ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Plusz
« เมื่อ: ตุลาคม 08, 2010, 12:51:43 pm »


โดย : ดาด้า
คนโบราณว่าหวานเป็นลม ขมเป็นยา ก็คงจริงดังว่า ไม่ว่าจะเป็นมะระ บอระเพ็ด สะเดา ฝักลิ้นฟ้า ขมขั้นเทพกันทั้งนั้น โกโก้เป็นเครื่องดื่มที่ขมอร่อย
ไม่รู้ว่าใครเคี้ยวเมล็ดโกโก้หรือนำผลโกโก้สดมาแปรรูปเป็นอย่างอื่นหรือไม่ แต่คนทั้งโลกต่างรับรู้และนิยมบริโภคโกโก้ที่ถูกแปลรูปแปลงร่างเป็น ช็อคโกแลต มาช้านานแล้ว จนหลายคนคลั่งไคล้เป็นแฟนพันธุ์แท้ช็อคโกแลตเลยทีเดียว
ผู้คนอาจชอบช็อคโกแลตเพราะกลิ่นหอมชวนเคลิ้ม ครีมและนมอ่อนนุ่ม ลิ้มรสหวานจากน้ำตาลหรือน้ำผึ้ง หรือขบเคี้ยวเพลิดเพลินกับส่วนผสม อย่างถั่ว อัลมอนด์ ธัญพืชอื่นๆ
แต่สุดท้ายต้องยอมรับว่า ความขมของโกโก้ คือคุณสมบัติโดดเด่นชนะขาด
บ่อยครั้งที่เรามักกำหนดคุณค่าของ ดาร์คช็อคโกแลต เข้มขมปี๋ ด้วยปริมาณโกโก้ในตัวผลิตภัณฑ์ช็อคโกแลต หากปริมาณโกโก้มากกว่าอีกแบรนด์หนึ่ง ก็จะรีบฉกจากชั้นวางใส่รถเข็นทันที ทว่า ปริมาณมากหรือน้อย อาจไม่ใช่ตัวบ่งชี้ประโยชน์เสมอไป
สิบปีก่อน นักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยจากองค์กร-มหาวิทยาลัยชั้นนำหลายแห่ง ป่าวประกาศว่า สารต้านอนุมูลอิสระ ชื่อ ฟลาวานอยส์ (Flavanols) ตามธรรมชาติในเมล็ดโกโก้จะออกฤทธิ์เพิ่มเอ็นไซม์ เพื่อไปทำปฏิกิริยากับ Nitric Oxide ที่อยู่ในหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดขยายตัวมากขึ้น และจะเก็บกัก Nitric Oxide ได้นานขึ้น รวมทั้งชะลอกระบวนการสูญสลายของเอ็นไซม์ตัวนี้
หัวใจจึงไม่ต้องใช้แรงมหาศาลมาสูบฉีดเลือดให้ทะลุชั้นไขมันที่เกาะอยู่ ตามผนังหลอดเลือด ซึ่งเป็นตัวการร้ายขัดขวางการไหลเวียนของเลือด แถมยังมีส่วนช่วยรักษาระดับน้ำตาลในกระแสเลือดอีกด้วย
ฟลาวานอยส์จึงเป็นฮีโร่ ช่วยป้องกันโรคเกี่ยวกับหลอดเลือด ทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตดีขึ้น ลดภาวะการอุดตันในเส้นเลือด ลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมองแตก เบาหวานชนิดที่ 2 และความดันโลหิตสูงได้
ล่าสุด ผลวิจัยสารตัวนี้ทดลองในคน แสดงผลระยะสั้นว่า หลังรับประทานช็อคโกแลตที่มีสารฟลาวานอยส์ภายใน 2 ชั่วโมง ผู้ทดลองมีระบบการไหลเวียนโลหิตดีขึ้น และในระยะยาว หลังรับประทานไป 1 สัปดาห์ ผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมปริมาณน้ำตาลได้ดีขึ้น
และสามารถอ้างอิงข้อมูลจากชาวปานามา พวกเขามีสถิติการบริโภคโกโก้มากกว่าชาติอื่น จึงมีอัตราผู้ป่วยความดันโลหิตสูงลดน้อยลงด้วย
ข้อดีอันน่าอัจจรรย์กระตุ้นต่อมคำถามต่อมาว่า เราต้องบริโภคช็อคโกแลตแค่ไหนจึงจะได้รับสารมหัศจรรย์เพียงพอ
ดร. คาร์ล คีน กรรมการภาควิชาโภชนาการและศาสตราจารย์ด้านโภชนาการและแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอเนีย เดวิส บอกว่า จากผลวิจัยตอนนี้ การบริโภคสารฟลาวานอยส์ในปริมาณ 350 มิลลิกรัมจึงจะเห็นผล
แต่ข้อเสียของฟลาวานอยส์ในโก้โก้มักถูกทำลายได้ง่ายด้วยความร้อน ช็อคโกแลตบางตัวอาจมีสารตัวนี้น้อยหรือไม่มีเลยก็ได้ ถ้าผู้ผลิตช็อคโกแลตไม่ควบคุมอุณหภูมิ ,ค่าความเป็นกรด/ด่าง และกระบวนการผลิตแปรรูปที่ถูกต้อง ก่อนส่งต่อให้ผู้บริโภคได้รับประโยชน์เต็มเปี่ยม
ในขณะที่เราสามารถบริโภคได้ทุกรูปแบบ ทั้งเป็นช็อคโกแลตแท่ง เป็นผงผสมน้ำดื่มได้ทั้งแบบร้อนและเย็น หรือจะผสมกับเครื่องดื่มอื่นก็ได้ เพราะยังไม่ผลพิสูจน์ใดออกมายืนยันว่า ถ้ากินดาร์คช็อคโกแลตแล้วจะได้รับฟลาวานอยส์มากกว่า หรือบริโภคอย่างอื่นร่วมด้วยแล้ว ปริมาณสารฟลาวานอยส์จะลดลง
ฉะนั้น เราต้องกระตือรือร้น หาข้อมูลผู้ผลิตที่ใส่ใจถนอมรักษาสารฟลาวานอยส์ให้มากที่สุด และควรบริโภคอาหารประเภทอื่นที่มีฟลาวานอยส์เพิ่มเติม เช่นองุ่น แอปเปิ้ล และใบชา ถึงแม้จะไม่เข้มข้นเหมือนโกโก้ที่มีมากกว่า 5 เท่าตัวก็ตาม
ขณะเดียวกัน ก็ไม่ควรรับประทานช็อคโกแลตอย่างบ้าคลั่ง มากเกินความพอดี เพราะอย่าลืมว่า ส่วนประกอบอื่นๆ ในช็อคโกแลตทำให้เกิดภาวะโรคอ้วนได้เหมือนกัน