทำให้เนื้อความนี้กระจ่างได้ พระโพธิสัตว์มหาสัตว์ไมเตรยะนั้น ได้ทรงมีดำริต่อไปว่า พระโพธิสัตว์มัญชุศรีกุมารภูตะองค์นี้ผู้มีอธิการได้กระทำแล้วต่อพระชินเจ้าองค์ก่อนๆ มีกุศลมูลอันปลูกฝังไว้แล้ว (ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ)และได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าจำนวนแล้ว อนึ่ง นิมิตเช่นนี้ ของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายในกาลก่อน จักเป็นสิ่งที่พระโพธิสัตว์มัญชุศรีกุมารภูตะนี้ได้เคยเห็นมาแล้ว ก็แล การถามธรรมะอันยิ่งใหญ่ก็เคยมีมาแล้ว เราควรถามข้อความนี้กะท่านพระมัญชุศรีกุมารภูตะ ดีไหมหนอ? บริษัทสี่ คือภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา และเทวดา นาค ยักษ์ คนธรรพ์ อสูร ครุฑ กินนร พญานาค มนุษย์ และอมนุษย์ ทั้งหลาย จำนวนมากเหล่านั้น เห็นปรากฏการณ์แห่งปาฏิหาริย์ ที่เป็นเช่นนี้ เป็นนิมิตหมายอันยิ่งใหญ่ของผู้มีพระภาค ก็ประหลาด มหัศจรรย์ใจ โกลาหล คิดกันว่า ทำไมหนอ พวกเราจึงไม่ถามปรากฏการณ์แห่งอิทธิปาฏิหาริย์อันยิ่งใหญ่เห็นปานนี้ของพระผู้มีพระภาค

                ขณะนั้นแล พระโพธิสัตว์มหาสัตว์ไมเตรยะ ได้ทรงทราบความปริวิตกแห่งจิตของบริษัทสี่ด้วยจิตเช่นกันและตนเองก็สงสัยในธรรม จึงได้ถามพระโพธิสัตว์มัญชุศรีกุมารภูตะในเวลานั้นว่า ข้าแต่พระมัญชุศรี ณ ที่นี้ อะไรเล่าเป็นเหตุ อะไรเล่าเป็นปัจจัย ที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์แห่งฤทธิ์ของพระผู้มีพระภาค ที่เป็นมหัศจรรย์ถึงเพียงนี้และพุทธเกษตร 18000 เหล่านี้ ที่มีพระตถาคตซึ่งปรินิพพานแล้ว และพระตถาคตที่กำลังสั่งสอนศาสนาธรรมอยู่ ปรากฏเห็นเป็นวิจิตรสวยงามน่าดูเป็นอย่างยิ่ง
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: กันยายน 23, 2010, 03:07:15 pm »



คำนำจากนายทรงวิทย์  แก้วศรี บรรณาธิการ

หนังสือสัทธรรมปุณฑรีกสูตร ฉบับของวัดโพธิ์แมนคุณาราม
 

       สัทธรรมปุณฑรีกสูตร ถือเป็นพระสูตรชั้นเอกอุหนึ่งในเก้าพระสูตรสำคัญของมหายาน ในเนปาล ถึงในจีนและญี่ปุ่นก็ให้ความสำคัญแก่พระสูตรนี้ทัดเทียมกัน เป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของนิกายเทียนไท้ทั้งในจีนและญี่ปุ่น และของนิกายนิชิเรนในญี่ปุ่น ต้นฉบับสันสกฤตที่เป็นต้นแบบใช้แปลเป็นภาษาไทยเล่นนี้ เกิดจากฉบับเก่าก่อน 3 ฉบับคือ

       ฉบับแรก ศาสตราจารย์ H.Kern และ B.Nanjo นำลงตีพิมพ์ในวารสาร Bibliotheca Buddhica เล่มที่ 10 จัดพิมพ์ที่เซนต์ปิเตอร์สเบิร์ก ประเทศรัสเซีย ระหว่างปี พ.ศ.2451-2455 ฉบับนี้เป็นอักษรเทวนาครี ประมวลและชำระจากต้นฉบับ 6 ฉบับ จากลอนดอน 2 ฉบับ จากเคมบริดจ์ ฉบับหนึ่ง Ekai Kawaguchi ค้นพบที่เนปาล และอีก 1 ฉบับ จาก Mr.Watters อดีตเจ้าหน้าที่กงสุลอังกฤษประจำไต้หวัน นอกจากนี้คณะบรรณาธิการยังสอบทานกับต้นฉบับที่ชำรุดเหลือเพียงบางส่วนที่เป็นสมบัติส่วนตัวของ Mr.NF Petrovskij อนึ่ง คณะบรรณาธิการยังเทียบเคียงกับฉบับพิมพ์ด้วยอักษรเทวนาครี ที่จัดพิมพ์โดย Faucaux ในชื่อ "Parabole de l'Enfant egare" ที่ปารีส เมื่อ พ.ศ.2397 ซึ่งฉบับนี้มีหลายตอนของพระสูตรที่ได้ค้นพบที่เมืองกาษการ์ ในเอเชียกลาง

     ฉบับที่สองเป็นอักษรโรมัน ตรวจสอบชำระโดย Prof. U. Wogihara และ C.Tsuchida จัดพิมพ์ที่โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เมื่อ พ.ศ. 2477 บรรณาธิการทั้งสองท่านนี้เพียงแต่ชำระสอบทานฉบับแรกและอาศัยต้นฉบับเดิมที่ H.Kern และ B.Nanjo เคยใช้มาแล้ว

      ฉบับที่สามเป็นอักษรเทวนาครี Dr. Nalinaksa Dutt เป็นบรรณาธิการ จัดพิมพ์โดย Asiatic Society of Bengal ที่กรุงกัลกัตตา เมื่อ พ.ศ.2496 Dr. Nalinaksa Dutt ใช้สองฉบับแรกเป็นหลัก โดยชี้ประเด็นแตกต่างที่สำคัญไว้ในบางแห่ง และบางครั้งก็เทียบเคียงกับต้นฉบับ บางส่วนที่ค้นพบจากเอซียกลาง ในห้องสมุดของมหาวิทยาลักโอตานี ในญี่ปุ่น ตามที่         Mironv เคยเข้าไปศึกษา นอกจากนี้บรรณาธิการยังใช้บางส่วนจากต้นฉบับของ Gilgit แต่น่าเสียดายว่า  Dr. Nalinaksa Dutt ไม่ได้ชี้ให้เห็นว่า มีอะไรแตกต่างจากต้นฉบับของ Gilgit

