ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: ตุลาคม 05, 2010, 08:45:42 pm »

 :13: อนุโมทนาครับพี่แป๋ม^^
ข้อความโดย: mmm
« เมื่อ: ตุลาคม 05, 2010, 06:51:23 pm »

สาธุครับ

 :07: :07: :07: :07: :07:

 :46: :46: :46: :46: :46:


ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ตุลาคม 05, 2010, 06:24:59 am »

พระนางสามาวดีถูกเผาทั้งเป็นพร้อมหญิงสหาย

ความจริงแล้ว พระนางมาคันทิยา มีความโกรธแค้นต่อพระบรมศาสดาที่ทรงประณาม
ว่า “นางมีร่างกายเต็มไปด้วยอุจจาระปัสสาวะ ไม่ปรารถนาจะสัมผัสแม้ด้วยเท้า” และนางก็ได้
ชำระความแค้นด้วยการว่าจ้างนักเลงให้ตามด่าพระพุทธองค์ไปส่วนหนึ่งแล้ว ในส่วนของพระ
นางสามาวดีนั้น ที่นางต้องโกรธแค้นด้วยก็เพราะสาเหตุหนึ่งเป็นพระมเหสีคู่แข่ง แต่ที่สำคัญก็
คือพระนางมีศรัทธาในพระสมณโคดม เมื่อแผนการทำลายพระนางสามาวดี ที่ทำไปหลายครั้ง
แล้วนั้น ก็ยังไม่ประสบผลสำเร็จ ครั้งหลังสุดยังทำให้พระเจ้าอุเทนพระสวามีไปมีศรัทธาเลื่อมใส
ในพระสมณโคดมอีกด้วย ยิ่งทำให้พระนางมาคันทิยาเพิ่มความโกรธแค้นยิ่งขึ้นแล้วแผนการอัน
โหดเหี้ยมของพระนางก็เกิดขึ้น
วันหนึ่งขณะที่พระเจ้าอุเทนเสด็จประพาสราชอุทยาน พระนางมาคันทิยาสั่งคนรับใช้ให้
เอาผ้าชุบน้ำมันแล้วนำไปพันที่เสาทุกต้น ในปราสาทของพระนางสามาวดี พูดเกลี้ยกล่อมให้
พระนางและบริวารเข้าไปรวมอยู่ในห้องเดียวกันแล้วจึงลั่นกลอนข้างนอกแล้วจุดไฟเผาพร้อมทั้ง
ปราสาท
พระนางสามาวดี ขณะเมื่อไฟกำลังลุกลามเข้ามาใกล้ตัวอยู่นั้น มีสติมั่นคงไม่หวั่นไหว
ให้โอวาทแก่หญิงบริวารทั้ง ๕๐๐ ให้เจริญเมตตาไปยังบุคคลทั่ว ๆ ไปแม้ในพระนางคันทิยา ให้
ทุกคนมีสติ ไม่ประมาท ให้มีจิตตั้งมั่นในเวทนาปริคคหกัมมัฏฐานอย่างมั่นคง บางพวกบรรลุ
อนาคามิผล ก่อนที่จะถูกไฟเผาผลาญกระทำกาละถึงแก่กรรม ไปบังเกิดในสุคติโลกสวรรค์ด้วย
กันทั้งหมด


ชดใช้กรรมเก่า

ในอดีตกาลเมื่อพระเจ้าพรหมหัตครองราชย์สมบัติในกรุงพาราณสี ได้ถวายภัตตาหาร
แก่พระปัจเจกพุทธเจ้า ๘ องค์เป็นประจำ และนางสามาวดีกับหญิงสหาย ๕๐๐ คน ก็เกิดอยู่ใน
พระราชนิเวศน์นั้นด้วย ได้ช่วยทำกิจบำรุงเลี้ยงพระปัจเจกพุทธะทั้ง ๘ นั้น ต่อมาพระปัจเจก
พุทธะองค์หนึ่งได้ปลีกตัวไปเข้าฌานสมาบัติในดงหญ้าริมแม่น้ำ ส่วนพระราชาได้พาหญิงเหล่า
นั้นไปเล่นน้ำกันทั้งวัน พวกผู้หญิงพออาบน้ำนาน ๆ ก็หนาว จึงพากันขึ้นมาก่อไฟที่กองหญ้าผิง
พอไฟไหม้กองหญ้าหมดก็เห็นพระปัจเจกพุทธะถูกไฟไหม้ ต่างพากันตกใจ เพราะเป็นพระ
ปัจเจกพุทธะของพระราชาด้วยเกรงว่าจะถูกลงโทษจึงช่วยกันทำลายหลักฐานด้วยการช่วยกันหา
ฟืนมาสุมจนท่วมองค์พระปัจเจกพุทธะจนแน่ใจว่าหมดฟืนนี้ พระปัจเจกพุทธะก็คงจะถูกเผาไม่
เหลือซาก แล้วก็พากันกลับพระราชนิเวศน์
ความจริง บุคคลแม้จะนำฟืนตั้ง ๑,๐๐๐ เล่มเกวียนมาสุมก็ไม่อาจทำให้พระปัจเจกพุทธะ
เกิดความรู้สึกแม้สักว่าอุ่น ๆ ได้ ดังนั้น ในวันที่ ๗ พระปัจเจกพุทธะออกจากสมาบัติแล้วก็เสด็จ
ไปตามปกติ ส่วนหญิงเหล่านั้นเมื่อตายแล้วถูกไหม้ในนรกหลายพันปี พ้นจากนรกแล้วถูกเผา
อย่างนี้อีก ๑๐๐ ชาติ นี้เป็นผลกรรมของพระนางสามาวดีกับหญิงสหาย


กรรมใหม่ให้ผลทันตา

พระเจ้าอุเทนทรงรู้สึกสลดพระทัยเป็นอย่างยิ่งที่พระนางสามาวดี ประสบเคราะห์กรรม
เช่นนี้ ทรงมีพระดำริว่า ถ้าจะคุกคามถามพระนางมาคันทิยาก็คงจะไม่ยอมรับ จึงออกอุบายตรัส
ปราศรัยกับอำมาตย์ทั้งหลายว่า:-
“ท่านทั้งหลาย เมื่อก่อนนี้เราจะลุกจะนั่งจะไปในที่ใด ๆ ก็หวาดระแวงสงสัยกลัวภัยอยู่
รอบข้าง ด้วยพระนางสามาวดีคิดประทุษร้ายต่อเราเป็นนิตย์ บัดนี้พระนางตายแล้ว เรารู้สึกสบาย
ใจไม่ต้องหวาดระแวงอีกแล้ว และการกระทำอันนี้ก็คงเป็นการกระทำของคนที่รักและห่วงใยใน
ตัวเรา ปรารถนาดีต่อเราอย่างแน่นอน”
“พระนางมาคันทิยา ประทับอยู่ในที่นั้นด้วย เมื่อได้ยินพระดำรัสนั้นแล้วจึงกราบทูลว่า:-
“ข้าแต่สมมติเทพ ใครอื่นจะกล้ากระทำ การงานนี้เหม่อมฉันได้สั่งให้อาของหม่อมฉัน
ลงมือกระทำ เพคะ”
พระราชาจึงตรัสว่า “ขึ้นชื่อว่าบุคคลผู้มีความรักในเรา เสมอกับเจ้านี้ไม่มีอีกแล้ว เราจะ
ให้พรแก่เธอ ขอให้เธอจงเรียกญาติของเธอมารับพรจากเราเถิด”
พระราชา พระราชทานสิ่งของรางวัลอันมีค่า แก่บรรดาญาติ ๆ ของพระนางมาคันทิยาผู้
มาถึงก่อน แม้คนอื่นพอทราบข่าวก็ติดสินบนขอเป็นญาติกับพระนางคันทิยา มาขอรับรางวัลด้วย

