ข้อความโดย: Plusz
« เมื่อ: ตุลาคม 08, 2010, 12:58:05 pm »เริ่มฮิตมาจากฟักแม้ว อาหารบริโภคเป็นนิจศีลของชาวภูเขา อยู่มาไม่นานผัดยอดฟักแม้วหมูกรอบกลายเป็นอาหารขึ้นโต๊ะของคนกรุง และกำลังจะชวนครอบครัวผักผลไม้อพยพเข้าครัวคนเมืองหลวงราวกับเดินพาเหรด
ผักผลไม้เชื้อชาติไทย สัญชาติต่างด้าว เริ่มได้รับความนิยมอย่างช้าๆ และค่อยๆ บูมขึ้นโดยอาศัยแรงผลักดันของโครงการหลวง จนเกิดพฤติกรรมบริโภค ผักดอย เป็นอาหารทางเลือก นอกเหนือจากผักปลอดสารพิษที่ปลูกบนพื้นที่ราบ และผักน้ำ หรือไฮโดรโปรนิกส์ ความน่าสนใจของ ผักดอย หรือ ผักปลอดสารพิษเมืองเหนือ อยู่ที่ภูมิประเทศเหมาะเจาะ สภาพดินสมบูรณ์ไม่มีมลภาวะ และอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 800 เมตรขึ้นไป อีกทั้งภูมิอากาศเหมาะสมอุณหภูมิเฉลี่ย 18-20 องศาในฤดูร้อนและ 6-7 องศาในฤดูหนาว จึงถือเป็นแหล่งเพาะปลูกที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลกก็ว่าได้ จุดเด่นของผักดอยคือขนาดใหญ่โตอวบอิ่ม สีสันจัดจ้าน ไม่ว่าจะเป็นดอกกะหล่ำไซส์พี่บิ๊ก มะเขือเทศราชินีสีแดงสด เห็ดสารพัดชนิด จัดเป็นวัตถุดิบหลักสำหรับทำซุป และสลัดผักที่สาวๆ รักสุขภาพทั้งหลายโปรดปราน ไม่เพียงแต่ผักผลไม้ที่เราคุ้นตาเท่านั้น เมื่อสำรวจและวิจัยอย่างเจาะลึกแล้ว พบว่ายังมีสมุนไพรชั้นเซียนบนยอดดอยที่รอคอยการมาเยือน “ฮีโร่” ของวันนี้ต้องยกให้ ข้าวดอยปลอดสารพิษ เผ่าลาหู่และอาข่าที่ปลูกด้วยวิธีสูตรโบราณ พวกเขาจะเลือกฤดูปลูกข้าวช่วงต้นฝน โดยใช้ระยะเวลา 3-4 เดือน ตั้งแต่ปลูกถึงเก็บเกี่ยวในช่วงเดือนมิถุนายน และเดือนสิงหาคม ด้วยวิธีการตั้งลุ้ง (หยอดหลุม) กรรมวิธีการปลูก ชาวเขาทั้งสองเผ่าจะใช้เมล็ดพันธุ์ข้าว 5-10 เมล็ดต่อหลุมเพื่อการแตกกอ และจะปลูกจากยอดดอยลงมาข้างล่างเป็นแนวชัน มีลักษณะปลูกแบบถอยหลังลงมา หลังจากนั้น 10-15 วัน เมล็ดข้าวจะเริ่มงอก และเจริญเติบโตได้ดี โดยอาศัยอุณหภูมิ แสง และความชื้นจากน้ำฝน เสน่ห์ของ ข้าวดอย อยู่ที่วิธีการกำจัดศัตรูพืชและเก็บเกี่ยวแบบดั้งเดิม ซึ่งจะใช้น้ำหมักสมุนไพรลุ่มน้ำโขง ฉีดพ่น รอจนข้าวตั้งท้องและสุกแก่เต็มที่ พร้อมที่จะเก็บเกี่ยวโดยชาวเขาจะลงแขกนำต้นข้าวกองรวมกัน หลังจากนั้นทำการแยกเมล็ดออกจากต้นโดยวิธีการฟาดข้าวกับผ้ากะลาที่ปูไว้ แล้วนำเข้าไปใส่กระด้งแยกเมล็ด จากนั้นจึงนำไปตากให้แห้งเพื่อลดความชื้น และนำไปเก็บในยุ้งฉาง รอการเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการด้วยครกกระเดื่องตำข้าว