ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Plusz
« เมื่อ: ตุลาคม 08, 2010, 01:51:34 pm »

เกือบทุกคนคงต้องเผชิญกับการปวดกล้ามเนื้อ เช่น ปวดคอ บ่า ไหล่ สะบัก หลัง ถ้าอาการสามารถหายได้ภายใน 2-3 วัน อาการปวดก็ไม่เป็นปัญหา แต่ถ้าปวดต่อเนื่องและเพิ่มความรุนแรงถี่ขึ้นเรื่อยๆ นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนว่า กำลังมีอาการของ โรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง ซึ่งหากปล่อยไว้นานโดยไม่รักษาให้ถูกวิธี จะทำให้ เกิดโรคอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น โรคปวดศีรษะเรื้อรัง โรคไมเกรน โรคความดันโลหิตสูง อาการนอนไม่หลับ กล้ามเนื้ออ่อนแรง โครงสร้างร่างกายผิดปกติ เป็นต้น แพทย์อายุรเวท แวร์สมิง แวหมะ ประจำศูนย์รักษาไมเกรน และโรคปวดเรื้อรัง Doctor Care บอกว่า ปัจจุบันมี ประชากรกว่า ร้อยละ 30 มีปัญหาเรื่องโรคปวดเรื้อรัง โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ทำงานในสำนักงาน สาเหตุเกิดจากการหดเกร็งของกล้ามเนื้อเป็นก้อนเล็กๆ ขนาด 0.5-1 ซม. เรียกว่า Trigger Point หรือ จุดกดเจ็บจำนวนมากซ่อนอยู่ในกล้ามเนื้อหรือเยื่อพังพืด "อาการของโรคจะมีอาการปวดร้าวลึกๆ ของกล้ามเนื้อ ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย อาจปวดตลอดเวลา หรือปวดเฉพาะเวลาทำงาน ความรุนแรงของการปวด มีตั้งแต่เมื่อยล้าพอรำคาญไปจนถึงทรมานจนไม่สามารถขยับบริเวณนั้นได้ บางกรณีมีอาการมือชาและขาร่วมด้วย บางรายมีอาการปวดศีรษะเรื้อรังอาการนอนไม่หลับหรือมีอาการผิดปกติของโครงสร้างร่างกาย เช่น ไหล่สูงต่ำไม่เท่ากัน หลังงอ คอตก ขาสั้นยาว ไม่เท่ากัน" แพทย์อายุรเวทแวร์สมิง บอกอีกว่า ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรังเกิดจาก ท่านั่งทำงานไม่เหมาะสม ลักษณะงานที่ทำให้กล้ามเนื้อเกร็งตัวต่อเนื่อง เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อซ้ำๆ การทำงานที่มีการใช้กล้ามเนื้อท่าเดียวกันซ้ำๆ อย่างต่อเนื่อง การทำงานของกล้ามเนื้อมากเกินไป ขาดการพักผ่อน รวมถึง การขาดการบริหารกล้ามเนื้อ สำหรับการรักษา มีวิธีรักษาที่เรียกว่า Trigger Point Therapy รักษาเพียงอาทิตย์ละครั้ง ประมาณ 4-6 ครั้ง เป็นการรักษาที่ตัดวัฏจักรการปวด ลดอาการปวดที่เกิดจากการเกร็งของกล้ามเนื้อ ด้วยการสลายจุด Trigger Point และ ป้องกันการกลับมา โดยการให้ความรู้ในการทำงานที่ถูกต้อง และการดูแลกล้ามเนื้อ


"เพื่อไม่ให้โรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังกลับมาเป็นอีก ผู้ป่วยต้องดูแลและบริหารกล้ามเนื้อสม่ำเสมอ เช่น ฝึกการยืดกล้ามเนื้อบริเวณลำตัวบนต้นแขนและคอ โดยการประสานมือเข้าด้วยกันแล้วยืดมือออกไปด้านหน้า จากนั้นค่อยยกขึ้นด้านบน และด้านโยกไปด้านซ้ายและขวา หรือการยืดกล้ามเนื้อด้านข้างลำตัว หลังต้นขาและกล้ามเนื้องอ เช่น ประสานมือเข้าด้วยกัน แล้วยืดมือออกไปด้านบน จากนั้นค่อยๆ โยกลำตัวไปด้านข้างจนเอวรู้สึกตึง สลับไปอีกข้าง และรู้จักหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง"