ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: ตุลาคม 08, 2010, 12:49:33 am »

 :13: อนุโมทนาครับพี่เล็ก^^
ข้อความโดย: lek
« เมื่อ: ตุลาคม 07, 2010, 08:05:22 pm »

อนุโมทนาสาธุๆๆ
ข้อความโดย: theerada
« เมื่อ: ตุลาคม 07, 2010, 07:34:52 pm »

อนุโมทนาบุญด้วยนะคะ
 
อ่านแล้วได้แง่คิด แนวทางการปฏิบัติมากมายเลยทีเดียว
 
ขอบคุณค่ะ ^^ :07:
ข้อความโดย: lek
« เมื่อ: ตุลาคม 07, 2010, 06:44:43 pm »

ในทำนองเดียวกัน สมัยที่อยากมีคู่มักหาคู่ไม่ค่อยเจอ พอไม่อยากได้คู่แล้ว
พัฒนาใจจนมีความสุขยิ่งใหญ่ คู่ทั้งหลายทุกประเภท จะประดังกันเข้ามาล้อมรอบ
ซึ่งมีทั้งมาดี และมาไม่ดี

มาดี คือมาตามอำนาจบุญ เมื่อเราพัฒนาใจอย่างนี้ ย่อมเกิดบุญบารมีเพิ่มขึ้น
อำนาจบุญย่อมเหนี่ยวนำให้ผู้ที่เคยทำบุญกับเราเข้ามาหา มารู้จัก

มาไม่ดี คือ เมื่อเรามีบุญใหญ่แล้ว เจ้าหนี้กรรมชั่วทั้งหลายก็จะเข้ามาทวง
เพราะตอนนี้มีบุญพอที่จะใช้หนี้ได้แล้ว เจ้าหนี้จะรุมกันทวงวิบากกรรมชั่วคืน

มาร้ายอีกประการหนึ่ง คือ พวกกามเทพ ได้แก่เทพที่มีมิจฉาทิฐิเห็นว่า
กามเป็นของดี มักชักชวนยั่วยวนผู้คนทั้งหลายให้เสพกามกัน พอใครจะละกาม
ก็จะดลใจเพศตรงข้ามมาชวน มายวนยั่วให้เลิกล้มความตั้งใจที่จะละกามเสีย
และชวนกลับไป เสพกามใหม่ดังเดิม

ใครต้องการฝึกจิตให้ยิ่งใหญ่จริง ก็เตรียมพร้อมได้เลยว่าจะเจอสิ่งเหล่านี้แน่

คราวนี้จะต้องตัดสินใจแล้วว่า จะเดินหน้าหรือจะถอยหลัง

ถ้าจะถอยกลับ ก็ต้องไปเรียนรู้ทุกข์อีกครั้ง แล้วเริ่มพัฒนาตนขึ้นมาใหม่

แต่ถ้าจะเดินหน้า ก็ปฏิบัติตามดังต่อไปนี้

ก่อนอื่นเราต้องแยกให้ได้ก่อนว่า ใครคือคู่แท้ ใครคือคู่เทียม และในบรรดาคู่แท้นั้น
ใครเป็นคู่ประเภทไหน คู่กัด คู่กาม คู่กรรม คู่ธรรม หรือคู่บารมี

ถ้าเป็นคู่เทียม หรือบุคคลที่เป็นมาร กามเทพส่งมาก็ส่งกลับไปได้เลย ด้วยการวางเฉย
หรือปฏิเสธไปอย่างเหมาะสม

ถ้าเป็นคู่แท้ แต่ละประเภทก็ต้องตั้งตนที่ความสำรวม แล้ววินิจฉัยด้วยโยนิโสมนสิการ
ที่จะจัดสรรเขาไว้ตามฐานะอันสมควร แล้วตั้งมั่นที่จะพัฒนาจิตใจต่อไป

ในระยะนี้หากหยุดอยู่กับที่ จะถูกอำนาจความผูกพันกระชากลากพาใจให้กำเริบเตลิดไปในคู่ได้
ต้องก้มหน้าก้มตาก้าวไปในพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง บางคนอาจจะอยากถามว่า
ถ้าเป็นคู่กันแล้ว สำเร็จไปพร้อมกันไม่ได้หรือ

ตอบว่า อาจได้อยู่ แต่ทั้งคู่ต้องฝึกจิต ปฏิบัติธรรมด้วยกัน และที่สำคัญต้องแยกกันปฏิบัติ
เพราะหากปฏิบัติอยู่ใกล้กันเกินไป ใจจะพะวงห่วงใย ทำให้ไม่ได้เอกภาพเต็มที่
จึงไม่อาจบรรลุความบริสุทธิ์สูงสุดได้ ด้วยเหตุนี้ แม้พระมหาโพธิสัตว์ผู้ยิ่งใหญ่
ก็ต้องแยกกันปฏิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะที่ใกล้สำเร็จสภาวะสูงสุด

ด้วยเหตุนี้เจ้าชายสิทธัตถะจึงออกมหาภิเนษกรม โดยทิ้งพระชายาไว้ในพระราชวังก่อน
จนกระทั่งสำเร็จพระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว จึงเสด็จกลับมาโปรดให้พระชายาสำเร็จด้วย

หรือพระมหากัสสปะกับคู่ของท่าน แต่งงานกันแล้วตามประเพณี แต่เป็นผู้มีคุณธรรมสูงทั้งคู่
จึงมิได้เสพกามกันเลย ครั้นพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในโลก จึงชวนกันออกบวชโดยแยกกันไปปฏิบัติ
พระมหากัสสปะไปปฏิบัติในสำนักพระพุทธเจ้า ส่วนคู่ท่านไปปฏิบัติในสำนักภิกษุณี
จนกระทั่งสำเร็จอรหันต์ทั้งคู่จึงมาพบกันอีก

ดังนั้น ในช่วงสำคัญก่อนสำเร็จต้องแยกกันปฏิบัติ จิตใจจึงจะเป็นเอกภาพสมบูรณ์
พร้อมที่จะบรรลุสภาวะสูงสุด

สำหรับบุคคลทั่วไปที่ต้องการความสุขสูงสุดก็เช่นกัน อย่างไรเสียจะมีคู่หรือไม่มี
ก็ต้องยินดีที่จะเรียนรู้และดูดซับคุณค่าของการอยู่คนเดียว
จึงจะได้ประโยชน์ต่อชีวิตอย่างแท้จริง

นี่คือการเติมใจด้วยความสุขที่ยิ่งใหญ่กว่า

เมื่อเจริญเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา และแผ่จิตผสานสัมพันธ์กับธรรมชาติ
จนยิ่งใหญ่แล้ว ให้รักษาความสุขที่เกิดขึ้นในระดับนี้ให้ได้ และทำให้ยิ่งใหญ่อย่างต่อเนื่อง
นี่คือระหว่างการเดินเข้าสู่ความบริสุทธิ์

ที่สุดของความรักนั้นคือเมตตา แต่เมตตานั้นคือจุดเริ่มต้นบนหนทางแห่งการพัฒนาจิตใจ
สู่ความบริสุทธิ์เท่านั้น ยังมีหนทางให้เดินอีกมาก

ด้วยเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสสอนศีลธรรมเบื้องต้นว่า

๑. อย่าฆ่าสัตว์หรือทำร้ายชีวิตอื่นให้มีเมตตาต่อกัน
๒. อย่าลักทรัพย์ ให้มีกรุณาเกื้อกูลกัน
๓. อย่าผิดผัว ผิดเมีย หรือลูกใคร ให้มีมุทิตาต่อกัน
๔. อย่าพูดปด พูดเพ้อเจ้อ พูดหยาบคาย หรือพูดส่อเสียด ให้มีอุเบกขากัน
๕. อย่าดื่มสุราหรือของมึนเมาต่าง ๆ ให้ดำรงอยู่ด้วยสติสัมปชัญญะอันสมบูรณ์

