ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: กรกฎาคม 17, 2010, 08:47:48 pm »การปลีกวิเวก
อีกกระบวนการนึงที่ค่อนข้างส่งเสริมให้ผู้เรียนใคร่ครวญ พออยู่กับชุมชน 2-3 วัน บางทีมากกว่านั้น 4-5 วัน ก็มีช่วงเวลาของการอยู่วิเวก อยู่คนเดียวกับธรรมชาติ ปลีกวิเวก 1 วัน 1 คืนอย่างน้อย มีการอดอาหาร กินน้ำ ซึ่งเป็นกระบวนการเรียนรู้เข้มข้นอย่างนึงเพื่อเพิ่มกระบวนการใคร่ครวญอย่างลึกซึ้ง ภาษาพุทธเรียกว่าโยนิโสมนัสิการ เข้าไปสัมผัสแล้วต้องมีเวลาในการใคร่ครวญอย่างลึกซึ้ง ถึงความสัมพันธ์ของตัวเอง มีเรื่องเกิดขึ้นเยอะแยะไปหมด ช่วงเวลาที่อยู่คนเดียว บางทีคิดถึงชีวิตตัวเองเกิดมาทำไม บางทีมาเห็น มาเรียนรู้อย่างนี้แล้ว มันต้องปรับชีวิตอย่างไร เป็นการภาวนา บ่มเพาะ รับพลังจากธรรมชาติ ให้มันคลี่คลาย และการสืบค้นจะลงลึก และค่อยให้เห็นจังหวะและเวลา บทบาทตัวเองว่าจะวางตัวเองไว้ตรงไหนของชีวิตในสิ่งที่เกิดขึ้น และพอออกมาจะนั่งคุยแลกเปลี่ยน มันจะมีระดับของการเรียนรู้ อยู่กับชุมชน กับตัวเอง กับกลุ่ม เวลาอยู่กับกลุ่ม จะทำ dialog แต่ก่อนเขาเรียกเป็นสภา สภาแห่งการรับฟัง เรื่องสิ่งที่เรียนรู้ข้างในของแต่ละคนโดยไม่ต้องมีข้อสรุป เพราะแต่ละคนจะมีคำตอบ มีการสรุปเอง เพราะการลำเลียงความเข้าใจของตนเองออกมามันจะฝึกให้ได้พูด ได้คิดให้ชัดขึ้น บนพื้นฐานว่ามันคงลำเลียงออกมาไม่ได้หมด มีความรู้บางอย่างที่เป็นความรู้แฝงเร้นที่ไม่สามารถพูดออกมาได้
ฟังเหมือนหลักการคือกระบวนการให้เราอยู่กับตัวเองมากที่สุด ภายใต้บรรยากาศที่มีคนอื่น ที่ให้เราตกผลึกทางความคิดใช่ไหมค่ะ
ใช่ ให้ความคิดออกมาโดยไม่จำเป็นต้องไปคิดกับมัน ให้จิตไร้สำนึกซึ่งมี97% ภูมิปัญญาที่เรามี ไอ้ที่คิดๆ คิดได้ทั้งหมดคือ 3 % แต่จิตใต้สำนึกจะมาตอนเรารู้สึกผ่อนคลาย อาบน้ำ อยู่คนเดียว หรือเล่นดนตรี คลื่นอัลฟ่าช่วยทำให้จิตไร้สำนึกผุดพรายขึ้นมา โผล่ปรากฏ การอยู่คนเดียวเป็นกระบวนการหนึ่งที่ช่วยให้
จุดเด่นของกระบวนการ
กระบวนการเรียนรู้ ความรู้ต้องมาจากธรรมชาติ มาจากตัวเขาเอง ผมไม่ใช้คำว่าวิทยากร เพราะวิทยากรมีความหมายกรอบคิดอยู่ที่ว่าผู้ให้ความรู้ แต่ถ้าเรามองว่าเราเป็นผู้เอื้อกระบวนการเราน่าเป็นกระบวนกร และทุกคนเป็นวิทยากร ถ้ามีคนเรียกเราว่าวิทยากร ต้องเรียกตัวเองว่าวิทยากร ทุกคนเป็นวิทยากรด้วย คือความรู้เกิดจากทุกคนช่วยกันสร้างขึ้นมา
ที่นี้กระบวนการที่เข้าไปเอื้อให้เกิดกระบวนกร มี pattern ไหมค่ะ ว่าต้องให้เกิดอย่างนี้ กับอย่างนี้ หรือใช้กระบวนการภายใต้เงื่อนไขอย่างไรบ้าง
แต่ละกระบวนการก็แล้วแต่กลุ่ม แต่โดยทั่วไปต้องสร้างพื้นที่ในกลุ่มของการรู้จัก วางใจ ปลอดภัย มิตรไมตรี เป็นประตูเข้าของการเรียนรู้ เพราะการจะไปสู่ดินแดนของความไม่รู้มันไม่ได้อยู่ที่อื่น มันอยู่ในตัวเองแหละ ของความรู้ใหม่ๆ เพียงแต่เรามีกรอบบล๊อคมันไว้ เพราะฉะนั้นต้องมีความไว้วางใจสูงเพื่อกล้าสืบค้น กล้าท้าทายกรอบคิดของตัวเอง กล้าท้าทายสมมุติฐานเดิมๆที่ถูกฝังลึกเช่นความคิดเรื่องผู้หญิงเป็นแบบนั้น ผู้ชายเป็นอย่างนี้ ซึ่งบางอย่างเข้าไปจี้จุดมากๆ บางคนเป็นคนจีน เข้าไปดูซิว่ารากคนจีนเป็นอย่างไร ถูกฝังความอายไว้ในสมอง หรือโดยบุคลิกภาพ มีประตูเข้า เมื่อไปสู่กระบวนการเรียนรู้ ส่วนกลางมีกระบวนการที่หลากหลาย ต้องฝึกการรับฟังที่ลึกซึ้ง ซึ่งเชื่อมโยงกับการปรับคลื่นความคิดตัวเองให้ช้าลง เพื่อให้เห็นชัดถึงความคิดเดิม และความคิดใหม่
