ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: กรกฎาคม 17, 2010, 11:45:12 pm »

 :13: อนุโมทนาครับ ขอบคุณมากมายครับ
ข้อความโดย: mmm
« เมื่อ: กรกฎาคม 17, 2010, 11:10:41 pm »





อานิสงส์การปฏิบัติภิกษุไข้
 
 ผู้ถาม  “ทีนี้อย่างคนป่วยเป็นพระ  แล้วเราก็ปฏิบัติดูแลท่าน  อานิสงส์จะเหมือนกับปฏิบัติพระพุทธเจ้าไหมครับ  เพราะเคยได้อ่านในหนังสือพบมีตอนหนึ่งว่า  ผู้ใดปฏิบัติภิกษุไข้ ก็คล้ายกับปฏิบัติเราผู้ตถาคต”
หลวงพ่อ  “ก็เหมือนกัน  ปฏิบัติพระพุทธเจ้าก็อดนอน  ปฏิบัติพระก็อดนอน”
ผู้ถาม   (หัวเราะ)
หลวงพ่อ  “แต่ความจริงอานิสงส์มันไม่เท่ากันหรอก  เพราะว่าอานิสงส์ของพระพุทธเจ้ากับพระอริยสงฆ์ทั้งหลายไม่เท่ากันอยู่แล้ว  ใช่ไหม...ท่านบอกว่าคล้าย ๆ กับปฏิบัติเรา  ก็เพราะว่าพระศาสนาจะทรงอยู่ได้  ก็ต้องอาศัยพระสงฆ์หากว่าทำให้พระสงฆ์อยู่ได้เหมือนกับทำให้พระองค์อยู่ได้  ท่านเปรียบเทียบให้ฟังนะ”
ผู้ถาม  “แล้วอย่างที่เขาบอกว่าพระอาพาธ  หรือพระป่วยฉันข้าวเย็นได้  ต้องป่วยขนาดไหนครับ”
หลวงพ่อ  “ความจริงป่วยธรรมดา  คือ “ชิคัจฉา  ปรมา โรคา”  ความหิวเป็นโรคอย่างยิ่ง  มันหิวเมื่อไรกินเมื่อนั้น  ของร้อนก็ได้ของเย็นก็ได้  คุณถามข้าวเย็นนี่ คุณไม่ได้ถามเวลา”
ผู้ถาม  “คือไปเจอที่โรงพยาบาล  ตอนเย็นก็เอาเตาไฟฟ้ามานึ่งข้าวเหนียว  แล้วก็หลนปลาร้ามาจิ้ม”
หลวงพ่อ  “ความจริงถ้าพระองค์ไหนป่วย  เราก็พยาบาลพระองค์นั้นนะ  ถ้าอาหารที่พระป่วยฉัน  เราก็ฉันกับพระป่วยได้  น่าจะปฏิบัติบ่อย ๆ นะ”
ผู้ถาม  “เอ..แล้วไม่เป็นอาบัติหรือครับ”
หลวงพ่อ  “ดูเหมือนเคยพบในหนังสือที่ไหนนะ  ท่านบอกว่า  อนุญาตเฉพาะน้ำข้าวต้มกับน้ำแกงเท่านั้นนะ  ไม่ใช่เนื้อนะ  เขาเอาข้าวต้มให้เละ  แล้วเอามาคั้น  แต่ว่าอาจจะมีเนื้อติดอยู่บ้าง  แต่มันไม่เป็นก้อนแล้วนะ  กับข้าวก็คือน้ำแกง
          พออ่านหนังสือฉบับนั้นก็มีความรู้สึกเลยว่า  พระพุทธเจ้าท่านมีความรอบคอบจริง ๆ  ถ้าปล่อยให้ฉันข้าวเม็ดนี่ไม่รอบคอบ  อย่างฉันไม่ได้หม่ำข้าวเย็นมาหลายสิบปี  ถ้าฉันเข้าไปเพิ่มโทษอีกคือท้องอืด  อ่านหนังสือแล้วก็ไปนั่งใคร่ครวญดูว่าอันไหนมันจะถูก  คิดว่าอันนี้แหละถูก  เพราะพระท่านไม่พบกับอาหารตอนเย็นมานานใช่ไหม...ระบบการย่อยไม่ดี  ถ้าเป็นน้ำนี่ไม่มีโทษ  ไม่ต้องรอการย่อย   ถ้าเป็นเนื้อนี่ไม่ไหวแน่
          ฉันไปโดนเข้าที  ฉันป่วยที่โรงพยาบาล  ไปเจอพระข้าง ๆ ห้อง  นั่งเข้าสมาธิอยู่ข้างตุ่มน้ำ  ถามว่า  “หลวงน้า  เข้าสมาธิเรอะ”
          บอก  “เปล่าครับ”     “แล้วทำอะไรล่ะ”
          “หมอเขาให้กินข้าวตอนเย็น  ล่อเข้าไปพุงตื้อเลย”  นอนไม่ลงก้มไม่ได้  เป็นฌานข้าวสุกไป  นี่เป็นโทษ  .....เห็นไหม”
ผู้ถาม  “เรื่องอย่างนี้นะครับ  มีอยู่ครั้งหนึ่ง  ไปทำบุญที่โรงพยาบาลสงฆ์  ตามธรรมดาผมเคยไปถวายเสมอ ๆ  เอากระเพาะปลาบ้าง  สุกี้ยากี้บ้าง  โอวัลตินบ้างไปถวาย  วันนั้นพลาดไปยังไงก็ไม่ทราบ  พอเข้าไปถึงตึกพระอาพาธก็ประกาศ
          “พระคุณเจ้าที่เคารพ  ขอนิมนต์เตรียมถ้วยเตรียมชามไว้เจ้าข้า  โยมจะเอากระเพาะพระมาถวาย”
          พอประกาศไปเท่านั้นแหละ  ปรากฎว่าไม่มีพระองค์ไหนหยิบชามเลย ปิดประตูหมดเลย”
หลวงพ่อ  (หัวเราะ) “ท่านคงนึกนะ  เอ...เอากระเพาะพระอะไรมาให้กูวะ สักวันหนึ่งกูคงโดน”
ผู้ถาม  “เลยวันหลังต้องระวังหนัก”



