ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: ตุลาคม 07, 2010, 11:03:02 pm »

ซื้อใจด้วยใจครับ น้องอุ๋ม ขอบคุณครับ^^
ข้อความโดย: Plusz
« เมื่อ: ตุลาคม 07, 2010, 03:50:32 pm »

ยุคนี้การมีเพื่อนดีก็พาให้หน้าที่การงานรุ่งได้เหมือนกัน ว่าแต่เพื่อนแบบไหนละที่ควรทำความรู้จักมักคุ้นไว้บ้าง

 
พนักงาน, เพื่อนร่วมงาน

1. ใกล้ชิดเจ้านายแต่ไม่สอพลอ
ออกตัวเอี๊ยดเลยว่า ตำแหน่ง “เลียขา” ไม่ใช่เป้าหมายของเรา ประเด็นสำคัญในข้อนี้คือ จงจำไว้ว่า เจ้านายไม่ใช่ก๊อตซิล่าที่คอยจ้องพ่นไฟใส่คุณตลอดเวลา สังเกตได้จากคนทำงานใกล้ชิด เช่น เลขาฯ หน้าห้อง ผู้ช่วยส่วนตัว หรือแม้แต่คนขับรถที่ต้องอยู่ใกล้รัศมีดวงอาทิตย์ ทุกคนก็ดูมีความสุขได้ไม่แพ้พนักงานในตำแหน่งสูงกว่าบางคน

Lesson 1: การทำความรู้จักมักคุ้นเพื่อนในหน้าที่ดังกล่าวไว้บ้าง ไม่ใช่เรื่องเสียหาย สิ่งที่คุณจะเรียนรู้ได้จากพวกเขาและเธอคือ
* การวางตัวอย่างเหมาะสมเมื่ออยู่ต่อหน้าผู้บังคับบัญชา
* วิธีทลายกำแพงแห่งความหวั่นเกรง (บารมีเจ้านาย)
* สุดท้ายเมื่อเวลาผ่านไป คุณก็จะได้สั่งสมประสบการณ์ เรียนรู้สไตล์การทำงานรวมถึงผลงานที่ “ถูกใจ” เจ้านายไปด้วยในตัว


2. สุดยอดนักตรวจสอบ
อย่าคิดว่าคนประเภทนี้จะเหมือนพวกชอบนินทาหาเรื่องเม้าท์สนุกปากไปวันๆ เพราะเพื่อนร่วมงานที่เรากำลังพูดถึงนี้คือบุคคลผู้โปรดปรานการสืบเสาะ สอบถาม ค้นคว้าข้อมูลเบื้องลึกเบื้องหลังเกี่ยวกับการทำงานในออฟฟิศอยู่เสมอ ขอเน้นว่าเฉพาะเรื่องการทำงาน ไม่ใช่เจ้านายเพิ่งถอยรถป้ายแดงยี่ห้ออะไร หรือเพื่อนร่วมงานคนไหนกำลังกิ๊กกับเลขาฯ สาวสวย อย่างนั้นไม่เอา

Lesson 2: เพื่อนร่วมงานเหล่านี้คือ คุณค่าที่คุณคู่ควร (ปฏิบัติตาม) โดยเฉพาะพวกมือใหม่ทั้งหลายที่ต้องเร่งหาความรู้ใส่ตัว เพื่อนำไปพัฒนางานได้เร็วที่สุด * บ่มเพาะความกล้าที่จะเริ่มบทสนทนาถามไถ่ในสิ่งที่สงสัยเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่ต้องการ ทั้งในกรณีที่อีกฝ่ายเป็นคนคุ้นเคย และคนแปลกหน้า * สังเกตลิมิตว่าเรื่องไหนควรถาม เรื่องไหนไม่ควรถาม แต่ให้ใช้วิธีสังเกตเอาเอง ไปจนถึงว่า แต่ละเรื่องนั้นถามได้มากน้อยแค่ไหน แล้วจะมีวิธีถามอย่างไรไม่ให้ฝ่ายที่ถูกถามรู้สึกว่ากำลังโดนเราไล่จี้หรือหาเรื่อง บางครั้งนอกจากมารยาท การรู้จักทางหนีทีไล่ในการสนทนาก็จำเป็นเช่นกัน * เรียนรู้วิธีคัดกรองข้อมูล อย่างที่บอกแล้วว่าข้อมูลมีหลายประเภท เรื่องรกสมองเม้าท์ชาวบ้านแบบไม่สร้างสรรค์แบกไว้ก็ถ่วงความเจริญ คนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะเลือกแต่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์นำมาใช้พัฒนางานให้ก้าวหน้าเท่านั้น


3. เจ้าแม่เครือข่าย
ใครมีเพื่อนร่วมงานประเภทรู้จักและเข้าถึงทุกคนในออฟฟิศยกมือขึ้น เพื่อนร่วมงานประเภทนี้สามารถจัดไว้ในกลุ่ม “ผู้ฟอร์มทีม” ได้เลย ประมาณว่าเธอทักทายทุกคนที่เดินผ่าน ตั้งแต่ประตูออฟฟิศยันห้องแม่บ้าน แถมไม่เคยลืมหน้า ชื่อ หรือแม้แต่รายละเอียดอื่นๆ ของทุกคนด้วยซ้ำ