อุปสรรคในการเรียนรู้
· ระยะเวลา /ความต่อเนื่อง / ความหลากหลายของผู้เรียน
เรื่องข้อจำกัดความต่อเนื่องของผู้เรียนและความหลากหลาย ผู้เรียนที่มาเรียน เจอกันบ่อยๆมีไม่มีกี่คน หลายคนเป็นพระ ซึ่งเป็นอาชีพที่มีเวลาเยอะที่สุด ผมรู้สึกว่ามันยังไม่ให้ภาพละเอียดมาก คิดว่าเขาได้อย่างที่เราไม่คาดหวังว่าต้องได้ อย่างที่พูดไปทั้งหมดตั้งแต่ต้น อย่างเรื่องวิกฤตินิเวศน์วิทยายังไม่ได้ให้เขาลงลึกมาก จากงานศึกษาทางวิชาการก็ดี มีข้อจำกัดเรื่องเวลา บางทีวางหลักสูตร เจอกัน10 วัน เป็นกิจกรรมทั้งหมดเลย ไม่ได้มี assessment ให้ไปค้น เพราะถ้าทำเต็มที่มันจะเยอะ รู้สึกว่าต้องอยู่ด้วยกัน ต้อง 2-3 เดือน
ตอนตัวเองอยู่เชียงราย เคยมีความคิดว่าอยู่เชียงรายด้วยกัน เป็นวิทยาเขตเสม เชียงราย ทำกิจกรรม มีเวลา มีความต่อเนื่องพอควร ในเงื่อนไขที่จำกัด เสมจัดเยอะมาก เป็นข้อจำกัดว่าเยอะจนไม่รู้ว่าอะไรลงลึก ได้หลักการขั้นต้น เหมือนเขาอยากได้ทุกมิติ
บางทีกระบวนการเรียนรู้ไม่ได้หลายมิติ เป็นเรื่องจิตใจ ความรู้ข้างนอก เรียนรู้สังคม คิดถึงการเรียนรู้แบบเดิม โบราณ ต้องไปอยู่กับอาจารย์ ลูกศิษย์อาจารย์ชาต้องไปอยู่กับอาจารย์ชา จะเรียนรู้จากเชียงราย ก็ต้องไปอยู่ที่เชียงราย เชียงรายก็มีความรู้ด้านอื่น ไทเก็กก็เข้าถึงนิเวศน์แนวลึกได้ ต้องมีประตูหลายทาง แต่ไปเข้าประตูเดียวหมด แล้วผู้เรียนจะเป็นคนเลือกเอง เวลาเข้าไป แล้วเขาอยากไปไหนต่อ อันนี้เป็นคล้ายหลักโฮมสคูลด้วย โฮมสคูลจะรู้เลยว่าเขาต้องการอะไร แล้วจะเพิ่มการเรียนรู้ของเขา แต่จัดเป็นโปรแกรมแบบนี้ผมไม่แน่ใจ มันอาจจะดีตรงที่เป็นการจัดที่เราคุ้นเคย ต้องจัดเยอะๆจะได้เห็นจิกซอว์ทุกตัว บางทีจากจุดนึงอาจโยงไปได้ อันนี้น่าจะเสนอถึงเสม เป็นอีกรูปแบบนึงของกระบวนการเรียนรู้ ไปอยู่ที่เลย มีความต่อเนื่องพอควร
การประเมินผล
· วิธีการประเมิน
ใช้เกณฑ์ที่ดูว่าสิ่งที่เขาได้รับคืออะไร และมีผลต่อการดำเนินชีวิตอย่างไร ซึ่งมันอาจตอบ
ได้ยากเพราะมันกลายเป็นวิธีในไร้จิตสำนึกไป แต่คิดว่าเป็นคำถามที่ควรจะถามอย่างยิ่ง
การประเมิน คำว่าเกณฑ์ ถ้าเราตั้งคำถามแบบนี้มันจะปิดคำถามอื่นๆหรือเปล่า พอบอกว่ามีเกณฑ์ เพราะรู้สึกคำว่าเกณฑ์มันมีมาตรฐาน แต่ถ้าเราใช้คำถามเปิดธรรมดา แล้วให้ผู้เรียนให้ความหมายเองว่าเขาเติบโตอย่างไร เปลี่ยนแปลงอย่างไร มากน้อยขนาดไหน ที่นาโรปะใช้กระบวนการแบบนี้ เพื่อนด้วยมองเราอย่างไร เห็นการเปลี่ยนแปลงเราไหม เราประเมินครูอย่างไร ที่นาโรปะ เราประเมินตัวเองอย่างไร คนอื่นเห็นเราอย่างไร เราประเมินครูอย่างไร ครูเห็นเราอย่างไร เราดูครูอย่างไร ตัดอำนาจทั้งหมด โอเคครูใส่เกรด แต่เราให้ตัวเองเท่าไร แล้วครู โอเคเห็นด้วย มันฝึกระบบซื่อสัตย์ บางคนบอกผมได้ 4 เพราะผมจะไปศึกษาต่อ ก็ต้องให้ตามนั้น แต่ครูว่า เอน่าจะได้มากกว่านั้น การประเมินเพื่อได้grading ขึ้นมา ระบบที่เป็นอยู่ไม่เปิดโอกาสให้คนเรียนได้ตีความเอง เขาอาจได้อย่างที่เราไม่รู้ก็ได้ แต่อย่างน้อย เขาน่าได้มีโอกาสได้แสดงระดับการเรียนรู้
· ตัวชี้วัด
