ข้อความโดย: Plusz
« เมื่อ: ตุลาคม 08, 2010, 02:36:32 pm »- สาระน่ารู้ หู คอ จมูก
โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์หู คอ จมูก รพ.กรุงเทพFind
Home About
Archive for the 'จมูกและโพรงอากาศไซนัส' Category
ยาพ่นจมูก
นพ.พีระ จิตตำนาน May 4th, 2007
โรคทางจมูกและไซนัสบางอย่าง อาจต้องใช้ยาพ่นจมูกช่วยในการรักษา เช่น โรคภูมิแพ้ ไซนัสอักเสบ
ชนิดของยาพ่นจมูกมีใช้อยู่ในปัจจุบัน
1. ยาที่มีผลให้หลอดเลือดใต้เยื่อบุจมูกยุบตัวลง มีผลให้จมูกหายใจได้โล่งขึ้น ยากลุ่มนี้มีประโยชน์ในกรณีที่คนไข้มีอาการคัดจมูกมากๆอย่างเฉียบพลัน เมื่อใช้แล้วจมูกจะโล่งขึ้นใน 3 – 5 นาที แต่ยานี้มีข้อเสีย คือ ถ้าใช้ต่อเนื่องนานกว่า 5 วัน จะมีผลทำให้มีการคัดจมูกเรื้อรังได้ (Rebound Nasal Congestion) จึงควรใช้เมื่อจำเป็นและเป็นช่วงสั้นๆ
2. ยาที่มีส่วนผสมของ Corticosteroid ยากลุ่มนี้เป็นที่นิยมใช้ในปัจจุบัน เพื่อรักษาอาการภูมิแพ้จมูกที่มี ไซนัสอักเสบร่วมด้วย หรืออาการภูมิแพ้จมูกที่มีอาการบ่อยๆตลอดปี ในกรณีของริดสีดวงจมูก (Nasal polyp) ก็สามารถใช้ยาพ่นกลุ่มนี้ควบคุมอาการได้
3. น้ำเกลือ Saline ใช้พ่นเพื่อให้ความชุ่มชื้นในจมูกและลดความหนืดของน้ำมูก
การพ่นจมูกในกรณีเป็นขวดสเปรย์
สั่งน้ำมูกถ้ามีน้ำมูกอยู่
ก้มศีรษะลงเล็กน้อย
สอดหัวพ่นยาเข้าในรูจมูกลึก ½ – 1 ซ.ม.
พ่นฉีดยากดแรงๆ ข้างละ 1- 2 ครั้ง จมูกซ้าย - ขวา
จมูกและโพรงอากาศไซนัส Comments(0)
ทำไมเวลาตากฝน แล้วถึงเป็นหวัด
นพ.สมศักดิ์ หวานกิจเจริญ April 30th, 2007
เคยสงสัยไหมครับว่า เวลาตากฝน โดยเฉพาะเวลาศีรษะเปียกฝน แล้ววันต่อมา เร่ิมมีอาการของหวัด เช่น มีอาการจาม คัดจมูก หรือมีน้ำมูก วันนี้ ผมมีคำอธิบาย และมีคำแนะนำเวลาตากฝน
โรคหวัด ก็คือโพรงจมูกอักเสบจากการติดเชื้อ ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มักจะเกิดจากไวรัส มีไวรัสเป็นร้อยชนิด ที่ทำให้เกิดไข้หวัดได้ ไวรัสเหล่านี้ กระจายฟุ้งอยู่ในอากาศ แล้วก็ตกลงอยู่ทีพื้น หรือเกาะอยู่ตามฝุ่น ไวรัสเหล่านี้ สามารถมีชีวิตอยู่ได้นาน ในช่วงปกติ เราก็จะสัมผัสกัับไวรัสเหล่านี้อยู่บ้าง แต่เนื่องจากปริมาณมีไม่สูง รวมทั้งภูมิต้านทานของร่างกาย และสภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เราจึงไม่เป็นโรคหวัด
ก่อนฝนตก มักจะมีกระแสลมที่แรง ลมเหล่านี้ จะพัดให้ไวรัสให้ฟุ้งกระจายปริมาณมาก หากเราอยู่ในบริเวณนั้น ก่อนฝนตก โอกาส ที่จะสัมผัสไวรัสในปริมาณมากก็มีมากขึ้น ดังนั้น พยายามอย่าอยู่ในที่โล่งแจ้้งโดยเฉพาะเวลาก่อนฝนตกนะครับ หรือถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ อาจใช้ผ้าเช็ดหน้าปิดปากปิดจมูก ในช่วงเวลานั้นก็ได้ครับ
หากเราตากฝน ศีรษะของเราก็จะเปียกฝน เชื้อโรคไม่ได้เข้าทางศีรษะนะครับ แต่การที่ศีรษะเปียกฝน จะมีผลทำให้อุณภูมิที่พื้นผิวของเยื่อบุจมูกลดต่ำลงประมาณ 1-2 องศาเซลเซียส ซึ่งอุณหภูมิระดับนี้ เหมาะสมสำหรับการแบ่งตัวของเชื้อไวรัสที่ตกค้างอยู่ในช่องจมูก ประกอบกับการสัมผัสเชื้อไวรัสปริมาณมากช่วงก่อนฝนตก ก็เลยทำให้มีไวรัสจำนวนมากบริเวณเยื่อบุจมูก ภูมิต้านทานของร่างกาย จึงไม่อาจต้านทานเชื้อเหล่านี้ได้อีกต่อไป ก็เลยเกิดการอักเสบของเยื่อบุจมูก เกิดอาการบวมของเยื่อบุจมูก ทำให้คัดจมูก รวมทั้งเกิดการสร้างสารคัดหลั่งมากขึ้น ซึ่งก็คือน้ำมูก นั่นเอง หากเชื้อไวรัสลุกลามไปที่ลำคอ ก็จะทำให้เกิดคออักเสบตามมาได้
นอกจากศีรษะที่เปียกฝน ที่มีผลต่ออุณหภูมิในจมูกแล้ว อุณหภูมิบริเวณมือและเท้า ก็มีผลด้วยเช่นเดียวกัน การที่รองเท้าเราเปียกน้ำ และต้องแช่อยู่ในนั้นนานๆ ก็มีผลทำให้อุณภูมิในจมูกลดลง นำไปสู่อาการเป็นหวัดได้
วิธีการป้องกัน ไม่ให้เกิดหวัดเวลาศีรษะเปียกฝนก็คือ
หลบฝนในที่ร่มเสียก่อน รอจนฝนหยุด แล้วค่อยเดินทางต่อ
ใช้ร่มเพื่อบังศีรษะของเราไว้
หากศีรษะเปียกฝน รีบเช็ดให้แห้งเมื่อมีโอกาส ถ้าจะให้ดี สระผมไปเลยก็ได้ แล้วเช็ดหรือเป่าให้แห้งโดยเร็ว
รีบทำให้ร่างกายอบอุ่น
อาจแช่เท้าทั้งสองข้างในน้ำอุ่น เพื่อช่วยเปลี่ยนอุณภูมิที่พื้นผิวของจมูก ทำให้ไม่เหมาะต่อการแบ่งตัวของเชื้อโรค
รับประทานผลไม้ ที่มีวิตามินซีสูงๆ เช่น ส้ม วิตามินซี จะช่วยเสริมสร้างเซลและเนื้อเยื่อที่ถูกทำลายไป ช่วยป้องกันการเป็นหวัดได้
วิธีการง่ายๆ เหล่านี้ ก็ทำให้คุณไม่เป็นหวัดง่ายๆ ในหน้าฝนนี้