พระราชารับสั่งให้จับบุคคลเหล่านั้นทั้งหมดให้ขุดหลุมฝังแค่สะดือ ใช้ฟางข้าวคลุมปิดข้างบน
จุดไฟเผาทั้งเป็นแล้ว ใช้ไถเหล็กไถซ้ำอีกครั้งหนึ่ง ส่วนพระนางมาคันทิยาผู้เป็นต้นเหตุ พระ
องค์รับสั่งให้เฉือนเนื้อของพระนาง นำไปทอดน้ำมันเดือดแล้วนำมาให้พระนางกิน ทรงกระทำ
อย่างนี้ จนกระทั่งพระนางสิ้นพระชนม์ไปบังเกิดในทุคติ ซึ่งกล่าวได้ว่าพระนาง ได้รับผลแห่ง
กรรมในอัตภาพนี้เหมาะสมแล้ว
ส่วนพระนางสามาวดี ผู้มีปกติอยู่ประกอบด้วยเมตตา (เมตตาวิหาร) ได้รับยกย่องจาก
พระบรมศาสดา ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นผู้เลิศกว่าอุบาสิกาทั้งหลายในฝ่าย ผู้อยู่ด้วยเมตตา


84000.org...::
http://www.84000.org/one/4/04.html
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ตุลาคม 05, 2010, 06:01:54 am »

นางสามาวดีถูกใส่ความเรื่องไก่

พระนางมาคันทิยา เมื่อไม่สามารถจะทำให้พระพุทธองค์อับอายจนหนีไปยังเมืองอื่นได้
ก็ยิ่งโกรธแค้นมากขึ้น จึงคิดอุบายใส่ความแก่พระนางสามาวดีและบริวารผู้มีศรัทธาในพระพุทธ
องค์ โดยส่งข่าวไปบอกแก่อาของตนขอให้ส่งไก่เป็น ที่ยังมีชีวิตมาให้ ๘ ตัว และไก่ตายอีก ๘
ตัว เมื่อได้ไก่มาตามต้องการแล้วจึงเข้ากราบทูลพระเจ้าอุเทนว่า:-
“ข้าแต่สมมติเทพ ท่านปุโรหิตส่งไก่มาเป็นบรรณาการแด่พระองค์ เพคะ”
“ผู้ใด มีความชำนาญในการแกงอ่อมไก่บ้าง ?” พระราชาตรัสถาม
“พระนางสามาวดีกับหญิงบริวาร เพคะ” พระนางมาคันทิยา กราบทูล
จึงรับสั่งให้ส่งไก่ไปให้พระนางสามาวดีเพื่อจัดการแกงมาถวาย พระนางมาคันทิยา ส่ง
ไก่เป็นไปให้ ส่วนพระนางสามาวดีเห็นว่าไก่ยังมีชีวิตอยู่จึงไม่ทำถวาย เพราะว่าตนสมาทานศีล
๘ ย่อมไม่ฆ่าสัตว์จึงส่งไก่กลับคืนไปพระนางมาคันทิยา ได้กราบทูลแนะนำต่อพระสวามีอีกว่า:-
“ถ้าอย่างนั้น ขอพระองค์จงรับสั่งให้ส่งไก่ไปใหม่พร้อมทั้งบอกว่าให้แกงไปถวายแก่
พระสมณโคดม”
พระราชาทรงกระทำตามที่พระนางแนะนำ แต่พระนางมาคันทิยาได้เปลี่ยนเอาไก่ที่ตาย
แล้วส่งไปให้ พระนางสามาวดีเห็นว่าเป็นไก่ที่ตายแล้ว และเป็นการแกงเพื่อนำไปถวาย
พระสมณโคดม จึงช่วยกันรีบจัดการแกงไปถวายด้วยความปีติและศรัทธา
พระนางมาคันทิยา รู้สึกดีใจที่เหตุการณ์เป็นไปตามแผน จึงกราบทูลยุยงว่า การกระทำ
ของพระนางสามาวดีไม่น่าไว้วางใจดูประหนึ่งว่าเอาใจออกห่างพระองค์ปันใจให้พระสมณโคดม
เวลาใช้ให้แกงมาถวายพระองค์ก็ไม่ทำ แต่พอบอกให้แกงไปถวายพระสมณโคดมกลับทำให้
อย่างรับด่วน
พระเจ้าอุเทน ได้สดับคำของพระนางมาคันทิยา แล้วทรงอดกลั้นนิ่งเฉยไว้อยู่ จนกระทั่ง
พระนางมาคันทิยา ต้องคิดหาอุบายร้ายด้วยวิธีอื่นต่อไป