ดังนั้น เมตตานั้นคือธรรมะเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ เมื่อเจริญเมตตาเต็มที่แล้ว
ก็จะได้เมตตาเจโตวิมุติ คือสามารถเพิกขอบเขตของจิตได้ และมีความสุขยิ่งใหญ่มาก
แต่ความสุขนี้ยังไม่ถาวร และถ้าติดอยู่ในเมตตา ปัญญาจะไม่สมบูรณ์ ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมตตาเจโตวิมุติอันบุคคลเจริญแล้วได้อย่างไร มีอะไรเป็นคติ
มีอะไรเป็นอย่างยิ่ง มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นที่สุด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเมตตาเจโตวิมุตติว่า มีสุภวิโมกข์ (เห็นอะไรดีงาม สวยงามไปหมด)
เป็นอย่างยิ่ง เพราะภิกษุยังไม่แทงตลอดวิมุติอันยิ่งยวดในธรรมวินัย ปัญญาของเธอจึงยังเป็นโลกีย์"

ดังนั้น จึงควรพักเมตตาด้วยกรุณา กรองด้วยมุทิตา กลั่นด้วยอุเบกขา
แล้วแผ่จิตผสานสัมพันธ์กับธรรมชาติ จึงจะเข้าใจธรรมชาติและมนุษย์ได้อย่างลึกซึ้ง
กว้างขวาง ครอบคลุม แต่นั่นก็ยังไม่ใช่ที่สุดแห่งอมตภาพ
ยังต้องชำระจิตให้บริสุทธิ์จึงจะมั่นคงนิรันดร

การชำระจิตให้หมดจดมั่นคง

ความบริสุทธิ์นั้นคือ ที่สุดแห่งวิวัฒนาการของทุกสิ่ง จิตใจของทุกคนเมื่อพัฒนาถึงที่สุด
ก็ย่อมเข้าสู่ความบริสุทธิ์

สิ่งใดก็ตามเมื่อเข้าถึงความบริสุทธิ์แล้วย่อมสิ้นสุดพัฒนาการเพราะไม่มีอะไรให้พัฒนาต่อไปอีกแล้ว
จึงไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ อีก เมื่อไม่มีการเปลี่ยนแปลง จะอมตะนิรันดร
ความสุขอันบริสุทธิ์จึงเป็นความสุขสถาพร อันประมาณมิได้

และนี่คือความต้องการสูงสุดของทุกชีวิต

บุคคลสามารถชำระจิตของตนให้บริสุทธิ์ได้ด้วยกุศโลบายรวบยอดทั้งสองขั้นตอนคือ

๑) อยู่เหนือความรัก
๒) ชำระจิตจากการยึดถือในสิ่งทั้งปวง

การอยู่เหนือความรัก ดังได้กล่าวมาแล้วว่า ที่สุดของความรักนั้นคือ เมตตา แต่เมตตา
เป็นเพียงจุดเริ่มต้นบนหนทางแห่งความบริสุทธิ์เท่านั้น ดังนั้น แม้เมตตาจะให้ความสุขยิ่งใหญ่เพียงใด
ก็ต้องปล่อยวาง พัฒนาจิตใจต่อไปโดยลำดับ เพื่อเข้าสู่อุเบกขา

เมื่อเรามีเมตตาอยู่นั้น หากติดสุขในเมตตา ไม่ยอมพัฒนาต่อก็จะติดสุข ติดดี
เหมือนเรายึดโปรตอน (ประจุบวก) อยู่เป็นภาวะของตน และโดยธรรมชาตินั้น
เมื่อมีโปรตอนอยู่ที่ใด อิเลคตรอนอันเป็นประจุลบจะมาจับเกาะทันที

ดังนั้นถ้าติดดีจะมีความชั่วมาเกาะอาศัย เมตตานั้นแม้ปลอดภัยระดับหนึ่ง
แต่จะยังไม่ปลอดภัยที่สุด เพราะยังเป็นที่อาศัยของความชั่วได้
ดังนั้นต้องพัฒนาเข้าสู่อุเบกขาให้ได้

เมื่อพัฒนาอุเบกขาแล้ว เหมือนจิตใจที่เป็นนิวตรอน ว่างไม่มีประจุโดยตัวเอง

แต่โดยธรรมชาตินั้นโปรตอนจะมาอยู่กับนิวตรอน โดยมีอิเลคตรอนอยู่ด้านนอก
ดังนั้นในความว่างและเป็นกลางนั้นจะมีความดีสถิตย์อยู่
โดยมีความชั่ววนเวียนอยู่ภายนอกไม่อาจเข้ามาได้

เมื่อทรงอุเบกขาได้แล้ว จากนั้นพัฒนาอุเบกขาจนถึงที่สุดก็จะได้ความว่าง
อันไร้ขอบเขตสากล ดังพระพุทธพจน์ที่ตรัสว่า

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อุเบกขาเจโตวิมุติ อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร
มีอะไรเป็นคติ มีอะไรเป็นอย่างยิ่ง มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นที่สุด

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อุเบกขาเจโตวิมุติ ว่า มีความว่างอันไร้ขอบเขต (อากิญจัญญายตนะ)
เป็นอย่างยิ่ง เพราะภิกษุนั้นยังไม่แทงตลอดวิมุติอันยิ่งยวดในธรรมวินัยนี้ ปัญญาของเธอจึงยังเป็นโลกีย์”


แต่การจะเข้าอุเบกขาให้สมบูรณ์ได้นั้น ต้องละความรัก ความชัง ความดีใจ
ความเสียใจ ให้ได้โดยสิ้นเสียก่อน จิตจึงเห็น เข้าถึงและบรรลุความไร้ ใจจึงจะเป็นกลางวางเฉยอยู่
เมื่อเฉยแล้ว ให้สำรอกความเฉยนั้นอีกโดยลำดับ เพื่อชำระอุเบกขาให้บริสุทธิ์ถึงที่สุด
ใจจะค่อย ๆ ไร้ขอบเขตมากยิ่งขึ้น จนถึงที่สุดแห่งอุเบกขาจะบรรลุความว่างสากล

ในความว่างสากลนี้นั้น ไร้ซึ่งความรัก ความชัง ความดีใจ ความเสียใจ
โดยประการทั้งปวง มีแต่ความว่างและสติบริสุทธิ์บริบูรณ์ปรากฏอยู่

แต่กระนั้นภาวะนี้ก็ยังไม่ใช่ที่สุดแห่งความบริสุทธิ์ เป็นเพียงท่ามกลางหนทาง
สู่ความบริสุทธิ์เท่านั้น ดังนั้น จึงต้องชำระจิตใจต่อไปเพื่อความสุขอันบริสุทธิ์

ชำระจิตจากการยึดถือทั้งปวง พระผู้มีพระภาคตรัสสอนธรรมอันประณีตในระดับนี้ว่า
เมื่อเข้าความว่างอันไร้ขอบเขตสากลแล้วนั้น นั่นเข้าใกล้ความบริสุทธิ์แล้ว
เพียงพิจารณาด้วยปัญญาให้แทงตลอดว่า แม้ความว่างก็ไม่เป็นตน ตนไม่มีในความว่าง
ปล่อยวาง แม้ความว่างอันไร้ขอบเขตนั้นเสียได้ จิตจึงหลุดพ้นจากการยึดมั่นถือมั่นทั้งปวง
บรรลุความเบิกบานร่าเริงอันไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งคือที่สุดแห่งความบริสุทธิ์ ดังพระพุทธวจนะที่ว่า

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย อะไรคือเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่งอรหันตมรรค

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า ความหมดจนแห่งปฏิปทา (มีศีลธรรมดังกล่าวแล้ว) เป็นเบื้องต้น

การกระทำให้มากในอุเบกขาเป็นท่ามกลาง

ความร่าเริงเป็นที่สุดแห่งอรหันตมรรค"

เมื่อเราพัฒนาจิตใจถึงเพียงนี้ก็จะมีความสุขอันบริสุทธิ์เบิกบานไร้ขอบเขตอยู่

เมื่อนั้นจะมีความรักหรือไม่มีความรัก จะมีคู่หรือไม่มีคู่ก็ไร้ความหมายเสียแล้ว

วิธีนี้เป็นวิธีที่เฉียบขาดที่สุดที่จะอยู่คนเดียวได้อย่างเป็นสุข และเป็นสุขยิ่งกว่าใครในโลก

หากแม้ยังไม่ถึงที่สุด ทุกขั้นที่พัฒนาตนมาก็ย่อมได้ความสงบสุขอันประณีตยิ่งขึ้น
ตามระดับความบริสุทธิ์ที่ตนบรรลุถึง

