ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: ตุลาคม 06, 2010, 07:49:25 pm »

 :13: อนุโมทนาครับพี่แป๋ม^^ ขอบคุณครับ
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ตุลาคม 06, 2010, 07:38:28 pm »



กำเนิดเซน
โดย สุภารัตถะ
 
ณ พุทธสมาคมเป้าเก็งเต็งนั้น ถูกสร้างให้เป็นพุทธวิหารตามแบบวัดนิกายเซน (ฌาน) มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นองค์ประธาน พระมหากัสสปะเถระอยู่เบื้องซ้าย และพระอานนท์เถระอยู่เบื้องขวา (ตามความเชื่อชาวจีน ซ้ายสำคัญหรือเป็นใหญ่กว่าขวา) ฝีมือการปั้นพระพุทธรูปของช่างจีนชาวไทยนั้น สวยงามวิจิตรบรรจง เป็นพุทธศิลป์ที่งดงามทรงคุณค่าอย่างยิ่ง ซึ่งกรมศิลปากรรับรองในความงามนี้ เชื่อได้ว่าเป็นพุทธศิลป์ที่งามไม่แพ้ในประเทศจีนทีเดียว
 
การที่เบื้องขวาและซ้ายขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ใช่พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะนั้น เพราะการสืบทอดของนิกายเซน เป็นลักษณะจิตสู่จิต พระธรรมต่างๆ ที่พระพุทธองค์ตรัสสอนเป็นอักษรภาษานั้น ก็เพื่อเปรียบเปรยเทียบเคียงให้ผู้ฟังได้เข้าใจ และเกิดปัญญาญาณ เข้าสู่ความจริงแท้ได้ในที่สุด แต่ความจริงแท้นั้น แท้จริงไม่อาจอธิบายได้ด้วยภาษาใดๆเลย การก้าวข้ามภาษาไปสู่ความจริง เป็นจุดมุ่งหมายของพระธรรมต่างๆ ที่ตรัสสอนให้เข้ากับจริตผู้ฟัง รวมถึงเหตุการณ์ สถานการณ์ ซึ่งทรงยกขึ้นมาอ้าง เพื่อทำให้ผู้ฟังเกิดปัญญาบรรลุธรรมได้ โดยการคลายตัวตนและความยึดมั่นทั้งปวง ด้วยสติ สมาธิ ปัญญา ที่เกิดจากธรรมนั้นๆ
 
ท่านมหากัสสปะเถระ เป็นสังฆปรินายกองค์ที่ 1 (สายอินเดีย) ของนิกายเซน (ธยานะหรือฌาน) ที่ได้รับการถ่ายทอดธรรมะจากพระพุทธองค์โดยไม่ผ่านอักษรภาษาใดๆ ทั้งสิ้น เพียงพระพุทธองค์ ยกดอกบัวขึ้นตรงหน้า ท่ามกลางการเทศนาธรรมต่อพระพุทธสาวกจำนวนมาก มีเพียงท่านมหากัสสปะพระองค์เดียวที่เข้าใจในธรรมนั้น ท่านได้รับการยกย่องจากพระสัมมาสัมพุทธะหลายประการ นับได้ว่าท่านเป็นพระมหาสาวกองค์เดียวที่มีภูมิธรรมและคุณสมบัติทัดเทียมพระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระศาสดา ซึ่งพระพุทธองค์ได้ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายที่เชตวันว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราหวังเพียงใด ก็ย่อมสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว เข้าถึงฌานที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ สัญญาเวทยิตนิโรธ แล้วแลอยู่ได้ตลอดกาลเพียงใด ภิกษุทั้งหลาย แม้กัสสปะก็ดุจเดียวกัน เธอหวังเพียงใดก็ย่อมเข้าถึง ฯลฯ”
 
ท่านมหากัสสปะถ่ายทอดธรรมจากจิตสู่จิต สืบต่อมาทางพระอานนท์ สังฆปรินายกองค์ที่ 2 สายอินเดีย จนกระทั่งถึงท่านโพธิธรรมครูบา สังฆปรินายกองค์ที่ 28 สายอินเดีย และนับเป็นสังฆปรินายกองค์ที่ 1 สายจีน เมื่อท่านเดินทางเข้าสู่ประเทศจีน และสืบทอดนิกายเซน สู่สังฆปรินายกองค์ที่ 2 สายจีน จนกระทั่งถึงท่านเว่ยหล่าง สังฆปรินายกองค์ที่ 6 สายจีน ซึ่งเป็นองค์สุดท้ายที่ทำให้เซน เจริญแพร่หลายอย่างมากในประเทศจีน ด้วยเหตุนี้พุทธนิกายฝ่ายมหายาน โดยเฉพาะนิกายเซน (ธยานะ) ซึ่งถ่ายทอดธรรมะด้วยจิตสู่จิตนี้ โดยมีท่านมหากัสสปะ ผู้ซึ่งได้รับการถ่ายทอดธรรมะจากจิตสู่จิตโดยตรงจากพระพุทธองค์ และพระอานนท์ผู้ได้รับการถ่ายทอดธรรมะแบบจิตสู่จิตจากท่านมหากัสสปะ จึงได้รับการก่อสร้างเป็นพระพุทธรูป ที่อยู่เบื้องซ้ายและขวาของพระผู้มีพระภาคเจ้า ต่างจากฝ่ายหินยาน ซึ่งมีพระอัครสาวกพระสารีบุตรและพระโมคคัลานะอยู่เบื้องขวาและซ้ายแทน
 
พระสังฆปรินายกองค์ที่ 1 ถึงองค์สุดท้าย ของนิกายเซน (ธยานะ)

1 พระมหากัสสปะเถระ
2 พระอานนท์เถระ
3 พระสันนวสเถระ
4 พระอุปคุปตเถระ
5 พระธริตกเถระ

6 พระมฉกเถระ
7 พระวสุมิตรเถระ
8 พระพุทธนันทิเถระ
9 พระพุทธมิตรเถระ
10 พระปารสวเถระ

11 พระปุณยยสัสเถระ
12 พระอัสวโฆส มหาโพธิสัตว์
13 พระกปิมลเถระ
14 พระนาคารชุน มหาโพธิสัตว์
15 พระคนเทวเถระ

16 พระราหุลตเถระ
17 พระสังฆนันทิเถระ
18 พระสังฆยสัสเถระ
19 พระกุมราตเถระ
20 พระชยตเถระ

21 พระวสุพันธุเถระ
22 พระมโนรหิตเถระ
23 พระฮักเลนยสัสเถระ
24 พระสินหเถระ
25 พระพสยสิตเถระ

26 พระปุณยมิตรเถระ
27 พระปัญญาตาระเถระ
28 พระมหาโพธิธรรมครูบา ( องค์ที่ 1 สายจีน )
29 พระฮุ่ยเข่อมหาครูบา ( องค์ที่ 2 สายจีน )
30 พระซังซานมหาครูบา ( องค์ที่ 3 สายจีน )

31 พระตูชุนมหาครูบา ( องค์ที่ 4 สายจีน )
32 พระฮวางยานมหาครูบา ( องค์ที่ 5 สายจีน )
33 พระเว่ยหล่างมหาครูบา ( องค์ที่ 6 สายจีน )

 
ท่านโพธิธรรมมหาครูบาหรือพระอาจารย์ตั๊กม้อ พระภิกษุชาวอินเดีย ได้รับการทำนายจาก พระสังฆราชปัญญาตาราเถระ พระสังฆปรินายกองค์ที่ 27 สายอินเดีย ที่เล็งเห็นว่าหากท่านดับขันธ์ลงไปแล้ว 67 ปี บ้านเมืองจะเกิดภัยสงครามที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ด้วยปัญญาบารมีของท่านโพธิธรรมที่สูงส่งนั้น ท่านควรจะออกจาริกเพื่อเผยแพร่พระธรรมอันสำคัญ(สุญตา)นี้ ไปยัง ณ ประเทศจีน ท่านได้มอบ บาตร จีวร สังฆาฏิ ของพระสัมมาสัมโพธิญาน ที่ตกทอดมาตั้งแต่ท่านมหากัสสปะ สังฆปรินายกองค์ที่ 1 และภาระหน้าที่การสืบทอดธรรมะนิกายเซนจากจิตสู่จิต ให้กับท่านโพธิธรรมมหาครูบา สังฆปรินายกองค์ที่ 28 รับช่วงต่อไป
 
