ข้อความโดย: Plusz
« เมื่อ: ตุลาคม 08, 2010, 02:37:53 pm »10 คำถามที่พบบ่อยครั้งที่คนไข้มักจะถาม หรือคนไข้ควรจะรับทราบเพื่อประโยชน์ในการดำรงชีวิตอยู่กับโรคเบาหวาน
เบาหวาน เกิดจากอะไร ?
“ ภาวะไม่สมดุลของฮอร์โมนอินซูลิน ผลลัพธ์ คือ น้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติ ”
เบาหวานเป็นโรคที่พบตั้งแต่โบราณ ท่านอาจเคยได้ยินได้ฟังมาก่อนว่า ถ้าชิมปัสสาวะคนไข้เบาหวานจะมีรสหวาน ก็เป็น เรื่องจริง เนื่องจากมีปริมาณน้ำตาลปนออกมาจากภาวะที่น้ำตาลในเลือดสูงท่วมท้น การกรองของไตออกมาแต่คงไม่ต้องลงทุนทำถึงขนาดนั้นนะครับ
โรคเบาหวาน คือ ภาวะการไม่สมดุลของฮอร์โมน ชื่อ อินซูลิน ซึ่งมีหน้าที่นำน้ำตาลในเลือดเข้าสู่เซลใช้เป็นพลังงานต่อไป ที่ว่าไม่สมดุลก็คือมีน้อยไม่พอกับความต้องการ หรือมีไม่น้อย (อันที่จริงมากกว่าปกติเสียอีก) แต่ไม่สามารถออกฤทธิ์ต่อผนังเซลได้เต็มที่ ผลก็ออกมาเหมือนกับน้อย คือพาน้ำตาลเข้าไปในเซลไม่ได้ ผลลัพธ์สุดท้าย คือ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติ อันเป็นภาวะเป็นพิษ ต่อเนื้อเยื่อทั่วไปในร่างกายเมื่อต้องผจญกับภาวะน้ำตาลสูงอยู่เป็นเวลานาน ผู้ป่วยจะมีอาการปัสสาวะบ่อย หิวน้ำบ่อย สุขภาพอ่อนเพลีย
เบาหวานมีกี่ชนิด ?
“เบาหวานชนิดพึ่งอินซูลินมักเกิดขึ้นในเด็ก เบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลินมักเกิดขึ้นในผู้ใหญ่ การรักษาแตกต่างกัน”
ถ้าแบ่งกันง่าย ๆ ก็อาจพูดได้ว่า มี 2 ชนิด ชนิดที่ต้องพึ่งอินซูลิน และชนิดไม่ต้องพึ่งอินซูลิน และชนิดไม่ต้องพึ่งอินซูลิน
เบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน มักเกิดขึ้นในเด็ก รูปร่างผอม เนื่องจากตับอ่อนไม่สามารถสร้างฮอร์โมนอินซูลิน ไม่สามารถใช้ยาเม็ดรับประทานได้
เบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน มักเกิดขึ้นในผู้ใหญ่ รูปร่างอ้วน เนื่องจากอินซูลินไม่สามารถออกฤทธิ์ต่อผนังเซลล์ได้ดี ทำ ให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง การรักษาอาจเริ่มต้นด้วยการออกกำลังกาย ลดน้ำหนัก และใช้ยาเม็ดชนิดทานในขั้นต่อมา คนไข้ในกลุ่มนี้อาจต้องใช้ยาฉีดอินซูลินบางครั้งหรือตลอดไป ถ้าไม่สามารถคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ด้วยยาเม็ด
คนตั้งครรภ์ก็มีสิทธิเป็นเบาหวานแทรก ?