ความสุขนั้นจะอยู่กับความสงบเป็นสำคัญ ยิ่งสงบมากก็ยิ่งเป็นสุขมาก
เพราะความสุขมีธรรมชาติเหมือนผีเสื้อ เมื่อเราไล่จับมันจะบินหนี แต่หากเราอยู่อย่างสงบเฉย
มันจะบินมาเกาะเราอย่างนุ่มนวล

และความสงบนั้น จะขึ้นอยู่กับความบริสุทธิ์ ยิ่งบริสุทธิ์มากก็ยิ่งสงบมาก

ส่วนความบริสุทธิ์นั้นจะขึ้นอยู่กับการฝึกจิตชำระใจ ปล่อยวางการยึดถือในสิ่งทั้งปวง
แม้ความรัก ความชัง ทั้งรูปธาตุ นามธรรม เมื่อปล่อยได้หมดจริงก็ย่อมเข้าถึงความบริสุทธิ์นิรันดร์ได้

และนั่นคือที่สุดแห่งชีวิต

---โดนใจจริงๆ

บุญที่ถูกลืม

คอลัมน์ มองอย่างพุทธ

โดย พระไพศาล วิสาโล เครือข่ายพุทธิกา

\" คุณนายแก้ว\" เป็นเจ้าของโรงเรียนที่ชอบทำบุญมาก เป็นเจ้าภาพทอดผ้าป่าทอดกฐินอยู่เนืองๆ
ใครมาบอกบุญสร้างโบสถ์วิหารที่ไหน ไม่เคยปฏิเสธ เธอปลื้มปีติมากที่ถวายเงินนับแสนสร้างหอระฆัง
ถวายวัดข้างโรงเรียน

แต่เมื่อได้ทราบว่านักเรียนคนหนึ่งไม่มีเงินจ่ายค่าเล่าเรียน ค้างชำระมาสองเทอมแล้ว เธอตัดสินใจไล่
นักเรียนคนนั้นออกจากโรงเรียนทันที

\" สายใจ\" พาป้าวัย 70 และเพื่อนซึ่งมีขาพิการไปถวายภัตตาหารเช้าที่วัดแห่งหนึ่ง ซึ่งมีเจ้าอาวาส
เป็นที่ศรัทธานับถือของประชาชนทั่วประเทศ เช้าวันนั้นมีคนมาทำบุญคับคั่ง จนลานวัดแน่นขนัดไปด้วยรถ
เมื่อได้เวลาพระฉัน ญาติโยมก็พากันกลับ สายใจพาหญิงชราและเพื่อนผู้พิการเดินกระย่องกระแย่งฝ่า
แดดกล้าไปยังถนนใหญ่ เพื่อขึ้นรถประจำทางกลับบ้าน ระหว่างนั้นมีรถเก๋งหลายสิบคันแล่นผ่านไป

แต่ตลอดเส้นทางเกือบ 3 กิโลเมตร ไม่มีผู้ใจบุญคนใดรับผู้เฒ่าและคนพิการขึ้นรถเพื่อไปส่งถนนใหญ่เลย

เหตุการณ์ ทำนองนี้มิใช่เป็นเรื่องแปลกประหลาดในสังคมไทย \"ชอบทำบุญแต่ไร้น้ำใจ\" เป็น
พฤติกรรมที่พบเห็นได้ทั่วไปในหมู่ชาวพุทธ ทำให้เกิดคำถามขึ้นมาว่าคนไทยนับถือพุทธศาสนากันอย่างไรจึง
มี
พฤติกรรมแบบนี้ กันมาก เหตุใดการนับถือพุทธศาสนาจึงไม่ช่วยให้คนไทยมีน้ำใจต่อเพื่อนมนุษย์ โดย
เฉพาะผู้ที่ทุกข์ยาก การทำบุญไม่ช่วยให้คนไทยมีเมตตากรุณาต่อผู้อื่นเลยหรือ

หากสังเกตจะ พบว่าการทำบุญของคนไทยมักจะกระทำต่อสิ่งที่อยู่สูงกว่าตน เช่น พระภิกษุสงฆ์ วัดวา
อาราม พระพุทธเจ้า เป็นต้น

แต่กับสิ่งที่ถือว่าอยู่ต่ำกว่าตน เช่น คนยากจน หรือสัตว์น้อยใหญ่ เรากลับละเลยกันมาก
(ยกเว้นคนหรือสัตว์ที่ถือว่าเป็น \"พวกกู\" หรือ \"ของกู\") แม้แต่เวลาไปทำบุญที่วัด เราก็มักละเลย
สามเณรและ
แม่ชี แต่กุลีกุจอเต็มที่กับพระสงฆ์

อะไรทำให้เราชอบทำบุญกับสิ่งที่อยู่ สูงกว่าตน ใช่หรือไม่ว่าเป็นเพราะเราเชื่อว่าสิ่งสูงส่งเหล่านั้น
สามารถบันดาลความสุข หรือให้สิ่งดีๆ ที่พึงปรารถนาแก่เราได้ เช่น ถ้าทำอาหารถวายพระ บริจาคเงิน
สร้างวัดหรือพระพุทธรูป ก็จะได้รับความมั่งมีศรีสุข มีอายุ วรรณะ สุข พละ เป็นต้น หรือช่วยให้ได้ไป
เกิดในสวรรค์ มีความสุขสบายในชาติหน้า

ในทางตรงข้ามสิ่งที่อยู่ต่ำกว่าเรานั้น ไม่มีอำนาจที่จะบันดาลอะไรให้เราได้ หรือไม่ช่วยให้เราสุขสบาย
ขึ้น เราจึงไม่สนใจที่จะช่วยเหลือเผื่อแผ่ให้แก่สิ่งเหล่านั้น

นั่นแสดง ว่าที่เราทำบุญกันมากมายก็เพราะหวังประโยชน์ส่วนตัวเป็นสำคัญ ดังนั้น ยิ่งทำบุญด้วยท่าทีแบบ
นี้ ก็ยิ่งเห็นแก่ตัวมากขึ้น ผลคือจิตใจยิ่งคับแคบ ความเมตตากรุณาต่อผู้ทุกข์ยากมีแต่จะน้อยลง ไม่ต้อง
สงสัยเลยว่าการทำบุญแบบนี้กลับจะทำให้ได้บุญน้อยลง

แน่นอนว่าประโยชน์ย่อมเกิดแก่ผู้รับอยู่แล้ว เช่น หากถวายอาหาร อาหารนั้นย่อมทำให้พระสงฆ์มีกำลัง
ในการศึกษาปฏิบัติธรรมได้มากขึ้น แต่อานิสงส์ที่จะเกิดแก่ผู้ถวายนั้นย่อมไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย เพราะ
เจือด้วยความเห็นแก่ตัว ยิ่งถ้าทำบุญ 100บาท เพราะหวังจะได้เงินล้าน บุญที่เกิดขึ้นย่อมน้อยลงไปอีก
เพราะใช่หรือไม่ว่านี่เป็นการ \"ค้ากำไรเกินควร\"

บุญที่ทำในรูปของการถวายทานนั้น ไม่ว่าจะเป็นอาหารหรือเงินก็ตาม จุดหมายสูงสุดอยู่ที่การลดความยึด
ติดถือมั่นในตัวกูของกู ยิ่งลดได้มากเท่าไรก็ยิ่งเข้าใกล้นิพพานอันเป็นประโยชน์สูงสุดที่เรียกว่า \"
ปรมัตถะ\" ซึ่งสูงกว่าสวรรค์ในชาติหน้า (สัมปรายิกัตถะ) หรือความมั่งมีศรีสุขในชาตินี้
(ทิฏฐธัมมิกัตถะ) แต่หากทำบุญเพราะหวังแต่ประโยชน์ส่วนตน อยากได้เข้าตัวมากๆ แทนที่จะสละออกไป
ก็ยิ่งห่าง
ไกลจากนิพพาน หรือกลายเป็นอุปสรรคขวางกั้นนิพพานด้วยซ้ำ

อันที่จริงอย่าว่าแต่นิพพานเลย แม้แต่ความสุขในปัจจุบันชาติ ก็อาจเกิดขึ้นได้ยาก เพราะจิตที่คิดแต่จะ
เอานั้นเป็นบ่อเกิดแห่งความทุกข์

ในทานมหัปผลสูตร อังคุตตรนิกาย พระพุทธองค์ได้ตรัสกับพระสารีบุตรว่า ทานที่ไม่มีอานิสงส์มากได้แก่
\"ทานที่ให้อย่างมีใจเยื่อใย ให้ทานอย่างมีจิตผูกพัน ให้ทานอย่างมุ่งหวังสั่งสมบุญ\" รวมถึงทานที่ให้
เพราะต้องการเสวยผลในชาติหน้า เป็นต้น

