ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: ตุลาคม 06, 2010, 11:55:18 am »

 :13: อนุโมทนาครับ^^
ข้อความโดย: sasita
« เมื่อ: ตุลาคม 06, 2010, 05:31:03 am »

 :13:

ศีล 
สมาธิ
ปัญญา

จะเห็นว่าเราจะเลือกเอาการกลั่นกรองโดยวิธีใดวิธีหนึ่งไม่ได้ ต้องผสมกันผนวกเข้าด้วยกันจึงจะได้ผลเต็มที่ เพราะเหตุว่าการกรองทั้ง ๓ ขั้นเกี่ยวข้องอาศัยกันอยู่ ปัญญาจะเกิดขึ้นก็เพราะสมาธิหนักแน่น สมาธิที่จะหนักแน่นได้ก็เพราะมีศีลบริสุทธิ์เสียก่อน สมาธิก็ต้องอาศัยปัญญาคอยช่วยด้วยเหมือนกัน ต้องมีอุบายแยบคายสำหรับที่จะชำระจิตใจ ของตนให้จิตปล่อยวางอารมณ์ทั้งปวงลงได้ และศีลจะบริสุทธิ์ ได้เพราะปัญญาเห็นชัดตามเป็นจริงคือ เห็นโทษเห็นภัยในการที่ไม่รักษาศีล เมื่อเห็นโทษแล้วจึงรักษาศีลให้บริสุทธิ์ได้ ไม่ใช่คุมให้รักษาหรือบังคับให้รักษาแบบนั้นรักษาศีลให้บริสุทธิ์ไม่ได้ ถ้าไม่เห็นชัดด้วยตนเองแล้วรักษาให้บริสุทธิ์ไม่ได้เลย ปัญญาเป็นยาดำแทรกไปได้ทุกแห่ง คือในศีลในสมาธิ นี่มันผนวกกันอย่างนี้

******

โมทนาสาธุจ้า
ข้อความโดย: i mah'ta
« เมื่อ: ตุลาคม 06, 2010, 03:00:43 am »

 ธรรมะปฏิบัติ : เครื่องกลั่นกรอง 'ธรรม' ออกจากโลก (ตอนจบ)



โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์





ในสมัยที่พระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ ภิกษุบวชมาใหม่องค์หนึ่งเห็นพระวินัยเป็นข้อบังคับมากมายเหลือเกิน จะกระดิกตัวก็ไม่ได้ ทำอะไรก็มีแต่ผิดพระวินัยทั้งนั้น เลยกลัวพระวินัย บอกว่าอยู่ไม่ได้ จะสึก พระพุทธองค์ทรงเรียกมาไต่ถาม ทำไมจึงจะสึก พระภิกษุก็กราบทูลตามความเข้าใจของตนว่า พระวินัยมากเหลือเกินกระดิกตัวก็ไม่ได้ มีแต่อาบัติ อลัชชี มีแต่โทษ ผิดศีลทั้งนั้น ข้าพระองค์อยู่ไม่ได้ปฏิบัติไม่ไหวเสียแล้ว
 
พระพุทธองค์ตรัสว่า ถ้ามันมากก็อย่าเอามันมากนัก ให้ระวังรักษาจิตอันเดียว ไม่ต้องไปรักษาอะไรมากมาย สำรวจรักษาจิตอันเดียว พระภิกษุองค์นั้นชอบใจ ตั้งใจปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ ต่อมาได้บรรลุมรรคผลนิพพาน นี่แสดงถึงว่า เมื่อสำรวจรักษาจิตแล้วศีลจึงค่อยบริสุทธิ์หมดจด
 
