ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Plusz
« เมื่อ: ตุลาคม 08, 2010, 12:55:12 pm »

ฟ้าทะลายโจรมีฤทธิ์ลดไข้ ต้านการอักเสบ ลดอาการจากการหวัด ลดการแบ่งตัวของเชื้อไวรัส จึงทำให้เชื้อไวรัสเข้าสู่เซลล์ได้ยากขึ้น ยังกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ทำให้มีร่างกายสามารถต่อสู้กับเชื้อไวรัสได้ดีขึ้น
สมุนไพร ฟ้าทะลายโจร

ฟ้าทะลายโจรเป็นยาจากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติของประเทศไทย  มีข้อบ่งใช้ในการบรรเทาอาการของโรคหวัด  (Common cold)  เช่น  เจ็บคอ  ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ  น้ำมูกไหล  และบรรเทาอาการท้องเสียไม่ติดเชื้อ

   
คำถาม:   ฟ้าทะลายโจรมีความปลอดภัยมากน้อยเพียงใดในการใช้เพื่อการรักาอาการเนื่องจากหวัด
 
คำตอบ:  ฟ้าทะลายโจรมีการทดสอบความเป็นพิษที่ครบถ้วนทั้ง 3 ระยะ  กล่าวคือ พิษเฉียบพลัน  พิษกึ่งเรื้อรังและพิษเรื้อรัง  พบว่าฟ้าทะลายโจรมีความปลอดภัยในการรับประทานในระยะยาว 
 
 
คำถาม:  ฟ้าทะลายโจรควรใช้เมื่อใด
 
คำตอบ:  ฟ้าทะลายโจรควรใช้เมื่อมีอาการของหวัดอาการใดอาการหนึ่ง เช่น  เจ็บคอ  ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ  หรือมีน้ำมูก โดยอาการเจ็บคอรับประทานครั้งละ 3-6 กรัมวันละ 4  ครั้ง  ส่วนการบรรเทาอาการหวัดให้รับประทานครั้งละ 1.5-3 กรัมวันละ 4  ครั้ง  โดยแนะนำให้รับประทานติดต่อกันไม่เกิน 7 วัน  หากอาการไม่ดีขึ้นควรรีบไปพบแพทย์
 

 
คำถาม:  ฟ้าทะลายโจรออกฤทธิ์อย่างไรในการต้านหวัด
 
คำตอบ:  ฟ้าทะลายโจรมีกลไกการออกฤทธิ์ 3  กลไกล่าวคือ  ฟ้าทะลายโจรมีฤทธิ์ลดไข้  ต้านการอักเสบ  (Ant-inflammation)  และลดอาการจากการหวัด   มีฤทธิ์ลดการแบ่งตัวของเชื้อไวรัสและทำให้ความสามารถของเชื้อไวรัสในการเกาะติดกับผนังเซลล์ลดลง  จึงทำให้เชื้อไวรัสเข้าสู่เซลล์ได้ยากขึ้น  และสุดท้ายฟ้าทะลายโจรมีฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกัน  ทำให้มีร่างกายสามารถต่อสู้กับเชื้อไวรัสได้ดีขึ้น
 

