ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: ตุลาคม 06, 2010, 09:38:52 pm »

 :13: อนุโมทนาครับพี่แทน^^ ครูเปรียบเสมือนเรือจ้างลำน้อยที่สวยงามครับ
ข้อความโดย: แปดคิว
« เมื่อ: ตุลาคม 06, 2010, 09:29:02 pm »

คำว่า ครู มาจากรากศัพท์ภาษาสันสกฤตคือ คุ ซึ่งแปลว่าความมืด และรุ แปลว่า ความสว่าง ครู จึงหมายถึงผู้ที่นำศิษย์ออกจากความมืดมาสู่ความสว่าง


เป็นธรรมดาอยู่เองที่บรรดาลูกศิษย์แต่ละคนของครูนั้น มาจากหลายถิ่น ต่างพื้นเพ ต่างจริตนิสัย ต่างจิตใจกันเหมือนไม้ในป่า แต่ช่างไม้ที่ฉลาดรู้จักพืชพันธู์ และคุณภาพของไม้แต่ละต้น ย่อมสามารถนำไม้จากป่า มาทำให้เกิดประโยชน์ใช้สอยได้ตามความเหมาะสม


ครูที่ฉลาดรู้จักลูกศิษย์แต่ละคนของตน ก็ย่อมสามารถปลุกปั้นสั่งสอนศิษย์ให้สำเร็จประโยชน์บรรลุจุดหมายปลายทางได้ฉันนั้น


หลวงพ่อเคยเปรียบเทียบให้ฟังอีกนัยหนึ่งว่า "การให้ธรรมะนี่ก็เหมือนกับให้ยารักษาคนไข้ นายแพทย์รักษาคนไข้ก็ต้องรู้ว่ายาชนิดไหนเหมาะแก่ใคร ต้องรู้จักคนไข้ รู้สมุฏฐานของโรคหรือเหมือนกับเราทอดแห ไปเหวี่ยงแหสะเปะสะปะคร่อมแม่น้ำเลย ไม่ได้หรอก


ต้องคอยเวลาเห็นปลาบ้อน(ผุด)นั่นแหละ มันบ้อนตรงไหนก็เหวี่ยงลงตรงนั้นเลย ถึงจะได้ การสอนก็ต้องดูว่าเขาจะรับได้แค่ไหน ดูความพอดีของเขา เพราะความพอดีนั้นแหละคือธรรมะ ถ้าไม่พอดีไม่เป็นธรรมะ"


หลวงพ่อเป็นครูที่รู้จักลูกศิษย์ เหมือนหมอที่รู้จักคนไข้ และท่านก็ฉลาดในการจัดยา คือเลือกวิธีสอนให้เหมาะแก่จริตนิสัยของลูกศิษย์แต่ละคนด้วย ไม่ว่าจะเป็นการเทศน์ การพูดจาปราศรัยหรือการปฏิบัติต่อลูกศิษย์ในโอกาสต่าง ๆ ท่านจะพูดหรือทำอะไรที่เหมือนกับว่า ท่านรู้ใจหรือรู้ความเป็นไปของลูกศิษย์อีกด้วย


พระอาจารย์สุริยนต์ได้ให้ตัวอย่างในเรื่องการวางคำสอนว่า


"เช่นลูกศิษย์ฝรั่ง ปกติฝรั่งเขาชอบยิ้มแย้ม ชอบให้ถาม ถ้าเฉยเกินไปเขาก็คิดว่ามันเป็นบรรยากาศที่อึดอัดสำหรับเขา หลวงพ่อจึงต้องเอาใจใส่ไต่ถามความเป็นอยู่ ถามทุกข์สุข การปฏิบัติเป็นอย่างไร ก้าวหน้าหรือถอยหลังอย่างไร


ถ้าพระเณรคนไทยท่านก็จะดูนิสัยเหมือนกัน บางองค์มีความเข้าใจในท่านพอสมควรแล้ว ท่านก็ไม่จำเป็นต้องถามมาก บางองค์ซื่อหรือไม่ค่อยมีปัญญา ท่านก็หาอุบายธรรมะที่เหมาะสมชี้แนะให้


บางองค์หนักไปทางโทสะจริต ท่านก็หาธรรมะคำพูดที่แฝงความขบขัน หรือยกตัวอย่างที่มีความเมตตามีความกตัญญู ทำให้อารมณ์ผ่อนคลายคล้อยตาม เบิกบานร่าเริงได้ เป็นเหตุให้มีกำลังใจ และมีความเจริญก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรม"


พระอาจารย์เอนกเล่าว่า เคยได้ยินหลวงพ่อปรารภถึงลูกศิษย์อย่างนี้


"ทำไมจะไม่รู้จักลูกศิษย์ ถ้าไม่รู้จักจะเป็นครูบาอาจารย์ได้อย่างไร เปรียบเหมือนชาวสวนกล้วย ถ้าไม่รู้จักลำต้น ใบ ผล ของมันจะทำสวนกล้วยได้อย่างไร ครูบาอาจารย์ก็เหมือนกัน ทำไมจะไม่รู้จักลูกศิษย์


ลูกศิษย์แต่ละรูปก็มีกายกับใจเท่านั้น พูดถึงใจมันก็ไม่แปลกกัน ใจคนหนุ่ม คนแก่ พระเณร ญาติโยม ถ้าเป็นใจที่ตกอยู่ใต้อำนาจกิเลสมันก็ไม่ต่างกัน" นี่หลวงพ่อพูดง่าย ๆ อย่างนี้


หลวงพ่อท่านเป็นคนช่างสังเกต ปัญญาท่านแหลมคม ประกอบด้วยประสบการณ์ในการสอนศิษย์มีมาก ท่านจึงดูคนออกง่าย ท่านมองลูกศิษย์ เดิน ยืน นั่ง นอน ฉัน กราบ ทำงาน ความฉับไวและความละเอียดในการอุปัฏฐาน


ท่านก็เห็นทั้งไส้ทั้งพุงเลย ยิ่งกว่านั้นบางทีในโอกาสที่หลวงพ่อเห็นสมควร ท่านอาจพูดบางคำที่แสดงให้ศิษย์เห็นว่า รู้ความคิดของศิษย์รูปนั้น ๆ เพื่อเร้าความละอายและความเกรงกลัวต่อบาปให้เกิดขึ้นในผู้ประมาท

http://www.watkoh.com/forum/index.php?topic=1209.0