พระพุทธองค์ตรัสเทศนาไว้ว่า
 
มโน ปุพฺพํคมา ธมฺมา ธรรมทั้งหลายมีใจคือมโน เป็นหัวหน้า
 
มโนเสฏฐา มโนมยา ใจเป็นของประเสริฐ สำเร็จแล้วโดยใจ
 
มนสาเจ ปสนฺเนน ภาสติวา กโลติวา จะพูดจะกล่าวคำใดต้องออกจากใจ
 
มนสาเจปสนฺเนน ใจเป็นของประเสริฐสูงสุด
 
ด้วยประการอย่างนี้ พระองค์จึงทรงสอนให้อบรมใจ คือฝึกหัดทำสมาธิ เป็นการกลั่นกรองธรรมออกมาจากโลกขั้นที่ ๒ ขั้นนี้ถึงแม้บริสุทธิ์แล้วอาจจะเศร้าหมองอีกก็ได้ นักภาวนาทั้งหลายจะรู้ได้ด้วยตนเอง เช่น เรานั่งภาวนาทำสมาธิในครั้งนี้แหละ เมื่อเข้าถึงเอกัคคตาจิต จิตใจใสสะอาดหมดจด ความอยาก ความทะเยอทะยาน ความเกียจคร้านหายไปจะเห็นได้เอง พอออกจากภาวนาแล้วโลกเข้ามาแทรกซึมอีก ความอยากความทะเยอทะยานดิ้นรนวิ่งเข้ามาประดังรอบด้านทำให้จิตมัวหมอง อันนี้เรียกว่า โลกมันแทรกเข้ามาหาธรรม เหตุนั้นขั้นนี้ก็ยังไม่บริสุทธิ์เต็มที่
 
 
 

 
 
ท่านจึงให้ใช้วิธีกลั่นกรองที่ละเอียดเข้าไปกว่านั้นอีกเป็นขั้นที่ ๓ คือกลั่นกรองด้วย “ปัญญา” ใช้ปัญญาวิพากษ์วิจารณ์ ไม่ได้วิพากษ์วิจารณ์ที่อื่นใด ท่านให้พิจารณาสังขารหรือขันธโลกนี้แหละ โลกอันกว้างศอกยาววาหนาคืบหนึ่งของเรานี่แหละ ให้ปรารภ ลงตรงนี้ เมื่อเกิดมาแล้วก็ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย พอตายแล้วเอาอะไรไปไม่ได้สักอย่างเดียว ความทะเยอทะยานดิ้นรนกระเสือกกระสนอะไรต่างๆ ความเหน็ดเหนื่อยขี้เกียจขี้คร้านสารพัด สิ่งทั้งปวงเรื่องทั้งหลายนั้นเป็นของมีประจำอยู่ในโลก ไม่ได้เป็นของใครโดยเฉพาะ เรื่องทั้งหลายนั้นเป็นต้นเหตุให้เกิดความชั่วทุจริต เราเห็นพิษสงของมันอย่างนั้นแล้วจึงพยายามละถอน
 
ขณะใดที่อารมณ์ต่างๆ ทางโลกเกิดขึ้นมาก็เพ่งพิจารณา ให้เห็นโทษเห็นภัยอยู่อย่างนั้น ปัญญาตรงนั้นจะชัดเจนเข้ามาในใจแนบเนียนอยู่กับจิตกับใจอยู่ตลอดกาลเวลา มีความอยากทะเยอทะยานขึ้นในขณะไหน ปัญญาตัวนั้นคอยกำกับชัดอยู่กับจิตอันนั้น รู้เห็นทันทีอยู่ตลอดกาลเวลา ความทะเยอทะยานและ ความดิ้นรนอันนั้นก็หายไป ฝึกหัดอยู่อย่างนี้เรื่อยไป นานๆหนักเข้าอารมณ์ต่างๆ ไม่เกิดเพราะเห็นตามเป็นจริง นี่เป็นการใช้ปัญญากลั่นกรองละเอียดเข้าไปอีก ต้องกรองแล้วกรองเล่า ปัญญาจึงเป็นของประเสริฐที่ทุกคนปรารถนา เพราะปัญญานี้สามารถจะทำให้เกิดความบริสุทธิ์หมดจดได้
 
พุทธภาษิตที่ท่านตรัสว่า ปญฺญาย ปริสุทฺธติ เพราะปัญญาอย่างเดียวจึงบริสุทธิ์ ศีลก็ยังไม่ทัน บริสุทธิ์ สมาธิก็ยังบริสุทธิ์เต็มที่ไม่ได้ตลอดไปดังอธิบายมาแล้ว การกรองขั้นละเอียดด้วยปัญญา จึงค่อยทำให้บริสุทธิ์ได้เต็มที่และถาวร
 