พูดถึงนิเวศน์วิทยาแนวลึกแบบชาวบ้านๆ ซึ่งเป็นกระบวนการยาวนานเพราะเป็นวัฒนธรรมที่สั่งสมกันมา ทั้งจากระบบคิด วัฒนธรรมความเชื่อที่ผลิตซ้ำกันมาร้อยๆปี ถึงแม้มีการตีความใหม่ แต่จะอยู่บนเงื่อนไขการปรากฏจริงเช่นการผลิตของเขา การทำมาหากิน สัมพันธ์กับป่ายังไง จะมีคล้ายสถาบันทางสังคมมากำกับอย่างเช่นมีผู้พิธีกรรม มีพิธีกรรมที่เป็นวาระประจำปีเช่นเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จมีพิธีทำบุญข้าวใหม่ ดังนั้นจึงเป็นกระบวนการร้อยรัดเป็นระบบยาวนานพอควร ดังนั้นการให้ความหมาย การตีความจากพิธีกรรมเป็นการตีความจากระบบชุมชนร่วมกัน แต่กระบวนการแบบนั้นถ้าเราจัดขึ้นมา มันค่อนข้างยาก เพราะในความเป็นจริงแม้เรามีกระบวนฝึกอบรม พยายามจัดเงื่อนไข เช่นไปตีความธรรมชาติ เดินดู แล้วมา dialog กัน โอเค แต่ละคนให้ความหมายในเชิงปัจเจก ออกมาจากกระบวนการเหล่านี้ ถ้าเราคิดว่ากว่าชาวบ้านจะสร้างระบบคิด ความรู้เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ลึกซึ้งมหาศาลและต่อเนื่องยาวนาน แต่ชีวิตคนสัมพันธ์กับเรื่องอื่น วุ่นวายซะมาก ปีนึงเราอาจมาอบรมสักไม่รู้กี่เดือน เสมกำหนดมาเท่าไหร่ แล้วไปฝ่าฟันกับเรื่องอื่น แล้วอาจไปสู่หลักสูตรอื่นๆที่อาจไม่ได้เป็นกระบวนการต่อเนื่องเท่าไหร่ แล้วสิ่งที่เราสร้างสรรค์กระบวนการจะได้ผลมากเท่าไหร่ เพราะถ้าเราเปรียบเทียบกับกระบวนการท้องถิ่น แม้ขณะมีสถาบันที่เข้มแข็งยังมีการเปลี่ยนแปลงมหาศาล กระเหรียงที่พูดเรื่องขวัญยังเอามากำกับเรื่องป่าไม่ค่อยได้ เพราะถูกบีบ ข้างในเขาก็เปลี่ยนระดับหนึ่ง ตรงนี้จะช่วย input ได้มากน้อยแค่ไหน เขาอบรมกับเรา แล้วเขาต้องฝ่าฟันข้างนอกแล้วต้องกลับมา ชาวบ้านอยู่กันอย่างนี้ ยังต้องสู้กันหนักเลย
เป็นความคิดที่ดี มีความเห็นอย่างน้อย 2 ประเด็นคือประเด็นการรับรู้ความรู้ที่สั่งสมและแฝงอยู่ในชีวิต การรับรู้พิธีกรรมคงไม่ใช่ที่เราจัดขึ้นเอง แต่เป็นการเข้าไปร่วม เข้าไปรับรู้ แค่ช่วยให้ได้สัมผัส ความคาดหวังผม เหมือนเป็นประตูเปิด ไม่คาดหวังว่าผู้เรียนจะรู้สึกนึกคิดเท่าชาวบ้านคนนึงรู้สึกนึกคิด เพราะนึกคิดไม่เหมือนกัน แต่รู้สึกร่วม เป็นไปได้ รู้สึกผูกพัน มีความสำคัญ มันมีความแตกต่างแน่นอน มีการสั่งสมกรอบคิด ระบบ filter ทางความคิดมาเยอะ ถ้าพยายามเปิดระบบการรับรู้ทางความคิด
2 ถ้าถามเรื่องความยั่งยืนในการดูแลจิตสำนึกตัวเองในการเกื้อกูลกับตัวเอง กับโลก คงเป็นโจทย์ของฝ่ายชาวบ้านด้วย เป็นโจทย์เยอะมาก แต่อย่างน้อยมันช่วยให้เกิดการตั้งคำถามและไม่พยายามหาข้อสรุปที่เร็วเรื่องอะไรเป็นปัญหา อะไรเป็นเหตุหลักเหตุเดียว อย่างน้อยทำให้ผู้เรียนมีเครื่องมือเอาไปมองความซับซ้อนของบริบท อันที่ 2 ในแง่การภาวนา ในฐานะเป็นเครื่องมือช่วยให้ดำรงอยู่กับวิกฤติกับความคิด ซึ่งอันนี้ขึ้นอยู่กับผู้เรียนเอง โดยทางอุดมคติของเสมอุดม คือการสร้างชุมชน แต่ชุมชนนั้น ต้องถามว่ามันเกิดขึ้นได้มากน้อยเพียงใด ผู้เรียนบางคนมีชุมชนของเขาอยู่แล้ว น่าจะมีระบบสนับสนุนในการอยู่อย่างที่เขาอยากอยู่อย่างที่เขาคิดว่าดี อย่างเกื้อกูล แต่ก็มีผู้เรียนแบบ บางคนเป็นชาวบ้าน ความคิดเกี่ยวกับนิเวศน์แนวลึก บางอย่างไม่ใช่แนวคิดใหม่ เป็นเรื่องที่มีอยู่แล้ว แต่มีความคิดใหม่บางประการเช่นชาวบ้านต้องการรู้เหมือนกันว่าตำแหน่งแห่งที่ของตัวเองบนโลกนี้คืออะไร เพราะข้อความที่สังคมตี ส่งให้กับเขาอยู่ตลอดเวลา เช่นเขาไปติดต่อราชการ เขาคือคนล้าหลัง ไม่พัฒนา แต่จริงๆแล้วมันมีข้อความอีกอย่างที่เขาไม่ค่อยได้ยินคือเขาเป็นครูของโลก ผมว่ากระบวนการนี้มันสนับสนุน เกื้อกูลกันและกัน