“คุณแม่เหล่านี้ต้องทนฉีดยาอินซูลินทุกวันเนื่องจากเบาหวานมีผลต่อเด็กในท้อง หลังคลอดคุณแม่ส่วนใหญ่จะหาย จากเบาหวาน”
สภาพนี้ท่านคงต้องแยกความหมายของคนไข้เบาหวานแล้วตั้งครรภ์ออกจากที่กำลังจะกล่าวคือ ไม่ได้เป็นเบาหวานมาก่อน แต่ตั้งครรภ์แล้วเกิดภาวะเบาหวานขึ้น
ภาวะนี้เกิดขึ้นได้เนื่องจากฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงไปในคนท้อง ผลลัพธ์คือ ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ภาวะเบาหวานในคนท้องมีผลต่อเด็กในท้องอย่างยิ่ง คือ ทำให้เด็กไม่แข็งแรง พิการ หรือตัวเล็กกว่าปกติ รกไม่สมบูรณ์เกิดการแท้งได้ง่าย หรือเด็กอาจได้ผลกระทบจากภาวะน้ำตาลสูง ตัวโตกว่าปกติ คลอดลำบาก พอคลอดออกมาอาจมีภาวะแทรกซ้อน น้ำตาลในเด็กต่ำหรือมีภาวะปอดไม่แข็งแรง หายใจลำบาก ดังนั้น เพื่อเห็นแก่เด็กในท้องแม่ทุกคนต้องยอมทนลำบาก ควบคุมอาหารถูกฉีดยาเบาหวานอินซูลินทุกวัน เนื่องจากไม่สามารถใช้ยาเม็ดเบาหวานได้ในคนท้อง เนื่องจากมีผลต่อเด็ก
ภาวะเบาหวานนี้ส่วนใหญ่จะหายไปหลังจากคลอดแล้ว แต่คุณแม่เหล่านี้มีโอกาสสูงที่จะเป็นเบาหวานเมื่อแก่ตัวมากขึ้น
คนไทยเป็นเบาหวานมากน้อย แค่ไหน ?
“เบาหวานเป็นโรคเรื้อรังไม่หายขาด ถ่ายทอดทางพันธุกรรม โดยสิ่งแวดล้อมมีส่วนสำคัญในการเกิดโรค”
ประมาณการณ์กันว่ามีประมาณ 4-7% ในช่วงอายุ 30-60 ปี และเนื่องจากเบาหวานเป็นโรคเรื้อรัง ไม่สามารถรักษาให้หายขาดจะพบสะสมมากขึ้นเป็น 10-15% ในกลุ่มประชากรอายุเกิน 60 ปี
เบาหวานเป็นโรคทางพันธุกรรม พ่อแม่ที่เป็นเบาหวานมีโอกาสถ่ายทอดไปยังลูกหลานให้เกิดโรคเบาหวาน นอกเหนือจากพันธุกรรมแล้ว สิ่งแวดล้อม วิธีการดำเนินชีวิต การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย ก็มีส่วนสำคัญต่อการเกิดเบาหวานด้วย
มาตรการรักษาเบาหวาน ?
“นอกจากยาเบาหวานแล้วการควบคุมอาหาร การออกกำลังกายไม่ให้อ้วน ก็มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการรักษา”
เริ่มต้นของคนไข้เบาหวานทุกคนก่อนได้รับการรักษาด้วยยาต้องควบคุมเรื่องอาหาร ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และอย่าให้มี รูปร่างอ้วน ต่อจากนั้นถึงมาตรการใช้ยา ซึ่งมี 2 พวกใหญ่ ๆ คือ ยาเม็ดเบาหวาน และยาฉีดอินซูลิน
คนไข้เบาหวานทั่วไปมักละเลยเรื่องของการคุมอาหาร การออกกำลังกาย โดยคิดว่าเมื่อทานยาแล้วก็คงหายจากโรค เหมือนโรคทั่วไปอย่างอื่น ซึ่งเป็นความเข้าใจผิด โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรัง ไม่หายขาด แต่ถ้าควบคุมให้ดีคนไข้จะปราศจากโรคแทรกซ้อนหรือชะลออาการเกิดโรคแทรกซ้อนได้
อาการเบาหวาน ?
