ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: ตุลาคม 06, 2010, 11:45:16 am »

อนุโมทนาครับ :13:
ข้อความโดย: i mah'ta
« เมื่อ: ตุลาคม 06, 2010, 02:39:42 am »

หลงนิมิต


 
 
เรื่องของนิมิตนับว่าเป็นอีกหนึ่งประเด็นที่มีความสำคัญมากต่อการปฏิบัติสมาธิภาวนา เพราะนิมิตนั้นเปรียบเสมือนดาบสองคม หากรู้จักวิธีการใช้ภาพนิมิตเป็นเครื่องมือในการนำจิตเข้าถึงภาวะสมาธิจิตได้ ย่อมเกิดผลดีต่อการปฏิบัติ แต่หากผู้ปฏิบัติยังไม่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องภาพนิมิตแล้วนำมาใช้ไม่เป็นก็ย่อมเป็นเหตุบั่นทอนในการปฏิบัติธรรมเพื่อความหลุดพ้น ด้วยเพราะหากขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องภาพนิมิตแล้ว จิตอาจไปยึดถือเอาภาพนิมิตเหล่านั้นมาคิดเป็นจริงเป็นจังจนเกิดเป็นความหลงนิมิตได้
ที่แย่ไปกว่านั้นก็คือ อาการหลงนิมิตเป็นเรื่องที่ผู้ปฏิบัติจำนวนมากกำลังประสบอยู่ เนื่องจากขาดครูบาอาจารย์ผู้ที่มีความรู้ความสามารถอย่างแท้จริงในการเพ่งภาพนิมิตคอยให้คำชี้แนะ เป็นผลให้ผู้ปฏิบัติหลายคนไปติดอยู่กับภาพนิมิต ซึ่งบางรายถึงกับเกิดอาการหลงในนิมิตเป็นอย่างมาก ยึดมั่นถือมั่นในภาพมายานิมิตเหล่านั้นว่าเป็นเรื่องจริง เกิดเป็นอวิชชาความหลงและยึดเอานิมิตเหล่านั้นมาเป็นอารมณ์จิตของตน ก่อให้เกิดเป็นอัตตาขึ้นในจิต ไม่ยอมปล่อยวาง สุดท้ายจิตจึงไม่อาจก้าวหน้าในทางปฏิบัติ
โดยปกติแล้ว ในช่วงที่จิตกำลังจะตัดกระแสความคิดและเข้าถึงความสงบในระดับฌานสมาธิ มักจะมีภาพนิมิตปรากฏขึ้นภายในจิตของผู้ปฏิบัติ ซึ่งถือเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของการปฏิบัติเลยก็ว่าได้ เพราะหากในช่วงนี้ผู้ปฏิบัติขาดครูบาอาจารย์ที่คอยให้คำแนะนำอย่างถูกต้องในการปฏิบัติแล้ว ย่อมมีความเสี่ยงสูงที่ผู้ปฏิบัติอาจจะเกิดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการตีความภาพนิมิตที่ได้พบเจอจากการปฏิบัติ
ผู้ปฏิบัติบางรายมีอาการที่จิตถูกครอบงำโดยภาพนิมิต ซึ่งเกิดขึ้นจากการที่จิตไม่เท่าทัน จิตไปหลงยึดในภาพนิมิตเหล่านั้นว่าเป็นเรื่องจริง และไม่ยอมปล่อยวางภาพนิมิตเหล่านั้น เป็นเหตุให้จิตหลงไปตามอุปาทานสัญญาที่ถูกปรุงแต่งสร้างขึ้นด้วยจินตนาการของจิต แล้วภาพมายาเหล่านั้นก็จะไปสร้างเป็นสวรรค์วิมานตามที่กิเลสในใจเราต้องการ สุดท้ายมายาภาพนิมิตและอวิชชาความหลงของจิตก็จะกลับมาเป็นอุปสรรคในการปฏิบัติสมาธิภาวนา เพราะเมื่อจิตไม่ยอมปล่อยวาง จิตก็ย่อมไม่อาจก้าวไปสู่ภูมิแห่งจิตในขั้นที่ละเอียดสูงขึ้นไปอีกได้
ในปัจจุบันพบว่ามีหลายสำนักที่นิยมนำเอาวิชาการจูงจิตและสร้างภาพมายานิมิตในรูปแบบต่างๆ มาใช้ในการสอนปฏิบัติสมาธิภาวนา โดยผู้สอนจะอาศัยการจูงจิตและการสร้างอุปาทานสัญญาให้ผู้ปฏิบัติเชื่อว่าภาพนิมิตที่บังเกิดขึ้นในดวงจิตนั้นดูเป็นจริงเป็นจัง เมื่อจิตของผู้ปฏิบัติถูกชักจูงด้วยคำพูดในช่วงขณะที่จิตกำลังตกอยู่ในภวังคจิต คำพูดเหล่านั้นจึงกลายเป็นคำสั่งที่สั่งตรงไปยังจิตใต้สำนึก อันเป็นภาวะก่อนที่จะถึงจิตเดิมแท้