โดยสรุปแล้วเหมือนเงื่อนไขขั้นต่ำเป็นการเปิดประตูให้กับผู้เข้าร่วมกระบวนการ แต่ขึ้นอยู่กับความหลากหลายของผู้เข้าร่วมกระบวนการ แต่เขายังไม่ได้คาดหวังสมบูรณ์แบบถึงการปรับเปลี่ยนวิธีคิด ความรู้ พิธีกรรมต่างๆจากกระบวนการทั้งหมด เพราะเป็นเงื่อนไขที่เขาไปสัมพันธ์กับชุมชนข้างนอก เราเป็นแค่เงื่อนไขจุดหนึ่ง แต่ถ้าดูความสำเร็จของกระบวนการนี้ เราคงต้องดูว่ามันสามารถเปิดประตูได้ แต่ไม่ถึงขั้นการประเมินเรื่องการปรับเปลี่ยนวิกฤติ ระบบพฤติกรรม แล้วไปทำให้ชุมชนเข้มแข็งเชิงนิเวศน์แนวลึก ยังคาดหวังแบบนั้นไม่ได้
ภายในกระบวนการพี่เห็นการเปิดประตูในช่วงระยะเวลานี้บ้างไหม เปิดเยอะเปิดน้อย เปิดลักษณะไหน เป็นอย่างไรบ้าง ตอนเปิดเป็นอย่างไรบ้าง
มีหลายแบบ บางคนรู้สึกเข้าใจโลกมากขึ้น เข้าใจที่มาของตนเองมากขึ้นในแง่เป็นสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง การเดินทางยาวนาน วิวัฒนาการจากแบคทีเรีย เห็นมิติยาวนาน มีหลายพวก พวกที่ถูกฝึกให้คิดทางวิทยาศาสตร์ เราก็เอาวิทยาศาสตร์ไปตี เอาวิทยาศาสตร์ใหม่ไปกินวิทยาศาสตร์เก่าที่มองว่าโลกไม่มีชีวิต สิ่งต่างๆเป็นแค่องค์ประกอบทางเคมี ชีววิทยาศาสตร์ มันรู้สึกว่าโลกมีชีวิตจริงๆ โลกไม่ใช่แค่ห้องใหญ่ๆที่มาอยู่กัน แต่ห้องมันมีชีวิต จริงๆคนที่มาเข้าเสมอุดมต่อเนื่องจริงๆมีไม่เยอะ มีพระ 2-3 รูป
· ผลที่เกิดขึ้น
เคยจัดให้กลุ่มชาวบ้านแท้ๆไหมค่ะ
ที่กาญจนบุรีไง ชาวบ้านมาเยอะเลย 7-8 คน ตอนนั้นมา ไม่มีผู้หญิงเลย แต่มีทางในเมือง
จัดผสม แต่ชาวบ้านมาเยอะหน่อย ตอนนั้นแปลก ไม่พยายามใช้คำพวกนี้เลย นิเวศน์แนวลึก ตอนนั้นใช้แนวตื้นก่อน เปิดพื้นที่กว้างๆ ให้เขาแสดงออก มีช่างต้อ แกบอกไปประชุม สัมมนาได้แต่นั่งฟัง รู้สึกว่าเขาคงพูดไม่ได้ แต่เขาชอบฟัง มานี่ก็อยากจะฟัง แต่เขารู้สึกมานี่ปลอดภัยที่จะพูด เขาก็พูดออกมา
บอกรู้สึกมีความสุข สนุก วงอื่นจะคนเยอะ การจัดนั่งฟังบรรยาย ฟังนักวิชาการ หรือพวกเดียวกันที่เป็นปราชญ์ชาวบ้าน ตัวเองเป็นแค่ชาวบ้าน
กระบวนการที่ทำให้เขารู้สึกปลอดภัยเป็นไง
เป็น dialog นำเสนอกฎเกณฑ์ร่วมกัน เช่นพูดเปิ่นๆก็ได้ใครจะพูดอะไรก็ได้ ไม่ต้องมีความสำเร็จรูปทางความคิด ฟังกันเยอะๆ ใช้เวลาเตรียมเครื่องปรุงปรับความรู้สึกรู้จักกันที่นิด ระดับการฟังจะมีมากขึ้น ฟังเรื่องที่ยากๆ ฟังตรงข้ามความคิดมากขึ้น การฟังจะทำให้คนที่เห็นคุณค่าความเงียบตัวเอง ไม่ได้วิ่งตามหลังคนที่พูด คนที่เงียบเริ่มเห็นคุณค่าของความเงียบตัวเอง จะเริ่มพูด คนที่เงียบ รู้สึกด้อย แหย่ รู้สึกเงียบได้ ผมจะเชิญชวนว่าบางครั้งเวลานั่งคุย เงียบบ้างก็ได้ ไม่ต้องฆาตกรรมความเงียบ ความเงียบไม่ได้หมายถึงจะการหยุด จะตาย การให้ความเงียบ ตราบใดที่รู้สึกอึดอัดแสดงว่าเราให้ความหมายความเงียบแบบเดิมว่ามันไม่มีอะไร จริงๆความเงียบเป็นการโยนความรับผิดชอบกลับไปที่ทุกคนว่าใครจะพูดต่อไป แล้วไม่มีการเชิญชวนว่าใครจะเป็นคนต่อไป ผมก็ไม่เชิญชวนใคร
· อุปสรรคในการประเมิน
ในฐานะทีมประเมินยากที่สุดเพราะไม่ได้อยู่ในกระบวนการเรียนรู้ มาตามเก็บทีหลัง มันเลื่อนหายไปตามความทรงจำ ใส่ไว้ในข้อจำกัดการทำงานแบบนี้ด้วยว่าการมาตามเก็บทีหลัง บางทีการถอดรหัสพิธีกรรมจากการบอกเล่าย้อนหลังมันลำบาก ได้ไม่หมด ในกังฟูต้องมีเรียกว่าการอ่านแรง การประเมินแรงของอีกคนมันต้องนัวเนีย เป็นส่วนหนึ่งในนั้น เป็นส่วนหนึ่งของการผลิตความรู้