ข้าวดอยจึงกลายเป็นอาหารที่มีประโยชน์สูงมาก มีสารอาหารครบถ้วน มีคุณค่าทางโภชนาการสูงสุด และมีกรดอะมิโนที่สำคัญถึง 9 ชนิดจาก 18 ชนิดที่จำเป็นต่อร่างกาย เหมาะเป็นอาหารทดแทนสำหรับผู้ป่วยที่ต้องการฟื้นตัวเร็ว และทดแทนน้ำนมแม่ สำหรับมารดาขาดน้ำนมให้ทารก นอกจากนั้น ยังพบผลหมากรากไม้แบบบ้านๆ มีตั้งแต่กล้วยป่าไปจนถึงลูกไนป่า ที่กลุ่มชาติพันธุ์ชนเผ่าลุ่มน้ำโขงบริโภคเป็นเวลานาน และเป็นผลไม้บำรุงร่างกายคนภูเขามานานแล้ว กล้วยน้ำว้าเปลือกดำจากยอดดอยลุ่มน้ำโขงสูงกว่าระดับน้ำทะเล 1400 เมตร บริเวณ ต.ห้วยชมพูและ ต.ดอยฮาง จังหวัดเชียงราย มีวิตามินเอสูงและมีสารเพกติน (PECTIN) มีคุณสมบัติช่วยเพิ่มกากและกระตุ้นให้ลำไส้ทำงานเป็นปกติ มากกว่ากล้วยน้ำว้าทั่วไปถึง 10 เท่าและมีสารแทนนิน (Tannin) ช่วยสมานลำไส้ให้สะอาดแก้ปัญหาท้องผูกและช่วยแก้อาการริดสีดวงทวาร ส่วนลูกไนป่า หรือลูกพรุน อุดมไปด้วยวิตามิน B2 (Riboflavin) ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง กระบวนการสร้างช่วยในการเจริญเติบโตของเซลล์ วิตามิน C (Ascorbic Acid) ซึ่งมีสารต้านอนุมูลอิสระ (Anti-oxidant) เป็นส่วนประกอบพิเศษที่ช่วยป้องกันเซลล์จากการถูกทำลายเมื่อเซลล์ถูกทำลายโอกาสการเป็นมะเร็งก็มีสูงขึ้น และต่อต้านแบคทีเรียได้ดียิ่งขึ้น รวมทั้งวิตามิน E ช่วยป้องกันการเกิดปฏิกิริยาของออกซิเจนที่ไม่สมบูรณ์ภายในร่างกาย เมื่อนำมาแปรรูปเป็นน้ำผลไม้ ด้วยกรรมวิธีนำมาคั้นรวมกัน แล้วกรองกากทิ้ง เติมน้ำผึ้งป่าเป็นสารเพิ่มความหวานเข้าไป ก็ทำให้น้ำผลไม้ลุ่มน้ำโขงอุดมไปด้วยน้ำตาลธรรมชาติ 3 ชนิดที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ได้แก่ ซูโคส ฟรุกโทสและกลูโคส รวมกับเส้นใยและกากอาหาร ช่วยเสริมเพิ่มพลังให้กับร่างกายได้ทันที และคุณสมบัติช่วยปรับสมดุลภายในร่างกาย สามารถช่วยดีท๊อกซ์ลำไส้ให้สะอาด และแก้ปัญหากลิ่นกายจากต้นเหตุทุกชนิด แถมด้วยสมุนไพรชื่อแปลกแต่แฝงตัวยามหัศจรรย์ ได้แก่ สาหร่ายไก ซึ่งเป็นสาหร่ายชั้นสูงที่มีคลอโรฟิลล์และแร่ธาตุซิลินิมสูง ต้านอนุมูลอิสระ และมีคุณสมบัติในการดักจับกลิ่นได้ดีมาก เช่นเดียวกับ ใบฝรั่งดอย ที่จะช่วยระงับเชื้อแบคทีเรีย และมีคลอฟิลที่มีคุณสมบัติดีกว่าใบฝรั่งพื้นราบ 10 เท่า หรือแม้กระทั่งสมุนไพรพื้นถิ่นที่ซ่อนคุณประโยชน์ไว้มากมาย ซึ่งยังไม่แพร่หลายและรอการแปรรูปสู่การบริโภค อย่าง ฮ้อมเกี้ยวคำ สมุนไพรโบราณ ซึ่งคนทางเหนือใช้ตำ ทามือทาเท้าเวลาจะออกไปทำนา เพื่อป้องกันน้ำกัดมือกัดเท้า พลังรักษาและต้านโรคของผักดอยนี่แหละเป็นคีย์เวิร์ดสำคัญ ทำให้พืชพันธุ์เมืองหนาวเป็นอาหารขึ้นโต๊ะคนเมือง
ผักผลไม้เชื้อชาติไทย สัญชาติต่างด้าว เริ่มได้รับความนิยมอย่างช้าๆ และค่อยๆ บูมขึ้นโดยอาศัยแรงผลักดันของโครงการหลวง จนเกิดพฤติกรรมบริโภค ผักดอย เป็นอาหารทางเลือก นอกเหนือจากผักปลอดสารพิษที่ปลูกบนพื้นที่ราบ และผักน้ำ หรือไฮโดรโปรนิกส์ ความน่าสนใจของ ผักดอย หรือ ผักปลอดสารพิษเมืองเหนือ อยู่ที่ภูมิประเทศเหมาะเจาะ สภาพดินสมบูรณ์ไม่มีมลภาวะ และอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 800 เมตรขึ้นไป อีกทั้งภูมิอากาศเหมาะสมอุณหภูมิเฉลี่ย 18-20 องศาในฤดูร้อนและ 6-7 องศาในฤดูหนาว จึงถือเป็นแหล่งเพาะปลูกที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลกก็ว่าได้ จุดเด่นของผักดอยคือขนาดใหญ่โตอวบอิ่ม สีสันจัดจ้าน ไม่ว่าจะเป็นดอกกะหล่ำไซส์พี่บิ๊ก มะเขือเทศราชินีสีแดงสด เห็ดสารพัดชนิด จัดเป็นวัตถุดิบหลักสำหรับทำซุป และสลัดผักที่สาวๆ รักสุขภาพทั้งหลายโปรดปราน ไม่เพียงแต่ผักผลไม้ที่เราคุ้นตาเท่านั้น เมื่อสำรวจและวิจัยอย่างเจาะลึกแล้ว พบว่ายังมีสมุนไพรชั้นเซียนบนยอดดอยที่รอคอยการมาเยือน “ฮีโร่” ของวันนี้ต้องยกให้ ข้าวดอยปลอดสารพิษ เผ่าลาหู่และอาข่าที่ปลูกด้วยวิธีสูตรโบราณ พวกเขาจะเลือกฤดูปลูกข้าวช่วงต้นฝน โดยใช้ระยะเวลา 3-4 เดือน ตั้งแต่ปลูกถึงเก็บเกี่ยวในช่วงเดือนมิถุนายน และเดือนสิงหาคม ด้วยวิธีการตั้งลุ้ง (หยอดหลุม) กรรมวิธีการปลูก ชาวเขาทั้งสองเผ่าจะใช้เมล็ดพันธุ์ข้าว 5-10 เมล็ดต่อหลุมเพื่อการแตกกอ และจะปลูกจากยอดดอยลงมาข้างล่างเป็นแนวชัน มีลักษณะปลูกแบบถอยหลังลงมา หลังจากนั้น 10-15 วัน เมล็ดข้าวจะเริ่มงอก และเจริญเติบโตได้ดี โดยอาศัยอุณหภูมิ แสง และความชื้นจากน้ำฝน เสน่ห์ของ ข้าวดอย อยู่ที่วิธีการกำจัดศัตรูพืชและเก็บเกี่ยวแบบดั้งเดิม ซึ่งจะใช้น้ำหมักสมุนไพรลุ่มน้ำโขง ฉีดพ่น รอจนข้าวตั้งท้องและสุกแก่เต็มที่ พร้อมที่จะเก็บเกี่ยวโดยชาวเขาจะลงแขกนำต้นข้าวกองรวมกัน หลังจากนั้นทำการแยกเมล็ดออกจากต้นโดยวิธีการฟาดข้าวกับผ้ากะลาที่ปูไว้ แล้วนำเข้าไปใส่กระด้งแยกเมล็ด จากนั้นจึงนำไปตากให้แห้งเพื่อลดความชื้น และนำไปเก็บในยุ้งฉาง รอการเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการด้วยครกกระเดื่องตำข้าว ข้าวดอยจึงกลายเป็นอาหารที่มีประโยชน์สูงมาก มีสารอาหารครบถ้วน มีคุณค่าทางโภชนาการสูงสุด และมีกรดอะมิโนที่สำคัญถึง 9 