      ต้นฉบับสัทธรรมปุณฑรีกสูตรเล่มนี้ เป็นการประมวลต้นฉบับเก่าก่อนทั้ง 3 ฉบับมาเป็นแบบสอบทานเป็นฉบับเดียวกัน โดยมี P.C. Vaidya เป็นบรรณาธิการ เป็นความจริงที่ว่าภาษาในภาคโศลกเป็นภาษาเก่ากว่าที่เป็นส่วนร้อยแก้ว และโศลกก็มักจะกล่าวย้ำซ้ำกับเนื้อความของภาคที่เป็นร้อยแก้ว ถึงกระนั้น ก็อาจไม่เป็นการถูกต้องเสียทีเดียวที่จะกล่าวว่า ส่วนที่เป็นโศลกมีอายุเก่ากว่าส่วนที่เป็นร้อยแก้ว

      ในส่วนของธิเบต สัทธรรมปุณฑรีกสูตร ได้รับการแปลเป็นภาษาธิเบตโดยท่านสุเรนทรโพธิ และ นา นัม เยเศ โด ในจีนก็มีฉบับแปลถึง 6 ฉบับ โดย 3 ฉบับแรกแปลเมื่อประมาณ พ.ศ. 796 พศ. 813 และ พ.ศ. 929 ตามลำดับ ทั้ง 3 ฉบับนี้ ปัจจุบันต้นฉบับสูญหายแล้ว ส่วน 3 ฉบับหลังที่ยังหลงเหลืออยู่ เป็นฉบับเก่าแก่ที่สุดเมื่อ พ.ศ. 878 และฉบับล่าสุดเมื่อ พ.ศ. 1144 ในจำนวน 3 ฉบับหลังนี้ ฉบับแปลของกุมารชีพ เป็นที่นิยมมากที่สุด และมีเนื้อหาใกล้เคียงกับฉบับแปลของธิเบตมากที่สุด ในฐานะที่สัทธรรมปุณฑรีกสูตร เป็นพระสูตรสำคัญและศักดิ์สิทธิ์ของผู้นับถือนิกายเทียนไท้ทั้งในจีนและญี่ปุ่นและของนิกายนิชิเรนในญี่ปุ่น จึงมีคัมภีร์ประเภทอรรถกถาหรืออรรถาธิบายรวมทั้งฉบับย่อเกิดขึ้นอีกมากมาย รวมแล้วถึง 60 เรื่อง พิมพ์เผยแพร่อยู่ในประเทศเหล่านี้ในปัจจุบัน

         ต้นฉบับสัทธรรมปุณฑรีกสูตรคงจะได้มีการชำระสอบทานมาแล้ว 2 ครั้ง เดิมทีน่าจะเป็นฉบับย่อบรรจุเนื้อหาเพียงปริวรรตที่1-20 และ 27 ตามที่ปรากฏในเล่มนี้ และเล่มก่อนๆ ส่วนปริวรรตที่ 21-26 ค่อนข้างจะมีปัญหา เพราะประการแรก ฉบับแปลจีนปริวรรตที่ 27 (ซึ่งเป็นบทส่งท้ายของเรื่อง) กลับมาอยู่หลังปริวรรตที่ 20 และประการที่ 2 เนื้อหาของบทที่21-26 มุ่งเน้นไปที่ธารณีและพระโพธิสัตว์สำคัญบางองค์ เช่น พระไภษัชยราช (ปริวรรตที่ 22) พระคัทคททัสวร (ปริวรรตที่ 23) พระสมันตมุขอวโลกิเตศวร (ปริวรรตที่ 24 ) พระศุภวยูหราช (ปริวรรตที่ 25) และพระสมันตภัทร (ปริวรรตที่ 26)

         ดังกล่าวมาแล้วข้างต้นแล้วว่า สัทธรรมปุณฑรีกสูตรเคยมีการชำระต้นฉบับจัดพิมพ์มาแล้ว 2 ครั้ง ฉบับสั้นมีเพียงปริวรรตที่ 1-20 และ27 ฉบับยาวมีทุกปริวรรตตั้งแต่ 1-27 แต่แม้ว่าฉบับสั้นก็ยังมีส่วนที่เป็นภาคโศลกหรือร้อยกรอง ซึ่งพิจารณาจากภาษาศาสตร์จะเห็นว่ามีความเก่าแก่กว่า และเป็นที่ยอมรับกันว่า ส่วนที่เป็นภาษาร้อยแก้วดูเหมือนจะเป็นภาษาบรรยายธรรมดาตื้นกว่า อนึ่ง ในกรณีส่วนใหญ่ ส่วนที่เป็นโศลกก็มักจะกล่าวซ้ำเนื้อความในภาคร้อยแก้วซึ่งปรากฏความนำมาก่อนโดยไม่พรรณนารายละเอียดมากนัก และในปริวรรตที่ 21-26 แทบจะไม่มีโศลกเลย หรือมีแต่น้อยมาก ซึ่งก็ไม่ได้พรรณนาซ้ำข้อความร้อยแก้วที่เป็นความนำมาก่อน อย่างไรก็ดี ก็เป็นการยากที่จะโต้แย้งว่า ส่วนที่เป็นโศลกอายุเก่าแก่กว่า ส่วนที่เป็นร้อยแก้ว และส่วนที่เป็นร้อยแก้วนั้นแต่งเพิ่มเติมเต้ามาในภายหลัง เพราะโครงสร้างของสัทธรรมปุณฑรีกสูตรไม่ได้ใช้กับโศลกและร้อยแก้วตามที่ปรากฏในปริวรรตที่1 เพราะฉะนั้นจึงเป็นไปได้ และน่าจะถูกต้องที่จะลงความเห็นว่าเป็นธรรมเนียมนิยมที่ยุคสมัยนั้นจะแต่งเป็นร้อยแก้วก่อนแล้วจึงกล่าวซ้ำความเป็นโศลก เพื่อช่วยให้จดจำง่าย รูปแบบของภาษาที่ดูเก่าแก่กว่าในโศลกอาจเป็นเพียงลักษณะของคำประพันธ์ที่ต้องการจะใช้คำเก่าแก่เท่านั้น