ถูกใส่ความเรื่องงู

ตามปกติ พระเจ้าอุเทนจะเสด็จไปประทับที่ปราสาทของพระมเหสีทั้ง ๓ คือ
พระนางสามาวดี พระนางวาสุลทัตตา และ พระนางมาคันทิยา ตามวาระแห่งละ ๗ วัน ครั้นอีก
๒-๓ วัน จะถึงวาระเสด็จไปประทับที่ปราสาทของพระนางสามาวดี พระนางมาคันทิยา ได้วาง
แผนส่งข่าวไปถึงอา ให้ส่งงูพิษที่ถอนเขี้ยวพิษออกแล้วมาให้นางโดยด่วน เมื่อได้มาแล้วจึงใส่งู
เข้าไปในช่องพิณซึ่งพระเจ้าอุเทนทรงเล่นและนำติดพระองค์เป็นประจำแล้วนำช่อดอกไม้ปิดช่อง
พิณไว้ก่อนที่พระเจ้าอุเทนจะเสด็จไปยังปราสาทของพระนางสามาวดีนั้น พระนางมาคันทิยา ได้
ทำทีเป็นกราบทูลทัดทานว่า “ขอพระองค์ อย่าเสด็จไปเลย เพราะว่าเมื่อคืนนี้ หม่อมฉันฝันไม่เป็น
มงคล เกรงว่าพระองค์จะได้รับอันตราย” เมื่อพระราชาไม่เชื่อคำทัดทานจึงขอติดตามเสด็จไป
ด้วย ขณะที่พระนางสามาวดีและหญิงบริวารปรนนิบัติพระเจ้าอุเทนอยู่ และทรงวางพิณไว้บน
พระแท่นบรรทมนั้น พระนางมาคันทิยา ก็ทำเป็นเดินไปเดินมาใกล้ ๆ บริเวณนั้น เมื่อไม่มีใคร
สังเกตเห็นจึงดึงช่อดอกไม้ที่ปิดช่องพิณออก และงูที่อดอาหารมาหลายวันได้เลื้อยออกมาพ่นพิษ
แผ่พังพาน พระราชาทอดพระเนตรเห็นงูก็ตกพระทัยกลัวมรณภัยจะมาถึง จึงด่าตวาดพระนางสา
มาวดีที่คิดปลงพระชนม์ และตำหนิพระองค์เองที่ไม่เชื่อคำทัดท่านของพระนางมาคันทิยา ด้วย
เพลิงแห่งความโกรธจึงตัดสินพระทัยประหารชีวิตพระนางสามาวดีและหญิงบริวารด้วยพระองค์เอง,