อีกกระบวนการนึงที่ค่อนข้างส่งเสริมให้ผู้เรียนใคร่ครวญ พออยู่กับชุมชน 2-3 วัน บางทีมากกว่านั้น 4-5 วัน ก็มีช่วงเวลาของการอยู่วิเวก อยู่คนเดียวกับธรรมชาติ ปลีกวิเวก 1 วัน 1 คืนอย่างน้อย มีการอดอาหาร กินน้ำ ซึ่งเป็นกระบวนการเรียนรู้เข้มข้นอย่างนึงเพื่อเพิ่มกระบวนการใคร่ครวญอย่างลึกซึ้ง ภาษาพุทธเรียกว่าโยนิโสมนัสิการ เข้าไปสัมผัสแล้วต้องมีเวลาในการใคร่ครวญอย่างลึกซึ้ง ถึงความสัมพันธ์ของตัวเอง มีเรื่องเกิดขึ้นเยอะแยะไปหมด ช่วงเวลาที่อยู่คนเดียว บางทีคิดถึงชีวิตตัวเองเกิดมาทำไม บางทีมาเห็น มาเรียนรู้อย่างนี้แล้ว มันต้องปรับชีวิตอย่างไร เป็นการภาวนา บ่มเพาะ รับพลังจากธรรมชาติ ให้มันคลี่คลาย และการสืบค้นจะลงลึก และค่อยให้เห็นจังหวะและเวลา บทบาทตัวเองว่าจะวางตัวเองไว้ตรงไหนของชีวิตในสิ่งที่เกิดขึ้น และพอออกมาจะนั่งคุยแลกเปลี่ยน มันจะมีระดับของการเรียนรู้ อยู่กับชุมชน กับตัวเอง กับกลุ่ม เวลาอยู่กับกลุ่ม จะทำ dialog แต่ก่อนเขาเรียกเป็นสภา สภาแห่งการรับฟัง เรื่องสิ่งที่เรียนรู้ข้างในของแต่ละคนโดยไม่ต้องมีข้อสรุป เพราะแต่ละคนจะมีคำตอบ มีการสรุปเอง เพราะการลำเลียงความเข้าใจของตนเองออกมามันจะฝึกให้ได้พูด ได้คิดให้ชัดขึ้น บนพื้นฐานว่ามันคงลำเลียงออกมาไม่ได้หมด มีความรู้บางอย่างที่เป็นความรู้แฝงเร้นที่ไม่สามารถพูดออกมาได้
ฟังเหมือนหลักการคือกระบวนการให้เราอยู่กับตัวเองมากที่สุด ภายใต้บรรยากาศที่มีคนอื่น ที่ให้เราตกผลึกทางความคิดใช่ไหมค่ะ
ใช่ ให้ความคิดออกมาโดยไม่จำเป็นต้องไปคิดกับมัน ให้จิตไร้สำนึกซึ่งมี97% ภูมิปัญญาที่เรามี ไอ้ที่คิดๆ คิดได้ทั้งหมดคือ 3 % แต่จิตใต้สำนึกจะมาตอนเรารู้สึกผ่อนคลาย อาบน้ำ อยู่คนเดียว หรือเล่นดนตรี คลื่นอัลฟ่าช่วยทำให้จิตไร้สำนึกผุดพรายขึ้นมา โผล่ปรากฏ การอยู่คนเดียวเป็นกระบวนการหนึ่งที่ช่วยให้
จุดเด่นของกระบวนการ
กระบวนการเรียนรู้ ความรู้ต้องมาจากธรรมชาติ มาจากตัวเขาเอง ผมไม่ใช้คำว่าวิทยากร เพราะวิทยากรมีความหมายกรอบคิดอยู่ที่ว่าผู้ให้ความรู้ แต่ถ้าเรามองว่าเราเป็นผู้เอื้อกระบวนการเราน่าเป็นกระบวนกร และทุกคนเป็นวิทยากร ถ้ามีคนเรียกเราว่าวิทยากร ต้องเรียกตัวเองว่าวิทยากร ทุกคนเป็นวิทยากรด้วย คือความรู้เกิดจากทุกคนช่วยกันสร้างขึ้นมา
ที่นี้กระบวนการที่เข้าไปเอื้อให้เกิดกระบวนกร มี pattern ไหมค่ะ ว่าต้องให้เกิดอย่างนี้ กับอย่างนี้ หรือใช้กระบวนการภายใต้เงื่อนไขอย่างไรบ้าง
แต่ละกระบวนการก็แล้วแต่กลุ่ม แต่โดยทั่วไปต้องสร้างพื้นที่ในกลุ่มของการรู้จัก วางใจ ปลอดภัย มิตรไมตรี เป็นประตูเข้าของการเรียนรู้ เพราะการจะไปสู่ดินแดนของความไม่รู้มันไม่ได้อยู่ที่อื่น มันอยู่ในตัวเองแหละ ของความรู้ใหม่ๆ เพียงแต่เรามีกรอบบล๊อคมันไว้ เพราะฉะนั้นต้องมีความไว้วางใจสูงเพื่อกล้าสืบค้น กล้าท้าทายกรอบคิดของตัวเอง กล้าท้าทายสมมุติฐานเดิมๆที่ถูกฝังลึกเช่นความคิดเรื่องผู้หญิงเป็นแบบนั้น ผู้ชายเป็นอย่างนี้ ซึ่งบางอย่างเข้าไปจี้จุดมากๆ บางคนเป็นคนจีน เข้าไปดูซิว่ารากคนจีนเป็นอย่างไร ถูกฝังความอายไว้ในสมอง หรือโดยบุคลิกภาพ มีประตูเข้า เมื่อไปสู่กระบวนการเรียนรู้ ส่วนกลางมีกระบวนการที่หลากหลาย ต้องฝึกการรับฟังที่ลึกซึ้ง ซึ่งเชื่อมโยงกับการปรับคลื่นความคิดตัวเองให้ช้าลง เพื่อให้เห็นชัดถึงความคิดเดิม และความคิดใหม่