จะเห็นว่าเราจะเลือกเอาการกลั่นกรองโดยวิธีใดวิธีหนึ่งไม่ได้ ต้องผสมกันผนวกเข้าด้วยกันจึงจะได้ผลเต็มที่ เพราะเหตุว่าการกรองทั้ง ๓ ขั้นเกี่ยวข้องอาศัยกันอยู่ ปัญญาจะเกิดขึ้นก็เพราะสมาธิหนักแน่น สมาธิที่จะหนักแน่นได้ก็เพราะมีศีลบริสุทธิ์เสียก่อน สมาธิก็ต้องอาศัยปัญญาคอยช่วยด้วยเหมือนกัน ต้องมีอุบายแยบคายสำหรับที่จะชำระจิตใจ ของตนให้จิตปล่อยวางอารมณ์ทั้งปวงลงได้ และศีลจะบริสุทธิ์ ได้เพราะปัญญาเห็นชัดตามเป็นจริงคือ เห็นโทษเห็นภัยในการที่ไม่รักษาศีล เมื่อเห็นโทษแล้วจึงรักษาศีลให้บริสุทธิ์ได้ ไม่ใช่คุมให้รักษาหรือบังคับให้รักษาแบบนั้นรักษาศีลให้บริสุทธิ์ไม่ได้ ถ้าไม่เห็นชัดด้วยตนเองแล้วรักษาให้บริสุทธิ์ไม่ได้เลย ปัญญาเป็นยาดำแทรกไปได้ทุกแห่ง คือในศีลในสมาธิ นี่มันผนวกกันอย่างนี้
 
ฉะนั้น ธรรมเทศนาที่แสดงในวันนี้ ถ้าหากพากันมาพิจารณาโดยนัยที่ว่านี้แล้ว จึงเป็นสิ่งที่ไม่น่าน้อยอกน้อยใจและไม่น่าเสียใจว่าเราไม่ได้มีธรรมะ หรือเราไม่ได้เห็นธรรมะหรือว่าเราไม่ได้บวชไม่ได้ปฏิบัติ อย่าไปเข้าใจเช่นนั้น เป็นการเข้าใจผิดหมด
 
แท้ที่จริงธรรมะคือตัวของเรานี้ทุกคนก็มีแล้วครบมูลบริบูรณ์ทุกอย่าง แต่เราไม่ได้สร้างสมอบรมให้เห็นธรรมะที่มันมีในตนของตน ธรรมะแทรกอยู่ในขันธโลกอันนี้ หากใช้อุบายปัญญาพิจารณากลั่นกรองด้วยวิธี ๓ อย่างมีศีล สมาธิ ปัญญา ดังอธิบายแล้ว ธรรมะก็จะปรากฏในตัวของตนๆ ก็จะได้ความอบอุ่นขึ้นมาในใจของตนว่า อ้อ! ธรรมะมีอยู่ที่นี่เอง ไม่ได้มีอยู่ที่อื่น เวลานี้ได้เห็นธรรมะ เรามีธรรมะแล้ว ธรรมะอันนี้ ถ้าโลกมันยังแทรกซึมเข้ามาได้อยู่ เราก็พยายามกำจัดให้มันค่อยหายไปหมดไปโดยไม่ประมาท จนกระทั่งใสสะอาด ให้เหลือแต่ธรรมะล้วนๆ เหมือนอย่างพระพุทธเจ้าและสาวกทั้งหลายที่ท่าน บรรลุมรรคผลนิพพานแล้ว ธรรมะของท่านบริสุทธิ์หมดจด นั่นแหละคือสิ่งที่เราปรารถนา
 
(จากการแสดงธรรม ณ วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย วันที่ ๒๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๕)
 
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 118 กันยายน 2553 โดย หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย)


 
 
-------------
รูปภาพประกอบกระทู้จากอินเตอร์เน็ต
ข้อความโดย: i mah'ta
« เมื่อ: ตุลาคม 06, 2010, 02:55:52 am »

ธรรมปฏิบัติ : เครื่องกลั่นกรอง 'ธรรม' ออกจากโลก (ตอน ๒)
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
3 สิงหาคม 2553 15:13 น.