        ความหมายของชื่อ สัทธรรมปุณฑรีกสูตร Mr.Anesaki อธิบายไว้ว่า "ดอกบัวเป็นสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์และความสมบูรณ์ เพราะเจริญจากโคลนตม แต่ไม่แปดเปื้อนด้วยโคลนตมนั้น เช่นเดียวกับพระพุทธเจ้าเสด็จขึ้นในโลกนี้แต่ทรงดำรงพระชนม์ชีพอยู่เหนือโลกนี้ (โลกุตตระ)  และเพราะเมล็ดบัวนั้นจะแก่เต็มที่ได้ก็ต่อเมื่อดอกบัวบานแล้ว เช่นเดียวกับสัจธรรมที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนจะในผลดีคือการตรัสรู้ทันที" อธิบายง่ายๆว่า คำสอนของพระพุทธเจ้าก็เหมือนกับปุณฑรีกหรือดอกบัว พระสูตรนี้มีชื่อเช่นนี้ก็เพราะทรงไว้ซึ่งอรรถาธิบายแห่งคำสอนนั้น

       สัทธรรมปุณฑรีกสูตร แบ่งออกเป็น 27 บท ซึ่งเรียกว่า ปริวรรต โดยส่วนใหญ่แล้วจะแสดงพระสูตรในลักษณะที่ให้ผู้ศรัทธามีความเคารพยำเกรงในพระพุทธเจ้า และในตัวของพระสูตรเอง มีจ้อความพรรณนาโวหารถึงอิทธิปาฏิหาริย์ของพระพุทธเจ้าทั้งในส่วนที่เป็นโศลกและเนื้อความร้อยแก้ว ถ้าผู้ศึกษาจะมองข้ามส่วนนี้เสียถือเอาแต่การวิเคราะห์เนื้อหาก็จะได้พบวัตถุประสงค์สำคัญของพระสูตรนี้ว่าต้องการจะกล่าวย้ำถึงคำสอนของเอกยานกล่าวคือพุทธยานซึ่งนอกเหนือไปจากตรียาน คือสาวกยาน ปัจเจกพุทธยาน และโพธิสัตว์ยาน อย่างไรก็ดี เมื่อพระพุทธเจ้าทรงเผชิญกับความขัดแย้งของคำสอนของพระองค์ในที่อื่นๆ ก็จะทรงอธิบายว่า พระองค์ทรงสอนแต่เพียงเรื่องเอกยานเท่านั้น พระธรรมเทศนาที่ทรงเอ่ยอ้างถึงตรียานเป็นเพียงนำผู้ปฏิบัติที่หลงทางให้เข้าสู่เอกยาน ข้อนี้เป็นคุณลักษณะของอุปายโกศล หรือ "วิธีการที่ฉลาดแยบยล" เพื่อแสดงมรรคาที่ถูกต้องแก่สาวกของพระองค์ ผู้อ่านมักจะพบคำว่าอุปายโกศลน้อยมากในพระสูตรฝ่ายมหายาน เช่นดังที่ปรากฏในอาษฏาสาหัสริกาศาสตร์ ว่ามีข้ออุปมาเปรียบเทียบและนิทานสาธกที่วิเศษยิ่งเกี่ยวกับอุปายโกศลของพระพุทธเจ้า ในปริวรรตที่ 3,4 และ 5 ของพระสูตรเล่มนี้ และผู้อ่านคงจะเห็นพ้องกับ วินเตอร์นิตซ์ ที่ว่า อุปมาอุปไมยและนิทานสาธกเหล่านี้เป็นเรื่องที่คงความงดงาม ถ้าหากว่าจะไม่ทำให้เรื่องต้องยึดยาดเยิ่นเย้อออกไปจนกระทั่งว่าประเด็นสำคัญของข้ออุปมาอุปไมยต้องมีผลกระทบไปด้วย ความเยิ่นเย้อ เช่นนี้เป็นลักษณะของสัทธรรมปุรฑรีกสูตรนี้ ข้อความที่วกวนเช่นนี้อาจทำให้ผู้อ่านเกิดความสับสนงุงงงได้ และแนวคิดหลักจริงๆ ก็มักอยู่ในกระแสคำบรรยายดังว่านี้

       เป็นการยากที่จะชี้ชัดลงไปในแน่นอนว่าสัทธรรมปุณฑรีกสูตรมีการจารึกขึ้นเมื่อไร ต้นฉบับเนปาลที่ใช้เป็นต้นฉบับพิมพ์เล่มนี้ล้วนมีอายุเหลังพุทธกาล 1500ปี ทั้งสิ้น ฉบับแปลของธิเบตซึ่งปรากฏก่อนหน้านี้ ก็ตกอยู่ในประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 และฉบับแปลจีนของท่านกุมารชีพ ก็มีเนื้อความคล้ายคลึงกันกับฉบับของธิเบต เมื่อมีการสอบทานชำระอาจจะเกิดฉบับที่มีข้อความสั้นเพียงบทที่ 1-20 และ 27 ก่อนฉบับสมบูรณ์ 27 บทปัจจุบัน หากไม่พิจารณาถึงการสอบทานฉบับเก่าๆ หันมาพิจารณาเฉพาะฉบับแปลแรกๆของจีน จะมีอายุในช่วง พ.ศ.776-998 วินเตอร์นิตซ์ ให้ความเห็นว่า ท่านนาคารชุนได้ยกข้อความไปจากนี้ เพราะฉะนั้นต้นฉบับเดิมคงจะมีขึ้นแล้วเมื่อประมาณ พ.ศ.693 เพราะฉะนั้น ไม่น่าจะผิดพลาดนักถ้าเราจะกำหนดว่าสัทธรรมปุณฑรีกสูตรจารึกไว้เมื่อพุทธศตวรรษที่ 6 ลักษณะของสัทธรรมปุณฑรีกสูตรแสดงให้เห็นพัฒนาการอันสุกงอมของพระพุทธศาสนามหายาน โดยเฉพาะในแง่ของการอุทิศตนเพื่อพระพุทธเจ้า ความเชื่อในการบูชาพระบรมสารีริกธาตุและพระพุทธรูป และพัฒนาการก้าวหน้าแห่งพุทธศิลป์

        เฉพาะในประเทศจีน สัทธรรมปุณฑรีกสูตรมีการแปลถ่ายทอดเป็นภาษาจีนถึง 6 ครั้งด้วยกัน แต่ 3 ฉบับแปลแรกได้สูญหายไปแล้วเมื่อประมาณ พ.ศ. 1273 เมื่อมีการจัดทำบัญชีรายชื่อคัมภีร์พระพุทธศาสนาขึ้นโดยท่านจื้อเซิง อีก 3 สำนวนแปลหลังที่ยังหลงเหลืออยู่เป็นของท่านธรรมรักษ์ พ.ศ.829 ท่านกุมารชีพ พ.ศ.934 และท่านชญานคุปตะร่วมกับท่านธรรมคุปตะ พ.ศ.1144 ฉบับแปลล่าสุดจะมีเนื้อความสอดคล้องกับต้นฉบับภาษาสันสกฤตมากที่สุด ฉบับแปลของท่านกุมารชีพ ทั้งที่มีในจีนและญี่ปุ่นมีขนาดยาว 8ผูก มีรวม 28 ปริวรรต โดยเพิ่ม "เทวทัตปริวรรต" คือบททีว่าด้วยพระเทวทัตเข้ามาอีกหนึ่งบท พระสูตรนี้เป็นที่เคารพนับถือมากในหมู่ผู้นับถือนิกายเทียนไท้ (เทนได) ทั้งในจีนและญี่ปุ่น โดยเฉพาะนิกายนิชิเรนถือเป็นพระสูตรสำคัญมากที่สุดพระสูตรหนึ่งของมหายาน ซึ่งมีหลักคำสอนว่า แม้แต่สาวกของยานอื่นๆก็สามารถบรรลุความตรัสรู้อันสมบูรณ์ได้ และสอนว่าความตรัสรู้อันสมบูรณ์นั้น พระพุทธเจ้าได้บรรลุมาเนิ่นนานหลายกัลปหลายกัลป์จนนับมิได้แล้ว

         ในส่วนของอรรถกถาพระสูตรนี้ ท่านวสุพันธุ ได้รจนาเป็นฉบับย่อในชื่อว่า "สัทธรรมปุณฑรีกสูตรอุปเทศ" ในจีนมีคัมภีร์ชั้นฎีกาเกิดขึ้นมากมาย เช่นของท่านเต้าเซิง, ฝ่าอวิ่น, จื้ออี, จี้จ้าง, และกุยจี เป็นต้น แม้แต่ท่านจื้ออี(มหาคุรุเทียนไท้) ผู้สถาปนานิกายเทียนไท้ ก็อาศัยมูลฐานจากพระสูตรนี้ ในญี่ปู่น เจ้าชายโชโตกุ ก็ทรงแต่งอรรถาธิบายพระสูตรฉบับสันสกฤตและฉบับแปลเป็นภาษาฝรั่งเศสและอังกฤษ ก็มีปราชญ์ตะวันตกจัดพิมพ์เผยแพร่ดังกล่าวแล้วข้างต้น

         อนึ่ง มีข้อที่ควรทราบถึงความสำคัญของสัทธรรมปุณฑรีกสูตรนี้ว่า ในกลุ่มประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนามหายาน เช่นจีน เกาหลี ญี่ปุ่น ไต้หวัน เวียตนาม และแม้แต่นิกายมหายานในประเทศไทย เมื่อมีพิธีเกี่ยวกับการบูชาพระอวโลกิเตศวร(กวนอิม)ก็จะนิยมสวดบท "สมันตมุขปริวรรต" โดยมิได้ขาด อันเป็นเครื่องแสดงให้เห็นว่า พระสูตรนี้เป็นบ่อเกิดแห่งศิลปกรรมและพิธีกรรมต่างๆ มากมายนอกเหนือไปจากหลักธรรมและปรัชญาอันลึกซึ้ง

         ในการศึกษาวิเคราะห์ด้านเนื้อหาสัทธรรมปุณฑรีกสูตรนั้น บทที่ 2 คืออุปายโกศลปริวรรต มีอิทธิพลต่อแนวคิดของท่านจื้ออีหรือเทียนไท้มาก เพราะถือว่าคำสอนของพระพุทธเจ้าก่อนหน้านี้เป็นเพียงอุบายเทศนาวิธี แต่สัทธรรมปุณฑรีกสูตรคือแก่นแท้ของพระสัทธรรม ซึ่งสรุปเป็นเอกพุทธยาน

          ในส่วนของท่านนิชิเรน ก็ได้รับแรงบันดาลใจจากสัทธรรมปุณฑรีกสูตรเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะบทที่ 15 ตถาคตายุษประมาณปริวรรต ท่านถือว่าพระศรีศากยมุนีพุทธเจ้าเป็นเพียงนิรมานกายของพระพุทธเจ้าองค์ปฐม ซึ่งตรัสรู้มาแล้วเนิ่นนานจนนับกาลไม่ได้แล้วและสุดท้ายท่านสรุปว่า ตัวท่านเองคือผู้สำแดงร่างของพระพุทธเจ้าองค์ล่าสุด ถึงกับตั้งสมญานามตนเองว่า  ไดโชนิน"ซึ่งแปลว่า "พระมหามุนี" นอกจากนี้บทท้ายๆคือ บทที่26-27 ซึ่งท่านนิชิเรนนำแนวคิดซึ่งพระสูตรไปใช้เป็นบทสัมภาวนา "นามเมียวโฮเรงเงเกียว" [นโม สทฺธรฺมปุณฺฑรีกสฺย]และสร้างมณฑลสัญลักษณ์ ซึ่งเรียกว่า "ไดโมกุ" เป็นวัตถุแห่งการบูชาผู้ศึกษาวิจัยควรอ่านประวัติของท่านจื้ออีผู้สถาปนานิกายเทียนไท้ของจีนและประวัติของท่านนิชิเรน ไดโชนิน จะได้ทราบแนวคิดที่ท่านทั้งสองได้ไปจากสัทธรรมปุณฑรีกสูตรนี้ และน่าจะเพียงพอแล้วสำหรับความเลิศล้ำของพระสูตรนี้

