ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Plusz
« เมื่อ: ตุลาคม 08, 2010, 01:51:07 pm »

เกือบทุกคนคงต้องเคยเผชิญกับการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เช่นปวดคอ บ่า ไหล่ สะบัก หรือหลัง ถ้าอาการดังกล่าวสามารถหายได้ภายใน 2-3 วัน เมื่อพักผ่อน ทายา หรือทานยา อาการปวดดังกล่าว ก็ไม่เป็นปัญหา แต่ถ้าอาการปวดเป็นไปอย่างต่อเนื่อง มีการเพิ่มความรุนแรงและความถี่ขึ้นเรื่อยๆ คุณได้มีอาการ ของ โรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง หรือ Myofascial Pain แล้ว ซึ่งหากปล่อยไว้นานโดยไม่รักษาให้ถูกวิธี จะทำให้มีอาการมากขึ้น จนเกิดโรคอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น โรคปวดศีรษะเรื้อรัง โรคไมเกรน โรคความดัน โลหิตสูง อาการนอนไม่หลับ กล้ามเนื้ออ่อนแรง โครงสร้างร่างกายผิดปกติ เป็นต้น แพทย์อายุรเวท แวร์สมิง แวหมะ แพทย์อายุรเวทประจำศูนย์รักษาไมเกรน และโรคปวดเรื้อรัง Doctor Care ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง หรือ Myofascial Pain Syndrome ว่า ปัจจุบันมีประชากรกว่าร้อยละ 30 มีปัญหาเรื่องโรคปวดเรื้อรัง โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ทำงานในสำนักงาน ที่ต้องนั่งทำงานและใช้ คอมพิวเตอร์นานๆ โดยสาเหตุที่ทำให้มีการปวดมีอาการเรื้อรัง เกิดจากการหดเกร็งสะสมของกล้ามเนื้อ จนเป็นก้อนเล็กๆ ขนาด 0.5-1 ซม. ที่เรียกว่า Trigger Point หรือจุดกดเจ็บ จำนวนมากซ่อนอยู่ในกล้ามเนื้อและเยื่อ พังพืด การเกิด Trigger Point ทำให้กล้ามเนื้อนั้นขาดเลือดและออกซิเจนเข้าไปเลี้ยง จนทำให้เกิดการอักเสบ และเกิดการเกร็งของกล้ามเนื้อบริเวณที่มี Trigger Point โดยการอักเสบของ Trigger Point จะส่งอาการปวดไปที่กล้ามเนื้อบริเวณจุดรวมของ Trigger Point และบริเวณใกล้เคียง การรักษาด้วยการทานยา ทายา การนวด หรือการใช้ความร้อน เพียงทำให้กล้ามเนื้อส่วนบนมีการคลายตัว แต่ไม่สามารถสลายจุด Trigger Point ได้ ดังนั้นอาการปวดเพียงดีขึ้นชั่วคราว หลังจากนั้น 2-3 วัน ก็จะกลับมาปวดอีกเนื่องจากยังมีการกเสบของจุด Trigger Point ภายในกล้ามเนื้อและเยื่อพังพืดยังมีอยู่ อาการที่แสดงออกเด่นชัดของโรคกล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง คือ 1. มีอาการปวดร้าวลึกๆ ของกล้ามเนื้อ ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย โดยอาจปวดตลอดเวลาหรือปวดเฉพาะเวลาทำงาน 2. ความรุนแรงของการปวด มีได้ตั้งแต่แค่เมื่อยล้าพอรำคาญ จนไปถึงปวดทรมานจนไม่สามารถขยับกล้ามเนื้อบริเวณที่ปวดได้ 3. บางกรณีมีอาการชามือและขาร่วมด้วย 4. บางรายมีอาการปวดศีรษะเรื้อรัง อาการนอนไม่หลับ 5. มีอาการผิดปกติของโครงสร้างร่างกาย เช่นไหล่สูงต่ำไม่เท่ากัน หลังงอ คอตก ขาสั้นยาวไม่เท่ากัน ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรังหรือ MPS 1. ท่านั่งทำงานที่ไม่เหมาะสม 2. ลักษณะงานที่ทำให้กล้ามเนื้อเกร็งตัวต่อเนื่องนานๆ เช่นการใช้คอมพิวเตอร์ 3. การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อซ้ำๆ 4. การทำงานที่มีการใช้กล้ามเนื้อท่าเดียวกันซ้ำๆ อย่างต่อเนื่อง 5. การทำงานของกล้ามเนื้อมากเกินไป ขาดการพักผ่อนที่เพียงพอ 6. การขาดดูแลและการบริหารกล้ามเนื้อ เป็นเรื่องที่โชคดีที่ในปัจจุบัน โรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง หรือ MPS สามารถรักษาได้ โดยวิธีการรักษาที่เรียกว่า Trigger Point Therapy ซึ่งใช้การรักษาเพียงอาทิตย์ละครั้ง ประมาณ 4-6 ครั้ง ก็สามารถทำให้อาการปวดเรื้อรังที่รบกวนอยู่ทุกวันหายได้ การรักษาแบบ Trigger Point Therapy เป็นการรักษาเพื่อตัดวัฐจักรการปวดเรื้อรัง 1. ลดอาการปวดที่เกิดจากการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ 2. รักษาที่สาเหตุของการปวดแบบเรื้อรัง โดยการสลาย Trigger Point 3. ป้องกันการกลับมาของ Trigger Point โดยการให้ความรู้ในการทำงานที่ถูกต้อง และการดูแลกล้ามเนื้ออย่างถูกวิธี การรักษาแบบ Trigger Point Therapy แบ่งการรักษาออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ 1. การสอบถามประวัติการปวด และตรวจหาจุด Trigger Point ที่ซ่อนอยู่ในกล้ามเนื้อและเยื่อพังพืด 2. การทำให้กล้ามเนื้อส่วนบนเหนือ Trigger Point ที่มีการหดเกร็ง คลายตัวลงเพื่อลดอาการปวด 3. เมื่อการเกร็งคลายลง แพทย์จะใช้การกดจุด กดไปที่จุด Trigger Point ที่อยู่ในบริเวณที่ปวดเพื่อทำให้เกิดการคลายตัว และเพื่อนำเลือดและออกซิเจนไปที่จุด Trigger Pointเพื่อลดการอักเสบ หลังการรักษา 4-6 ครั้ง จุด Trigger Point จะคลายตัวลง เป็นกล้ามเนื้อปกติจนไม่สามารถใช้มือตรวจเจอได้ จะทำให้วัฐจักรการปวดสิ้นสุดลง อย่างไรก็ตาม เพื่อไม่ให้โรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังกลับมาเป็นอีก ผู้ป่วยต้องดูแลและบริหารกล้ามเนื้ออย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง และมาพบแพทย์อายุรเวทเพื่อตรวจสภาพกล้ามเนื้อปีละครั้ง ก็จะทำให้ห่างไกลจากโรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง สนใจสอบถามข้อมูลการรักษาโรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังและโรคไมเกรนได้ที่ คลินิกการแพทย์แผนไทยประยุกต์ DOCTOR CARE สาขาอาคารไลฟเซ็นเตอร์ คิวเฮ้าส์ลุมพินี หรือสาขาพัฒนาการ 51 โทร 0-2677-7552-3 หรือ 0-2320- 0013-4