พิจารณาเช่นนี้ก็จะพบว่าทานที่ชาวพุทธไทยส่วนใหญ่ทำกันนั้นหาใช่ทานที่ พระองค์สรรเสริญไม่ นอกจาก
ทำด้วยความมุ่งหวังประโยชน์ในชาติหน้าแล้ว ยังมักมีเยื่อใยในทานที่ถวาย กล่าวคือทั้งๆ ที่ถวายให้พระ
สงฆ์ไปแล้ว ก็ยังไม่ยอมสละสิ่งนั้นออกไปจากใจ แต่ใจยังมีเยื่อใยในของชิ้นนั้นอยู่ เช่น เมื่อถวาย
อาหารแก่พระสงฆ์แล้ว ก็ยังเฝ้าดูว่าหลวงพ่อจะตักอาหาร \"ของฉัน\" หรือไม่ หากท่านไม่ฉัน ก็รู้สึกไม่
สบายใจ คิดไปต่างๆ นานา นี้แสดงว่ายังมีเยื่อใยยึดติดผูกพันอาหารนั้นว่าเป็นของฉันอยู่ ไม่ได้ถวายให้
เป็นของท่านอย่างสิ้นเชิง

เยื่อใยในทานอีกลักษณะหนึ่ง ที่เห็นได้ทั่วไปก็คือ การมุ่งหวังให้ผู้คนรับรู้ว่าทานนั้นๆ ฉันเป็นผู้ถวาย ดัง
นั้น ตามวัดวาอารามต่างๆ ทั่วประเทศ ของใช้ต่างๆ ไม่ว่า ถ้วย ชาม แก้วน้ำ หม้อ โต๊ะ เก้าอี้
ตลอดจนขอบประตูหน้าต่างในโบสถ์ วิหารและศาลาการเปรียญ จึงมีชื่อผู้บริจาคอยู่เต็มไปหมด กระทั่ง
พระพุทธรูปก็ไม่ละเว้น

ราวกับจะยังแสดงความเป็นเจ้าของอยู่ หาไม่ก็หวังให้ผู้คนชื่นชมสรรเสริญตน การทำบุญอย่างนี้ จึงไม่
ได้ละความยึดติดถือมั่นในตัวตนเลย หากเป็นการประกาศตัวตนอีกแบบหนึ่งนั่นเอง

การทำบุญแบบนี้แม้จะมีข้อ ดีตรงที่ช่วยอุปถัมภ์วัดวาอารามและพระสงฆ์ให้ดำรงอยู่ได้ แต่ในอีกด้านหนึ่งก็
ไม่ส่งเสริมให้ผู้คนมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน โดยเฉพาะการช่วยเหลือผู้ทุกข์ยากหรือไร้อำนาจวาสนา
ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจที่เมืองไทยมีวัดวาอารามใหญ่โตและสวยงามมากมาย

แต่เวลาเดียวกันก็มีคนยากจนและเด็กถูกทอดทิ้งเป็นจำนวนมาก ไม่นับสัตว์อีกนับไม่ถ้วนที่ถูกละเลย หรือ
ถูกปลิดชีวิตแม้กระทั่งในเขตวัด

อันที่จริงถ้ามองให้กว้างกว่าการทำบุญ ก็จะพบปรากฏการณ์ในทำนองเดียวกัน นั่นคือคนไทยนิยมทำดีกับ
คนที่ถือว่าอยู่สูงกว่าตน แต่ไม่สนใจที่จะทำดีกับคนที่ถือว่าต่ำกว่าตน เช่น ทำดี กับเจ้านาย คนรวย ข้า
ราชการระดับสูง นักการเมือง ทั้งนี้ ก็เพราะเหตุผลเดียวกันคือคนเหล่านั้นให้ประโยชน์แก่เราได้
(หรือแม้เขาจะให้คุณได้ไม่มาก แต่ก็สามารถให้โทษได้) ประโยชน์ในที่นี้ไม่จำต้องเป็นประโยชน์ทางวัตถุ
อาจเป็นประโยชน์ทางจิตใจก็ได้ เช่น คำสรรเสริญ หรือการให้ความยอมรับ ประการหลังคือเหตุผล
สำคัญที่ทำให้คนไทยขวนขวายช่วยเหลือฝรั่งที่ตกทุกข์ได้ ยากอย่างเต็มที่

แต่กลับเมินเฉยหากคนที่เดือดร้อนนั้นเป็นพม่า มอญลาว เขมร หรือกะเหรี่ยง ใช่หรือไม่ว่าคำชื่นชมของ
พม่าหรือกะเหรี่ยงความหมายกับเราน้อยกว่าคำ สรรเสริญของฝรั่ง

บุคคลจะได้ชื่อว่าเป็นคนใจบุญ ไม่ใช่เพราะนิยมทำบุญกับสิ่งที่อยู่สูงกว่าตนเท่านั้น หากยังยินดีที่จะทำบุญ
กับสิ่งที่เสมอกับตนหรืออยู่ต่ำกว่าตนอีกด้วย แม้เขาจะไม่สามารถให้คุณให้โทษแก่ตนได้ ก็ช่วยเหลือด้วย
ความเต็มใจ ทั้งนี้ เพราะมิได้หวังผลประโยชน์ใดๆ นอกจากความปรารถนาให้เขาพ้นทุกข์ นี้คือกรุณาที่
แท้ในพุทธศาสนา

การทำดีโดยหวังผลประโยชน์ หรือยังมีการแบ่งแยกและเลือกปฏิบัติอยู่ ย่อมไม่อาจเรียกว่าทำด้วย
เมตตากรุณาอย่างแท้จริง

จะว่าไปแล้ว ไม่เพียงความใจบุญหรือความเป็นพุทธเท่านั้น แม้กระทั่งความเป็นมนุษย์ก็วัดกันที่ว่า เรา
ปฏิบัติอย่างไรกับคนที่อยู่ต่ำกว่าเราหรือมีอำนาจน้อยกว่าเรา หาได้วัดที่การกระทำต่อคนที่อยู่สูงกว่าเรา
ไม่

ถ้าเรายังละเลยเด็กเล็ก ผู้หญิง คนชรา คนยากจน คนพิการ คนป่วย รวมทั้งสัตว์เล็กสัตว์น้อย แม้จะ
เข้าวัดเป็นประจำ บริจาคเงินให้วัด อุปถัมภ์พระสงฆ์มากมาย ก็ยังเรียกไม่ได้ว่าเป็นคนใจบุญ เป็นชาว
พุทธ หรือเป็นมนุษย์ที่แท้ ไม่ผิดหากจะกล่าวว่านี้เป็นเครื่องวัดความเป็นศาสนิกที่แท้ในทุกศาสนาด้วย แม้
จะปฏิบัติตามประเพณีพิธีกรรมทางศาสนาอย่างเคร่งครัด

แต่เมินเฉยความทุกข์ยากของเพื่อนมนุษย์ หรือยิ่งกว่านั้นคือกดขี่บีฑาผู้คนในนามของพระเจ้า ย่อมเรียก
ไม่ได้ว่าเป็นศาสนิกที่แท้ จะกล่าวไปใยถึงความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์

ในแง่ของชาวพุทธ การช่วยเหลือผู้ที่ทุกข์ยากเดือดร้อน ทั้งๆ ที่เขาไม่สามารถให้คุณให้โทษแก่เราได้
เป็นเครื่องฝึกใจให้มีเมตตากรุณา และลดละความเห็นแก่ตัวได้เป็นอย่างดี ยิ่งทำมากเท่าไร จิตใจก็ยิ่ง
เปิดกว้าง อัตตาก็ยิ่งเล็กลง ทำให้มีที่ว่างเปิดรับความสุขได้มากขึ้น ยิ่งให้ความสุขแก่เขามากเท่าไร
เราเองก็ยิ่งมีความสุขมากเท่านั้น สมดังพุทธพจน์ว่า \"ผู้ให้ความสุขย่อมได้รับความสุข\" เป็นความสุข
ที่ไม่หวังจะได้รับ แต่ยิ่งไม่อยาก ก็ยิ่งได้ ในทางตรงข้ามยิ่งอยาก ก็ยิ่งไม่ได้