 
คำถาม:  ฟ้าทะลายโจรสามารถใช้ป้องกันการเกิดหวัดได้หรือไม่
 
คำตอบ:  ฟ้าทะลายโจรมีการใช้เพื่อการป้องกันหวัดมาอย่างยาวนานในประเทศจีน และมีรายงานการวิจัยว่าฟ้าทะลายโจรช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ทั้งแบบจำเพาะ คือ การสร้างแอนตี้บอดี้ (Antibody) เพื่อต่อต้านสิ่งแลกปลอมที่เข้ามาในร่างกาย  และภูมิคุ้มกันแบบไม่เฉพาะเจาะจง  คือ  การกระตุ้นให้เม็ดเลือดขาวชนิดแมคโคฟาจ  (Macrophage) ให้จับกินเชื้อโรคได้ดีขึ้น  มีการวิจัยในต่างประเทศที่ทำในเด็กนักเรียน 107  ราย  ให้รับประทานฟ้าทะลายโจรที่ควบคุมสารสำคัญ คือ  แอนโดรกราฟโฟไลด์  (Andrographolide) ให้มีความเข้มข้น 4%  ต่อวัน  ในฤดูหนาวนาน 3 เดือน  พบว่าอัตราการเกิดหวัดในกลุ่มที่ได้รับฟ้าทะลายโจรน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ  (30%)  เทียบกับ 62% ในกลุ่มยาหลอก  ดังนั้นจึงแนะนำให้รับประทานฟ้าทะลายโดยเทียบกับปริมาณสารสำคัญคือ แอนโดรกราฟโฟไลด์  (Andrographolide)  ประมาณ 8%  ต่อวัน  หรือประมาณ 1-2  แคปซูลต่อวัน
 
 
คำถาม:  ฟ้าทะลายโจรมีข้อห้ามหรือข้อควรระวังในการใช้อะไรบ้าง
 
คำตอบ:  ห้ามใช้ในสตรีตั้งครรภ์และให้นมบุตร  เนื่องจากมีการศึกษาในหนูทดลองพบว่าน้ำต้มฟ้าทะลายโจรมีผลทำให้หนูแท้งได้  และห้ามใช้ในการบรรเทาอาการไข้หรือเจ็บคอจาการติดเชื้อแบคทีเรีย Streptococcus group A  ซึ่งมีอาการรุนแรง ซึ่งการติดเชื้อแบคทีเรียกลุ่มนี้อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา เช่น  ไข้รูห์มาติค  โรคหัวใจรูห์มาติคและไตอักเสบ
 
 
คำถาม:  รับประทานฟ้าทะลายโจรและทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง  หรือทำให้โลหิตจางจริงหรือไม่
 
คำตอบ:  ตามทฤษฏีการแพทย์แผนไทยและแผนจีนจัดฟ้าทะลายโจรเป็นยารสเย็น  หมายถึง  เมื่อรับประทานฟ้าทะลายโจรแล้วทำให้อุณหภูมิในร่างกายลดลง  จึงนำมาใช้เป็นยาลดไข้  ซึ่งเมื่อรับประทานยาเย็นติดต่อกันนาน ๆ (แต่นานเท่าใด  ในทางการแพทย์ไม่สามารถระบุได้เนื่องจากขึ้นกับธาตุพื้นฐานของร่างกาย  ถ้าร่างกายมีความเย็นมากก็อาจเกิดได้เร็ว  แต่ถ้าร่างกายมีความร้อนสะสมมากก็อาจจะเกิดช้า)  ก็อาจจะทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตต่ำ  แขนขาชา กล้ามเนื้ออ่อนแรง  หรือความเข้มข้นของเลือดลดลง  อาการต่าง ๆ เหล่านี้สามารถกลับมาสู่ปกติได้เมื่อหยุดรับประทานยารสเย็น  ซึ่งจากรายงานการวิจัยต่าง ๆ ของฟ้าทะลายโจรก็ไม่พบผลข้างเคียงดังกล่าว  แต่อย่างไรก็ตามเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคจึงขอแนะนำให้รับประทานฟ้าทะลายโจรดังนี้ 
 

การรับประทานเพื่อการป้องกันหวัดให้รับประทานเพียงวันละ 1-2  แคปซูลเท่านั้น  และรับประทานได้ติดต่อกันไม่นานเกิน 3  เดือน 
 

การรับประทานเพื่อบรรเทาอาการเจ็บคอรับประทานครั้งละ 3-6 กรัมวันละ 4  ครั้ง  ส่วนการบรรเทาอาการหวัดให้รับประทานครั้งละ 1.5-3 กรัมวันละ 4  ครั้ง  โดยรับประทานติดต่อกันไม่เกิน 7 วัน 
 

....................
ที่มาศูนย์ข้อมูลสมุนไพร  โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร

 
ต.ท่างาม อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี 037-211-289