          ในประเทศไทย มีผู้แปลพระสูตรนี้จากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยหลายสำนวนต่างกรรมต่างวาระ มีจำหน่ายเผยแพร่อยู่โดยทั่วไปแล้ว สัทธรรมปุณฑรีกสูตรเล่มนี้แปลจากต้นฉบับภาษาสันสกฤตโดยตรงโดยผู้เชี่ยวชาญภาษาสันสกฤตของกรมศิลปากรคือ อาจารย์ชะเอม แก้วคล้าย โดยใช้ต้นฉบับของสถาบันมิถิลา ประเทศอินเดีย ซึ่งมี ดร.พิ แอล ไวทยะ เป็นบรรณาธิการ จัดพิมพ์เมื่อ พ.ศ.2503 ข้าพเจ้ามีส่วนช่วยขัดเกลาสำนวนภาษาไทยบ้างเล็กน้อย และตรวจสอบคำแปลบางศัพท์ให้ตรงกับหลักธรรมและคติมหายาน

ทรงวิทย์ แก้วศรี

บรรณาธิการ

*********

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: กันยายน 23, 2010, 03:05:55 pm »




    คำนำนี้ คัดลอกมาจาก หนังสือสัทธรรมปุณฑรีกะสูตร
ของ อ.ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ ซึ่งเป็นการพิมพ์ในครั้งที่สี่
คำนำนี้เขียนโดย ส.ศิวรักษ์ เมื่อ 1 มีนาคม 2537

        สัทธรรมปุณฑรีกะสูตรนั้น ถือกันว่าเป็นพระคัมภีร์ที่สำคัญและมีอิทธิพลมากสำหรับมหายาน แทบทุกลัทธินิกายในฝ่ายนั้นพากันเคารพนับถือพระสูตรนี้เป็นอย่างยิ่ง มีผู้ศึกษาค้นคว้า จนเขียนเป็นอรรถกถาและฎีกาขยายความจากพระสูตรมากมาย นี่ในระหว่างผู้รู้ สำหรับคนธรรมดาสามัญก็พากันท่องบ่นหรือสวดและทรงจำกันไว้ได้มาก แทบตลอดทั้งเอเชียตะวันออก โดยเฉพาะก็จีน เกาหลี และญี่ปุ่น

        พระสูตรนี้รจนาขึ้นเมื่อไร เป็นภาษาอะไร ไม่มีใครทราบเข้าใจก็น่าเดิมคงเขียนขึ้นเป็นภาษาพื้นเมืองในชมพูทวีปหรือในเอเชียกลาง ต่อมาจึงประพันธ์ขึ้นเป็นภาษาสันสกฤต เพื่อให้ศักดิ์สิทธิ์

         ทราบแน่ว่า เมื่อ พ.ศ. 798 นั้น มีการแปลออกจากสันสกฤตเป็นภาษาจีนแล้ว และต่อมามีคำแปลเป็นภาษาจีนหลายสำนวน แต่สำนวนที่สำคัญสุดนั้นเกิดขึ้นในปี พ.ศ.949 โดยท่านกุมารชีวะ สำนวนนี้แพร่หลายที่สุดในเมืองจีนและได้ถ่ายทอดออกสู่ ประเทศอื่นๆที่รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากจีนอีกด้วย

          ต้นฉบับภาษาเดิมนั้นไม่ปรากฏ แม้ฉบับภาษาสันสกฤตก็อันตรธานไปนาน จนเพิ่งค้นพบได้เมื่อเร็วๆ นี้เองที่เนปาล ที่เอเชียกลางและที่กัษมีระ แต่ฉบับภาษาสันสกฤตที่ว่านี้ดูเหมือนจะจารลงไว้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 หรือพุทธศตวรรษที่ 17 นี่เอง หรือหลังจากนั้นเสียด้วยซ้ำ แต่บางฉบับก็ถือว่าจารลงไว้แต่ คริสต์ศตวรรษที่ 5 หรือ 6 ฉบับสันสกฤตที่ว่านี้ผิดแผกแตกต่างไปจากฉบับที่ท่านกุมารชีวะแปลเป็นอันมาก มีการแต่งเติมเสริมต่อแสดงโวหารยิ่งๆขึ้น แสดงว่าฉบับที่ท่านกุมารชีวะแปลนั้นเก่าแก่กว่าภาษาสันสกฤตทุกฉบับที่เพิ่งค้นพบได้

         นอกจากแปลเป็นภาจีนดังกล่าวแล้ว ได้มีการแปลเป็นภาษาธิเบต และต่อมาแปลเป็นภาษามงโกล แมนจู เกาหลี และญี่ปุ่นด้วย โดยที่ทางอัษฎงคตประเทศนั้น ในไม่กี่ปีมานี้ มีฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งอื่นๆอีกด้วย แต่ดูเหมือนคนไทยโดยทั่วๆไปแทบจะไม่รู้จักพระสูตรนี้กันเอาเลยก็ว่าได้ จึงใคร่ขอทำคำอธิบายไว้ หวังจะเป็นประโยชน์ได้บ้าง

        ท่านกุมารชีวะผู้แปลพระสูตรนี้เป็นภาษาจีนนั้น มีชีวิตอยู่ระหว่าง พ.ศ. 887-956 บิดาท่านเป็นชาวภารตประเทศ แต่มารดาเป็นเจ้าหญิงเมืองกุชา (ซึ่งปัจบันนี้อยู่ในแคว้นซินเกียง) ท่านเป็นนักปราชญ์ทางพุทธศาสนา จนพระเจ้ากรุงจีนต้องยกกองทัพไปตีกุชา เพื่อได้ตัวท่านมาเป็นปราชญ์ของราชสำนักเมืองเชียงอาน