เมื่อ ใจเปิดกว้างด้วยเมตตากรุณา เราจะพบว่าไม่มีใครที่อยู่สูงกว่าเราหรือต่ำกว่าเรา ถึงจะเป็นพม่า
มอญ ลาว เขมร กะเหรี่ยง ลัวะ ขมุ เขาก็มีสถานะเสมอเรา คือเป็นเพื่อนมนุษย์ และเป็นเพื่อน
ร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตาย กับเรา

แม้แต่สัตว์ก็เป็นเพื่อนเราเช่นกัน จิตใจเช่นนี้คือจิตใจของชาวพุทธ และเป็นที่สถิตของพุทธศาสนาอย่าง
แท้จริง การทะนุบำรุงพุทธศาสนาที่แท้ ก็คือการบำรุงหล่อเลี้ยงจิตใจเช่นนี้ให้เจริญงอกงามในตัวเรา
ในลูกหลานของเรา และในสังคมของเรา

หาใช่การทุ่มเงินสร้างโบสถ์วิหารราคาแพงๆ หรือสร้างพระพุทธรูปให้ใหญ่โตที่สุดในโลกไม่

ดังนั้น เมื่อใดที่เราเห็นคนทุกข์ยาก ไม่ว่าเขาจะเป็นใครมาจากไหน เชื้อชาติอะไร ต่ำต้อยเพียงใด
อย่าได้เบือนหน้าหนี ขอให้เปิดใจรับรู้ความทุกข์ของเขา แล้วถามตัวเองว่าเราจะช่วยเขาได้หรือไม่
และอย่างไร เพราะนี้คือโอกาสดีที่เราจะได้ทำบุญ ลดละอัตตาตัวตน และบำรุงพระศาสนาอย่างแท้จริง----------------------------------

ขอบคุณความเมตตาจากกัลยาณมิตร
ข้อความโดย: lek
« เมื่อ: ตุลาคม 07, 2010, 06:39:19 pm »

จิตวิทยาแห่งการอยู่คนเดียว
เรื่องการคบคนอื่นนี้ พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้อย่างเฉียบขาดมาก พระพุทธองค์ตรัสว่า
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากเธอหาคนที่ดีกว่าเธอ หรือดีเสมอเธอคบไม่ได้แล้วไซร้
เธอพึงท่องเที่ยวไปแต่เพียงลำพังผู้เดียว เสมือนนอแรด ยังประเสริฐกว่าการคบคนพาล
เพราะการคบคนพาลย่อมนำไปสู่วิบัติโดยแท้"

เอกบุรุษและเอกสตรีทั้งหลายย่อมเคยมีชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยวและชื่นชม
กับการอยู่คนเดียวทั้งสิ้นถ้าไหน ๆ จะต้องอยู่คนเดียวแล้ว ตอนต่อไปเราลองมาดูกันว่า
จะอยู่คนเดียวอย่างไรให้เป็นสุข

ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่า ความรักนั้นเป็นอย่างหนึ่ง การมีคู่เป็นอย่างหนึ่ง
มิได้หมายความว่าเมื่อไม่มีคู่แล้วจะไม่มีความรัก หามิได้เลย

คนอยู่คนเดียวนั้น ก็อาจมีความรักได้ และความรักอาจยิ่งใหญ่กว่าคนมีคู่ด้วยซ้ำ

ในขณะที่คนมีคู่นั้น ความรักจะต้องกระทบกับความต้องการที่แตกต่าง ผสมกับ
อารมณ์ข้างเคียงอันเกิดจากความสัมพันธ์ที่ไม่ลงตัวนานาประการ หรือมีข้อจำกัด
ด้วยอุปสรรคและปัญหาในการดำรงชีวิตนานา

ความรักที่เคยเต็มร้อยของคู่ในขณะที่เป็นแฟนกัน พอมาใช้ชีวิตเป็นสามีภรรยากัน
รักเต็มร้อยก็อาจจะเหลือน้อยลง บางคู่เหลือแค่สิบเปอร์เซ็นต์ก็มี
บางคู่ก็หมดหดหายไปเลย ต้องหย่าร้าง แยกทางกัน บางคู่ต้องติดลบ
กลายเป็นศัตรูกันไปก็มี   ดังนั้น เกมแห่งชีวิตคู่นั้นใช่จะสวยหรูเสมอไป มีแพ้ มีชนะ
มีเสมอตัว เหมือนเกมแห่งชีวิตทั่วไป แต่ร้ายกว่าเกมอื่น ๆ ตรงที่เกมชีวิตคู่เป็นเกมแห่งหัวใจ
เมื่อขาดทุนก็เสียที่ใจ ซึ่งเป็นสิ่งที่มีค่าที่สุดของชีวิต ถ้าชนะก็ได้ใจและอาจจะประมาท
อันอาจเป็นเหตุให้พ่ายแพ้ได้ในอนาคต   แต่การอยู่คนเดียวไม่ต้องมีอัตราเสี่ยงเหล่านี้
คนอยู่คนเดียว จึงได้เปรียบคนที่มีคู่สามกรณี คือ

๑. ความรักของเขาย่อมไม่เจาะจงบุคคล จึงเป็นความรักที่กว้างขวางยิ่งใหญ่กว่า
๒. ความรักของเขาย่อมไม่แปดเปื้อนด้วย ความต้องการอารมณ์หรืออุปสรรคมากมาย
    เหมือนคนคู่ จึงหมดจด สะอาดกว่า
๓. ความรักของเขาย่อมไม่อยู่ในเงื่อนไขหรือพันธะผูกพัน จึงมีอิสรภาพแห่งหัวใจและเป็นสุขกว่า

ในที่สุดคนที่อยู่คนเดียว ถ้าเห็นคุณค่าและโอกาสของตน และฉลาดในการใช้โอกาสนั้น
สร้างคุณค่าแล้ว ย่อมได้ประโยชน์อย่างใหญ่หลวงแก่ชีวิต จิตใจ

ดังนั้น จึงควรเรียนรู้จิตวิทยาการอยู่คนเดียว ดังนี้

หลักการอยู่คนเดียวให้เป็นสุข
ก่อนอื่นควรเข้าใจก่อนว่า การเลือกอยู่คนเดียว มิได้หมายความว่าอยู่อย่างเดียวดาย
ไม่ข้องเกี่ยวกับใคร แต่การอยู่คนเดียวหมายความว่าเลือกชีวิตที่เป็นไทแก่ตน
ไม่ต้องการคู่ใด ๆ มาครอบครองตน และตนก็ไม่ต้องการครองใคร ขอเป็นอิสรชน
ที่รับผิดชอบตัวเอง ท่ามกลางชีวิตอันหลากหลายในโลกกว้าง

การกระทำเช่นนี้ เหมาะกับบุคคลที่เป็นหรือประสงค์จะเป็นเอกบุคคล หรืออิสรชน
ผู้เป็นใหญ่ในตนอย่างแท้จริง ซึ่งบุคคลที่จะกระทำเช่นนี้ได้สำเร็จ ต้องมีกุศลโลบาย
อันเหมาะสมสามประการ คือ

๑. ตัดใจจากสัญชาตญาณดั้งเดิม
๒. เติมใจด้วยความสุขที่ยิ่งใหญ่กว่า
๓. ตั้งใจชำระจิตให้หมดจด มั่นคง

ซึ่งแต่ละกุศลโลบายมีรายละเอียดที่ควรเข้าใจและปฏิบัติดังนี้

การตัดใจจากสัญชาตญาณดั้งเดิม

สัญชาตญาณดั้งเดิมที่ทำให้มนุษย์ต้องการคู่ คือสัญชาตญาณด้านกามารมณ์
และสัญชาตญาณแห่งการพึ่งพิง ซึ่งเอกบุคคลต้องละให้ขาดไปจากใจ

การตัดสัญชาตญาณด้านกามารมณ์ สามารถกระทำให้ขาดไปได้ด้วยการพิจารณา
ถึงภาวะบีบเค้น ความเสื่อมเสีย และภัยต่อเนื่องจากกามารมณ์นานาประการ อาทิเช่น

กามารมณ์เป็นภาระ แค่คิดก็เริ่มหนักใจแล้วทั้งในด้านการแสวงหา ความสอดคล้อง
กับความต้องการ บางครั้งต้องยอมสูญเสียสิ่งมีค่ามากมาย เช่น ศักดิ์ศรี เงินทอง เวลา
สติปัญญา เพื่อให้ได้มาซึ่งกามารมณ์นิดเดียว