อานุภาพแห่งเมตตาธรรม

พระเจ้าอุเทนทรงยกคันธนูประจำพระองค์ขึ้นสายแล้วพาดลูกศรอาบยาพิษโก่งคันธนูเล็ง
เป้าไปที่พระอุระของพระนางสามาวดี ซึ่งประทับอยู่ข้างหน้าแห่งหญิงบริวาร ก่อนที่ลูกศรจะ
แล่นออกจากคันธนูนั้น พระนางสามาวดีได้ให้โอวาทแก่หญิงบริวารว่า:-
“แม่หญิงสหายทั้งหลาย ที่พึ่งอื่นของเราไม่มี เธอทั้งหลายจงเจริญเมตตาจิตให้สม่ำเสมอ
ส่งไปให้แก่พระราชา แก่พระเทวีมาคันทิยา และแก่ตนเอง อย่าถือโทษโกรธต่อใคร ๆ เลย”
ครั้นให้โอวาทจบลง หญิงเหล่านั้นก็ปฏิบัติตาม เมื่อพระราชาปล่อยลูกศรออกไป แทน
ที่ลูกศรจะพุ่งเข้าสู่พระอุระพระนางสามาวดี แต่หวนกลับพุ่งเข้าหาพระอุระของพระองค์เสียอง
จึงสะดุ้งตกพระทัยพลางดำริว่า:-
“ธรรมดาลูกศรนี้ย่อมแทงทะลุแม้กระทั่งแผ่นหิน บัดนี้ สิ่งที่เป็นวัตถุที่จะกระทบใน
อากาศก็ไม่มี เหตุใดลูกศรจึงหวนกลับเข้าหาเรา ลูกศรนี้แม้จะไม่มีชีวิตจิตใจ แต่ก็ยังรู้จักคุณของ
พระนางสามาวดี เราเสียอีกแม้เป็นมนุษย์กลับไม่รู้คุณของพระนาง”
ทันใดนั้น ท้าวเธอทิ้งคันธนูแล้วประนมหัตถ์ประคองอัญชลี กราบที่พระบาทของพระ
นางสามาวดี อ้อนวอนให้พระนางยกโทษให้ และขอถึงพระนางเป็นที่พึ่งตลอดไป
พระนางสามาวดีกราบทูลให้พระราชาทรงถึงพระบรมศาสดาเป็นสรณที่พึ่งเหมือนอย่างที่นาง
กระทำอยู่ ตั้งแต่นั้นมา พระเจ้าอุเทนทรงมีศรัทธาในบวรพระพุทธศาสนา ทรงรักษาศีลฟังธรรม
ร่วมกับพระนางสามาวดีตามกาลเวลาและโอกาสอันสมควร
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ตุลาคม 05, 2010, 05:50:02 am »

นางมาคันทิยาผูกอาฆาตพระศาสดา

ก่อนที่นางมาคันทิยา จะได้รับการอภิเษกเป็นมเหสีของพระเจ้าอุเทนนั้น เดิมทีนางเป็น
ธิดาของเศรษฐีในแคว้นกุรุ เนื่องจากนางมีรูปงามดุจนางเทพอัปสร จึงมีเศรษฐี คฤหบดี ตลอด
จนพระราชา จากเมืองต่าง ๆ ส่งสารมาสู่ขอมากมาย แต่บิดามารดาของนางก็ปฏิเสธทั้งหมดด้วย
คำว่า “พวกท่านไม่คู่ควรแก่ธิดาของเรา” นางจึงครองความเป็นโสดเรื่อยมา
พระบรมศาสดาทรงพิจารณาเห็นอุปนิสัยแห่งพระอรหัตของสองสามีภรรยา จึงเสด็จมายังแคว้น
กุรุ ฝ่ายพราหมณ์ผู้เป็นบิดาของนางออกไปธุระนอกบ้าน พบพระศาสดาในที่ไม่ไกลจากบ้าน
ของตนนัก เห็นพระลักษณะถูกตาต้องใจและคิดว่า “บุรุษผู้นี้แหละคู่ควรกับลูกสาวของเรา”
พราหมณ์จึงเข้าไปกราบทูลพระบรมศาสดาให้คอยอยู่ตรงนี้ก่อนตนจะกลับไปบอกนาง
พราหมณีภรรยาและนำลูกสาวมายกให้ จากนั้นก็รีบกลับไปบ้านแจ้งแก่ภรรยาว่าพบชายผู้คู่ควร
กับลูกสาวแล้ว ขอให้รีบแต่งตัวลูกสาวแล้วพาออกไปโดยด่วน