         ตามประวัตินั้นท่านและพระมารดาออกบวชด้วยกันทั้งคู่ ได้ไปศึกษาพระพุทธศาสนาที่แคว้นกัษมีระ ท่านกุมารชีวะนั้นนอกจากศึกษาทางพระศาสนาแล้ว ยังเชี่ยวชาญวิชาดาราศาสตร์ คณิตศาสตร์และไสยศาสตร์ด้วย เมื่อไปอยู่ประเทศจีน ท่านรู้จักภาษาจีนดี สำหรับการแปล พระสูตรจากภาษาสันสกฤตเป็นจีนนั้น ท่านกุมารชีวะใช้วิธีอธิบายความหมายให้พระจีนฟัง 2 ครั้งก่อน แล้วพระนักแปลเหล่านั้นอภิปรายกันจนเข้าใจชัดเจน จากนั้นจึงแปลออกเป็นภาษาจีนอย่างไพเราะ โดยท่านกุมารชีวะจะนำคำแปลมาเทียบกับต้นฉบับเดิมและแก้ไขซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนเป็นที่พอใจอย่างที่สุดจึงยุติได้

          นี้นับว่าผิดกับนักแปลอื่นๆ ที่มุ่งการแปลคำต่อคำ ท่านกุมารชีวะมุ่งให้ได้สาระแห่งพระสูตร แม้จะตันทอนให้สั้นลง ท่านก็กล้าทำ และปรุงสำนวนโวหารให้เข้ากับจารีตของฝ่ายจีนด้วย ฉบับแปลที่ท่านบัญชาการแปลจึงเป็นที่นิยมและแพร่หลายมาก จนภายหลังมีพระจีนที่มีความสามารแปลได้เองโดยตรง เช่น พระตรีปิฎก (ถังซำจั่ง) จึงเกิดอีกโวหารการแปลที่เทียบได้ถึงสำนวนของท่านกุมารชีวะ

           สัทธรรมปุณฑรีกะสูตร ตามฉบับของท่านกุมารชีวะนั้น แบ่งออกเป็น 28 บรรพ และทุกบรรพมีทั้งคาถาที่เป็นคำร้อยกรอง และมีความเรียงร้อยแก้วกำกับไปด้วย ที่มีคาถาตามกำหนดท่านฉันทลักษณ์นั้นก็เพื่อให้ง่ายแก่การท่องบ่น สะดวกสำหรับทรงจำเข้าใจว่าเดิมคงมีแต่คาถา ต่อภายหลังจึงเขียนความเรียงประกอบขึ้น ออกจะเป็นการกล่าวซ้ำ คือความเรียงนั้นรจนาขึ้นเพื่อดำเนินเรื่องให้อ่านเข้าใจง่าย ขยายความจากคาถาเดิมอีกที

        พระสูตรเริ่มดังพระสูตรอื่นๆในพระไตรปิฎก ดังทางบาลีประเดิมด้วยคำว่า เอวม.เม สุตํ เอวมฺเม สุตํ เอกํสมยํ ภตวา กล่าวคือ เอาคำไปถวายให้พระอานนท์นำมาบรรยายว่า "ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วดังนี้"

        สำหรับพระสูตรนี้อ้างว่าพระศากยมุนีพุทธเจ้าหรือพระสมณโคดมพุทธเจ้า เสด็จประทับ ณ ยอดภูเขาคิชกูฏ (ท่านกุมารชีวะแปลเป็นจีนว่า ยอดเขานกอินทรี คงเกรงว่าจีนจะรังเกียจนกแร้ง) นอกกรุงราชคฤห์ แล้วทรงแสดงธรรม หากผิดไปจากการแสดงธรรมตามพระสูตรของฝ่ายบาลี ที่มีแต่พระสาวกสดับพระธรรมเทศนา อย่างดีก็เมื่อทรงแสดงจบ เทวดา มาร พรหม จึงอนุโมทนาด้วย ดังตอนแสดงพระธัมมจักกัปปวัตตนสูตรหรือปฐมเทศนาเป็นอาทิ

         โดยที่พระสูตรของทางมหายานนั้น นอกจากพระสาวกที่เป็นมนุษย์แล้ว ยังมีเทวดา มาร พรหม มาสดับตรับฟังพระธรรมเทศนาอีกเป็นอันมาก ที่สำคัญคือพระโพธิสัตว์หรือมหาสัตว์ต่างๆ

         เราต้องเข้าใจว่าในทางมหายานนั้น ต้องการพรรณนาด้วยการใช้โวหาร พ้นภาษาคนออกไป ถ้าเราเข้าใจในทางภาษาธรรมจึงจะได้ถึงเนื้อหาสาระของพระสูตรตามนิกายฝ่ายเหนือ และถ้าไม่ใจกว้าง จะเกิดอาการชนิดที่บันดาลโทสะได้ง่ายด้วย โดยเฉพาะพระสูตรนี้ ฟังดูเผินๆ ออกจะเป็นการเหยียดหีนยานหรือสาวกยานของฝ่ายเถรวาท ด้วยการดำเนินความว่าในสมัยปฐมโพธิกาล พระพุทธเจ้าตรัสสอนให้พระสาวกได้บรรลุอรหันตผลเพื่อเข้าถึงพระนิพพานเป็นประการสำคัญ หากมาถึงสมัยที่ตรัสเทศนาสัทธรรมปุณฑรีกสูตรนี้ ในตอนปัจฉิมโพธิกาล คือเมื่อทรงจาริกสั่งสอนเวไนยสัตว์อยู่กว่า 40 พรรษาแล้ว จึงทรงเน้นที่เอกยานอันเป็นจุดสุดยอดหนึ่งเดียว กล่าวคือ ประการแรกหรือชั้นแรกได้แก่สาวกยานหรือหีนยานดังกล่าวแล้ว เพราะในชั้นนั้นการสอนพระสัทธรรมให้สูงไปกว่านั้นย่อมเป็นไปไม่ได้ ขยับขึ้นจากสาวก จึงถึงพระปัจเจกพุทธเจ้า ซึ่งตรัสรู้ได้เอง หากไม่ทรงสั่งสอนผู้อื่น หรือเพราะไม่มีเวไนยสัตว์จะให้ตรัสสอนได้ ต่อขึ้นที่สามจึงถึงโพธิสัตวยาน หรือมหายาน คือสรรพสัตว์อาจบรรลุได้ถึงการเป็นพระอนุตรสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยกันทั้งสิ้น