“ปกติคนไข้เบาหวานถูกห้ามการทานของหวานโดยเด็ดขาด ยกเว้นกรณีฉุกเฉิน มีอาการน้ำตาลในเลือดต่ำ คือ รู้สึกหัวใจสั่น มือสั่น ความคิดสับสน”
อาการเบาหวานแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. ประเภทที่ 1 ห้ามรับประทาน ได้แก่ น้ำตาลทุกชนิดรวมทั้งน้ำผึ้ง ขนมหวาน และขนมเชื่อมต่าง ๆ เช่น ทองหยิบ ฝอยทอง ขนมชั้น ผลไม้กวน ผลไม้แช่อิ่ม หรือเชื่อมน้ำตาล ของขบเคี้ยวทอดกรอบ ถ้าจะดื่มน้ำอัด ให้ดื่มชนิดที่ใส่น้ำตาลเทียม เช่น เป๊ปซี่แม็กซ์ ไดเอทโค๊ก
2. ประเภทที่ 2 รับประทานได้ไม่จำกัดจำนวน ได้แก่ ผักใบเขียวทุกชนิด เช่น ผักคะน้า ผักกาด ถั่วฝักยาว ผักบุ้ง ทำเป็นอาหาร เช่น ต้มจืด ยำ สลัด ผัด ผัก เป็นต้น
3. ประเภทที่ 3 รับประทานได้ แต่จำกัดจำนวนทานมากน้อยแค่ไหนขึ้นกับรูปร่างว่า ขณะนั้นอ้วนหรือผอมเกินไปหรือไม่ หรือค้นไข้ทำงานหนักใช้แรงงานมากหรือไม่อย่างไร อาหารในกลุ่มนี้ แบ่งออกเป็น 6 หมวด
หมวดนม วันละ 2-3 ส่วน
หมวดเนื้อสั... วันละ 2-3 ส่วน
หมวดข้าวและแป้ง วันละ 6-11 ส่วน
หมวดผัก วันละ 3-5 ส่วน
หมวดผลไม้ วันละ 2-4 ส่วน
หมวดไขมัน น้อยที่สุด
หมวดที่ 1 นม
นม 1 ส่วน คือ 240 cc. หรือ นมผง 1/4 ถ้วยตวง
หมวดที่ 2 เนื้อสั...
เนื้อสั... 1 ส่วน เท่ากับ 30 กรับ
หรือไข่เปิดไข่ไก่ปริมาณ 50 กรัม
หมวดที่ 3 ข้าวและแป้ง 1 ส่วน ได้แก่
ข้าวสุก 1/2 ถ้วยตวง (1 ทัพพี)
มะกะโรนีสุก 90 กรัม
ขนมปังปอนด์ 1 แผ่นใหญ่
ขนมจีน 2 จับ
ก๋วยเตี๋ยว 1/2 ถ้วยตวง
มันเทศ 85 กรัม
วุ้นเส้นแช่น้ำ 1/2 ถ้วยตวง
หมวดที่ 4 ผัก
ประเภท ก ทานได้ไม่จำกัด ผักกาดหอม ผักกาดขาว ผักบุ้งจีน
ผักกวางตุ้ง ผักตำลึง แตงกวา
ผักเขียว แตงร้าน บวบ
น้ำเต้า สายบัว
ประเภท ข 1 ส่วนเท่ากับ 100 กรัม
ถั่วฝักยาว ถั่วลันเตา ดอกกะหล่ำ
หอมหัวใหญ่ บรอกโคลี่ ใบขี้เหล็ก
ดอกกุ่ยช่าย ชะอม พริกหวาน
สะเดา แครอท สะตอ
เห็ด ผักกะเฉด ข้าวโพดอ่อน
ฝักทอง มะเขือเทศ
หมวดที่ 5 ผลไม้ 1 ส่วนได้แก่
กล้วยน้ำว้าสุก 1 ผลเล็ก อินทผาลัม 2 ผล
กล้วยหอม 1/2 ผล ลูกแพร์ 1 ผลเล็ก
กล้วยไข่ 1 ผล น้อยหน่า 1 ผลเล็ก
ส้มเขียวหวาน 1 ผล มะม่วง 1/2 ผล
มะละกอ 6 ชิ้นคำ พุทรา 2 ผล
สับปะรด 6 ชิ้นคำ องุ่น 10-12 ผล
แตงโม 10 ชิ้นคำ เงาะ 3 ผล
แคนตาลูป 8 ชิ้นคำ มังคุด 2 ผล
แตงไท 1 ถ้วย ละมุด 1 ผล
ลางสาด 5 ผล ลิ้นจี่ 3 ผล
ฝรั่ง 1 ผล ทุเรียน 1 เม็ดเล็กเนื้อบาง ๆ
ลำไย 8 ผล แอปเปิ้ล 1/2 ผล
ลูกพรุน 2 ผล ชมพู่ 5 ผล
ส้มโอ 1/5 ผล สตอเบอรี่ 1 ถ้วย
น้ำมะพร้าวอ่อน 1 ถ้วย เนื้อมะพร้าวอ่อน 1/2 ถ้วย
หมวดที่ 6 ไขมัน
ควรเป็นไขมันจากพืช แทนไขมันสั... เช่น น้ำมันข้าวโพด น้ำมันรำ น้ำมันฝ้าย ยกเว้นน้ำมันมะพร้าว และน้ำมันปาล์ม ควรงด
โรคแทรกซ้อนเบาหวาน ?