Lesson 3: ถ้าคุณเป็นคนขี้อายมีเพื่อนแบบนี้ไว้จะช่วยได้มาก นอกจากเรื่องการปรับตัวแล้ว เขาหรือเธอยังสามารถแนะนำคุณให้รู้จักกับคนอื่นๆ ได้ไปในตัว * คอยสังเกตวิธีสร้างเครือข่ายของเขา เช่น วิธีเริ่มบทสนทนา การสร้างความบันเทิงให้แก่ผู้อื่น ไปจนกระทั่งถึงเรื่องเล็กๆ น้อยๆ อย่างเคล็ดลับช่วยจำชื่อจำหน้าของคนนั้นคนนี้เพื่อไม่ให้ทักผิด * ลองประยุกต์ทักษะข้างต้นมาใช้ในเวอร์ชั่นของคุณเองบ้าง อาจเริ่มจากคนคุ้นหน้าที่มีห้องทำงานอยู่ใกล้ๆ กัน หรือ เจอกันตรงลานจอดรถบ่อยๆ แล้วค่อยขยายเครือข่ายไปละแวกอื่นๆ ตามจังหวะและโอกาส วิธีนี้จะช่วยเสริมทักษะในการเข้าสังคม และช่วยให้คุณมีศักยภาพในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดีขึ้นในเวลาอันสั้น * บุคคลเหล่านี้ส่วนใหญ่มักเป็นผู้มีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ คุณเองก็ทำเรื่องง่ายๆ แบบนี้ได้ ฝึกไว้ให้เคยชิน แม้กระทั่งเห็นแม่บ้านถือของหนักก็อย่านิ่งดูดาย หยิบฉวยช่วยเหลืออะไรใครได้ให้รีบเลยทันที วิธีนี้สร้างมิตรภาพได้ผลดีพอๆ กับรอยยิ้มจริงใจเลยทีเดียว


4.ไม่เครียดเพราะเก๋าเกม
เพื่อนร่วมงานในข้อนี้ไม่จำเป็นว่าต้องมีอายุหรือประสบการณ์การทำงานสูงเสมอไป แต่เขาหรือเธอจะมีสภาวะจิตใจหนักแน่นเป็นเยี่ยม แม้ในช่วงเวลาที่เกิดแรงกดดันถึงขีดสุดยังคงรักษาความสุขุม ไหวพริบปฏิภาณ

Lesson 4: ของแบบนี้มักต้องสั่งสมมาพร้อมกับประสบการณ์ แต่ถึงคุณจะเป็นมือใหม่ก็สามารถเรียนลัดได้ ไม่อย่างนั้นเขาจะมีเพื่อนไว้ทำไมเล่า * นอกจากเรียนรู้ว่าต้อง “ทำงานอะไร” แล้ว คุณควรสังเกตด้วยว่า เพื่อนๆ เหล่านี้เขา “ทำงานอย่างไร” ตั้งแต่วิธีคิด การรวบรวมข้อมูลเพื่อตัดสินใจ รวมไปถึงวิจารณญาณในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าแต่ละครั้ง * ในฐานะที่เป็นเพื่อนกัน ลองหาโอกาสพูดคุยซักถาม ขอคำแนะนำมาใช้ในการทำงานบ้าง หรือแม้กระทั่งการนั่งคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานวันเก่าๆ ในอดีตของเขา ก็สามารถเป็นบทเรียนในการพัฒนาตัวคุณได้เช่นกัน * เมื่อมีปัญหาใหญ่ในเรื่องงานของตัวเองขึ้นมา จงอย่าตระหนกตกใจ นี่เป็นโอกาสอันดีที่คุณจะได้ฝึกตัวเอง ลองใช้ประสบการณ์ส่วนตัวและที่คุณเรียนรู้มาจากเพื่อน ค่อยๆ คิดประมวลผลหาทางออก ถ้ายังไม่มั่นใจค่อยขอคำปรึกษาจากเพื่อนให้ช่วยออกความคิดเห็น ไม่ใช่คิดว่ามีเพื่อนเป็นที่พึ่งอยู่ตลอดเวลา ถ้าเป็นแบบนั้น คุณเองจะไม่มีวันเติบโตได้เลย


สุดท้ายก็อย่าลืมว่า มิตรภาพนั้นตั้งอยู่บนรากฐานของน้ำใจ รวมถึงการรู้จักเป็นทั้ง ‘ผู้ให้’และ ‘ผู้รับ’ ในคราวเดียวกัน ไม่ใช่จ้องแต่จะหาผลประโยชน์จากคนที่เราเรียกว่า ‘เพื่อน’ อย่างเดียว


ที่มา : http://women.sanook.com/work/www/www_55518.php