ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: ตุลาคม 08, 2010, 08:20:28 am »

 :13: อนุโมทนาครับคุณนู๋ตา^^
ข้อความโดย: i mah'ta
« เมื่อ: ตุลาคม 08, 2010, 02:21:31 am »

รักษาใจกายบริสุทธิ์ ปริศนาธรรมอักษร "齋" เจ 
 
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 7 ตุลาคม 2553 08:48 น.
 
 
 
 
 
ตัวอักษรจีน 齋 (เจ) - หากภาพหนึ่งภาพ แทนคำนับพัน อักษรจีนตัวนี้ ก็ไม่แตกต่างจากตัวอักษรจีนอื่นๆ ที่มีความหมายเชิงจินตภาพ นามธรรม (ภาพ - ASTV มุมจีน)
 
 
ตัวอักษรภาษาจีนนับเป็นสมบัติอันล้ำเลิศทางวัฒนธรรมของแดนมังกร นับเป็นประดิษฐ์กรรมอันยิ่งใหญ่ที่ห้าของจีน นอกเหนือไปจากสิ่งประดิษฐ์อันยิ่งใหญ่ทั้งสี่ (จตุรประดิษฐ์) เข็มทิศ ดินปืน กระดาษ และการพิมพ์

 

การขีดเขียนอักษรจีนแต่ละเส้นซึ่งผ่านการออกแบบมาอย่างลึกซึ้ง จึงเปรียบเสมือนการสัมผัสกับภูมิปัญญาที่ส่งทอดมาจากบรรพบุรุษ คราวนี้จะต่างกันเพียงแต่ว่า ผู้คนจะสามารถถอดรหัสที่แฝงอยู่ในเส้นสายอักษรต่างๆ นั้นได้เพียงใด

 

และหากภาพหนึ่งภาพ แทนคำนับพัน อักษรจีน " 齋 - เจ" ก็ไม่แตกต่างจากตัวอักษรจีนอื่นๆ ที่มีความหมายเชิงจินตภาพ นามธรรมด้วย โดยบรรดาผู้เชียวชาญอักษรจีน อธิบายว่า ตัว “เจ” 齋 มีส่วนประกอบมาจากตัวอักษร ฉี (齊) ซึ่งแปลว่าบริบูรณ์ , เรียบร้อย กับตัวอักษร ซื (示) (อันมีตัว เสี่ยว/ซิม (小) "ใจ" อยู่ด้วย) แปลว่าสักการะ เมื่อวางไว้ตรงกลางของตัวฉี จึงเป็นตัวอักษร "เจ" (齋) ที่มีความหมายรวมว่าการรักษาความบริสุทธิ์ (ทั้งกายและใจ) หรือการปฏิบัติธรรมบูชาถวายเทพยดา นอกจากนั้น "เส้น/ขีด" ปลีกย่อยทั้งหลาย ในตัวอักษรฯ ยังมีความหมายประกอบ เชิงอุปมาไปสู่การปฏิบัติธรรมทั้งสิ้น

 

เทศกาลถือศิล กินเจ ปีนี้ (ระหว่างวันที่ 8 - 16 ต.ค.) มุมจีน ขอนำรหัสธรรมของบรรพบุรุษจีนผู้ออกแบบตัวอักษร "เจ" (齋) มาถ่ายทอดอีกครั้ง ณ โอกาสนี้

 

 

 

 
 
จุด"หนึ่ง"มโนทวาร" คือ ประตูจิตวิญญาณ เปิดสู่อนุตตรภูมิ (แดนธรรม)
 
 


 

 

 

 
 
"หนึ่งขีด" - ก้าวขึ้นสู่เรือธรรม พาให้หลุดพ้นไม่เวียนว่ายทั้ง 3 ภพ 
 
 


 

 

 


 
"เข้าใจ" - รู้แจ้งเห็นจริงใน"สัจธรรม"หมดสิ้นกิเลส ความทะยานอยาก วิตก ทุกข์ร้อนรน
 
 


 

 

 

 
 
"มีดซ้าย" - ตัดขาดอารมณ์ 7 ได้แก่ ความปิติยินดี ความโกรธ ความเศร้าเสียใจ ความกลัว ความรัก-ใคร่หลงใหล ความเกรี้ยวกราดเคียดแค้น ความอาลัยยึดติด
 
 


 

 

 

 
 
มีดขวา" - ขจัดตัณหา ผัสสะทั้ง 6 อันได้แก่ หลงรูป ทาง"ตา" หลงใหลเสียงที่ได้ยินทาง "หู" หลงกลิ่นทาง"จมูก" หลงสัมผัส ทาง"กาย" หลงรสทาง "ลิ้น" หลงความปรุงแต่งทางความคิด"ใจ" จนขาดสติ 
 
 


 

 

 


 
1 ขีดขึ้น "สวรรค์" - ตลอดเส้นทางชีวิต มีทางไปอยู่ 2 ทางให้เลือก ระหว่างทางสูงซึ่งต้องเพียรปีนป่าย กับทางต่ำ ที่เพียงปล่อยใจก็ไถลจม 
 
 


 

 

 

 
 
1 ขีดลง "นรก" - ตลอดเส้นทางชีวิต มีทางไปอยู่ 2 ทางให้เลือก ระหว่างทางสูงซึ่งต้องเพียรปีนป่าย กับทางต่ำ ที่เพียงปล่อยใจก็ไถลจม 
 
 


 

 

 

 
 
เพียรก้าวยกระดับจิตวิญญาณขึ้นไป
 
 


 

 

 

 
 
เพียรก้าวยกระดับจิตวิญญาณขึ้นไป
 
 


 

 

 

 
 
"เล็ก" (เสี่ยว) เป็นคำเดียวกับ "ใจ"(ซิม) หมายถึงสติระมัด ระวัง จดจ่อเท่าทันรายละเอียดทั้ง มโนกรรม วจีกรรม กายกรรม (ความคิด คำพูด และการกระทำ) ให้อยู่ในธรรมได้ตลอดเวลา อย่างรู้ตนเอง
 
 
 


-------------------

http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9530000140763