ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Plusz
« เมื่อ: ตุลาคม 07, 2010, 04:12:28 pm »

ใส่ซอง

จะว่าไป การใส่ซองในวาระต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นงานแต่งงาน งานศพ งานกฐิน ฯลฯ ก็เป็นธรรมเนียมอย่างหนึ่งที่แสดงถึงความมีน้ำใจในสังคม ถ้ามาทีละซองคงไม่มีปัญหา แต่ในช่วงหน้าเทศกาลอย่างงานแต่งงานหรืองานบุญนี่สิ ทำเอางงไปเหมือนกัน

ลองฟังคำแนะนำและเทคนิคจากผู้เชี่ยวชาญทางเรื่องเงินๆ ทองๆ กันก่อนปิดผนึกซองที่คุณเพิ่งได้รับมาหมาดๆ ดีกว่า



พชร ปัญญายงค์
ผู้ประกาศหนุ่มไฟแรงดีกรีปริญญาโท สาขาเศรษฐศาสตร์การเงิน จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ให้คำแนะนำเรามาอย่างฉะฉาน

● ในกรณีที่ระดับเงินเดือนของคนใส่ซองอยู่ที่ประมาณ 15,000 - 20,000 บาท การใส่ซองเพื่อแสดงความยินดีในวันงานแต่งงานของเพื่อน คนรู้จักที่ทำงาน หรือกับคนทั่วไปสมัยนี้ น่าจะเริ่มต้นที่หลักพันต้นๆ ครับ นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงระดับความสนิทและรูปแบบของงานแต่งงานด้วย
● เวลาไปงานแต่งงานผมไม่ค่อยได้ไปคนเดียว ส่วนใหญ่จะไปกันสองคน ก็จะใส่ซองเริ่มต้นที่ประมาณ 3,000 บาทครับ
● ผมมองว่าการให้ของขวัญที่บ่าวสาวสามารถนำไปต่อยอดทางการเงินได้อย่างการซื้อหน่วยลงทุน ก็เป็นทางเลือกที่ดีในสภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ค่อยมั่นคง ผมก็ใช้วิธีนี้อยู่บ่อยๆ ยกตัวอย่างเช่น กลุ่มเพื่อน 10 คน ออกเงินกันคนละ 1,000 บาทเพื่อซื้อหน่วยลงทุนมูลค่า 10,000 บาทให้แทนการใส่ซองในหลักพัน ดูจะเป็นทางเลือกที่น่าสนใจและคุ้มค่ากว่าถ้ามองถึงเงินที่สามารถงอกเงยขึ้นได้ในอนาคต
● การช่วยใส่ซองในงานศพหรืองานบุญต่างๆ น่าจะขึ้นอยู่กับความศรัทธาและความสนิท แต่ขอแนะนำในเรื่องการเก็บเงินออมจากเงินเดือนว่า ควรเก็บให้ได้ประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ เช่น มี 100 เก็บ 30 ที่เหลืออีก 70 จะใช้หมดเลยก็ไม่ว่ากัน โดยเงินที่จะใส่ซองก็ควรอยู่ในส่วนของ 70 เปอร์เซ็นต์ที่ว่านี้ด้วย



ปฏิพร สิทธิพงศ์
พิธีกรสาวสวยประจำรายการ Money Channel และยังควบตำแหน่ง Supervisor ของบริษัทแฟมิลี่ โนว์ฮาว ของตลาดหลักทรัพย์ฯอีกด้วย

● จำนวนเงินที่จะใส่ในซองเนื่องในวาระโอกาสสำคัญต่างๆ อาจไม่มีจำนวนเงินหรือมาตรฐานที่บ่งบอกตายตัว ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม ความพึงพอใจของผู้ให้ และความพร้อมเรื่องเงินของแต่ละคน
● โดยส่วนตัวรู้สึกว่าสิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการใส่ซองให้เพื่อนร่วมงาน (ในกรณีที่ไม่ได้สนิทกันเป็นพิเศษ) คือ การคำนวณถึงต้นทุนของงานเลี้ยงที่เจ้าภาพต้องจ่ายต่อหัว เพื่อความเหมาะสมในเรื่องกาลเทศะ
● สมัยนี้ต้นทุนของงานเลี้ยงตามโรงแรมต่อหัวจะตกอยู่ราวหลักร้อยปลายๆ ดังนั้นเงินใส่ซองก็ควรเริ่มต้นในหลักพัน ถ้าเป็นงานเลี้ยงแบบค็อกเทลก็จะมีต้นทุนในการจัดงานต่ำกว่า ซึ่งจำนวนเงินในซองก็สามารถลดหลั่นลงมาได้บ้าง ขึ้นอยู่กับมาตรฐานด้วยว่างานเลี้ยงจัดที่โรงแรมระดับกี่ดาว
● หากเป็นงานแต่งงานของเจ้านายหรือคนที่เป็นผู้ใหญ่กว่า การเลือกซื้อของขวัญที่ดูดีแทนการใส่ซองถือเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ เพราะจะได้ตัดปัญหาเรื่องการคิดจุกจิกกับจำนวนเงิน แต่ก็ต้องคำนึงถึงความถูกใจของผู้รับด้วย ทางที่ดีถ้าบ่าวสาวมีการลงทะเบียน Gift Registration ไว้ก็ควรไปใช้บริการ เพื่อผู้รับจะได้ถูกใจ เราเองก็รู้สึกคุ้มค่ากับเงินที่เสียไป
● ในกรณีใส่ซองให้เพื่อนที่สนิทมากๆ โดยเฉพาะงานแต่งงานซึ่งถือเป็นวันสำคัญวันหนึ่งในชีวิต ก็คงขึ้นอยู่กับความพอใจ แต่ฝากไว้นิดนึงว่า ในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้เราไม่ควรทำอะไรที่เกินตัวจะดีที่สุดค่ะ

ที่มา : http://women.sanook.com/work/www/www_54371.php