“โรคไตวาย โรคหัวใจ อัมพาต ล้วนเป็นโรคแทรกซ้อนที่พบบ่อยในคนไข้เบาหวาน”
- มักเป็นข้อสงสัยในคนไข้เบาหวานว่าทำไมต้องรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้ปกติในเมื่อทุกวันนี้ คนไข้ก็ไม่มี อาการอะไรมากมาย คำตอบก็คือ เพื่อลดการเกิดโรคแทรกซ้อนใน 5-10 ปีข้างหน้า เนื่องจากจะไปรักษาเมื่อเกิดโรคแทรกซ้อนแล้วก็สายเกินไปเสียแล้ว ไม่สามารถแก้ไขสิ่งที่เกิดขึ้นไปแล้วได้ โรคแทรกซ้อนที่พบบ่อยในคนไข้เบาหวาน แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
1. เกิดในพยาธิสภาพระดับเส้นเลือดเล็ก ได้แก่ โรคไตวาย ปลายประสาทอักเสบตาบอด
2. เกิดในพยาธิสภาพระดับเส้นเลือดใหญ่ ได้แก่ โรคเส้นเลือดหัวใจตีบตันอัมพาต เส้นเลือดแดงเลี้ยงแขนหรือขาตีบตัน
ควบคุมเบาหวาน น้ำตาลในเลือดเท่าไรดี ?
“ระดับน้ำตาลในเลือดตอนเช้า 80-120 มก.% นับว่าดี”
- พบว่าถ้าสามารถควบคุมให้น้ำตาลในเลือดเท่าคนปกติจะสามารถลดการเกิดโรคแทรกซ้อนได้ ดังนั้น ระดับน้ำตาลตอนเช้าควรอยู่ในระดับ 80-120 มก.% แต่ทั้งนี้คนไข้ไม่ควรมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (อาการก็คือความรู้สึกหิว ใจสั่น มือสั่น เหงื่อออกตัวเย็น ความคิดสับสน) ในการวัดผล ส่วนใหญ่แพทย์จะใช้การเจาะเลือดจากเส้นเลือดดำหาระดับน้ำตาลซึ่งให้ผลแน่นอน ละเอียดกว่าการ ตรวจน้ำตาลในปัสสาวะ ปัจจุบันมีเครื่องมือเจาะเลือดจากปลายนิ้วตรวจ นับว่าอำนวยความสะดวก และคนไข้สามารถวัดผลได้เองที่บ้าน แต่ข้อ ระวังคือเมื่อใช้ไปนาน ๆ อาจต้องมีการปรับเครื่องเพื่อให้ได้ค่ามาตรฐาน
จะต้องใช้ยาเบาหวานต่อหรือไม่เมื่อเจ็บป่วย ?
“ส่วนใหญ่คนไข้เบาหวานมักมีภาวะน้ำตาลต่ำ เนื่องจากทานอาหารไม่ได้ ดังนั้นควรลดยาเบาหวาน”
- ปัญหานี้ค่อนข้างตอบตรง ๆ ลำบาก เนื่องจากผลลัพธ์ในผู้ป่วยยามเจ็บป่วยอาจเกิดภาวะน้ำตาลสูง หรือภาวะน้ำตาลต่ำ เนื่องจากทานอาหารได้น้อยก็ได้ โดยทั่วไปขอแนะนำให้ลดยาที่ใช้ลงมาก่อน เพื่อป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ถ้าภาวะเจ็บป่วยติดต่อกันหลายวันต้องมาพบแพทย์เพื่อประเมินสภาพน้ำตาล และภาวะกรดเกินในเลือดมีหรือไม่
คนไข้เบาหวานไม่ใช่คุมแต่ระดับน้ำตาล ?
“นอกจากน้ำตาล ไขมันในเลือดสูง ความอ้วน โรคความดันโลหิตสูง การสูบบุหรี่ ก็ต้องได้รับความสนใจรักษา”
- ระดับน้ำตาลในเลือดเป็นแค่ผลของความผิดปกติทางการใช้สารอาหารอันหนึ่งของร่างกาย ภาวะไขมันในเลือดสูงก็มักพบควบคู่กันมาด้วย ดังนั้นผู้ป่วยต้องสำรวจว่า
1. ภาวะไขมันในเลือดสูงหรือไม่
2. อ้วนหรือไม่
3. มีโรคความดันโลหิตสูงด้วยหรือไม่
4. สูบบุหรี่หรือไม่
ถ้าคำตอบคือมี ท่านต้องรักษาโรค หรือภาวะเหล่านี้ด้วยจึงจะปลอดภัย และอยู่ในสภาพปกติเหมือนคนทั่วไป
เบาหวาน เกิดจากอะไร ?