กามารมณ์ เป็นของเผ็ดร้อน เมื่อรู้สึกก็เริ่มร้อน เมื่อแสวงหาอยู่ก็รุ่มร้อน เมื่อเสพอยู่ก็เร่าร้อน
ครั้นเสพแล้วเสมือนว่าความร้อนจะดับ แต่เดี๋ยวก็ร้อนอีกและกลับร้อนมากกว่าเดิมด้วย

กามารมณ์เป็นความบีบเค้น เมื่อต้องการก็บีบใจให้รวนเร เปราะบาง กลวงใน ขาดความจริงใจ
รู้สึกแปลแยกกับผู้ที่เราต้องการเสพกามด้วย ไม่สนิทใจเหมือนความรักปกติ
ครั้นเสพกามอยู่ประสาทก็ถูกบีบ สมองก็ถูกบีบ กล้ามเนื้อก็ถูกบีบ จิตใจก็ถูกบีบ
จึงทำให้ระบบต่าง ๆ ในร่างกาย เกร็ง กระด้าง ปรวนแปร แม้รังสีทิพย์ก็หดหายไป
สติปัญญาเลอะเลือน กามจึงนำความเสื่อมเสียมาให้ชีวิตจิตใจมากทีเดียว

กามารมณ์ทำให้สังคมยุ่งเหยิง ความสำส่อนสับสน เศร้าโศกเจ็บแค้น ความปวดร้าว
ในความสัมพันธ์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชีวิตคู่ ก็มักมาจากความมักมากในกามารมณ์เป็นเหตุสำคัญ

กามารมณ์เป็นภัยต่อเนื่อง คือยิ่งเสพก็ยิ่งมีมาก ไม่อาจหายได้เพราะการเสพ
แต่หายได้ด้วยการตัดใจ ดังพุทธพจน์ที่ว่า

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย มีอยู่สองสิ่งในโลกนี้ ที่ไม่อาจระงับได้ด้วยการเสพ
สองสิ่งเป็นไฉน คือ กามหนึ่ง การหลับหนึ่ง"

ทั้งกามและการหลับยิ่งเสพจะยิ่งมีมาก กล่าวคือ ยิ่งเสพกาม ก็ยิ่งกระหายกาม
และยิ่งนอนก็ยิ่งง่วง ซึ่งเกือบทุกคนเคยมีประสบการณ์เหล่านี้มาบ้างแล้ว

จริงอยู่ว่า กามารมณ์เป็นสัญชาตญาณดิบของสัตว์ทั้งหลาย รวมทั้งมนุษย์และเทวดา
แต่ผู้ที่ประสงค์ความเป็นไท มุ่งสู่ความประเสริฐ ย่อมตัดใจการกามเสีย
เมื่อตัดกามารมณ์เสียได้ จึงหลุดพ้นจากอำนาจดึงดูดของเพศตรงข้าม
เป็นอิสระในตนโดยสมบูรณ์ เมื่อนั้นก็จะอยู่เหนือเพศทั้งปวง

พระอรหันต์ผู้บริสุทธิ์จึงไม่มีเพศ รองลงมาคือพรหมก็ไม่มีเพศ เพศจะมีเฉพาะในเทวดา
มนุษย์ สัตว์เดรัจฉาน เปรต และสัตว์นรกเท่านั้น โดยเฉพาะในสัตว์ ยิ่งต่ำมากก็มีเพศมาก
สัตว์เซลเดียวบางชนิดมีเพศ ๒ เพศในตัวเองเลย คือมีทั้งเพศผู้ เพศเมีย
จะเสพเมื่อไหร่ก็ผสมได้ทันที แต่เมื่อพัฒนาอยู่ในระดับวิวัฒนาการที่สูง
กามารมณ์ก็ยิ่งน้อยลง จนสูงที่สุดย่อมไร้กามารมณ์

ก็เพราะละกามารมณ์ ได้นั้นแหละ จึงพัฒนาตนให้สูงส่งได้ เนื่องจากกาม
เป็นเหตุแห่งความพัวพัน ความอ่อนแอ และความเสื่อม ประสิทธิภาพของระบบประสาท
จิตใจ และสภาวะทิพย์นานาประการ

ดังนั้น ถ้าจะอยู่คนเดียว เพื่อความสุขที่ยิ่งใหญ่ ก็ต้องตัดใจละกามเสียให้เด็ดขาด
ในช่วงที่ยังเด็ดไม่ขาด ก็อยู่ให้ห่าง ๆ เพศตรงข้ามไว้ จะปลอดภัยดี

การตัดสัญชาตญาณด้านการพึ่งพิง สัญชาตญาณการพึ่งพิง เป็นสัญชาตญาณ
แห่งความอ่อนแอของบุคคลที่ยังไม่สมบูรณ์ในตน
การตัดสัญชาตญาณในเรื่องนี้ได้ต้องพิจารณาให้ถ่องแท้ถึงความเป็นจริง
และความเหมาะควร ๓ ประการ คือ

๑. ก็หากต่างคนต่างก็ต้องการพึ่งพิงกันอยู่ ต่างหวังพึ่งพิงกันไป หวังพึ่งพิงกันมาแล้ว
ใครจะเป็นที่พึ่งให้แก่ใครได้อย่างแท้จริง ก็ใครจะเป็นที่พึ่งให้แก่ผู้อื่นอย่างแท้จริง
ได้เล่าในเมื่อเขาก็ยังต้องการพึ่งพิงผู้อื่น หากจำเป็น ก็เป็นที่พึ่งที่ดีสมบูรณ์ไม่ได้
ในที่สุด บุคคลที่เป็นที่พึ่งที่ดีที่สุดสำหรับเราก็คือตัวเราเอง ดังพระพุทธพจน์ที่ว่า
"ตนนั่นแหละคือที่พึ่งแห่งตน"

ดังนั้น...พอที ไททั้งหลายอย่าหมายแขวนตน ไว้กับคนอื่นหากเขาก็ยังทุกข์
ย่อมนำเราสะอื้นจงตั้งมั่นหยัดยืน ด้วยลำแข็งแห่งตน

๒. การหวังพึ่งพิงผู้อื่นทำให้เราตกเป็นทาสเขา ต้องคอยเอาอกเอาใจ กลัวความรู้สึกเขา
ระแวงว่าเขาจะไม่ชอบเราด้วยเหตุนั้น ด้วยเหตุนี้ เป็นทุกข์อยู่ทุกขณะ เหมือนพระจันทร์
ที่ต้องคอยแสงพระอาทิตย์อยู่เสมอ และกลัวว่าพระอาทิตย์จะจากหายไป ไม่ส่องแสงมาให้ตน

๓. การพึ่งพิงผู้อื่นทำให้เราไม่สมบูรณ์สักที เพราะมีปัญหาอะไรก็คอยพึ่งผู้อื่นอยู่เรื่อย
เสมือนเด็กไม่รู้จักโต แต่ถ้าเราหันมาพึ่งตนเองก็จะต้องเริ่มพัฒนาตนให้สมบูรณ์พร้อม
ชีวิตเราก็จะได้ความก้าวหน้าได้ระยะแห่งวิวัฒนาการด้วย

๔. เมื่อเราสมบูรณ์ในตนแล้ว แม้จะคบกับใครก็คบอย่างเท่าเทียมหรือสูงกว่า
และมีพลังที่จะเกื้อกูลแก่ผู้อื่นได้ เสมือนพระอาทิตย์ที่ส่องแสงเลี้ยงดูสรรพสิ่งในโลกได้

ดังนั้นจงเลิกเป็นพระจันทร์เถิด แล้วเชิดดวงใจตนให้ผงาดค่อย ๆ สร้างองค์ประกอบ
แห่งความเป็นเอกให้สมบูรณ์ก็จะสามารถหยัดยืนด้วยลำแข้งแห่งตน และเกื้อกูลแก่คนอื่น
ได้ดุจพระอาทิตย์ผู้มีพลังอย่างไม่มีประมาณ

เมื่อเราตัดสัญชาตญาณแห่งกามารมณ์และสัญชาตญาณแห่งการพึ่งพิงได้แล้ว
จิตใจจะเป็นอิสระระดับหนึ่ง ซึ่งจะเริ่มยินดีต่อการเป็นโสด