เมื่อท่านโพธิธรรมมหาครูบา พระชันษาได้ 120 ปี ได้ลงเรือโต้คลื่นฝ่ามรสุมถึง 3 ปี มาถึงเมืองกวางโจว ณ วันที่ 21 ค่ำเดือน 9 พ.ศ. 1070 สมัยราชวงศ์เหลียงหวู่ตี้ พระเจ้าเหลียงหวู่ตี้เป็นผู้ที่ศรัทธาพุทธศาสนาอย่างสูง พอทรงทราบข่าวว่าท่านโพธิธรรมเดินทางมาถึงประเทศจีนแล้ว ทรงพอพระทัยอย่างยิ่ง มีพระกระแสรับสั่งอาราธนาท่านโพธิธรรม (พระอาจารย์ตั๊กม้อ) เข้าเฝ้า ยังนครนานกิงซึ่งเป็นเมืองหลวง ท่านโพธิธรรมรับนิมนต์ เข้าเฝ้าพระเจ้าเหลียงหวู่ตี้ และได้ถกปัญหาธรรมกับพระองค์ พระเจ้าเหลียงหวู่ตี้ถามว่า ตัวท่านได้สร้างวัดวาอารามและวิหาร ทำนุบำรุงสงฆ์อีกทั้งโปรยทาน ไม่ทราบว่าเป็นบุญกุศลมากน้อยเท่าใด ท่านโพธิธรรมตอบว่า นี่ยังไม่อาจกล่าวได้ว่าเป็นกุศล เป็นเพียงบุญกริยาทางโลกหรือเทวสมบัติเท่านั้น กุศลที่แท้จริงนั้น คือความรู้แจ้งทางจิต ไม่อาจเข้าถึงโดยวิธีทางโลก

ท่านโพธิธรรมเห็นว่าพระเจ้าเเหลียงหวู่ตี้มีภูมิปัญญาที่ยังไม่แก่กล้าพอที่จะบรรลุธรรม จึงทูลลา เดินทางข้ามแม่น้ำแยงซีไปยังภาคเหนือแคว้นเป่ยวุ่ย ส่วนพระเจ้าเหลียงหวู่ตี้ถามธรรมาจาย์ปอจี่เซียงซือว่า ท่านโพธิธรรมกล่าวเช่นนั้นถูกต้องหรือ? ท่านปอจี่เซียงซือตอบว่า ฝ่าพระบาทได้พบท่านเหมือนไม่ได้พบ ได้เห็นท่านเหมือนไม่ได้เห็น พระสังฆราชโพธิธรรมมหาครูบา คือพระกวนอิมมหาโพธิสัตว์อวตารลงมาทีเดียว ทำให้พระเจ้าเหลียงหวู่ตี้เสียพระทัยมาก มีรับสั่งให้รีบไปอาราธนาท่านโพธิธรรมกลับมา แต่ท่านปอจี่เซียง ซือ ทูลว่าไร้ประโยชน์ ต่อให้ส่งคนทั้งประเทศไปทูลเชิญท่านก็ไม่ยอมกลับมา
 
ท่านโพธิธรรมข้ามแม่น้ำแยงซีเดินทางมาถึงวัดเส้าหลิน บนเขาซงซาน มณฑลเหอหนาน นับเป็นสังฆปรินายกองค์ที่ 1 สายจีน ท่านหันหน้าเข้าผนังถ้ำ นั่งสมาธิตลอดวันตลอดคืน โดยมีท่านซิ่งกวง (หรือท่านฮุ่ยเข่อ) ซึ่งติดตามมาด้วยความศรัทธาคอยเฝ้าปรนนิบัติ
 
คืนวันที่ 29 ค่ำ ปีไท่เหอที่ 10 ภิกษุซิ่งกวงยืนสงบอยู่หน้าถ้ำ ท่ามกลางหิมะที่ตกหนักจนกระทั่งสูงท่วมถึงเข่า ท่านโพธิธรรมถามท่านว่า “ท่านมายืนตากหิมะตลอดคืน เพื่ออะไร?”
 
ภิกษุซิ่งกวงตอบว่า “ขอท่านอาจารย์โปรดเปิดประตูมรรคผล ชี้ทางพุทธะแก่ศิษย์ด้วยเถิด” และถามต่อว่า “หัวใจแห่งธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นสิ่งที่จะพูดหรือแสดงให้เห็นและฟังได้ไหม?”
 
ท่านโพธิธรรมจึงกล่าวว่า “เจ้าอาศัยความตั้งใจเพียงเล็กน้อยมาแสวงหาธรรมะอันยิ่งใหญ่ ศรัทธาของเจ้ามีแค่ไหนกัน?”
 