อุปสรรคในการเรียนรู้
· ระยะเวลา /ความต่อเนื่อง / ความหลากหลายของผู้เรียน
เรื่องข้อจำกัดความต่อเนื่องของผู้เรียนและความหลากหลาย ผู้เรียนที่มาเรียน เจอกันบ่อยๆมีไม่มีกี่คน หลายคนเป็นพระ ซึ่งเป็นอาชีพที่มีเวลาเยอะที่สุด ผมรู้สึกว่ามันยังไม่ให้ภาพละเอียดมาก คิดว่าเขาได้อย่างที่เราไม่คาดหวังว่าต้องได้ อย่างที่พูดไปทั้งหมดตั้งแต่ต้น อย่างเรื่องวิกฤตินิเวศน์วิทยายังไม่ได้ให้เขาลงลึกมาก จากงานศึกษาทางวิชาการก็ดี มีข้อจำกัดเรื่องเวลา บางทีวางหลักสูตร เจอกัน10 วัน เป็นกิจกรรมทั้งหมดเลย ไม่ได้มี assessment ให้ไปค้น เพราะถ้าทำเต็มที่มันจะเยอะ รู้สึกว่าต้องอยู่ด้วยกัน ต้อง 2-3 เดือน
ตอนตัวเองอยู่เชียงราย เคยมีความคิดว่าอยู่เชียงรายด้วยกัน เป็นวิทยาเขตเสม เชียงราย ทำกิจกรรม มีเวลา มีความต่อเนื่องพอควร ในเงื่อนไขที่จำกัด เสมจัดเยอะมาก เป็นข้อจำกัดว่าเยอะจนไม่รู้ว่าอะไรลงลึก ได้หลักการขั้นต้น เหมือนเขาอยากได้ทุกมิติ
บางทีกระบวนการเรียนรู้ไม่ได้หลายมิติ เป็นเรื่องจิตใจ ความรู้ข้างนอก เรียนรู้สังคม คิดถึงการเรียนรู้แบบเดิม โบราณ ต้องไปอยู่กับอาจารย์ ลูกศิษย์อาจารย์ชาต้องไปอยู่กับอาจารย์ชา จะเรียนรู้จากเชียงราย ก็ต้องไปอยู่ที่เชียงราย เชียงรายก็มีความรู้ด้านอื่น ไทเก็กก็เข้าถึงนิเวศน์แนวลึกได้ ต้องมีประตูหลายทาง แต่ไปเข้าประตูเดียวหมด แล้วผู้เรียนจะเป็นคนเลือกเอง เวลาเข้าไป แล้วเขาอยากไปไหนต่อ อันนี้เป็นคล้ายหลักโฮมสคูลด้วย โฮมสคูลจะรู้เลยว่าเขาต้องการอะไร แล้วจะเพิ่มการเรียนรู้ของเขา แต่จัดเป็นโปรแกรมแบบนี้ผมไม่แน่ใจ มันอาจจะดีตรงที่เป็นการจัดที่เราคุ้นเคย ต้องจัดเยอะๆจะได้เห็นจิกซอว์ทุกตัว บางทีจากจุดนึงอาจโยงไปได้ อันนี้น่าจะเสนอถึงเสม เป็นอีกรูปแบบนึงของกระบวนการเรียนรู้ ไปอยู่ที่เลย มีความต่อเนื่องพอควร
การประเมินผล
· วิธีการประเมิน
ใช้เกณฑ์ที่ดูว่าสิ่งที่เขาได้รับคืออะไร และมีผลต่อการดำเนินชีวิตอย่างไร ซึ่งมันอาจตอบ
ได้ยากเพราะมันกลายเป็นวิธีในไร้จิตสำนึกไป แต่คิดว่าเป็นคำถามที่ควรจะถามอย่างยิ่ง
การประเมิน คำว่าเกณฑ์ ถ้าเราตั้งคำถามแบบนี้มันจะปิดคำถามอื่นๆหรือเปล่า พอบอกว่ามีเกณฑ์ เพราะรู้สึกคำว่าเกณฑ์มันมีมาตรฐาน แต่ถ้าเราใช้คำถามเปิดธรรมดา แล้วให้ผู้เรียนให้ความหมายเองว่าเขาเติบโตอย่างไร เปลี่ยนแปลงอย่างไร มากน้อยขนาดไหน ที่นาโรปะใช้กระบวนการแบบนี้ เพื่อนด้วยมองเราอย่างไร เห็นการเปลี่ยนแปลงเราไหม เราประเมินครูอย่างไร ที่นาโรปะ เราประเมินตัวเองอย่างไร คนอื่นเห็นเราอย่างไร เราประเมินครูอย่างไร ครูเห็นเราอย่างไร เราดูครูอย่างไร ตัดอำนาจทั้งหมด โอเคครูใส่เกรด แต่เราให้ตัวเองเท่าไร แล้วครู โอเคเห็นด้วย มันฝึกระบบซื่อสัตย์ บางคนบอกผมได้ 4 เพราะผมจะไปศึกษาต่อ ก็ต้องให้ตามนั้น แต่ครูว่า เอน่าจะได้มากกว่านั้น การประเมินเพื่อได้grading ขึ้นมา ระบบที่เป็นอยู่ไม่เปิดโอกาสให้คนเรียนได้ตีความเอง เขาอาจได้อย่างที่เราไม่รู้ก็ได้ แต่อย่างน้อย เขาน่าได้มีโอกาสได้แสดงระดับการเรียนรู้
· ตัวชี้วัด
