ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Plusz
« เมื่อ: ตุลาคม 08, 2010, 01:37:02 pm »


 
อุบเงียบมานานถึง 5 ปี ไม่เคยเปิดเผยให้ใครรู้มาก่อน นอกจากคนในครอบครัวว่าตนเองป่วยเป็นมะเร็งเต้านม สำหรับ นางปวีณา หงสกุล ประธานมูลนิธิปวีณา หงสกุล เพื่อเด็กและสตรี ล่าสุดยอมเปิดใจหลังได้รับแต่งตั้งจากศูนย์สิริกิติ์บรมราชินีนาถเพื่อโรค มะเร็งเต้านมโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ให้เป็นทูตโครงการรณรงค์ต้านภัยมะเร็งเต้านม ปี 2552 พร้อมเปิดตัวพ็อกเกตบุ๊ก ไดอารี่ ปวีณา หงสกุล สู้ชนะมะเร็งร้ายใน 5 ปี บอกเล่าเรื่องราวชีวิตและประสบการณ์การต่อสู้กับโรคมะเร็งและโรค หัวใจ เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ศูนย์ สิริกิติ์บรมราชินีนาถ โรงพยาบาลจุฬาฯ รายได้ส่วนหนึ่งจากการจำหน่ายหนังสือมอบให้ศูนย์สิริกิติ์บรมราชินีนาถฯ และมูลนิธิปวีณา หงสกุล เพื่อเด็กและสตรี

นางปวีณา กล่าวว่า ทราบว่าเป็นมะเร็งเต้านมเมื่อปี 2547 หลังจากคลำเจอก้อนเนื้อที่หน้าอกด้านขวาขณะอาบน้ำ ผ่านไปหลายวันยังไม่หายจึงไปพบ รศ.นพ.กฤษณ์ จาฏามระ ผู้ก่อตั้งและหัวหน้าศูนย์สิริกิติ์บรมราชินีนาถฯ พบว่าเป็นมะเร็งเต้านมต้องทำการผ่าตัด ความรู้สึกแรกคือ ถามตัวเองว่าจะตายเมื่อไหร่ จะทำอะไรทันไหม เป็นห่วงลูกยังเล็ก ห่วงงานของมูลนิธิและประชาชน ต้องรีบวางแผนงานให้เสร็จก่อนตาย เราตายไม่เป็นไรแต่ไม่อยากให้คนข้างหลังเดือดร้อน

"ช่วงนั้นอยู่ในช่วงหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ปี 2548 พอดี หลังผ่าตัดหนึ่งวันก็ลุยหาเสียงตามปกติ ยังทำงานใช้ชีวิตเหมือนเดิมทุกอย่างไม่มีใครรู้นอกจากคนในครอบครัว หลังเลือกตั้งเสร็จต้องผ่าตัดเป็นครั้งที่ 2 ที่ต่อมน้ำเหลืองใต้รักแร้ เพื่อดูว่ามะเร็งลุกลามหรือไม่ พบว่าลามไปถึง 2 ต่อมแล้ว แต่โชคดีที่ยังไม่ถึง 4 ต่อม ซึ่งถ้ามากกว่า 4 ต่อม อันตรายมาก"

หญิงแกร่งกล่าวต่อว่า หลังจากนั้นจึงทำเคมีบำบัดและฉายแสงเพื่อไม่ให้มะเร็งลุกลาม แต่ก่อนทำในเดือน เม.ย. 2548 คุณหมอตรวจพบว่าหัวใจกระโดด เต้นผิดจังหวะคือเต้นเร็วเกินไป ต้องผ่าตัดใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจก่อนถึงทำคีโมได้ เนื่องจากยาคีโมบางตัวมีผลกับหัวใจ ตอนนั้นรู้สึกกลัวมากและสับสน แต่ทุกอย่างผ่านไปด้วยดี เริ่มทำคีโมในเดือน ก.ค. 2548 ทำอยู่ 6 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 4-6 สัปดาห์ โชคดีไม่แพ้มาก ผมไม่ร่วง มีอ่อนเพลียเล็กน้อย และโดนแดดไม่ได้คันยุบยิบ ตัวร้อนมากต้องดื่มน้ำเย็นตลอด หงุดหงิดง่าย ต่อมาต้องฉายแสงอีก 30 ครั้ง และกินยาแอนตี้ฮอร์โมน ซึ่งเป็นยาป้องกันไม่ให้ฮอร์โมนไปกระตุ้นเซลล์มะเร็งทำให้เนื้อมะเร็งไม่เจริญเติบโต หลังรักษาครบถ้วนคุณหมอบอกว่าหายร้อยละ 95 แล้ว ที่เหลือคือต้องตรวจทุก 4 เดือน ระหว่างนั้นทำงานเหมือนเดิมไม่มีใครรู้

"สำหรับผู้ป่วยเรื่องกำลังใจสำคัญที่สุด ดีที่ได้กำลังใจจากครอบครัวโดยเฉพาะลูกชาย (ษุภมน หงสกุล หุตะสิงห์) คอยดูแลพาไปหาหมอ พาลงพื้นที่ อีกทั้งยังลงสมัคร ส.ก. เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระของแม่ ทำให้มีแรงใจสู้มาได้
อยากให้ประชาชนโดยเฉพาะผู้หญิงรู้ว่าเป็นมะเร็งไม่ตายเสมอไป ถ้าตรวจเจอและรักษาได้เร็ว ยิ่งมีโอกาสหายมาก และรู้สึกดีใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของผู้ที่ได้ทำตามพระราชเสาวนีย์ในสมเด็จ พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงมีพระราชประสงค์ให้ศูนย์สิริกิติ์พระบรมราชินีนาถฯ เป็นที่พึ่งของผู้หญิง และสัญญาว่าจะทำงานรับใช้ศูนย์แห่งนี้ตลอดไป" นางปวีณากล่าว