ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: ตุลาคม 06, 2010, 07:34:22 pm »

 :13: อนุโมทนาครับพี่แป๋ม^^
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ตุลาคม 06, 2010, 06:59:20 pm »

       

บุคคลสำคัญ สืบสานเซน (ในเมืองไทย )
โดย สุภารัตถะ

ปัจจุบันมีงานเขียนเซนที่เผยแพร่ในไทยอย่างแพร่หลาย ถูกแปลมาจากภาษาจีนหรืออังกฤษ โดยนักเขียนและนักแปลผู้ทรงภูมิในประเทศไทยเป็นจำนวนไม่น้อย ความมีเสน่ห์ของหนังสือเซน ( ฌาน หรือ ธยานะ) ไม่ได้เป็นเพียงแค่ตัวหนังสือ แต่เป็นโกอานหรือปริศนาธรรมที่สามารถหยุดยั้งคนอ่านให้รวบรวมสมาธิ ปัญญา ขบคิดปริศนานั้นไปในขณะกำลังอ่านด้วย
 
สำหรับคนไทย เซนไม่ได้เป็นหนังสือหรืองานแปลแค่ในยุคนี้ แต่นิกายเซนเดินทางมาไทยด้วยบุคคลสู่บุคคลมาเนิ่นนานแล้ว รวมถึงบิดาของท่านธีรทาสคือ ซินแสกิมเช็ง แซ่เล้า ฆราวาสสายเซนรุ่นสุดท้ายที่เดินทางมาไทย ก่อนท่านจะเดินทางมาตั้งรกรากในประเทศไทยนั้น สมัยที่ท่านยังอยู่ที่ประเทศจีน อายุ 12 ปี อาก๋งของท่านได้พาไปนมัสการพระอริยครูพระธรรมาจารย์เหลาฮั้วเสียงโจ้วซือ วัดซิงอำยี่ ท่านเป็นอริยครูสายนิกายเซน ซึ่งหลบรอดจากภัยสงครามที่พระจักรพรรดิเฉียนหลง ราชวงศ์ชิง สั่งให้กวาดล้างพระวัดเส้าหลิน (วัดเซียวลิ้มยี่) สาขาฮกเกี้ยน เพราะเป็นวัดของชาวฮั่น ที่พวกราชวงศ์เหม็งมาบวช และคิดจะกอบกู้ราชวงศ์เหม็งล้มราชวงศ์ชิง ทำให้พระกลุ่มหนึ่งซึ่งรู้ถึงภัยนี้ แอบหนีมาซ่อนตัวและสอนธรรมะอยู่เมืองแต้จิ๋ว ภายหลังสร้างเป็นวัดซิงอำยี่ ที่อำเภอเท่งไฮ้ ท่านเหลาฮั้วโจ้วซือ เป็นพระอาจารย์องค์สุดท้าย ท่านมรณภาพเมื่ออายุ 120 พรรษา ภายหลังวัดนี้ถูกภัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำลายล้างไปหมดเช่นกัน
 
ซินแสกิมเช็ง บิดาท่านธีรทาส บอกว่าท่านเป็นศิษย์รุ่นสุดท้าย สมัยโบราณถือเก็บไว้เป็นความลับ ศิษย์ต่างๆ ได้นำหลักฐานและพระคัมภีร์เข้ามาทางไทย เวียดนาม สิงคโปร์ มาลายา อินโดนีเชีย กระทั่งญี่ปุ่นที่เซนเข้าไปเจริญและเผยแพร่อย่างกว้างขวาง ท่านที่ขนตำรายาและพระคัมภีร์เก่าๆ ไป ท่านเหล่านั้นส่วนมากได้ผ่านการศึกษามาอย่างดี อาจารย์จึงมอบหมายหน้าที่ส่งออกโพ้นทะเลได้