         แม้พระอรหันตสาวกและพระอรหันตสาวิกาก็จะได้ตรัสรู้เป็นพระอนุตรสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยกันทั้งสิ้น รวมถึงพระนางมหาปชาบดีโคตรมีพระแม่น้าผู้เป็นปฐมภิกษุณี และพระนางยโสธราพิมพา ซึงก็ออกบวชเป็นพระภิกษุณีด้วยเช่นกัน มิใยต้องเอ่ยถึงพระอรหันตสาวกอย่างพระอัญญาโกณฑัญญะ พระสารีบุตร และพระโมคคัลลาน์ที่สุดจนพระเทวทัต ซึ่งถูกแผ่นดินสูบลงไปตกนรกอเวจีอันต่ำใต้และร้ายแรงที่สุด ต่อไปในอนาคตก็จะได้ตรัสรู้เป็นพระอนุตรสัมมาสัมพุทธเจ้า ทั้งนี้เพราะในอดีตชาติ พระเทวทัตเคยมีบุญคุณกับพระศากยมุนีพุทธเจ้า กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือแม้คนเลวสุด ก็สามารถเข้าถึงจุดสูงสุดในทางพระศาสนาได้

      ที่เคยกล่าวกันว่าสตรีไม่อาจตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าได้นั้นพระสูตรนี้ก็ปฏิเสธโดยสิ้นเชิง จนถึงกับกล่าวว่าพระมัญชุศรีโพธิสัตว์ได้ลงไปยังนาคบาดาล เทศนาสัทธรรมปุณฑรีกสูตรแก่พญานาค ชื่อสาคร แล้วธิดาพญานาคอายุเพิ่งจะเข้าแปดขวบย่างก็สามารถตรัสรู้เป็นพระอนุตรสัมมาสัมพุทธเจ้าได้

       ประเด็นคือ อย่างว่าแต่สตรีเพศเลย แม้เด็กและผู้ซึ่งไม่ใช่มนุษย์ก็อาจตรัสรู้อย่างสูงสุดได้ ทั้งๆที่ในทางตรรกวิทยา พระอนุตรสัมมาสัมพุทะเจ้าน่าจะต้องทรงค้นพบพระสัทธรรมเองหากนี่ได้ฟังจากพระโพธิสัตว์อีกที แต่เราต้องทำความเข้าใจไว้ว่า พระมัญชุศรีโพธิสัตว์นั้นถือได้ว่าเป็นพระปัญญาคุณของพระพุทธเจ้า ในทางบุคคลาธิษฐาน กล่าวคือธิดาพญานาคใคร่ครวญพระสัทธรรมตามพระปัญญาคุณของพระพุทธเจ้า แล้วก็อาจตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณได้ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การตรัสรู้ทางฝ่ายมหายานนั้น ไม่ขีดวงจำเพาะบรรพชิต แต่ที่ว่านี้ไม่ทั่วไปในทุกนิกายของฝ่ายมหายาน หากเน้นจำเพาะพวกที่ยึดถือตามพระคัมภีร์นี้เท่านั้น

    อนึ่ง พระสูตรนี้เอง มีข้อความที่พระศากยมุนีพุทธเจ้าตรัสยืนยันว่าพระองค์มิได้ทรงตรัสรู้ในพระชาตินี้ ดังที่ทางฝ่ายสาวกยานเข้าใจ หากได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณมานับได้อสงไขยแสนกัลปแล้ว หรืออีกนัยหนึ่งคือพุทธภาวะนั้นเป็น สภาวะแห่งนิรันดร บางครั้งทรงเนรมิตพระองค์เป็นพระโพธิสัตว์มาช่วยสรรพสัตว์ บางครั้งเสด็จหลีกออกจากโลกไปเลย เพื่อให้เป็นประหนึ่งว่าโลกว่างจากพระพุทธเจ้า เวไนยสัตว์จะได้ไม่ประมาทเร่งประพฤติธรรม หาไม่จะนึกว่ามีพระโพธิสัตว์มาคอยเกื้อหนุนตนอยู่ตลอดเวลา ด้วยอำนาจแห่งพระพุทธบารมีกล่าวอีกนัยหนึ่งคือทรงใช้อุปายะ ที่ว่าวิธีหนึ่งใดจะมีคุณในการเอื้อหนุนสรรพสัตว์เป็นที่สุดนั้นแลเป็นประการสำคัญ

        พระสูตรนี้เน้นให้เห็นว่าเราต้องไม่คำนึงถึงพระพุทธเจ้าในฐานะพระมนุษยพุทธที่ประสูต ณ สวนลุมพินี ตรัสรู้ที่พุทธคยา ทรงแสดงปฐมเทศนาที่ป่าอิสิบตนมฤคทายวัน และเสด็จดับขันธ์ที่นอกเมืองกุสินารา เพราะนั่นเป็นเพียงการแสดงออกทางประวัติเท่านั้น แท้ที่จริงพระอนุตรสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอยู่เหนือกาล เหนือสถานที่ เหนืออวกาศ ทรงเป็นสภาวะสัจและทรงเป็นมหากรุณาคุณอันดำรงคงอยู่ทุกแห่งหนและในทุกๆสรรพสัตว์

         เนื้อหาประการหลังนี้คือหัวใจของมหายาน อาการที่ทรงแสดงสัทธรรมปุณฑรีกสูตร ณ ภูเขาคิชกูฎนั้น ถือได้ว่าแสดงออกทางพระธรรมกาย อันสุดวิสัยที่ปุถุชนจะรับรู้ได้ ทรงนำเอานิทานต่างๆ มาเล่าไว้ในพระสูตรนี้ และพรรณาอย่างไพเราะลึกซึ้งและอย่างน่าเห็นคล้อยตาม หากไม่เป็นไปตามนัยแห่งตรรกะหรือปรัชญาแบบตะวันตก แม้คำสอนหลักในทางพระศาสนา เช่น เรื่องอริยสัจและปฏิจจสมุปบาท ก็เอ่ยไว้อย่างผ่านๆไปเท่านั้น เพราะถือว่าพุทธศาสนาย่อมรู้จักหัวข้อคำสอนหลักเหล่านั้นอยู่แล้ว หากความในพระสูตรนี้เน้นในเรื่องที่ไม่มีปรากฏในพระสูตรอื่นๆ