ฝ่ายพระบรมศาสดามิได้ประทับอยู่ตรงที่เดิม แต่ได้อธิษฐานประทับรอยพระบาทไว้
แล้วเสด็จไปประทับในที่ไม่ไกลจากที่นั้น สองสามีภรรยาพร้อมด้วยลูกสาวมาคันทิยา มาถึงที่
นั้น ไม่เห็นพระพุทธองค์ในที่นั้นก็มองหาจนพบรอยพระบาท พราหมณ์ผู้สามีจึงกล่าวว่า “นี่
แหละคือรอยเท้าของชายคนนั้น” เนื่องจากนางพราหมณีผู้ภรรยามีความเชียวชาญเรื่องมนต์
ทำนายลักษณะฝ่าเท้า จึงบอกแก่สามีว่า
“รอยเท้านี้มิใช่รอยเท้าของคนเสพกามคุณ เพราะธรรมดารอยเท้าของคนที่มีราคะ จะมี
รอยเท้ากระหย่งคือเว้าตรงกลาง คนที่มีโทสะ รอยเท้าจะหนักส้น คนที่มีโมหะ รอยเท้าจะหนัก
ที่ส่วนปลาย แต่รอยเท้านี้เป็นรอยเท้าของคนไม่มีกิเลส ดังนั้น เจ้าของรอยเท้านี้จะไม่มีความยินดี
ในกามคุณ”

ฝ่ายพราหมณ์ผู้สามีไม่เชื่อคำนำนายของภรรยา พยายามมองหาจนพบพระบรมศาสดา
แล้วกล่าวกับภรรยาว่า “ชายคนนี้แหละเป็นเจ้าของรอยเท้านั้น เป็นผู้ที่คู่ควรกับลูกสาวของเรา”
แล้วเข้าไปกราบทูลว่า:-
“ท่านสมณะ ข้าพเจ้าจะยกธิดาให้เป็นคู่ชีวิตแก่ท่าน”
พระผู้มีพระภาค ตรัสห้ามแล้วตรัสต่อไปว่า:-
“ดูก่อนท่านพราหมณ์ เมื่อตถาคตตรัสรู้ใหม่ ๆ ธิดามาร ๓ คน ซึ่งมีร่างกายเป็นทิพย์สวย
งามกว่าลูกสาวของท่านหลายเท่านัก มาประเล้าประโลมเราที่โคนต้นอชปาลนิโครธ เรายังไม่
สนใจไม่พอใจ เหตุไฉนจะมาพอใจยินดีในลูกสาวของท่านที่ร่างกายเต็มไปด้วยมูตรและกรีส
(ปัสสาวะและอุจจาระ) ถ้าเท้าของเราเปื้อนฝุ่นธุลีมา และลูกสาวของท่านเป็นผ้าเช็ดเท้า เรายังไม่
ปรารถนาจะถูกต้องลูกสาวของท่านแม้ด้วยเท้าเลย”


เมื่อตรัสดังนี้แล้ว ทรงแสดงธรรมโปรดสองสามีภรรยาจนได้บรรลุเป็นพระอนาคามี
แล้วกราบทูลขออุปสมบทปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ไม่นานนักก็บรรลุเป็นพระอรหันต์ทั้งสองท่าน
ฝ่ายนางมาคันทิยา ได้ยินพระดำรัสของพระศาสดาโดยตลอด รู้สึกโกรธที่พระพุทธองค์
ตำหนิประณามว่าร่างกายของนางเต็มไปด้วยอุจจาระปัสสาวะ ไม่ปรารถนาจะสัมผัสถูกต้องแม้
ด้วยเท้า จึงผูกอาฆาตของเวรต่อพระศาสดา
เมื่อบิดามารดาออกบวชหมดแล้ว นางจึงได้ไปอยู่
อาศัยกับน้องชายของบิดาผู้เป็นอา ต่อมาอาของนางคิดว่าหลานสาวผู้มีความงามเป็นเลิศอย่างนี้
ย่อมคู่ควรแก่พระราชาเท่านั้น จึงนำไปถวายเป็นพระมเหสีของพระเจ้าอุเทน