 
แม้ซินแสกิมเช็ง จะส่งข่าวกลับไปที่จีนด้วยความท้อใจ เห็นว่าเมืองไทยภาคกลาง ซึ่งเป็นชาวแต้จิ๋ว ส่วนมากยังเป็นชนชั้นกรรมาชีพ อดอยาก ต้องดิ้นรนกับอาชีพเพื่อแสวงหาเงินทองมาเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง ยากจะมีผู้ใดมาฟังธรรม โดยเฉพาะเซน ซึ่งเป็นธรรมะขั้นสูงที่สอนเรื่องจิตเดิม ยากต่อการเข้าใจ แต่ท่านก็ได้ทำหน้าที่ปลูกเมล็ดพันธุ์นั้นลงในจิตใจของเด็กชายธีระ(ธีรทาส) ด้วยการสอนเซนจากปากต่อปาก โดยหวังว่าเด็กชายธีระจะเติบโตขึ้นมา และนำคำสอนเรื่องเซนเผยแพร่ต่อออกไป ให้กับลูกหลานชาวไทย ได้รับรู้สัจธรรมแห่งการพ้นทุกข์ และความหวังนั้นก็เป็นจริง
 
ท่านธีรทาสเติบโตมาพร้อมกับอุดมการณ์ ซึ่งเป็นหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายมาจากเตี่ยกิมเช็ง การมาเป็นเลขานุการพุทธสมาคมเป้าเก็งเต็ง ซึ่งก่อตั้งโดยซินแสเซ้งง้วน เพื่อสืบสานการเผยแพร่นิกายเซน โดยได้ร่วมงานกับอาจารย์เสถียร โพธินันทะ และนายแพทย์ตันม่อเซี้ยง อีกทั้งการเดินทางมาพบกับท่านพุทธทาส ก็คงไม่ใช่เรื่องบังเอิญ ท่านธีรทาสเมื่อสมัยอายุ 23 ปี ได้เดินทางไปพบท่านพุทธทาส ที่สวนโมกขพลาราม ไชยา จังหวัดสุราฏร์ธานี ด้วยความประทับใจเมื่อได้อ่านงานเขียนของท่าน จากเรื่องขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์
 
นับเป็นจุดเชื่อมครั้งสำคัญ ที่ทำให้เกิดการพบปะสนทนาแลกเปลี่ยนและการเกื้อกูลในการทำงานเพื่อศาสนาของบุคคลสำคัญต่อมา ระหว่างพุทธสมาคมเป้าเก็งเต็ง ซึ่งมีบุคคลที่มีความรู้ในทางพุทธศาสนาฝ่ายมหายานอย่างลึกซึ้ง ไม่ว่าจะเป็นนายแพทย์ตันม่อเซี้ยง อาจารย์เสถียร โพธินันทะ ท่านธีรทาส และท่านพุทธทาส อริยสงฆ์ผู้เปรื่องปราดจากสวนโมกข์ ผู้ที่ไม่เคยหยุดการขวนขวายค้นคว้า ศึกษาหาความรู้ทางศาสนาอย่างไม่ย่อท้อ อย่างไม่ยึดมั่นถือมั่น ที่จะทำให้เกิดข้อจำกัดคับแคบ หรือยึดติดกับความรู้ในธรรมจนขาดความก้าวหน้า และเพื่อประโยชน์ในการนำมาถ่ายทอดให้พุทธบริษัทลูกหลานชาวไทยด้วยความเมตตา เพื่อให้พวกเราเข้าใจจุดมุ่งหมายของธรรม มีจิตใจที่ไม่คับแคบต่อการศึกษาในธรรมที่ลึกซึ้ง ของพุทธศาสนานิกายต่างๆ ให้สมกับคำว่าเมืองไทยเป็นเมืองพุทธ
 