“ ภาวะไม่สมดุลของฮอร์โมนอินซูลิน ผลลัพธ์ คือ น้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติ ”
เบาหวานเป็นโรคที่พบตั้งแต่โบราณ ท่านอาจเคยได้ยินได้ฟังมาก่อนว่า ถ้าชิมปัสสาวะคนไข้เบาหวานจะมีรสหวาน ก็เป็น เรื่องจริง เนื่องจากมีปริมาณน้ำตาลปนออกมาจากภาวะที่น้ำตาลในเลือดสูงท่วมท้น การกรองของไตออกมาแต่คงไม่ต้องลงทุนทำถึงขนาดนั้นนะครับ
โรคเบาหวาน คือ ภาวะการไม่สมดุลของฮอร์โมน ชื่อ อินซูลิน ซึ่งมีหน้าที่นำน้ำตาลในเลือดเข้าสู่เซลใช้เป็นพลังงานต่อไป ที่ว่าไม่สมดุลก็คือมีน้อยไม่พอกับความต้องการ หรือมีไม่น้อย (อันที่จริงมากกว่าปกติเสียอีก) แต่ไม่สามารถออกฤทธิ์ต่อผนังเซลได้เต็มที่ ผลก็ออกมาเหมือนกับน้อย คือพาน้ำตาลเข้าไปในเซลไม่ได้ ผลลัพธ์สุดท้าย คือ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติ อันเป็นภาวะเป็นพิษ ต่อเนื้อเยื่อทั่วไปในร่างกายเมื่อต้องผจญกับภาวะน้ำตาลสูงอยู่เป็นเวลานาน ผู้ป่วยจะมีอาการปัสสาวะบ่อย หิวน้ำบ่อย สุขภาพอ่อนเพลีย
เบาหวานมีกี่ชนิด ?
“เบาหวานชนิดพึ่งอินซูลินมักเกิดขึ้นในเด็ก เบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลินมักเกิดขึ้นในผู้ใหญ่ การรักษาแตกต่างกัน”
ถ้าแบ่งกันง่าย ๆ ก็อาจพูดได้ว่า มี 2 ชนิด ชนิดที่ต้องพึ่งอินซูลิน และชนิดไม่ต้องพึ่งอินซูลิน และชนิดไม่ต้องพึ่งอินซูลิน
เบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน มักเกิดขึ้นในเด็ก รูปร่างผอม เนื่องจากตับอ่อนไม่สามารถสร้างฮอร์โมนอินซูลิน ไม่สามารถใช้ยาเม็ดรับประทานได้
เบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน มักเกิดขึ้นในผู้ใหญ่ รูปร่างอ้วน เนื่องจากอินซูลินไม่สามารถออกฤทธิ์ต่อผนังเซลล์ได้ดี ทำ ให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง การรักษาอาจเริ่มต้นด้วยการออกกำลังกาย ลดน้ำหนัก และใช้ยาเม็ดชนิดทานในขั้นต่อมา คนไข้ในกลุ่มนี้อาจต้องใช้ยาฉีดอินซูลินบางครั้งหรือตลอดไป ถ้าไม่สามารถคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ด้วยยาเม็ด
คนตั้งครรภ์ก็มีสิทธิเป็นเบาหวานแทรก ?