จ้างนักเลงด่าพระพุทธองค์

สมัยหนึ่ง พระบรมศาสดาเสด็จมายังเมืองโกสัมพี มีพระอานนท์เถระตามเสด็จมาด้วย
พระนางมาคันทิยา ได้โอกาส จึงว่าจ้างทาส กรรรมกร และนักเลงพวกมิจฉาทิฏฐิ ผู้ไม่เลื่อมใส
ในพระรัตนตรัย ให้ติดตามด่าพระพุทธองค์ไปในทุกหนทุกแห่งทั่วทั้งเมืองด้วยคำด่า ๑๐
ประการ คือ เจ้าเป็นโจร เป็นคนพาล เป็นคนบ้า เป็นอูฐ เป็นลา เป็นวัว เป็นสัตว์นรก เป็นสัตว์
ดิรัจฉาน สุคติของเจ้าไม่มี เจ้ามีแต่ทุคติอย่างเดียว พระอานนท์เถระได้ฟังแล้วสุดที่จะทนไหว
จึงกราบทูลให้พระพุทธองค์เสด็จไปยังเมืองอื่น พระพุทธองค์จึงตรัสถามว่า:-
“อานนท์ ถ้าคนที่เมืองนั้นด่าเราอีก เราจะทำอย่างไร ?”
“ก็เสด็จไปที่เมืองอื่นต่อไปอีก พระเจ้าข้า”
“ถ้าคนที่เมืองนั้นด่าเราอีก เราจะทำอย่างไร ?”
“ก็เสด็จไปที่เมืองอื่นต่อไปอีก พระเจ้าข้า”
“ดูก่อนอานนท์ ถ้าทำอย่างนั้นเราก็จะหนีกันไม่สิ้นสุด ทางที่ถูกนั้นอธิกรณ์เกิดขึ้นในที่
ใด ก็ควรให้อธิกรณ์สงบระงับในที่นั้นก่อนแล้วจึงไป”
พระพุทธองค์ตรัสต่อไปอีกว่า:-
“ดูก่อนอานนท์ ธรรมดาอธิกรณ์เกิดขึ้นแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลายแล้วย่อมไม่เกิน ๗ วัน ก็
จะสงบระงับไปเอง”
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ตุลาคม 05, 2010, 05:48:14 am »



04-นางสามาวดี (กรรมเก่า)
เอตทัคคะในฝ่ายผู้อยู่ด้วยเมตตา

นางสามาวดี เป็นธิดาของเศรษฐีนามว่าภัททวดีย์ แห่งเมืองภัททวดีย์ เดิมชื่อว่า “สามา”
และบิดาของนางเป็นสหายที่ไม่เคยเห็นหน้ากันกับโฆสกเศรษฐี แห่งเมืองโกสัมพี


เศรษฐีตกยาก

ครั้นต่อมา เกิดโรคอหิวาต์ระบาดในเมืองภัททวดีย์ เศรษฐีภัททวดีย์ ต้องพาภรรยาและ
ลูกสาวอพยพหนีโรคร้ายไปยังเมืองโกสัมพี เพื่อขอพักอาศัยกับโฆสกเศรษฐีผู้เป็นสหาย แต่
บังเอิญโชคร้ายประสบเคราะห์กรรมซ้ำเข้าอีก คือ เมื่อเดินทางมาถึงเมืองโกสัมพีแล้ว ด้วยสภาพ
ร่างกายที่อดอาหารมาหลายวัน อีกทั้งความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าจากการเดินทางไกล ทำให้ไม่
กล้าไปพบสหายด้วยสภาพอย่างนั้น จึงพักอาศัยในศาลาใกล้ ๆ โรงทานของโฆสกเศรษฐีนั้น ตั้ง
ใจว่าเมื่อร่างกายแข็งแรงดีแล้วจึงจะเข้าไปหาเพื่อน
วันรุ่งขึ้น ให้ลูกสาวเข้าไปรับอาหารที่โรงทานของโฆสกเศรษฐี เมื่อได้มาแล้วภัททวดีย์
เศรษฐีกับภรรยาบริโภคอาหารเกินพอดี ไฟธาตุไม่สามารถจะย่อยได้จึงถึงแก่ความตายทั้งสอง
คน เหลือแต่นางสามา เป็นกำพร้าพ่อแม่อยู่แต่ผู้เดียว