ท่านพุทธทาส ผู้มีทัศนะอันกว้างไกล แม้แต่การศึกษาศาสนาพุทธของท่านก็แตกฉานกว้างขวาง ท่านมองเห็นถึงคุณค่าของพุทธนิกายเซน เมื่อท่านพระยาลัดพลีชลประคัลภ์ นำหนังสือสูตรของเว่ยหล่าง มาให้ท่านอ่าน โดยยังไม่มีผู้ถ่ายทอดภาษาอังกฤษเป็นไทย อีกทั้งมาเจอหนังสือ คำสอนของฮวงโป ฉบับภาษาอังกฤษอีก ท่านก็ว่า “จีนมีของดี” บอกให้อาจารย์เสถียร โพธินันทะ และท่านธีรทาส ถ่ายทอดเป็นภาษาไทย แต่ด้วยความที่ยังไม่สามารถถ่ายทอดจากต้นฉบับภาษาจีน มาเป็นภาษาไทยได้ในตอนนั้น ท่านพุทธทาสจึงแปลจากภาษาอังกฤษมาเป็นภาษาไทยทั้งสองเล่ม หนังสือทั้งสองเล่มนี้นับเป็นหัวใจของเซน ในการถ่ายทอดหลักคำสอนสำคัญ และได้รับความนิยมอย่างสูงสำหรับผู้ที่สนใจศึกษาเซน

เมื่อท่านพุทธทาสแปลหนังสือทั้งสองเล่มนี้เสร็จ ขณะต้องเดินทางมาให้การอบรมผู้พิพากษาในกรุงเทพฯ ท่านก็นำมาด้วย กลางวันอบรมผู้พิพากษา กลางคืนมาที่วัดปทุมคงคา โดยนำมาตรวจสอบกับภาษาจีนโดยนายแพทย์ตันม่อเซี้ยง เพื่อให้หนังสือทั้งสองเล่มนี้แปลได้ดีที่สุด และใกล้เคียงกับภาษาจีนต้นฉบับที่สุด เพราะการที่ท่านแปลจากฉบับภาษาอังกฤษ เกรงว่าอาจจะคลาดเคลื่อนกันออกไปเรื่อยๆ นายแพทย์ตันม่อเซี้ยงแปลจากจีน เพื่อเทียบเคียงกับที่ท่านพุทธทาสแปลจากอังกฤษ ท่านธีรทาสช่วยตรวจ เพราะเคยได้ยินจากคำสอนของเตี่ยกิมเช็งสมัยเด็กและท่องจำไว้ จึงได้ช่วยเหลือกิจของท่านพุทธทาสไว้ด้วยความภูมิใจ
 
และที่น่าเสียดาย ที่คนไทยไม่อาจได้ยลโฉมอีกคัมภีร์สำคัญที่เขียนโดยท่านเว่ยไห่ อีกหนึ่งหลานศิษย์ของท่านเว่ยหล่าง ซึ่งท่านอาจารย์เสถียร โพธนันทะ ได้แปลจากภาษาจีนสู่ภาษาไทยเรียบร้อยแล้วแล้ว แต่มีผู้ปรารถนาดีนำไปจัดพิมพ์ดีดให้ ทำให้หายสาบสูญไปกับผู้ปรารถนาดีผู้นั้น อีกทั้งท่านเสถียร โพธินันทะ ก็มาถึงแก่กรรมเสีย การติดตามงานแปลต้นฉบับคืนด้วยความพยายามของท่านธีรทาส จึงไม่สำเร็จผลมาถึงทุกวันนี้ หากลูกหลานของผู้ที่ปรารถนาดีผู้นั้นรับทราบ นำต้นฉบับมาคืนเพื่อให้ได้มีการจัดพิมพ์ คงจะเป็นโชคมหาศาลของคนไทยรุ่นหลัง ที่จะได้มีโอกาสได้อ่านหนังสือเล่มนี้ ความงามในสำนวนการแปลและงานเขียนของท่านเสถียร โพธนันทะนั้น เป็นที่ยอมรับในความเป็นอัจฉริยภาพในทางภาษาไทยที่งดงามหาตัวจับยากผู้หนึ่ง งานแปลและงานเขียนของท่าน อาทิเช่น วัชรปรัชญาปารมิตราสูตร วิมลเกียรตินิทเทศสูตร เมธีตะวันออก ปรัชญามหายาน ฯลฯ
 