การอยู่เป็นโสดอย่างเป็นสุขนั้น ต้องเป็นเพราะความตั้งใจของเราจริง ๆ มิใช่เป็นเพราะ
สถานการณ์บีบบังคับหรือหาใครมาเป็นคู่ไม่ได้ หาไม่แล้ว จะเป็นโสดแบบแห้ง ๆ

โสดแบบแห้ง ๆ คืออยู่เป็นโสดไป แต่ใจก็คอยให้ใครบางคนมาชอบอยู่
ถ้าอยู่อย่างนี้จะไม่เป็นสุข จะขาดความพึงพอใจในตนจะขาดความเชื่อมั่นในตน
และเกิดความขัดแย้งระหว่างความต้องการในใจกับภาวะที่เป็น ทำให้เป็นทุกข์เปล่า ๆ

ไหน ๆ ก็ยังไม่มีคนมาชอบ หรือยังไม่ชอบใคร ก็ตั้งใจอยู่เป็นโสดแบบสด ๆ ดีกว่า

โสดสด ๆ คือโสดบริสุทธิ์ด้วยความตั้งใจ เต็มใจ ไม่ผ่านกามารมณ์ใด ๆ มาก่อน

ถ้าเคยผ่านความสัมพันธ์ทางกามมาก่อนแล้วเลิกร้างกันภายหลัง ก็อาจเป็นโสดได้บ้าง
แต่เป็นโสดหารสอง โสดหารสี่ โสดหาร...ตามลำดับ

โสดหารสอง คือ เคยผ่านความสัมพันธ์มีคู่มาแล้ว แล้วเลิกร้างกันไป จึงกลับมาเป็นโสดอีก
แต่เป็นโสดหารสอง เพราะไม่สดจิตใจและร่างกายไม่ผ่องใสแล้ว

โสดหารสี่ คือ ผ่านมาแล้ว และล้มเหลวมาแล้ว ๒ ครั้ง ๒ ครา ความโสดที่มีอยู่
จึงเหลือความสดน้อยเต็มที เหลือเพียงโสดหารสี่

ถ้ายิ่งผ่านความสัมพันธ์มามาก ความสดใสก็ยิ่งน้อยลง เป็นปฏิภาคผกผันกันในอัตราส่วน
เศษหนึ่งหารด้วยสองคูณจำนวนครั้งความสัมพันธ์ (๑/ (๒  จำนวนครั้ง)

ไม่ว่าจะเป็นโสดแบบใดก็ตาม ขอให้เต็มใจที่จะครองโสดอย่างแท้จริง
ก็จะสามารถตั้งใจที่ล้มไปแล้วให้ลุกขึ้นมาผงาดและมีกำลังขึ้นมาได้บ้าง

แต่ในขั้นนี้ แม้ใจจะเป็นอิสระอยู่บ้าง จะยังขาดความสุข ดังนั้นต้องเติมใจ
ให้เต็มด้วยความสุขที่ยิ่งใหญ่ต่อไป

การเติมใจด้วยความสุขที่ยิ่งใหญ่กว่า

เมื่อใจตัดกามและไม่หวังพึ่งพิงแล้วระดับหนึ่ง ต้องทำให้เป็นสุข หาไม่แล้ว
ดวงใจจะรู้สึกเคว้งคว้าง ไม่มีหลัก เหมือนขาดฐานที่มั่น

ความสุขที่จะมีมาแทนความสัมพันธ์ระหว่างเพศได้นั้น ต้องเป็นความสุข
ที่ยิ่งใหญ่กว่าความรักระหว่างเพศ ซึ่งมีอยู่สองประการ คือ ความสุขจากความรักความเมตตา
ต่อมหาชน และความสุขในการอยู่ในสัมพันธภาพอันประณีตกับธรรมชาติ ซึ่งมีวิธีฝึกฝนดังนี้

การเติมความสุขด้วยความรักความเมตตาต่อมหาชน เมื่อใจเราปราศจากความต้องการทางเพศ
และไม่ต้องการการพึ่งพิงแล้ว นั่นทำให้ใจเราสะอาดระดับหนึ่ง ปลอดจากเงื่อนไขแห่งความทุกข์แล้ว
จากนั้นก็แผ่ความรักความเมตตาอันบริสุทธิ์ให้ตนเองจนเต็มเปี่ยม แล้วแผ่ออกไป
โดยรอบให้ไพศาลก็จะบังเกิดความสุขอันยิ่งใหญ่ในทันที

ฝึกทำอย่างนี้เป็นประจำ จนชำนาญ แผ่เมตตาเมื่อใด ก็เปี่ยมสุขเมื่อนั้น

แต่การแผ่เมตตาอย่างเดียวนั้น อาจทำให้ใจอ่อน ติดดี และเกรงใจคนอื่นจนเกินพอดี
ดังนั้น ควรแผ่ให้ครบธรรมสูตรต่อเนื่องจากเมตตาด้วย คือแผ่กรุณา มุทิตา อุเบกขาด้วย
ก็จะทำให้ใจทรงตัวเปี่ยมสุขเอิบอิ่ม และมั่นคงยิ่ง

เพื่อให้ได้รสชาติอันแท้จริง ลองฝึกดูเลยเดี๋ยวนี้

ก่อนอื่นนั่งในท่าที่สบาย ๆ ผ่อนคลายความตึงตัวทางกล้ามเนื้อระบบประสาท
และอวัยวะทุกส่วนให้หมด ปล่อยวางความคิด ความต้องการและเงื่อนไขทางใจให้สิ้น

จากนั้นระลึกว่า เมตตา "...ใจทั้งปวงจงสงบเย็นเป็นสุขเถิด..." การที่เราระลึกถึงใจทั้งปวงนี้
รังสีจากใจของเราจะขยายออกไปสัมผัสสัมพันธ์กับใจทั้งหลาย ซึ่งหาที่สิ้นสุดมิได้
มีอยู่ทุกหนทุกแห่ง ทั้งที่เป็นมนุษย์ เป็นสัตว์ เป็นเทวดา เป็นพรหม เป็นสิ่งต่าง ๆ
ในภพภูมิต่าง ๆ ใจของเราจะขยายไป

เราไม่ต้องคิดถึงบุคคลว่าขอให้พ่อ แม่ ของเรา หรือขอให้เพื่อนของเรา
เราไม่ต้องคิดถึงบุคคล เพราะถ้าคิดถึงบุคคลจิตจะแคบ จิตจะเห็นเป็นบุคคล
เป็นสมมติ ให้คิดถึงใจอันเป็นปรมัตถ์

ฉะนั้น เราเอาที่ปรมัตถ์ เพราะเราต้องการฝึกจิตให้ไร้ขอบเขต
"ใจทั้งปวง จงสงบเย็นเป็นสุขเถิด" เมื่อจิตเราระลึกถึงใจทั้งปวง จิตเราขยายไปแล้ว
เมื่อเรากำหนดว่า "....ใจทั้งปวงจงสงบเย็นเป็นสุขเถิด..."นั้นเป็นการแผ่สิ่งที่ดีออกไป

การขยายสิ่งที่ดีให้เติบโตในใจของเรานั้น จะทำให้คุณสมบัติของใจเราอุดมด้วยสำนึก
ที่ดียิ่งขึ้นต่อไป เวลาเราเห็นสัตว์ เห็นชีวิต เห็นมนุษย์ หรือแม้แต่เห็นผี เราจะไม่กลัว
เราจะมีความรู้สึกเมตตา มีความรู้สึกปรารถนาดีต่อเขาให้เขาสงบเย็น

ถ้าเมตตาโดยไม่มี กรุณา ก็ไม่ดี ใจจะอ่อน ให้มีกรุณามารองรับอีกทีก็ดี กรุณาที่มารองรับ
คือทำให้เห็นผลจริงจัง น้อมรำลึกว่า "...การกระทำทั้งปวงของเรา
จงยังใจทั้งหลายให้สงบเย็นเป็นสุขเถิด.."

ทั้งอานุภาพจิตของเรา บุญกุศลทั้งหมดที่เกิดขึ้น และการกระทำทั้งปวงของเราด้วย
จงอาบชโลมใจทั้งหลายให้สงบเย็นเป็นสุขเถิด

ถ้ากรุณาอย่างเดียวโดยไม่มีมุทิตามาต่อเนื่อง ใจจะมีห่วงหาอาลัยมาก มีแต่กรุณา
อยากจะช่วยคน อยากจะเกื้อกูลเขา อาจจะอุ้มเขา มีความห่วงใยอาลัยอาวรณ์สูง
เราต้องมีมุทิตามากำกับ มุทิตา คือ น้อมรำลึกว่า
 "...ใจที่สงบเย็นเป็นสุขแล้ว ประเสริฐจริงหนอ..."