ชนิดจาก 18 ชนิดที่จำเป็นต่อร่างกาย เหมาะเป็นอาหารทดแทนสำหรับผู้ป่วยที่ต้องการฟื้นตัวเร็ว และทดแทนน้ำนมแม่ สำหรับมารดาขาดน้ำนมให้ทารก นอกจากนั้น ยังพบผลหมากรากไม้แบบบ้านๆ มีตั้งแต่กล้วยป่าไปจนถึงลูกไนป่า ที่กลุ่มชาติพันธุ์ชนเผ่าลุ่มน้ำโขงบริโภคเป็นเวลานาน และเป็นผลไม้บำรุงร่างกายคนภูเขามานานแล้ว กล้วยน้ำว้าเปลือกดำจากยอดดอยลุ่มน้ำโขงสูงกว่าระดับน้ำทะเล 1400 เมตร บริเวณ ต.ห้วยชมพูและ ต.ดอยฮาง จังหวัดเชียงราย มีวิตามินเอสูงและมีสารเพกติน (PECTIN) มีคุณสมบัติช่วยเพิ่มกากและกระตุ้นให้ลำไส้ทำงานเป็นปกติ มากกว่ากล้วยน้ำว้าทั่วไปถึง 10 เท่าและมีสารแทนนิน (Tannin) ช่วยสมานลำไส้ให้สะอาดแก้ปัญหาท้องผูกและช่วยแก้อาการริดสีดวงทวาร ส่วนลูกไนป่า หรือลูกพรุน อุดมไปด้วยวิตามิน B2 (Riboflavin) ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง กระบวนการสร้างช่วยในการเจริญเติบโตของเซลล์ วิตามิน C (Ascorbic Acid) ซึ่งมีสารต้านอนุมูลอิสระ (Anti-oxidant) เป็นส่วนประกอบพิเศษที่ช่วยป้องกันเซลล์จากการถูกทำลายเมื่อเซลล์ถูกทำลายโอกาสการเป็นมะเร็งก็มีสูงขึ้น และต่อต้านแบคทีเรียได้ดียิ่งขึ้น รวมทั้งวิตามิน E ช่วยป้องกันการเกิดปฏิกิริยาของออกซิเจนที่ไม่สมบูรณ์ภายในร่างกาย เมื่อนำมาแปรรูปเป็นน้ำผลไม้ ด้วยกรรมวิธีนำมาคั้นรวมกัน แล้วกรองกากทิ้ง เติมน้ำผึ้งป่าเป็นสารเพิ่มความหวานเข้าไป ก็ทำให้น้ำผลไม้ลุ่มน้ำโขงอุดมไปด้วยน้ำตาลธรรมชาติ 3 ชนิดที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ได้แก่ ซูโคส ฟรุกโทสและกลูโคส รวมกับเส้นใยและกากอาหาร ช่วยเสริมเพิ่มพลังให้กับร่างกายได้ทันที และคุณสมบัติช่วยปรับสมดุลภายในร่างกาย สามารถช่วยดีท๊อกซ์ลำไส้ให้สะอาด และแก้ปัญหากลิ่นกายจากต้นเหตุทุกชนิด แถมด้วยสมุนไพรชื่อแปลกแต่แฝงตัวยามหัศจรรย์ ได้แก่ สาหร่ายไก ซึ่งเป็นสาหร่ายชั้นสูงที่มีคลอโรฟิลล์และแร่ธาตุซิลินิมสูง ต้านอนุมูลอิสระ และมีคุณสมบัติในการดักจับกลิ่นได้ดีมาก เช่นเดียวกับ ใบฝรั่งดอย ที่จะช่วยระงับเชื้อแบคทีเรีย และมีคลอฟิลที่มีคุณสมบัติดีกว่าใบฝรั่งพื้นราบ 10 เท่า หรือแม้กระทั่งสมุนไพรพื้นถิ่นที่ซ่อนคุณประโยชน์ไว้มากมาย ซึ่งยังไม่แพร่หลายและรอการแปรรูปสู่การบริโภค อย่าง ฮ้อมเกี้ยวคำ สมุนไพรโบราณ ซึ่งคนทางเหนือใช้ตำ ทามือทาเท้าเวลาจะออกไปทำนา เพื่อป้องกันน้ำกัดมือกัดเท้า พลังรักษาและต้านโรคของผักดอยนี่แหละเป็นคีย์เวิร์ดสำคัญ ทำให้พืชพันธุ์เมืองหนาวเป็นอาหารขึ้นโต๊ะคนเมือง