ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: ตุลาคม 06, 2010, 11:16:53 pm »

 :13: อนุโมทนาครับน้องฝน^^
ข้อความโดย: rain....
« เมื่อ: ตุลาคม 06, 2010, 04:33:04 pm »

รัตนสูตร (เพื่อสุขภาพแข็งแรงโรคภัยไม่เบียดเบียน)

 :13: :13: :13: :13:
ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข.

( เหล่าภูตทั้งหลายทั้งที่อยู่ ณ ภาคพื้นก็ดี ทั้งที่อยู่ในอากาศก็ดี ที่มาชุมนุมกันอยู่ ณ สถานที่นี้ก็ดี )

สัพเพวะ ภูตา สุมะนา ภะวันตุ

( ขอหมู่ภูตทั้งปวงนั้น จงเป็นผู้มีใจดีเถิด )

อะโถปิ สักกัจจะ สุณันตุ ภาสิตัง

( และเชิญฟังคำสดุดีพระรัตนตรัย อันข้าพเจ้ากล่าวโดยเคารพเถิด )

ตัสมา หิ ภูตา นิสาเมถะ สัพเพ

( ดูก่อนภูตทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล ท่านทั้งหลายทั้งปวง จงฟังข้าพเจ้า )

เมตตัง กะโรถะ มานุสิยา ปะชายะ

( ขอท่านทั้งหลาย จงกระทำเมตตาจิต ในประชาชาวมนุษย์เถิด )

ทิวา จะ รัตโต จะ หะรันติ เย พะลิง

( ซึ่งเขาทั้งหลาย ทำเทวตาพลีอยู่ ทั้งกลางวันและกลางคืน )

ตัสมา หิ เน รักขะถะ อัปปะมัตตา

( เพราะเหตุนั้นแล ท่านทั้งหลาย จงเป็นผู้ไม่ประมาท ช่วยคุ้มครองรักษาเขาเหล่านั้นด้วยเถิด )

ยังกิญจิ วิตตัง อิธะ วา หุรัง วา

( ทรัพย์อย่างใดอย่างหนึ่งในโลกนี้ หรือในโลกอื่น )

สักเคสุ วา ยัง ระตะนัง ปะณีตัง

( หรือรัตนะใดอันสูงค่า ในสรวงสวรรค์ )

นะ โน สะมัง อัตถิ ตะถาคะเตนะ

( ทรัพย์หรือรัตนะนั้นๆ ที่จะเสมอด้วยพระตถาคตเจ้า มิได้มีเลย )

อิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง

( ข้อนี้ จัดเป็นรัตนะอันสูงส่ง ในพระพุทธเจ้า )

เอเตนะ สัจเจนะสุวัตติ โหตุ

( ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงบังเกิดมีเถิด )

ขะยัง วิราคัง อะมะตัง ปะณีตัง ยะทัชฌะคา สักยะมุนี สะมาหิโต

( พระศากยมุนีเจ้า ทรงมีพระหฤทัยดำรงมั่น ได้บรรลุธรรมอันใด

เป็นที่สิ้นกิเลส เป็นที่สิ้นราคะ เป็นอมตะอย่างแท้จริง )

นะ เตนะ ธัมเมนะ สะมัตถิ กิญจิ

( สิ่งใดๆที่เสมอด้วยพระธรรมนั้น ย่อมไม่มี )

อิทัมปิ ธัมเม ระตะนัง ปะณีตัง

( ข้อนี้ จัดเป็นรัตนคุณอันสูงส่ง ในพระธรรม )

เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ

( ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด )

ยัมพุทธะเสฏโฐ ปะริวัณณะยี สุจิง

( พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ทรงสรรเสริญสมาธิใด ว่าเป็นธรรมอันสะอาด )

สะมาธิมานันตะริกัญญะมาหุ

( บัณฑิตทั้งหลาย กล่าวถึงสมาธิใด ว่าให้ผลไม่มีสิ่งใดคั่นได้ )

สะมาธินา เตนะ สะโม นะ วิชชะติ

( สมาธิอื่น ที่เสมอด้วยสมาธินั้น ย่อมไม่มี )

อิทัมปิ ธัมเม ระตะนัง ปะณีตัง

( ข้อนี้ ก็จัดเป็นรัตนคุณอันสูงส่งในพระธรรม )

เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ

( ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงบังเกิดมีเถิด )

เย ปุคคะลา อัฏฐะ สะตัง ปะสัตถา

( บุคคลเหล่าใด นับเรียงองค์ได้เป็น ๘ )

จัตตาริ เอตานิ ยุคานิ โหนติ

( นับเป็นคู่ได้ ๔ คู่ อันสัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญแล้ว )

เต ทักขิเณยยา สุคะตัสสะ สาวะกา

( บุคคลเหล่านั้น เป็นสาวกของพระสุคตเจ้า เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน )

เอเตสุ ทินนานิ มะหัปผะลานิ

( ทานทั้งหลาย ที่บุคคลถวายในท่านเหล่านั้น ย่อมมีผลเป็นอันมาก )

อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง

( ข้อนี้ จัดเป็นรัตนคุณอันสูงส่ง )

เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ

( ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด )



เย สุปปะยุตตา มะนะสา ทัฬเหนะ นิกกามิโน โคตะมะสาสะนัมหิ

( บุคคลทั้งหลายเหล่าใด ประกอบความเพียรอย่างดี ดำเนินไปในศาสนา ของพระโคดมเจ้า ด้วยใจอันมั่นคง )

เต ปัตติปัตตา อะมะตัง วิคัยหะ

( บุคคลทั้งหลายเหล่านั้น หน่วงเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์ ได้บรรลุคุณอันควรบรรลุ คือ พระอรหัตตผลแล้ว )

ลัทธา มุธา นิพพุติง ภุญชะมานา

( จึงได้เสวยอมตะรส คือ ความสงบเย็น จากความเร่าร้อนทั้งปวง )

อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง แม้ข้อนี้

( ก็เป็นรัตนคุณอันสูงส่งในพระสงฆ์ )

เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ

( ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด )

ยะถินทะขีโล ปะฐะวิง สิโต สิยา จะตุพภิ วาเตภิ อะสัมปะกัมปิโย

( เสาเขื่อนที่ฝังลงดิน อย่างมั่นคงแล้ว ลมทั้งสี่ทิศ ไม่พึงทำให้หวั่นไหวได้ ฉันใด )

ตะถูปะมัง สัปปุริง วะทามิ โย อะริยะสัจจานิ อะเวจจะ ปัสสะติ

( เราตถาคตกล่าวว่า สัตบุรุษผู้หยั่งเห็นอริยสัจธรรม ก็มีอุปมาฉันนั้น นั่นแล )

อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง

( แม้ข้อนี้ ก็เป็นรัตนคุณอันสูงส่ง ในพระสงฆ์ )

เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ

( ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด )

เย อะริยะสัจจานิ วิภาวะยันติ คัมภีระปัญเญนะ สุเทสิตานิ

( บุคคลเหล่าใด กระทำอริยสัจธรรมทั้งหลาย ที่พระบรมศาสดา

ผู้มีปัญญาอันลึกซึ้ง ทรงแสดงดีแล้ว ให้แจ่มแจ้งแก่ตนได้ )

กิญจาปิ เต โหนติ ภุสัปปะมัตตา

( บุคคลเหล่านั้น ถึงจะยังเป็นผู้ประมาทอยู่มาก )

นะ เต ภะวัง อัฏฐะมะมาทิยันติ

( แต่ท่านก็ย่อมไม่ถือเอา ซึ่งภพที่ ๘ )

อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง

( แม้ข้อนี้ ก็เป็นรัตนคุณอันสูงส่ง ในพระสงฆ์ )

เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ

( ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด )



สะหาวัสสะ ทัสสะนะสัมปะทายะ ตะยัสสุ ธัมมา ชะหิตา ภะวันติ,

สักกายะทิฏฐิ วิจิกิจฉิตัญจะ สีลัพพะตัง วาปิ ยะทัตถิ กิญจิ

สังโยชน์ ๓ ประการ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส

ซึ่งเป็นกิเลสเครื่องผูกสัตว์ไว้ในภพ อันพระโสดาบันละได้แล้ว

เพราะความถึงพร้อมแห่งญาณทัสนะ

จะตูหะปาเยหิ จะ วิปปะมุตโต

อนึ่ง พระโสดาบันเป็นผู้พ้นได้แล้ว จากอบายภูมิทั้ง ๔

ฉะ จาภิฐานานิ อะภัพโพ กาตุง

ทั้งไม่อาจที่จะทำอภิฐาน คือ ฐานะอันหนัก ๖ ประการ (คือ อนันตริยกรรม ๕ และการเข้ารีต)

อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง

แม้ข้อนี้ ก็เป็นรัตนคุณอันสูงส่งในพระสงฆ์

เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ

ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด

กิญจาปิ โส กัมมัง กะโรติ ปาปะกัง กาเยนะ วาจายุทะ เจตะสา วา

พระโสดาบันนั้น ยังทำความผิดเล็กน้อยทางกาย ทางวาจา หรือทางใจ อยู่บ้างก็จริง

อะภัพโพ โส ตัสสะ ปะฏิจฉะทายะ

( แต่เมื่อทำแล้ว ท่านเปิดเผย ไม่ปกปิดความผิดนั้นไว้ )