ส่วนงานเขียนของท่านธีรทาส เป็นที่น่ายินดีอย่างยิ่ง เพราะหลายเล่มด้วยกันเขียนขึ้นจากการถ่ายทอดการสอนเซน จากบิดาท่านสู่ท่านโดยตรง และท่านนำมาถ่ายทอดต่อลูกหลานเซนอย่างพวกเราโดยผ่านทางหนังสือ อีกทั้งแจกฟรีเป็นธรรมทาน อาทิเช่น ศิษย์โง่ไปเรียนเซน เล่ม 1-4 ศิษย์เต๋า-เซียน-เซน เล่ม 1-2 คัมภีร์ 18 พระอรหันต์ ฯลฯ แจกเป็นธรรมทาน ขอรับได้ที่พุทธสมาคมเป้าเก็งเต็ง
 
ด้วยคำพูดของท่านพุทธทาส ที่มีต่อท่านธีรทาสในวัยหนุ่มว่า “ธีระ ทำยังไงช่วยกันปลุกระดมลัทธิความกตัญญูของขงจื้อ ความกตัญญูกตเวทีที่มันสูญพันธุ์ไปแล้วหรือแทบจะสูญพันธุ์ไปแล้วให้ฟื้นขึ้นมา และแนวโพธิสัตว์ เดี๋ยวนี้โลกไม่มีพระโพธิสัตว์เสียแล้ว ช่วยกันทำให้มันฟื้นขึ้นมา ทำอย่างไรจึงจะช่วยแก้ไขสถานการณ์ของโลกได้” ทำให้ปณิธานของท่านธีรทาสยิ่งมั่นคงขึ้นไม่เสื่อมคลาย ที่จะถ่ายทอดธรรมะด้วยความตั้งใจจะเชิดชูวิญญาณของพระโพธิสัตว์ เพื่อให้ปัญญานั้นปลูกฝังลงไปในจิตของอนุชนรุ่นหลังๆ ซึ่งเป็นความตั้งใจของท่านที่มีมาตั้งแต่เด็ก และด้วยคำสอนของพ่อและคำสั่งเสียก่อนท่านตาย ที่สั่งไว้ว่า ให้ท่านธีรทาสเรียนภาษาไทยให้เก่งแล้วหาโอกาสจัดพิมพ์เรื่องที่แปลไว้สู่สาธารณชนให้ได้ นับเป็นหนังสือที่สอนเซน จากจิตหนึ่งสู่อีกจิตหนึ่ง ซึ่งเมตตานี้มาถึงพวกเรา ด้วยความตั้งใจและศรัทธามั่นอย่างแท้จริง
 
ปัจจุบัน ท่านธีรทาสรับหน้าที่ดูแลพุทธสมาคมเป้าเก็งเต็ง โดยมีคุณเสาวนีย์ ธโนฆาภรณ์ เป็นเลขานุการของพุทธสมาคม ความสำคัญของโรงเจเป้าเก็งเต็งแห่งนี้ อีกไม่นานคงกลายเป็นประวัติศาสตร์ที่จะมีเพียงสักกี่คนรู้จัก หรือรู้ซึ้งถึงตำนานความเป็นมาของเสาแต่ละต้น ศิลปสถานอย่างเซน โบราณวัตถุทางศาสนาแต่ละชิ้น ภาพเขียนที่มีนัยยะแห่งธรรมะแต่ละภาพ และบุคคลสำคัญที่ผ่านเข้ามาเพื่อสร้างงานสำคัญทางศาสนา เพื่อที่จะบอกชาวพุทธว่า แท้จริงมีเพียงเอกยานเท่านั้น หากคุณยึดติดใน หินยาน มหายาน วัชรยาน โดยมิได้เข้าใจถ่องแท้ คุณอาจจะจมอยู่กับหนทางโดยมิได้ถึงเป้าหมายเลย


- ประวัติชีวิตของท่านธีรทาส หาอ่านได้จากหนังสือ ค้นพบเมืองเก่ากรุงศรีวิชัย เรียบเรียงโดย
ธ.ธีรทาส ส่วนประวัติของท่านอยู่บทสุดท้ายของหนังสือ เขียนโดยคุณสัมพันธ์ ก้องสมุทร



http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=suparatta&month=06-2006&date=10&group=14&gblog=6