“คุณแม่เหล่านี้ต้องทนฉีดยาอินซูลินทุกวันเนื่องจากเบาหวานมีผลต่อเด็กในท้อง หลังคลอดคุณแม่ส่วนใหญ่จะหาย จากเบาหวาน”
สภาพนี้ท่านคงต้องแยกความหมายของคนไข้เบาหวานแล้วตั้งครรภ์ออกจากที่กำลังจะกล่าวคือ ไม่ได้เป็นเบาหวานมาก่อน แต่ตั้งครรภ์แล้วเกิดภาวะเบาหวานขึ้น
ภาวะนี้เกิดขึ้นได้เนื่องจากฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงไปในคนท้อง ผลลัพธ์คือ ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ภาวะเบาหวานในคนท้องมีผลต่อเด็กในท้องอย่างยิ่ง คือ ทำให้เด็กไม่แข็งแรง พิการ หรือตัวเล็กกว่าปกติ รกไม่สมบูรณ์เกิดการแท้งได้ง่าย หรือเด็กอาจได้ผลกระทบจากภาวะน้ำตาลสูง ตัวโตกว่าปกติ คลอดลำบาก พอคลอดออกมาอาจมีภาวะแทรกซ้อน น้ำตาลในเด็กต่ำหรือมีภาวะปอดไม่แข็งแรง หายใจลำบาก ดังนั้น เพื่อเห็นแก่เด็กในท้องแม่ทุกคนต้องยอมทนลำบาก ควบคุมอาหารถูกฉีดยาเบาหวานอินซูลินทุกวัน เนื่องจากไม่สามารถใช้ยาเม็ดเบาหวานได้ในคนท้อง เนื่องจากมีผลต่อเด็ก
ภาวะเบาหวานนี้ส่วนใหญ่จะหายไปหลังจากคลอดแล้ว แต่คุณแม่เหล่านี้มีโอกาสสูงที่จะเป็นเบาหวานเมื่อแก่ตัวมากขึ้น
คนไทยเป็นเบาหวานมากน้อย แค่ไหน ?
“เบาหวานเป็นโรคเรื้อรังไม่หายขาด ถ่ายทอดทางพันธุกรรม โดยสิ่งแวดล้อมมีส่วนสำคัญในการเกิดโรค”
ประมาณการณ์กันว่ามีประมาณ 4-7% ในช่วงอายุ 30-60 ปี และเนื่องจากเบาหวานเป็นโรคเรื้อรัง ไม่สามารถรักษาให้หายขาดจะพบสะสมมากขึ้นเป็น 10-15% ในกลุ่มประชากรอายุเกิน 60 ปี
เบาหวานเป็นโรคทางพันธุกรรม พ่อแม่ที่เป็นเบาหวานมีโอกาสถ่ายทอดไปยังลูกหลานให้เกิดโรคเบาหวาน นอกเหนือจากพันธุกรรมแล้ว สิ่งแวดล้อม วิธีการดำเนินชีวิต การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย ก็มีส่วนสำคัญต่อการเกิดเบาหวานด้วย
มาตรการรักษาเบาหวาน ?
“นอกจากยาเบาหวานแล้วการควบคุมอาหาร การออกกำลังกายไม่ให้อ้วน ก็มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการรักษา”
เริ่มต้นของคนไข้เบาหวานทุกคนก่อนได้รับการรักษาด้วยยาต้องควบคุมเรื่องอาหาร ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และอย่าให้มี รูปร่างอ้วน ต่อจากนั้นถึงมาตรการใช้ยา ซึ่งมี 2 พวกใหญ่ ๆ คือ ยาเม็ดเบาหวาน และยาฉีดอินซูลิน
คนไข้เบาหวานทั่วไปมักละเลยเรื่องของการคุมอาหาร การออกกำลังกาย โดยคิดว่าเมื่อทานยาแล้วก็คงหายจากโรค เหมือนโรคทั่วไปอย่างอื่น ซึ่งเป็นความเข้าใจผิด โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรัง ไม่หายขาด แต่ถ้าควบคุมให้ดีคนไข้จะปราศจากโรคแทรกซ้อนหรือชะลออาการเกิดโรคแทรกซ้อนได้
อาการเบาหวาน ?
“ปกติคนไข้เบาหวานถูกห้ามการทานของหวานโดยเด็ดขาด ยกเว้นกรณีฉุกเฉิน มีอาการน้ำตาลในเลือดต่ำ คือ รู้สึกหัวใจสั่น มือสั่น ความคิดสับสน”
อาการเบาหวานแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. ประเภทที่ 1 ห้ามรับประทาน ได้แก่ น้ำตาลทุกชนิดรวมทั้งน้ำผึ้ง ขนมหวาน และขนมเชื่อมต่าง ๆ เช่น ทองหยิบ ฝอยทอง ขนมชั้น ผลไม้กวน ผลไม้แช่อิ่ม หรือเชื่อมน้ำตาล ของขบเคี้ยวทอดกรอบ ถ้าจะดื่มน้ำอัด ให้ดื่มชนิดที่ใส่น้ำตาลเทียม เช่น เป๊ปซี่แม็กซ์ ไดเอทโค๊ก
2. ประเภทที่ 2 รับประทานได้ไม่จำกัดจำนวน ได้แก่ ผักใบเขียวทุกชนิด เช่น ผักคะน้า ผักกาด ถั่วฝักยาว ผักบุ้ง ทำเป็นอาหาร เช่น ต้มจืด ยำ สลัด ผัด ผัก เป็นต้น
3. ประเภทที่ 3 รับประทานได้ แต่จำกัดจำนวนทานมากน้อยแค่ไหนขึ้นกับรูปร่างว่า ขณะนั้นอ้วนหรือผอมเกินไปหรือไม่ หรือค้นไข้ทำงานหนักใช้แรงงานมากหรือไม่อย่างไร อาหารในกลุ่มนี้ แบ่งออกเป็น 6 หมวด
หมวดนม วันละ 2-3 ส่วน
หมวดเนื้อสั... วันละ 2-3 ส่วน
หมวดข้าวและแป้ง วันละ 6-11 ส่วน
หมวดผัก วันละ 3-5 ส่วน
หมวดผลไม้ วันละ 2-4 ส่วน
หมวดไขมัน น้อยที่สุด
หมวดที่ 1 นม
นม 1 ส่วน คือ 240 cc. หรือ นมผง 1/4 ถ้วยตวง
หมวดที่ 2 เนื้อสั...
