ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Plusz
« เมื่อ: ตุลาคม 08, 2010, 12:55:37 pm »

น้ำจับเลี้ยง
  ชาวจีนนำภูมิปัญญาทำเครื่องดื่มน้ำจับเลี้ยงมาเผยแพร่ในประเทศไทย โดยรวบรวมเอาสมุนไพรหลายชนิดเข้าเป็นส่วนผสม ทั้งสมุนไพรไทยและจีน ดื่มได้ทั้งแบบร้อนและเย็น สรรพคุณป้องกันและบรรเทาอาการร้อนใน โดยเฉพาะอาการร้อนในที่เกิดจากสภาวะที่ร่างกายขาดความสมดุล เช่น นอนดึก พักผ่อนไม่พอ หรือกินแต่ของที่ทำให้ร้อน ของทอด หรือกินน้ำน้อย มีอาการทางระบบทางเดินอาหาร มีแผลในปาก ปากลิ้นเปื่อย มีฝ้า ขมคอ เจ็บคอ เสียงแหบ คอแห้ง ไอ ตาร้อนผ่าว
โดยที่หากอาการร้อนในไม่รุนแรง รักษาร่างกายให้คืนสมดุลได้ก็หายเอง ทั้งนี้ ตามสูตรไทย ถ้าร้อนในให้กินยาเขียว ยาขม กินผัก ดื่มน้ำมากๆ ส่วนคนจีนแนะนำให้ดื่มน้ำมากๆ คู่กับกินพืชผักผลไม้ที่มีธาตุเย็น เช่น ฟัก แตง ฯลฯ แล้วต้มจับเลี้ยงดื่ม

น้ำจับเลี้ยง
 
น้ำจับเลี้ยงมีขายทั่วไป แต่บางย่านอาจเป็นของหายาก จะต้มดื่มเองก็เป็นความคิดที่ดี เพียงไปที่ร้านขายยาจีน (จับเลี้ยงเป็นของพื้นๆ มีขายทุกร้าน) บอกว่าซื้อจับเลี้ยง 1 ห่อ ร้านจะจัดสมุนไพรต่างๆ ให้จนครบสูตร ประกอบด้วย ดอกงิ้ว ใบบัว รากหญ้าคา เมล็ดเพกา เก๊กฮวย รากบัว โหล่เกง เทียงฮวยฮุ่ง แซตี่ แห่โกวเช่า หล่อฮั่งก้วย
วิธีต้ม ใส่จับเลี้ยงลงในหม้อต้ม เติมน้ำให้ท่วม ต้มจนเดือดไฟอ่อนๆ ประมาณ 20 นาที ถ้างวดมากให้เติมน้ำลงไปพอประมาณ เสร็จแล้วกรองเอาแต่น้ำ เติมน้ำตาลทรายแดงให้ความหวานตามชอบ น้ำจับเลี้ยงที่เหมาะแก่การดื่มไม่ควรเข้มข้นมาก และควรต้มเพียงรอบเดียว ดื่มวันละ 3-4 แก้ว
สมุนไพรไทยในจับเลี้ยง มี เมล็ดเพกา เพกาเป็นไม้ยืนต้นสูง 3-12 เมตร เปลือกเรียบ ใบเป็นใบประกอบ ยาว 60-200 ซ.ม. มีใบย่อยจำนวนมาก รูปร่างคล้ายไข่ ปลายใบแหลม ใบกว้าง 4-8 ซ.ม. ยาว 6-12 ซ.ม. ดอกออกเป็นช่อใหญ่ ยาว 50-150 ซ.ม. กลีบดอกด้านนอกมีสีม่วงอมแดง หรือน้ำตาลอมแดง กลีบดอกด้านในสีเหลืองหรือสีครีม ผลเป็นฝักแบนยาวคล้ายดาบห้อยลง กว้าง 6-15 ซ.ม. ยาว 60-12 ซ.ม. ภายในมีเมล็ดเรียงตามความยาวของฝัก เมล็ดแบนและมีเยื่อบางๆ อยู่ล้อมรอบ
เมล็ดเพกาเป็นส่วนผสมของจับเลี้ยง ทั้งใช้เป็นยาแก้ไอและขับเสมหะได้ด้วย โดยใช้เมล็ดครั้งละ 1 กำมือ หรือ 1.5-3 กรัม ใส่น้ำประมาณ 300 ม.ล. ต้มไฟอ่อนๆ พอเดือดนานประมาณ 1 ชั่วโมง รับประทานวันละ 3 ครั้ง
บัว คนจีนใช้แทบทุกส่วนของบัวเป็นประโยชน์ในการทำอาหาร รากหรือเหง้าบัวนำมาหั่นเป็นแว่นต้มกับกระดูกหมูเป็นแกงจืด หรือเชื่อมน้ำตาลกินเป็นของหวาน หรือกินเป็นผักแนม เมล็ดบัวใช้ทำเป็นของหวาน ต้มน้ำตาลธรรมดาเป็นเมล็ดบัวร้อน หรือใส่น้ำแข็งเป็นเมล็ดบัวเย็น อีกอย่างหนึ่งที่ดูเป็นเอกลักษณ์คือใช้ใบบัวห่ออาหารที่นำไปนึ่งให้สุกอย่างข้าวห่อใบบัว ขณะที่ญี่ปุ่นก็ใช้รากบัวทำอาหาร ส่วนอินเดียก็ใช้ทั้งรากบัว สายบัว เช่นเดียวกับชาวไทยนิยมนำบัวมาต้มยำทำแกง
ดอกงิ้ว ผลิตผลจากต้นงิ้ว มีสีแดงหรือเหลืองส้ม เวลาบาน ใบจะร่วงหมด ออกดอกช่วงฤดูหนาว นำมาปรุงอาหารได้อย่างดีด้วย มีคุณค่าทางอาหารสูงมาก มีแคลเซียมถึง 429 ม.ก. ต่อ 100 กรัม (1 ขีด) นอกจากปรุงเป็นน้ำเงี้ยว กินกับขนมจีน เรียก ขนมจีนน้ำเงี้ยว แล้ว ยังเป็นผักจิ้มน้ำพริก ผักแกงส้ม หรือชุบแป้งข้าวโพดกินเล่นเป็นอาหารบำรุงสุขภาพ หรือรวบรวมตากแห้งเก็บไว้ในที่ที่อากาศถ่ายเทสะดวกใช้เป็นยา และที่สำคัญเป็นส่วนผสมของจับเลี้ยงแก้ร้อนใน