การรักษาศีลจึงได้ชื่อว่าเป็นเครื่องวัดเครื่องเทียบของคนผู้ดีและไม่ดี คนที่มีธรรมะหรือไม่มีธรรมะจะเห็นชัดในตนเองและกรองออกจากโลกได้ขนาดไหน ก็เห็นชัดด้วยใจของตนเอง ไม่ต้องมีคนอื่นวัด ไม่ต้องให้คนอื่นวัดเทียบให้ ถ้าหากศีลอันนั้นเป็นนิจศีล คือว่ารักษาอยู่เป็นนิจ ก็เรียกว่าเราค่อยห่างไกลออกมาจากโลก ถ้าหากขาดเป็นท่อนวิ่นๆ แหว่งๆ หรือด่างพร้อยไม่เรียบร้อย อันนั้นก็เรียกว่าโลกแทรกซึมมาเป็นครั้งเป็นคราว เรายังไม่ห่างไกลจากโลก โลกยังมาแทรกซึมได้อยู่
 
ที่อธิบายเรื่องศีลให้ฟังในที่นี้ เพราะประสงค์จะให้เข้าใจชัดถึงเรื่องว่าศีลเป็นเครื่องกลั่นกรองธรรมออกมาจากโลก ด้วยการรักษาศีลวิธีเดียวเท่านั้นไม่มีวิธีอื่น ถ้าไม่มีศีลเป็นเครื่องวัดเทียบแล้วคนเราก็ไม่มีต่ำสูง ไม่มีดีเด่นกว่ากันเลย พระพุทธเจ้าทรงเทศนาถึงเรื่องศีลไว้มากมายกว้างขวางเช่น
 
สีตโถ โดยอรรถแปลว่า เป็นของเย็น
สีรตฺโถ โดยอรรถแปลว่า เป็นของสูง
สีลโถ โดยอรรถแปลว่า เป็นของหนักแน่นโดยปกติ
สีสตฺโถ โดยอรรถแปลว่า ยิ่ง
 
บางตอนพระองค์ทรงแสดงถึงว่าศีลเป็นเครื่องประดับของคนทุกวัยตั้งแต่หนุ่มถึงคนแก่ และประดับได้ตลอดกาลเวลา ผู้รักษาศีลดีแล้วเป็นของงดงาม งามคนคืองามรูปงามโฉม งามผิวพรรณวรรณะนั้นยังมีการทรุดโทรมเฒ่าชราไปได้ งามด้วยศีล มี มารยาท สุภาพเรียบร้อยเป็นที่น่าดูน่าชม เป็นที่เจริญตาและใจ และคนทั่วๆไปต้องการสมาคมด้วย ถึงสังขารร่างกายจะแก่ทรุดโทรมหรือเหี่ยวแห้งด้วยประการใดๆ ก็ตาม แต่ความงามของศีลประดับให้งดงามได้ตลอดกาลเวลา นั่นเป็นของเลิศประเสริฐยิ่งกว่าสิ่งใดทั้งปวงหมด
 
ทุกคนพากันปรารถนาความดี คือ ศีล แต่หากเอาศีลมาประดับไม่เป็น ขี้เกียจขี้คร้านไม่อยากรักษาศีล มันก็ยังเป็นโลกอยู่อย่างนั้น ถึงจะตกแต่งประดับกายสวยสดงดงามสักเท่าไรก็ตาม ยังสามารถทำความชั่วได้ ชื่อว่าโลกสกปรก ถ้าไม่มีศีลเป็นเครื่อง บังคับเป็นเครื่องกั้นไว้คนจะทำความชั่วทุจริตได้ ทุกวิถีทาง ดังนั้นศีลจึงชื่อว่าเป็นของงาม
 
คนขี้เหร่ขี้ร้ายหรือคนสวยสดงดงามก็ตาม เมื่อมีศีลเป็นเครื่องประดับแล้วงามไปทั้งนั้น งามพร้อมทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ใช่งามแต่เพียงในโลกนี้ เมื่อตายแล้วไปสู่โลกข้างหน้าก็ยังงาม งามตลอดกาลเวลา ดังนั้นวิธีกลั่นกรองธรรมออกจากเบื้องต้นก็คือการรักษาศีล
 
ทีนี้วิธีที่ละเอียดเข้าไปกว่านั้นอีกคือ กลั่นกรองด้วยการทำ “สมาธิ” ได้แก่ ทำความสงบอบรมจิตใจให้มีอารมณ์อันหนึ่งอันเดียว เพราะจิตใจของคนเรามันยุ่งมีอาการมากอารมณ์มาก
 