เนื้อสั... 1 ส่วน เท่ากับ 30 กรับ
หรือไข่เปิดไข่ไก่ปริมาณ 50 กรัม
หมวดที่ 3 ข้าวและแป้ง 1 ส่วน ได้แก่
ข้าวสุก 1/2 ถ้วยตวง (1 ทัพพี)
มะกะโรนีสุก 90 กรัม
ขนมปังปอนด์ 1 แผ่นใหญ่
ขนมจีน 2 จับ
ก๋วยเตี๋ยว 1/2 ถ้วยตวง
มันเทศ 85 กรัม
วุ้นเส้นแช่น้ำ 1/2 ถ้วยตวง
หมวดที่ 4 ผัก
ประเภท ก ทานได้ไม่จำกัด ผักกาดหอม ผักกาดขาว ผักบุ้งจีน
ผักกวางตุ้ง ผักตำลึง แตงกวา
ผักเขียว แตงร้าน บวบ
น้ำเต้า สายบัว
ประเภท ข 1 ส่วนเท่ากับ 100 กรัม
ถั่วฝักยาว ถั่วลันเตา ดอกกะหล่ำ
หอมหัวใหญ่ บรอกโคลี่ ใบขี้เหล็ก
ดอกกุ่ยช่าย ชะอม พริกหวาน
สะเดา แครอท สะตอ
เห็ด ผักกะเฉด ข้าวโพดอ่อน
ฝักทอง มะเขือเทศ
หมวดที่ 5 ผลไม้ 1 ส่วนได้แก่
กล้วยน้ำว้าสุก 1 ผลเล็ก อินทผาลัม 2 ผล
กล้วยหอม 1/2 ผล ลูกแพร์ 1 ผลเล็ก
กล้วยไข่ 1 ผล น้อยหน่า 1 ผลเล็ก
ส้มเขียวหวาน 1 ผล มะม่วง 1/2 ผล
มะละกอ 6 ชิ้นคำ พุทรา 2 ผล
สับปะรด 6 ชิ้นคำ องุ่น 10-12 ผล
แตงโม 10 ชิ้นคำ เงาะ 3 ผล
แคนตาลูป 8 ชิ้นคำ มังคุด 2 ผล
แตงไท 1 ถ้วย ละมุด 1 ผล
ลางสาด 5 ผล ลิ้นจี่ 3 ผล
ฝรั่ง 1 ผล ทุเรียน 1 เม็ดเล็กเนื้อบาง ๆ
ลำไย 8 ผล แอปเปิ้ล 1/2 ผล
ลูกพรุน 2 ผล ชมพู่ 5 ผล
ส้มโอ 1/5 ผล สตอเบอรี่ 1 ถ้วย
น้ำมะพร้าวอ่อน 1 ถ้วย เนื้อมะพร้าวอ่อน 1/2 ถ้วย
หมวดที่ 6 ไขมัน
ควรเป็นไขมันจากพืช แทนไขมันสั... เช่น น้ำมันข้าวโพด น้ำมันรำ น้ำมันฝ้าย ยกเว้นน้ำมันมะพร้าว และน้ำมันปาล์ม ควรงด
โรคแทรกซ้อนเบาหวาน ?