          พระสูตรนี้เน้นว่าพระปัญญาคุณของพระพุทธเจ้านั้นลึกซึ้งละเอียดอ่อน สุขุมคัมภีรภาพ อย่างยากที่สามัญมนุษย์จะเข้าได้ถึงจึงเสนอให้ท่องบ่นพระสูตรนี้ แม้ไม่เข้าใจ หากอาศัยศรัทธาปสาทะก็จะตรัสรู้โดยใช้อธิษฐานบารมี มุ่งที่โพธิสัตวธรรม เพื่อช่วยเหลือเกื้อกูลสรรพสัตว์ ให้พากันเข้าถึงพระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น

         ถ้าใช้วิชาการอย่างฝรั่งจะหาบทสรุปจากพระสูตรนี้ไม่ได้เลยดัง ยอช ทานาเบ หัวหน้าแผนกวิชาศาสนาของมหาวิทยาลัยฮาวาย(อเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่น) ถึงกับกล่าวว่า สัทธรรมปุณฑรีกสูตรนี้ "ว่าด้วยพระสูตรแต่ไม่มีคำสอนในพระสูตรเลย....เป็นดังคำนำอย่างยาว หากไม่มีเนื้อเรื่อง"

         เราต้องไม่ลืมว่า ทางมหายานถือว่าปรมัตถสัจนั้นไม่อาจใช้ถ้อยคำแสดงออกได้ เพราะภาษามีขอบเขตอันจำกัด หากใช้ภาษาพรรณนาปรมัตถสัจก็เท่ากับทำลายสภาวะของศูนยตานั่นเอง ฉะนั้น ถ้อยคำในพระสูตรจึงตีวงกรอบไว้รอบๆ เพื่อให้ปรมัตถสัจอยู่ตรงกลาง โดยไม่จำเป็นต้องเอ่ยถึง หรือเอ่ยถึงไม่ได้ หากให้เวไนยสัตว์อาจตรัสรู้ได้เอง

        ก็ในเมื่อปรมัตถสัจเข้าถึงไม่ได้ด้วยถ้อยคำหรือด้วยการใช้ความคิด พระสูตรนี้จึงเน้นให้แต่ละคนเข้าหาพระปัญญาคุณของพระพุทธเจ้าด้วยศรัทธาปสาทะและการปฏิบัติตามเท่านั้นเอง

        อิทธิพลของพระสูตรนี้ในแง่ที่เน้นเรื่องศรัทธาและภาวนานั้นจึงมีคุณอนันต์ แม้คนที่ไร้การศึกษาก็เข้าหาพระปัญญาคุณของพระพุทธเจ้าได้ ด้วยการยึดตามพระสูตร ด้วยวิธีอ่าน ด้วยการท่องบ่น ด้วยการคัดลอก และด้วยการสอนข้อความตามพระสูตรนี้

       ถือว่าการกระทำดังกล่าวเป็นบุญกิริยา ซึ่งสามารถเอาชนะอกุศลและความชั่วร้ายต่างๆได้

       นอกจากสวดสังวัธยาย ฯลฯ แล้ว ยังควรทำพิธีบูชาด้วย ธูปเทียน ดนตรี แก้วแหวนเงินทองต่างๆอีกด้วย ทั้งนี้ ไม่ได้หมายความว่ายิ่งถวายของมีราคามากจักได้บุญกุศลมาก หากขึ้นอยู่กับศรัทธาปสาทะที่แนบแน่นและจริงใจต่างหาก แม้ยากจก ถ้าจิตเป็นกุศล แม้ของที่ถวายจะน้อยค่าทางทรัพย์สินก็อาจได้อานิสงส์ยิ่งกว่าเศรษฐีที่ถวายมาก หากไม่ศรัทธาจริงหรือหวังผลตอบแทนจากการถวายนั้นๆ

        อนึ่ง การสวดสังวัธยายนั้น ให้มั่นในพระพุทธคุณ โดยเฉพาะก็พระกรุณาคุณอันแสดงออกทางบุคคลาธิษฐาน เป็นองค์พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ซึ่งตามพยัญชนะหมายถึง พระองค์ผู้ทรงรับเสียงร้องขอความช่วยเหลือจากชาวโลกนั่นเองชาวโลกในที่นี้อาจเป็นสัตว์นรกก็ได้ ใครก็ตามที่เชื่อมั่นในพระโพธิสัตว์พระองค์นี้ พระองค์จะทรงแผ่กรุณยภาพไปถึงตลอดเวลา ขอให้มั่นในศรัทธาปสาทะเท่านั้น

         พระสูตรนี้เอ่ยถึงพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ซึ่งทรงเนรมิตพระกาย ออกเป็นถึง 33 พระรูป ทรงเป็นทั้งเพศหญิง เพศชายเป็นมนุษย์และอมนุษย์ สูงส่ง ยิ่งใหญ่ และต่ำต้อย

         จากพระสูตรนี้เองที่พระโพธิสัตว์พระองค์นั้นกลายสภาพเป็นเจ้าแม่กวนอิมในเมืองจีน และแคนนอนในญี่ปุ่น แม้จนบัดนี้พระโพธิสัตว์พระองค์นี้ก็ทรงเกื้อหนุนจุนเจือให้ผู้คนเป็นอันมากได้รับความสุข โดยทรงช่วยขจัดความทุกข์ให้นานาประการ

        ถ้าเข้าใจพระสูตรนี้จากแง่มุมของมหายาน ก็จะเห็นได้ว่า สัทธรรมปุณฑรีกสูตรประมวลไว้ทั้งคำเทศน์ นิทาน และการแนะนำช่วยเหลือให้สาธุชนเกิดศรัทธาปสาทะในสถานะต่างๆกัน นี้แลคือหัวใจสำคัญอันเป็นเหตุให้พระสูตรนี้แพร่หลายในโลกของฝ่ายมหายานมาจนตราบเท่าทุกวันนี้

     

        *********