อารมณ์ก็คือ เรื่องที่เราคิดนึกจิตใจผูกพันติดอยู่ในเรื่องนั้นๆ เรียกว่าอารมณ์ คิดนึกวุ่นวี่วุ่นวายอยู่ตลอดเวลา ถ้าหากเราไม่มีการสำรวมระวังหรือไม่มีการทำความสงบเสียเลย ตั้งแต่วันเกิดจนกระทั่งวันตาย เราจะไม่ได้เห็นจิตของเราสักที ทั้งๆ ที่จิตมีอยู่ในตัวของเรา แต่เราไม่รู้จักจิตของตน ไม่เคยทราบว่าจิตคิดดีคิดชั่ว คิดหยาบคิดละเอียด ไม่ทราบว่าจิตอยู่หรือจิตไป อวดอ้างแต่ว่าเรามีจิต ได้ยินพระท่านบอกว่าอะไรๆ ก็อยู่ที่จิตทั้งหมด แต่ว่าแท้จริงนั้นจิตเป็นอย่างไร มีอะไรอยู่ที่จิตบ้าง ก็ไม่เคยเห็นไม่เคยทราบเลย
 
 

 
เฉพาะผู้ทำความสงบอบรมภาวนาสมาธิฝึกหัดให้จิตอยู่ในอารมณ์อันเดียวนิ่งแน่ว ไม่มีอารมณ์อื่นมาปะปนจิตได้เท่านั้นที่จะรู้จักจิตของตน ขณะที่จิตสงบนิ่งอยู่ถ้าหากว่ามันจะปรากฏอารมณ์ขึ้นมาก็เห็นชัดที่จิต เช่น ความคิดนึกต่างๆ หรือเกิดความทะเยอทะยานดิ้นรนอยากได้โน่นอยากได้นี่ก็จะเห็นปรากฏขึ้นได้ที่จิต มันทำให้จิตไม่เป็นหนึ่งเสียแล้ว ทีแรกขณะสงบนิ่งแน่วอยู่นั้น จิตมันเป็นหนึ่งอยู่ เมื่อเห็นจิตเป็นหนึ่งแล้วคราวนี้พอเกิดอารมณ์ขึ้นจะเป็นสองขึ้นมา มันปรากฏให้เห็นชัดว่าจิตอันหนึ่งอารมณ์อันหนึ่ง ปรากฏการณ์เช่นนี้จะเห็นได้ด้วยตนเอง เมื่อทำจิตให้ถึงความสงบแล้วรู้ได้ทันทีทันใด
 
ดังนั้น จะเห็นว่าการทำสมาธิเป็นการแยกจิตให้ออกจากโลก เพราะจิตสงบจากอารมณ์ต่างๆ เช่น ความทะเยอทะยาน ความอยาก ความดิ้นรน ความ ขี้เกียจขี้คร้านเบื่อหน่าย ความโกรธฯลฯ ซึ่งเป็นตัวโลก ถ้าจิตยังมีอารมณ์ต่างๆ จิตเป็นโลกอยู่ เมื่อเรากำจัดหรือขับไล่อารมณ์ให้มันหนีเสียแล้ว ก็ยังเหลือจิตอันเดียว เรียกว่า เอกัคคตาจิต อันนี้เป็นการขัดจิต หรือกลั่นกรองจิตออกมาจากโลก คือตัวเราเองนั่น แหละ หรือพูดอีกนัยหนึ่งว่ากรองธรรมออกมาจากโลก คราวนี้เป็นธรรมล้วนๆเพราะจิตบริสุทธิ์
 
เครื่องกรองอันที่ ๒ นี้ตรงเข้าถึงจิตใจเลย เบื้องต้นกรองด้วยศีลนั้นมันยังไม่บริสุทธิ์ เพราะกรองแต่กายและวาจา ส่วนจิตยังเศร้าหมองอยู่ ถ้ามากรองด้วยสมาธิแล้วจิตบริสุทธิ์สงบสบาย ไม่ต้องคอยงดเว้นอะไรมากนัก พองดเว้นตรงที่จิตไม่ให้คิดทะเยอทะยานดิ้นรนอยากได้เท่านั้นศีลบริสุทธิ์เลย
 
(อ่านต่อฉบับหน้า)
 
 
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 117 สิงหาคม 2553 โดย หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย)
--------

ข้อความโดย: i mah'ta
« เมื่อ: ตุลาคม 06, 2010, 02:50:17 am »

ธรรมปฏิบัติ : เครื่องกลั่นกรอง 'ธรรม' ออกจากโลก (ตอนที่ ๑)

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
2 กรกฎาคม 2553 16:07 น.


 

วันนี้จะอธิบายถึงวิธีกลั่นกรองธรรมออกจากโลก หรือพูดอีกนัยหนึ่งว่าวิจัยธรรมให้ออกจากโลก ให้เห็นธรรมเป็นธรรม เห็นโลกเป็นโลก กรองเอาของเลวออกให้เหลือแต่ของดี ของอย่างหยาบเราไม่ต้องการแล้วก็กรองออกเสีย เก็บไว้แต่ของละเอียด เหมือนกับน้ำที่มันขุ่น เรากรองเอาแต่ของขุ่นออก เก็บของใสๆ ไว้ใช้บริโภค
 
คนเราเกิดขึ้นมาในโลกนี้แล้วก็ปะปนอยู่กับโลก วุ่นวายอยู่กับโลก เห็นเรื่องของโลก ได้ผ่านได้ประสบพบเหตุการณ์มาแล้วทุกอย่างทุกประการ ผู้ที่ปฏิบัติศีลธรรมทั้งหลายล้วนแล้วแต่เบื่อเรื่องโลก เห็นโทษของเรื่องโลกของเรื่องวัฏสงสาร จึงได้พากันพยายามมาปฏิบัติทางด้านศีลธรรม เพื่อกลั่นกรองเอาธรรมะออกมาจากโลกอันนี้ ในทางพุทธศาสนาเครื่องกลั่นกรองนี้พระพุทธเจ้าทรงเรียกว่า ไตรสิกขา ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา เครื่องกลั่นกรองมี ๓ อย่างนี้เท่านั้น
 
ศีล เป็นเครื่องกลั่นกรองอย่างหยาบก็จริงอยู่ แต่ถ้าหากไม่มีศีลเป็นเครื่องกรองเสียแล้ว เราก็ไม่รู้จักว่าคนเรามีเรื่องของโลกปะปนอยู่มากน้อยเท่าใด คำว่า สัตว์โลก แปลว่า ผู้ยังข้องยังติดอยู่กับโลก คนเรามันยังติดอยู่กับโลก พอใจยินดีกับโลก ท่านจึงเรียกว่าสัตว์ มนุษย์คือสัตว์ประเภทหนึ่ง สัตว์โลกเมื่อเกิดขึ้นมาตามธรรมดาสามัญทั่วไปย่อมเห็นแก่ตัว เอาแต่ความสุขส่วนตัวเป็นพื้น การเห็นแก่ตนนั่นแหละเป็นวิสัยของสามัญสัตว์ทั่วไป หรือจะพูดอีกนัยหนึ่งว่าเป็นเรื่องของโลก
 
สัตว์ทุกประเภทเมื่อเห็นแก่ตัวแล้ว ก็จะต้องขวนขวายแสวงหาแต่ความสุขเพื่อตัวฝ่ายเดียว การขวนขวาย หาความสุขเพื่อตัวฝ่ายเดียวนั้น ก็จะต้องเป็นเรื่องกระทบ กระเทือนเบียดเบียนถึงคนอื่นหรือสัตว์อื่น ให้ได้รับความ ทุกข์เดือดร้อน นี่เป็นวิสัยของโลก มันเป็นอยู่อย่างนี้ตลอดกาล
 
ถ้าหากว่าเราเห็นเรื่องการเบียดเบียน หรือการเห็นแก่ตัวเป็นเรื่องทำลายความสุขของคนอื่น เป็นเครื่องทำความเดือดร้อนให้กับคนอื่นหรือสัตว์ตัวอื่น เราจึงหันมารักษาศีล คือหาเครื่องกรองเพื่อให้เห็นว่าการทำเช่นนั้นมันไม่ดี มันเป็นเรื่องนำมาซึ่งความทุกข์เดือดร้อนให้แก่คนอื่นและสัตว์ตัวอื่น ตัวอย่างเช่นงดเว้นจากการฆ่าสัตว์
 