ภิกษุซิ่งกวงจึงตัดแขนซ้ายของตนเองขาดลงทันที ท่านโพธิธรรมเห็นท่านซิ่งกวงปลงตกในสังขารอันไม่เที่ยงเพื่อแสวงหาโมกขธรรม จึงถามว่าธรรมะใดที่ภิกษุซิ่งกวงอยากรู้จากท่าน
 
“ขอให้อาจาย์ช่วยทำให้จิตของศิษย์สงบด้วย” ภิกษุซิ่งกวงบอกออกไป ท่านโพธิธรรมจึงสั่งให้ภิกษุซิ่งกวงส่งจิตของตัวเองให้ท่าน
 
“ศิษย์หาจิตอยู่นานแต่ไม่พบ” ภิกษุซิ่งกวงกล่าวตอบ
 
“ถ้าหาพบจะเป็นจิตของเจ้าได้อย่างไร…” ทันทีที่ท่านโพธิธรรมเอ่ยด้วยเสียงกังวานเช่นนั้น ฉับพลันท่านซิ่งกวงเกิดความสว่างไสว เข้าถึงความว่างเปล่าของจิตเดิม บรรลุธรรมทันที
 
“เราทำให้จิตของเจ้าสงบแล้ว…” ท่านโพธิธรรมกล่าว และตั้งฉายาให้ใหม่ว่า ฮุ่ยเข่อ แล้วถ่ายทอด บาตร จีวร สังฆาฏิ และธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้กับท่านฮุ่ยเข่อมหาครูบา สังฆปรินายกองค์ที่ 2 สายจีน ของนิกายเซน ประเทศจีน เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนาต่อไป และได้กล่าวโศลกไว้ว่า
 
ฉันเดินทางมาถึงแผ่นดินนี้
ถ่ายทอดธรรมช่วยผู้หลงงมงายอารมณ์
หนึ่ง-ดอกไม้บานครบ 5 กลีบแล้ว
ผลที่สุดธรรมชาติจะปรากฎขึ้นมาเอง

 
เมื่อใกล้จะมรณภาพ ท่านโพธิธรรมได้เรียกประชุมศิษย์ต่างๆ และกล่าวกับท่านฮุ่ยเข่อว่า
 
ให้ปลูกกุศลจิตแก่ชาวจีน ด้วยการหว่านเชื้อเมล็ดพืชพันธุ์แห่งพุทธะเพื่อบุกเบิกทางแห่งอริยภูมิไว้ 200 ปีหลังจากที่ท่านดับขันธ์ จะมีพระโพธิสัตว์มาตรัสรู้ธรรม โดยท่านผู้นี้จะทำให้ธรรมะที่ท่านสั่งสอนด้วย “จิตสู่จิต” เจริญก้าวหน้า และทำให้มีผู้บรรลุธรรมจักษุเป็นจำนวนมาก
พระเจ้าเหลียงหวู่ตี้ ได้พระราชทานสมณศักดิ์ให้ท่านฮุ่ยเข่อว่า “ไต้โจ้วเซียงซือ” ท่านนั่งสมาธิดับขันธ์ในฌานสมาบัติเมื่ออายุ 107 พรรษา
 
สังฆปรินายกองค์ที่ 3 มีนามว่าท่านเจิงชาน
สังฆปรินายกองค์ที่ 4 มีนามว่าท่านเต้าสิน
สังฆปรินายกองค์ที่ 5 มีนามว่าท่านหงเญิ่น
 
และสุดท้ายสังฆปรินายกองค์ที่ 6 สายจีน มีนามว่าท่านฮุ่ยเหนิงหรือท่านเว่ยหล่าง ซึ่งนับว่าเป็นปรมาจารย์ของนิกายเซน ที่ได้พัฒนาเซนให้มีความรุ่งเรืองและมีลักษณะอย่างจีนโดยสมบูรณ์ คำสอนของท่าน ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้เรียกว่า “สูตรของเว่ยหล่าง” เป็นคำสอนของภิกษุจีนเพียงเล่มเดียว ที่ได้รับการยกย่องเปรียบเสมอด้วยพระสูตรในพระไตรปิฎก นับได้ว่าท่านเป็นมหาบุรุษคนหนึ่งของจีนเช่นเดียวกับ เหลาจื้อ จวงจื้อ ขงจื้อ และเมิ่งจื้อ

 
 
 


 
- ประวัติของพระสังฆปรินายกองค์ที่ 1-6 หาอ่านได้โดยละเอียด
จากหนังสือ ศิษย์โง่ไปเรียนเซน เล่ม 1 – ธีรทาส
หรือจากการ์ตูนปรัชญาประทีปแห่งเซน – ถาวร สิกขโกศล
(มีภาพปะกอบสวยงามโดย ไช่จื้อจง )
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=suparatta&month=06-2006&date=09&group=14&gblog=5