พูดถึงนิเวศน์วิทยาแนวลึกแบบชาวบ้านๆ ซึ่งเป็นกระบวนการยาวนานเพราะเป็นวัฒนธรรมที่สั่งสมกันมา ทั้งจากระบบคิด วัฒนธรรมความเชื่อที่ผลิตซ้ำกันมาร้อยๆปี ถึงแม้มีการตีความใหม่ แต่จะอยู่บนเงื่อนไขการปรากฏจริงเช่นการผลิตของเขา การทำมาหากิน สัมพันธ์กับป่ายังไง จะมีคล้ายสถาบันทางสังคมมากำกับอย่างเช่นมีผู้พิธีกรรม มีพิธีกรรมที่เป็นวาระประจำปีเช่นเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จมีพิธีทำบุญข้าวใหม่ ดังนั้นจึงเป็นกระบวนการร้อยรัดเป็นระบบยาวนานพอควร ดังนั้นการให้ความหมาย การตีความจากพิธีกรรมเป็นการตีความจากระบบชุมชนร่วมกัน แต่กระบวนการแบบนั้นถ้าเราจัดขึ้นมา มันค่อนข้างยาก เพราะในความเป็นจริงแม้เรามีกระบวนฝึกอบรม พยายามจัดเงื่อนไข เช่นไปตีความธรรมชาติ เดินดู แล้วมา dialog กัน โอเค แต่ละคนให้ความหมายในเชิงปัจเจก ออกมาจากกระบวนการเหล่านี้ ถ้าเราคิดว่ากว่าชาวบ้านจะสร้างระบบคิด ความรู้เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ลึกซึ้งมหาศาลและต่อเนื่องยาวนาน แต่ชีวิตคนสัมพันธ์กับเรื่องอื่น วุ่นวายซะมาก ปีนึงเราอาจมาอบรมสักไม่รู้กี่เดือน เสมกำหนดมาเท่าไหร่ แล้วไปฝ่าฟันกับเรื่องอื่น แล้วอาจไปสู่หลักสูตรอื่นๆที่อาจไม่ได้เป็นกระบวนการต่อเนื่องเท่าไหร่ แล้วสิ่งที่เราสร้างสรรค์กระบวนการจะได้ผลมากเท่าไหร่ เพราะถ้าเราเปรียบเทียบกับกระบวนการท้องถิ่น แม้ขณะมีสถาบันที่เข้มแข็งยังมีการเปลี่ยนแปลงมหาศาล กระเหรียงที่พูดเรื่องขวัญยังเอามากำกับเรื่องป่าไม่ค่อยได้ เพราะถูกบีบ ข้างในเขาก็เปลี่ยนระดับหนึ่ง ตรงนี้จะช่วย input ได้มากน้อยแค่ไหน เขาอบรมกับเรา แล้วเขาต้องฝ่าฟันข้างนอกแล้วต้องกลับมา ชาวบ้านอยู่กันอย่างนี้ ยังต้องสู้กันหนักเลย
เป็นความคิดที่ดี มีความเห็นอย่างน้อย 2 ประเด็นคือประเด็นการรับรู้ความรู้ที่สั่งสมและแฝงอยู่ในชีวิต การรับรู้พิธีกรรมคงไม่ใช่ที่เราจัดขึ้นเอง แต่เป็นการเข้าไปร่วม เข้าไปรับรู้ แค่ช่วยให้ได้สัมผัส ความคาดหวังผม เหมือนเป็นประตูเปิด ไม่คาดหวังว่าผู้เรียนจะรู้สึกนึกคิดเท่าชาวบ้านคนนึงรู้สึกนึกคิด เพราะนึกคิดไม่เหมือนกัน แต่รู้สึกร่วม เป็นไปได้ รู้สึกผูกพัน มีความสำคัญ มันมีความแตกต่างแน่นอน มีการสั่งสมกรอบคิด ระบบ filter ทางความคิดมาเยอะ ถ้าพยายามเปิดระบบการรับรู้ทางความคิด
2 ถ้าถามเรื่องความยั่งยืนในการดูแลจิตสำนึกตัวเองในการเกื้อกูลกับตัวเอง กับโลก คงเป็นโจทย์ของฝ่ายชาวบ้านด้วย เป็นโจทย์เยอะมาก แต่อย่างน้อยมันช่วยให้เกิดการตั้งคำถามและไม่พยายามหาข้อสรุปที่เร็วเรื่องอะไรเป็นปัญหา อะไรเป็นเหตุหลักเหตุเดียว อย่างน้อยทำให้ผู้เรียนมีเครื่องมือเอาไปมองความซับซ้อนของบริบท อันที่ 2 ในแง่การภาวนา ในฐานะเป็นเครื่องมือช่วยให้ดำรงอยู่กับวิกฤติกับความคิด ซึ่งอันนี้ขึ้นอยู่กับผู้เรียนเอง โดยทางอุดมคติของเสมอุดม คือการสร้างชุมชน แต่ชุมชนนั้น ต้องถามว่ามันเกิดขึ้นได้มากน้อยเพียงใด ผู้เรียนบางคนมีชุมชนของเขาอยู่แล้ว น่าจะมีระบบสนับสนุนในการอยู่อย่างที่เขาอยากอยู่อย่างที่เขาคิดว่าดี อย่างเกื้อกูล แต่ก็มีผู้เรียนแบบ บางคนเป็นชาวบ้าน ความคิดเกี่ยวกับนิเวศน์แนวลึก บางอย่างไม่ใช่แนวคิดใหม่ เป็นเรื่องที่มีอยู่แล้ว แต่มีความคิดใหม่บางประการเช่นชาวบ้านต้องการรู้เหมือนกันว่าตำแหน่งแห่งที่ของตัวเองบนโลกนี้คืออะไร เพราะข้อความที่สังคมตี ส่งให้กับเขาอยู่ตลอดเวลา เช่นเขาไปติดต่อราชการ เขาคือคนล้าหลัง ไม่พัฒนา แต่จริงๆแล้วมันมีข้อความอีกอย่างที่เขาไม่ค่อยได้ยินคือเขาเป็นครูของโลก ผมว่ากระบวนการนี้มันสนับสนุน เกื้อกูลกันและกัน
โดยสรุปแล้วเหมือนเงื่อนไขขั้นต่ำเป็นการเปิดประตูให้กับผู้เข้าร่วมกระบวนการ แต่ขึ้นอยู่กับความหลากหลายของผู้เข้าร่วมกระบวนการ แต่เขายังไม่ได้คาดหวังสมบูรณ์แบบถึงการปรับเปลี่ยนวิธีคิด ความรู้ พิธีกรรมต่างๆจากกระบวนการทั้งหมด เพราะเป็นเงื่อนไขที่เขาไปสัมพันธ์กับชุมชนข้างนอก เราเป็นแค่เงื่อนไขจุดหนึ่ง แต่ถ้าดูความสำเร็จของกระบวนการนี้ เราคงต้องดูว่ามันสามารถเปิดประตูได้ แต่ไม่ถึงขั้นการประเมินเรื่องการปรับเปลี่ยนวิกฤติ ระบบพฤติกรรม แล้วไปทำให้ชุมชนเข้มแข็งเชิงนิเวศน์แนวลึก ยังคาดหวังแบบนั้นไม่ได้
ภายในกระบวนการพี่เห็นการเปิดประตูในช่วงระยะเวลานี้บ้างไหม เปิดเยอะเปิดน้อย เปิดลักษณะไหน เป็นอย่างไรบ้าง ตอนเปิดเป็นอย่างไรบ้าง
มีหลายแบบ บางคนรู้สึกเข้าใจโลกมากขึ้น เข้าใจที่มาของตนเองมากขึ้นในแง่เป็นสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง การเดินทางยาวนาน วิวัฒนาการจากแบคทีเรีย เห็นมิติยาวนาน มีหลายพวก พวกที่ถูกฝึกให้คิดทางวิทยาศาสตร์ เราก็เอาวิทยาศาสตร์ไปตี เอาวิทยาศาสตร์ใหม่ไปกินวิทยาศาสตร์เก่าที่มองว่าโลกไม่มีชีวิต สิ่งต่างๆเป็นแค่องค์ประกอบทางเคมี ชีววิทยาศาสตร์ มันรู้สึกว่าโลกมีชีวิตจริงๆ โลกไม่ใช่แค่ห้องใหญ่ๆที่มาอยู่กัน แต่ห้องมันมีชีวิต จริงๆคนที่มาเข้าเสมอุดมต่อเนื่องจริงๆมีไม่เยอะ มีพระ 2-3 รูป
· ผลที่เกิดขึ้น
เคยจัดให้กลุ่มชาวบ้านแท้ๆไหมค่ะ
ที่กาญจนบุรีไง ชาวบ้านมาเยอะเลย 7-8 คน ตอนนั้นมา ไม่มีผู้หญิงเลย แต่มีทางในเมือง
จัดผสม แต่ชาวบ้านมาเยอะหน่อย ตอนนั้นแปลก ไม่พยายามใช้คำพวกนี้เลย นิเวศน์แนวลึก ตอนนั้นใช้แนวตื้นก่อน เปิดพื้นที่กว้างๆ ให้เขาแสดงออก มีช่างต้อ แกบอกไปประชุม สัมมนาได้แต่นั่งฟัง รู้สึกว่าเขาคงพูดไม่ได้ แต่เขาชอบฟัง มานี่ก็อยากจะฟัง แต่เขารู้สึกมานี่ปลอดภัยที่จะพูด เขาก็พูดออกมา
บอกรู้สึกมีความสุข สนุก วงอื่นจะคนเยอะ การจัดนั่งฟังบรรยาย ฟังนักวิชาการ หรือพวกเดียวกันที่เป็นปราชญ์ชาวบ้าน ตัวเองเป็นแค่ชาวบ้าน
กระบวนการที่ทำให้เขารู้สึกปลอดภัยเป็นไง
เป็น dialog นำเสนอกฎเกณฑ์ร่วมกัน เช่นพูดเปิ่นๆก็ได้ใครจะพูดอะไรก็ได้ ไม่ต้องมีความสำเร็จรูปทางความคิด ฟังกันเยอะๆ ใช้เวลาเตรียมเครื่องปรุงปรับความรู้สึกรู้จักกันที่นิด ระดับการฟังจะมีมากขึ้น ฟังเรื่องที่ยากๆ ฟังตรงข้ามความคิดมากขึ้น การฟังจะทำให้คนที่เห็นคุณค่าความเงียบตัวเอง ไม่ได้วิ่งตามหลังคนที่พูด คนที่เงียบเริ่มเห็นคุณค่าของความเงียบตัวเอง จะเริ่มพูด คนที่เงียบ รู้สึกด้อย แหย่ รู้สึกเงียบได้ ผมจะเชิญชวนว่าบางครั้งเวลานั่งคุย เงียบบ้างก็ได้ ไม่ต้องฆาตกรรมความเงียบ ความเงียบไม่ได้หมายถึงจะการหยุด จะตาย การให้ความเงียบ ตราบใดที่รู้สึกอึดอัดแสดงว่าเราให้ความหมายความเงียบแบบเดิมว่ามันไม่มีอะไร จริงๆความเงียบเป็นการโยนความรับผิดชอบกลับไปที่ทุกคนว่าใครจะพูดต่อไป แล้วไม่มีการเชิญชวนว่าใครจะเป็นคนต่อไป ผมก็ไม่เชิญชวนใคร
· อุปสรรคในการประเมิน
ในฐานะทีมประเมินยากที่สุดเพราะไม่ได้อยู่ในกระบวนการเรียนรู้ มาตามเก็บทีหลัง มันเลื่อนหายไปตามความทรงจำ ใส่ไว้ในข้อจำกัดการทำงานแบบนี้ด้วยว่าการมาตามเก็บทีหลัง บางทีการถอดรหัสพิธีกรรมจากการบอกเล่าย้อนหลังมันลำบาก ได้ไม่หมด ในกังฟูต้องมีเรียกว่าการอ่านแรง การประเมินแรงของอีกคนมันต้องนัวเนีย เป็นส่วนหนึ่งในนั้น เป็นส่วนหนึ่งของการผลิตความรู้