อะภัพพะตา ทิฏฐะปะทัสสะ วุตตา

( ความที่บุคคลเข้าถึงกระแสพระนิพพานแล้วเป็นผู้ไม่ปกป ิดความผิดไว้นี้ อันเราตถาคตกล่าวแล้ว )

อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง

( แม้ข้อนี้ ก็เป็นรัตนคุณอันสูงส่งในพระสงฆ์ )

เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ

( ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด )



วะนัปปะคุมเพ ยะถา ผุสสิตัคเค คิมหานะ มาเส ปะฐะมัสมิง คิมเห

( พุ่มไม้ในป่า แตกยอดในเดือนคิมหันต์แห่งคิมหันตฤดูฉันใด )

ตะถูปะมัง ธัมมะวะรัง อะเทสะยิ

( พระตถาคตเจ้า ได้ทรงแสดงธรรมอันประเสริฐ )

นิพพานะคามิง ปะระมังหิตายะ

( ซึ่งเป็นหนทางให้ถึงพระนิพพาน เพื่อประโยชน์อย่างยิ่งแก่สัตว์ทั้งหลาย ก็มีอุปมาฉันนั้น )

อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง

แม้ข้อนี้ ก็เป็นรัตนคุณอันสูงส่ง ในพระสงฆ์

เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ

( ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด )

วะโร วะรัญญู วะระโท วะราหะโร

พระตถาคตเจ้า ทรงเป็นผู้ประเสริฐ ทรงเป็นผู้รู้สิ่งอันประเสริฐ

( ทรงเป็นผู้ให้สิ่งอันประเสริฐ ทรงเป็นผู้นำมาซึ่งสิ่งอันประเสริฐ )

อนุตตะโร ธัมมะวะรัง อะเทสะยิ

( ทรงเป็นผู้ไม่มีใครยิ่งกว่า ได้ทรงแสดงแล้วซึ่งพระธรรมอันประเสริฐ )

อิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง

( แม้ข้อนี้ ก็เป็นรัตนคุณอันสูงส่ง ในพระพุทธเจ้า )

เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ

( ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด )

ขีณัง ปุราณัง นะวัง นัตถิ สัมภะวัง

( กรรมเก่า ของพระอริยบุคคลเหล่าใดสิ้นแล้ว กรรมสมภพใหม่ย่อมไม่มี )

วิรัตตะจิตตายะติเก ภะวัสมิง

( พระอริยบุคคลเหล่าใด มีจิตอันหน่ายแล้ว ในภพต่อไป )

เต ขีณะพีชา อะวิรุฬ หิฉันทา

( พระอรหันต์เหล่านั้น มีพืชคือวิญญาณสิ้นไปแล้ว ไม่มีความพอใจที่จะเกิดอีกต่อไป )

นิพพันติ ธีรา ยะถายัมปะทีโป

( เป็นผู้มีปัญญา ย่อมนิพพาน เหมือนดังดวงประทีปที่ดับไปฉะนั้น )

อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง

( แม้ข้อนี้ ก็เป็นรัตนคุณอันสูงส่ง ในพระสงฆ์ )

เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ

( ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด )

ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข.

( เหล่าภูตทั้งหลายทั้งที่อยู่ ณ ภาคพื้นก็ดี ทั้งที่อยู่ในอากาศก็ดี ที่มาชุมนุมกันอยู่ ณ สถานที่นี้ก็ดี )

ตะถาคะตัง เทวะสะนุสสะปูชิตัง พุทธัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ

( เราทั้งหลายจงนมัสการพระพุทธเจ้าผู้มาแล้ว อันเทวดาและมนุษย์บูชาแล้ว ขอความสุขสวัสดีจงมีเถิด )

ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข.

( เหล่าภูตทั้งหลายทั้งที่อยู่ ณ ภาคพื้นก็ดี ทั้งที่อยู่ในอากาศก็ดี ที่มาชุมนุมกันอยู่ ณ สถานที่นี้ก็ดี )

ตะถาคะตัง เทวะสะนุสสะปูชิตัง ธัมมัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ

( เราทั้งหลายจงนมัสการพระธรรมอันมาแล้ว อันเทวดาและมนุษย์บูชาแล้ว ขอความสุขสวัสดีจงมีเถิด )

ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข.

( เหล่าภูตทั้งหลายทั้งที่อยู่ ณ ภาคพื้นก็ดี ทั้งที่อยู่ในอากาศก็ดี ที่มาชุมนุมกันอยู่ ณ สถานที่นี้ก็ดี )

ตะถาคะตัง เทวะสะนุสสะปูชิตัง สังฆัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ

( เราทั้งหลายจงนมัสการพระสงฆ์ผู้มาแล้ว อันเทวดาและมนุษย์บูชาแล้ว ขอความสุขสวัสดีจงมีเถิด)
     
http://www.junjaowka.com/webboard/showthread.php?t=22104