ตามปกติคนเรามีนิสัยชอบกินเนื้อเขาเป็นพื้น เห็นเนื้อเขาก็น้ำลายพุ่งออกมาเลยไม่ว่าเนื้ออะไรทั้งหมด มันติดนิสัยกินเนื้อเขาเอามาเป็นอาหารเอามาบำรุงร่างกายของตัว อันนี้เรียกว่าเห็นแก่ตัว
 
ถ้าหากผู้ใดรู้เรื่องหมด เห็นโทษ เห็นภัยอย่างนี้แล้วหันมาพยายามรักษาศีล คือ งดเว้นการฆ่าสัตว์ ถึงแม้จิตใจมันยังชอบหรือยังอยากอยู่ก็ตาม แต่กายและวาจาไม่กระทำ คือกายไม่ไปฆ่าหรือวาจาไม่บังคับให้เขาฆ่า งดเว้นเพียงข้อเดียวเท่านั้น ธรรมะก็ปรากฏขึ้นมาแล้วในกายในวาจาของคนคนนั้น คือไม่เบียดเบียนสัตว์อื่น นี่มันกรองได้อย่างนี้
 
หากใจยังคิดนึกอยู่ท่านก็ไม่ได้ปรับโทษว่าเป็นการล่วงละเมิดศีลข้อ ๑ คือฆ่าสัตว์ เพราะกายและวาจางดได้ไม่ยอมทำ เนื่องจากกลัวศีลจะขาด แต่ใจยังรักษาไม่ได้ เท่านี้ก็เป็นการกรองออกมาจากโลก ไม่เป็นโลกแล้ว มีธรรมขึ้นมาแล้ว แต่ธรรมตอนนี้ยังไม่ทันบริสุทธิ์ ธรรมยังเศร้าหมองยังไม่ทันผ่องใสเต็มที่ เปรียบเหมือนกับทองคำที่เขาหล่อหลอมแล้ว ไล่ขี้มันออกแล้วเป็นทองบริสุทธิ์ก็จริง แต่ยังไม่ได้ทำรูปพรรณให้เป็นเครื่องใช้ มันยังไม่สวยสดงดงามพอจะเป็นเครื่องประตับตกแต่งได้ ศีลก็ขนาดนั้นเหมือนกัน สำหรับข้อแรกเราก็พอจะเห็นการกลั่นกรองออกมาได้แล้ว
 
ข้อที่สอง งดเว้นเสียจากการลักขโมยฉ้อโกงของของคนอื่น เอามาเป็นกรรมสิทธิ์ของตน คนเราเมื่อเห็นแก่ตัวแล้วก็ต้องแสวงหา ทีแรกก็นำมาค้าขายแลกเปลี่ยน หาผลกำไรเป็นธรรมดา เมื่อหาผลหากำไรได้ไม่พอใจ เพราะความโลภมันแทรกซึมอยู่มาก ก็จะมีการละโมบ ฉ้อโกง หรือเห็นของที่เขาทอดทิ้งไว้ไม่เห็นเจ้าของ ก็จะหยิบฉวยเอาไปเป็นของตน นี่เป็นโลกมันแทรกซึมอยู่กับธรรมอย่างนี้ ถ้าหากว่าเรามาสมาทานศีล หรือตั้งใจงดเว้นศีลข้อที่สอง คือไม่ลักขโมยฉ้อโกงของเขา ถ้าใจมันยังอยากอยู่แต่เรากลัวศีลจะขาด เราก็พยายามไม่ฉ้อโกงไม่ขโมยของเขา อันนี้ก็เรียกว่าเรากรองจากโลกออกมาแล้ว จะปรากฏขึ้นมาแก่ใจของตนว่า ธรรมะของเราปรากฏขึ้นแล้ว
 
ส่วนข้ออื่นๆ เช่นการประพฤติผิดมิจฉาจาร กล่าวมุสาวาจา ดื่มสุราเมรัย หรือศีล ๘ ศีล ๑๐ ศีล ๒๒๗ ถ้าจะไล่เป็นข้อๆ ไปแล้วก็ยืดยาว เพียง ๒ ข้อนี่ก็แสดงให้เห็นชัดอยู่แล้วว่า การกลั่นกรองธรรมะออกมาจากโลกกรองได้ด้วยวิธีนี้ คือกรองด้วยการรักษาศีล
 
(อ่านต่อฉบับหน้า)
 
 

 
 
 
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 116 กรกฎาคม 2553 โดย หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย)

-------------

Dhamma and Life - Manager Online