ได้นามว่าสามาวดี

ต่อมา โฆสกเศรษฐีได้พบนางสามา ได้ทราบประวัติความเป็นมาของนางโดยตลอดแล้ว
เกิดความรักความสงสาร จึงรับนางไว้เลี้ยงดูดุจลูกสาวแท้ ๆ ของตน และยกนางไว้ในฐานะธิดา
คนโต อีกทั้งได้มอบหญิงบริวารให้อีก ๕๐๐ คน
ตามปกติที่บ้านของโฆสกเศรษฐี เมื่อเวลาแจกทานจะมีเสียงเซ็งแซ่จากการยื้อแย่งของผู้
มาขอรับแจกทาน ท่านเศรษฐีก็ฟังทุกวนจนเคยชิน แต่เมื่อนางสามาเข้ามาอยู่ในบ้านของท่าน
เศรษฐีแล้ว เห็นความไม่เรียบร้อยดังกล่าว จึงคิดหาทางแก้ไข นางจึงให้คนทำรั้วมีประตูทางเข้า
และประตูทางออกให้ทุกคนเรียงแถวตามลำดับเข้ารับแจกทาน ทุกอย่างก็เรียบร้อยไม่มีเสียง
เซ็งแซ่เหมือนแต่ก่อนโฆสกเศรษฐีพอใจเป็นอย่างยิ่งกล่าวยกย่องชมเชยในความฉลาดของนาง
เป็นอันมาก หลังจากนั้น นางจึงได้ชื่อว่า “สามาวดี” (วดี = รั้ว) และต่อจากนั้นไม่นาน นางก็ได้
รับการอภิเษกเป็นอัครมเหสี ของพระเจ้าอุเทน แห่งเมืองโกสัมพีนั้น

นางสามาวดีบรรลุโสดาปัตติผล

ในบรรดาหญิงบริวารของนางสามาวดี ๕๐๐ คนนั้น หญิงคนหนึ่งชื่อนางขุชชุตตรา รับ
หน้าที่จัดซื้อดอกไม้มาให้นางสามาวดีทุกวัน ต่อมาวันหนึ่ง ขณะที่นางไปซื้อดอกไม้ตามปกตินั้น
ได้มีโอกาสฟังพระธรรมเทศนาจากพระบรมศาสดาในบ้านของนายสุมนมาลาการผู้ขายดอกไม้
จนได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน เมื่อนำดอกไปให้นางสามาวดีแล้ว ได้แสดงธรรมที่ตนฟังมานั้นแก่
นางสามาวดี พร้อมทั้งหญิงบริวาร จนได้บรรลุเป็นพระโสดาบันด้วยกันทั้งหมด
ต่อจากนั้น นางสามาวดี พร้อมด้วยบริวารมีจิตศรัทธาเลื่อมใสตั้งมั่นอยู่ในพระรัตนตรัย
พากันสนใจในการฟังธรรม ปฏิบัติธรรม และสมาทานรักษาศีลอุโบสถป็นประจำ
ครั้นกาลต่อมา พระเจ้าอุเทนได้พระนางวาสุลทัตตา พระราชธิดาของ
พระเจ้าจัณฑปัชโชต แห่งกรุงอุชเชนี มาอภิเษกเป็นมเหสีองค์ที่สอง และได้นางมาคันทิยา สาว
งามแห่งแคว้นกุรุ มาอภิเษกเป็นมเหสีองค์ที่สาม และด้วยความงามเป็นเลิศทำให้
พระเจ้าอุเทนทรงสิเนหา นางมาคันทิยายิ่งนักได้พระราชทานหญิงบริวาร ๕๐๐ คนไว้คอยรับใช้นาง