“โรคไตวาย โรคหัวใจ อัมพาต ล้วนเป็นโรคแทรกซ้อนที่พบบ่อยในคนไข้เบาหวาน”
- มักเป็นข้อสงสัยในคนไข้เบาหวานว่าทำไมต้องรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้ปกติในเมื่อทุกวันนี้ คนไข้ก็ไม่มี อาการอะไรมากมาย คำตอบก็คือ เพื่อลดการเกิดโรคแทรกซ้อนใน 5-10 ปีข้างหน้า เนื่องจากจะไปรักษาเมื่อเกิดโรคแทรกซ้อนแล้วก็สายเกินไปเสียแล้ว ไม่สามารถแก้ไขสิ่งที่เกิดขึ้นไปแล้วได้ โรคแทรกซ้อนที่พบบ่อยในคนไข้เบาหวาน แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
1. เกิดในพยาธิสภาพระดับเส้นเลือดเล็ก ได้แก่ โรคไตวาย ปลายประสาทอักเสบตาบอด
2. เกิดในพยาธิสภาพระดับเส้นเลือดใหญ่ ได้แก่ โรคเส้นเลือดหัวใจตีบตันอัมพาต เส้นเลือดแดงเลี้ยงแขนหรือขาตีบตัน
ควบคุมเบาหวาน น้ำตาลในเลือดเท่าไรดี ?
“ระดับน้ำตาลในเลือดตอนเช้า 80-120 มก.% นับว่าดี”
- พบว่าถ้าสามารถควบคุมให้น้ำตาลในเลือดเท่าคนปกติจะสามารถลดการเกิดโรคแทรกซ้อนได้ ดังนั้น ระดับน้ำตาลตอนเช้าควรอยู่ในระดับ 80-120 มก.% แต่ทั้งนี้คนไข้ไม่ควรมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (อาการก็คือความรู้สึกหิว ใจสั่น มือสั่น เหงื่อออกตัวเย็น ความคิดสับสน) ในการวัดผล ส่วนใหญ่แพทย์จะใช้การเจาะเลือดจากเส้นเลือดดำหาระดับน้ำตาลซึ่งให้ผลแน่นอน ละเอียดกว่าการ ตรวจน้ำตาลในปัสสาวะ ปัจจุบันมีเครื่องมือเจาะเลือดจากปลายนิ้วตรวจ นับว่าอำนวยความสะดวก และคนไข้สามารถวัดผลได้เองที่บ้าน แต่ข้อ ระวังคือเมื่อใช้ไปนาน ๆ อาจต้องมีการปรับเครื่องเพื่อให้ได้ค่ามาตรฐาน
จะต้องใช้ยาเบาหวานต่อหรือไม่เมื่อเจ็บป่วย ?
“ส่วนใหญ่คนไข้เบาหวานมักมีภาวะน้ำตาลต่ำ เนื่องจากทานอาหารไม่ได้ ดังนั้นควรลดยาเบาหวาน”
- ปัญหานี้ค่อนข้างตอบตรง ๆ ลำบาก เนื่องจากผลลัพธ์ในผู้ป่วยยามเจ็บป่วยอาจเกิดภาวะน้ำตาลสูง หรือภาวะน้ำตาลต่ำ เนื่องจากทานอาหารได้น้อยก็ได้ โดยทั่วไปขอแนะนำให้ลดยาที่ใช้ลงมาก่อน เพื่อป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ถ้าภาวะเจ็บป่วยติดต่อกันหลายวันต้องมาพบแพทย์เพื่อประเมินสภาพน้ำตาล และภาวะกรดเกินในเลือดมีหรือไม่
คนไข้เบาหวานไม่ใช่คุมแต่ระดับน้ำตาล ?
“นอกจากน้ำตาล ไขมันในเลือดสูง ความอ้วน โรคความดันโลหิตสูง การสูบบุหรี่ ก็ต้องได้รับความสนใจรักษา”
- ระดับน้ำตาลในเลือดเป็นแค่ผลของความผิดปกติทางการใช้สารอาหารอันหนึ่งของร่างกาย ภาวะไขมันในเลือดสูงก็มักพบควบคู่กันมาด้วย ดังนั้นผู้ป่วยต้องสำรวจว่า
1. ภาวะไขมันในเลือดสูงหรือไม่
2. อ้วนหรือไม่
3. มีโรคความดันโลหิตสูงด้วยหรือไม่
4. สูบบุหรี่หรือไม่
ถ้าคำตอบคือมี ท่านต้องรักษาโรค หรือภาวะเหล่านี้ด้วยจึงจะปลอดภัย และอยู่ในสภาพปกติเหมือนคนทั่วไป