การกระทำเช่นนี้ จะทำให้เราเคารพซึ่งกันและกัน และใจเราจะมุ่งไปสู่สภาวะที่สูงขึ้น
การที่เราบอกว่า "...ใจที่สงบเย็นเป็นสุขแล้ว ที่ท่านสัมฤทธิ์ผลแล้ว
ใจของเราจะอยู่ในระดับนั้น หรือสูงกว่า ในชีวิตประจำวัน เราควรยินดีด้วย
กับสภาวะของเขา จิตของเราจะอยู่ในระดับเดียวกับเขา หรือสูงกว่าเขาทันที
ไม่ต่ำกว่าเขา แต่ถ้าอิจฉาริษยาเขา จิตของเราจะต่ำกว่าเขา และจะอึดอัดในภาวะนั้น
ดังนั้นพึงยินดีกับสิ่งที่ดีทั้งปวง

การที่เรายินดีหรือมุทิตา กับผู้ที่สงบเย็นเป็นสุข ใจเราจะมีกำลังมากขึ้น

แต่ใจตรงนี้ บางทีมันฟู มันจะรู้สึกพอง จึงต้องทรงด้วย อุเบกขาอีกที
อุเบกขานี้มาจากคำว่า อุปปะ กับ อิกขะ

อุปปะ แปลว่า เข้าไปอิกขะ แปลว่า เห็น

ดังนั้น อุเบกขาแปลว่า เข้าไปเห็น เข้าไปรู้ เข้าไปกระจ่าง

เมื่อเข้าไปเห็นกระจ่างจริงแล้ว จึงเฉย จึงสงบ ที่ท่านแปล อุเบกขาว่า คือ ความเฉย
ความเฉยนั้นเป็นผลของอุเบกขา ตัวอาการ ของอุเบกขานั้น คือ ความรู้ ความเข้าใจ
ความกระจ่าง เรารำลึกในสำนึกว่า "...อุเบกขา ใจทั้งปวง จงมีดวงตาเห็นธรรมเถิด..."
ใจทั้งปวงก็หมายถึงทั้งใจเราด้วย ใจคนอื่นด้วย

ถ้าจิตทุกดวง มีดวงตาเห็นธรรมคือเห็นความจริง ความเข้าใจก็จะเกิดขึ้น
เมื่อความเข้าใจเกิดขึ้น ใจก็สงบมั่นคง ขณะที่ขยายใจออกไปเรื่อย ๆ นั้น
ก็ไม่เสียการทรงตัวเพราะมีอุเบกขาเป็นหลักอยู่ เห็นความเป็นจริงอยู่
ถ้าเมื่อใดที่เราไม่เห็นความเป็นจริง จิตจะหวั่น จะเสียการทรงตัว
เพราะจะกลัวในสิ่งที่ตนไม่รู้

ถ้าจิตรู้สิ่งใด จิตจะไม่กลัวสิ่งนั้น จิตกลัวความมืด เพราะจิตไม่รู้ว่า
ในความมืดมีอะไร จิตกลัวอนาคต เพราะจิตไม่รู้ว่าในอนาคตจะเป็นอย่างไร
จิตกลัวบุคคล เพราะจิตไม่รู้ว่าบุคคลนั้นเขาคิดอะไร รู้สึกอย่างไร
นั่นเพราะไม่รู้จึงกลัว แต่ถ้าเรารู้เราจะไม่กลัว ความรู้นี้คือตัวอุเบกขา
พอรู้แล้วไม่กลัว จึงเฉย จึงสงบ จึงมั่นคง

ดังนั้น เมตตา กรุณา มุทิตา ที่ดีต้องมีอุเบกขากำกับ และอุเบกขาที่บริบูรณ์
ต้องมีเมตตา กรุณา มุทิตาประกอบการเจริญพรหมธรรมนั้นต้องเจริญให้ครบถึงอุเบกขาเสมอ
แม้แค่แผ่เมตตาก็เป็นสุขแล้ว แต่ก็ไม่ควรหยุดอยู่เพียงนั้น เพราะเมตตาจะทำให้ติดดี
หลงดี คือเห็นอะไรดีไปหมดจนประมาท แต่เมื่อ เจริญกรุณา มุทิตา อุเบกขา
ที่อุเบกขาเห็นความเป็นจริงของธรรมชาติว่ามีทั้งดี ทั้งชั่วทั้งเป็นกลางอยู่ จึงแจ่มแจ้งสัจจะ

กระนั้นอุเบกขาจะสมบูรณ์ได้ต้องเจริญมาทั้งเมตตา กรุณา มุทิตา มาตลอดจนถึงอุเบกขา

การเติมความสุขด้วยสัมพันธภาพอันประณีตกับธรรมชาติ คือการดื่มด่ำล้ำลึกในธรรมชาติ
อันประณีต สงบ ว่าง อันเป็นบ่อเกิดแห่งสรรพสิ่ง และแผ่จิตโอบอุ้มสรรพสิ่งทั่วทั้งจักรวาล

การกระทำเช่นนี้ จะทำให้จิตใจของเราขยายขอบเขตไปอย่างไร้ความจำกัด
ดวงใจที่เป็นสุขอยู่แล้ว ก็จะสุขมหาศาล อย่างประมาณมิได้
เพื่อให้ได้รับรสชาตินั้น ลองทำกันดูเลยตามขั้นตอนนี้

๑. ตัดการรับรู้จากสิ่งแวดล้อม ไม่สนใจอะไรทั้งสิ้น
๒. กำหนดรู้ที่จิตให้แน่วแน่เป็นหนึ่งบริบูรณ์
๓. เมื่อจิตรวมเป็นหนึ่งดีแล้ว ก็แผ่จิตครอบคลุมธรรมชาติแห่งความมีอยู่ทั้งหมด
๔. น้อมใจรำลึกว่า เราคือธรรมชาติ ธรรมชาติคือเรา สิ่งทั้งปวงเป็นหนึ่งเดียว

เมื่อเราเติมใจด้วยความสุขจากเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา และขยายใจแห่งความสุข
สัมผัสสัมพันธภาพกับธรรมชาติอันกว้างใหญ่ไพศาลแล้ว จะเริ่มเห็นได้ชัดว่า
การอยู่คนเดียวนี้มีค่า ทำให้เราเป็นอิสระเพียงพอที่จะได้ฝึกฝนและลิ้มรสความสุขอันยิ่งใหญ่นี้ได้

เมื่อได้รับความสุขแล้ว ก็ฝึกมาก ๆ บ่อย ๆ เนือง ๆ เสมอ ๆ ทุกขณะที่นึกได้
ฝึกเป็นประจำจนเป็นนิสัย จะบังเกิดผลดีอันเป็นอัศจรรย์ตามมามากมาย

ช่วงนี้จะเต็มไปด้วยความสุขอันไม่มีประมาณ รู้สึกกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ
จิตใจกว้างขวาง ยิ่งใหญ่ เข้าใจธรรมชาติ และมนุษย์ชาติอย่างลึกซึ้ง ร่างกายจะโปร่งเบา
หน้าตาอิ่มเอิบ ผิวพรรณผ่องใส กริยาท่าทางจะนุ่มนวล การพูดการจามีจังหวะจะโคน
มีโทนเสียงอันเหมาะสม ชวนประทับใจ ระยะนี้จะมีเสน่ห์อย่างเอกอุ น่าเคารพ น่ารัก
น่านับถือ น่าศรัทธา น่าเลื่อมใสยิ่งนัก จนต้องระวัง

ธรรมชาติมีปกติธรรมดาประการหนึ่งว่า ยามที่มนุษย์อยากได้อะไรมาก ๆ มักไม่ได้สิ่งนั้น
ครั้นละวางสิ่งเหล่านั้น ว่างจากความอยาก และพัฒนาใจอยู่เหนือสิ่งเหล่านั้นแล้ว
จะได้สิ่งนั้นโดยง่าย เหมือนที่โบราณกล่าวไว้ว่า

-----------คนอยากมักไม่ได้ เมื่อหมดอยากแล้วจึงได้----------------