จิตใต้สำนึกเป็นจิตที่มีพลังที่อยู่เหนือการควบคุมของสติโดยปกติ หรือถ้าจะกล่าวอีกอย่างก็คือ อยู่เหนือการควบคุมของจิตสำนึกโดยทั่วไปนั่นเอง ดังนั้น การส่งคำสั่งเข้าไปยังจิตส่วนลึกหรือจิตใต้สำนึกจึงทำให้ภาพนิมิต แล้วคำสั่งที่ถูกจูงจิตนั้นก็จะฝังแน่นเข้าไปยังจิตส่วนลึก จิตเมื่อเกิดอาการหลงแล้วย่อมเป็นการยากที่จะให้จิตนั้นยอมรับความเป็นจริงได้ ผู้ที่ถูกจูงจิตจึงกระทำตามคำสั่งเหล่านั้นโดยปราศจากการพิจารณาไตร่ตรอง และนี่ก็เป็นคำอธิบายที่ว่า "ทำไมผู้ที่ถูกครอบงำจิตจึงไม่สามารถบังคับจิตของตนเองได้เลย?"




แม้ว่าในการใช้ภาพกสิณนิมิตจะบังเกิดผลดีต่อการปฏิบัติในแง่ที่ว่าจิตของผู้ปฏิบัติจะบังเกิดเครื่องรู้ที่ช่วยนำพาจิตให้เข้าสู่ภาวะสมาธิได้แต่โดยง่ายก็ตาม แต่หากบังเอิญผู้ปฏิบัติแจ็กพอตไปพบเจอเข้ากับผู้สอนที่ใช้การจูงจิต ป้อนคำสั่งเข้าไปยังจิตใต้สำนึก จนผู้ปฏิบัติเกิดอาการหลงนิมิต มีอัตตาตัวตนเป็นเขาเป็นเรา และยอมทำตามคำสั่งของผู้สอนอย่างที่ไม่มีการพิจารณาไตร่ตรองใดๆ ผลที่จะตามก็คือ บางรายไปติดหลงในนิมิตถึงขั้นที่ต้องไปกู้หนี้ยืมสินเพื่อมาบริจาคทำบุญ จนกระทั่งหมดเนื้อหมดตัว ขาดสติปัญญาในการพิจารณาไตร่ตรอง เป็นปัญหาที่พบเห็นกันอยู่บ่อยๆ ของคนในสังคมปัจจุบัน
เมื่อผู้ปฏิบัติได้ตระหนักถึงโทษภัยจากการเล่นกับภาพนิมิต และการเพ่งกสิณนิมิตที่เสี่ยงต่อการนำไปสู่การหลงยึดมั่นถือมั่นในภาพนิมิต รวมถึงกระบวนการเข้าครอบงำจิตได้อย่างง่ายๆ เช่นนี้แล้วจะได้ไม่ประมาทและรู้จักเลือกใช้ในส่วนดีของภาพนิมิตกสิณให้เกิดประโยชน์ต่อการปฏิบัติ



หากผู้ปฏิบัติมีความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการใช้อุบายกรรมฐานกองนี้ในการเข้าถึงสมาธิจิตดีในระดับขั้นใช้งานได้ หรือมีโอกาสได้พบเจอครูบาอาจารย์ที่คอยแนะนำสั่งสอนเรื่องการเพ่งภาพนิมิตกสิณในทางที่ถูกต้องแล้ว ภาพนิมิตกสิณต่างๆ นั้นย่อมจะเป็นอุบายในการนำพาจิตให้เข้าถึงความว่างและช่องว่างแห่งจิตได้
แต่สิ่งที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้นก็คือ เมื่อภาพนิมิตที่เราได้สร้างขึ้นมาเพื่อเป็นเครื่องรู้แก่จิตในการนำพาเราเข้าสู่ภาวะสมาธิจิตได้ บรรลุถึงวัตถุประสงค์ของมันแล้ว ผู้ปฏิบัติจะต้องปล่อยวางภาพนิมิตเหล่านั้นทิ้งไปให้ได้ เพราะเมื่อจิตได้สัมผัสถึงความว่างและช่องว่างแห่งจิตแล้ว จิตจะต้องวางอุบายกรรมฐานทุกชนิดลง ด้วยเหตุผลที่ว่า "หากจิตยังมัวไปยึดกรรมฐานอันใดเอาไว้ จิตจะไม่สามารถเข้าสู่ภาวะความว่างแห่งจิตได้"


จิตที่ไม่ยอมปล่อยวางภาพนิมิตกสิณ ยังคงมีความยึดมั่นถือมั่นคิดเป็นจริงเป็นจัง จิตจะเริ่มมีอาการปรุงแต่งภาพนิมิตเหล่านั้นไปตามอุปาทานความเชื่อภายในจิตใจของตน จนเกิดเป็นความเห็นผิดที่ยากจะแก้ไขได้.

 
อ.บูรพา ผดุงไทย


------------------
ที่มา:
http://www.thaipost.net/tabloid/210210/18235
รูปภาพประกอบกระทู้จากอินเตอร์เน็ต