อานิสงส์ถวายสบู่หอมพระ
 
 ผู้ถาม  “ถ้าเราซื้อสบู่หอมถวายพระ  กลัวว่าจะทำให้พระเกิดกิเลสและเป็นบาปแก่เรา  อยากจะเรียนถามหลวงพ่อว่า  ถ้าเราเปลี่ยนเป็นสบู่กรดจะได้ไหมคะ”
หลวงพ่อ  “แหมสบู่กรดอานิสงส์มันน้อย  ถ้าเป็นน้ำกรดจะดีมาก เปลี่ยนผิวพรรณได้รวดเร็ว”
ผู้ถาม  “หนักเข้าไปอีก”
หลวงพ่อ  “ความจริงไม่มีอะไรเป็นโทษนี่  เอาสบู่หอมตามที่เราต้องการ  เราชอบอะไร ถ้าหากของมันเป็นพิษเป็นภัยผิดวินัย  ท่านก็ไม่ใช้เอง  อานิสงส์มันสมบูรณ์แบบ  สบู่หอมมันหอมไปถึงไหน.....”
ผู้ถาม  “มันหอมประเดี๋ยวประด๋าว”
หลวงพ่อ  “เห็นเขียนว่าหอม  เวลาฟอกทีไรไม่เห็นมันหอมสักที  ไม่เป็นไรทำอย่างนี้ดีกว่า นี่ล่อสบู่กรด  ถ้าใช้สบู่กรดควรใช้น้ำกรด  ไอ้เรื่องหอม ๆ นี่ สมัยที่ฉันอยู่วัดอนงคาราม  ฉันจะไปทอดกฐินก็มีพวกนักศึกษาถามว่า  ถวายแป้งได้ไหม.....ถวายน้ำหอมได้ไหม....ฉันบอกมาเถอะถวายได้หมด  แกก็เอาจริง ๆ   ลังเบ้อเร่อ  สมเด็จพุฒาจารย์วัดอนงค์  ถามว่า
          “เอ็งจะทำยังไงวะนี่  ถวายเป็นกฐินได้เรอะ...”
          ก็บอกว่า  “หลวงพ่อถวายไม่ได้  ผมถวายได้”
          พอไปถึงต่างจังหวัดก็ถวายเป็นบริวารกฐิน  ใช่ไหม...สิ่งทั้งหลายเหล่านี้มันไม่เหมาะสมกับพระ  แต่เมื่อถวายเป็นบริวารกฐิน  อานิสงส์มันก็เท่ากฐิน  แล้วขออนุญาตพระ เป็นของที่พระไม่สมควร ขอแจกญาติโยมได้ไหม...ท่านบอกว่าได้  ก็เลยให้เจ้าอาวาสแจก  ความดีเป็นของเจ้าอาวาสอีก  ได้ผล 2 อย่าง  นอกจากจะได้อานิสงส์กฐินแล้ว  ยังเป็นสังคหวัตถุอีก  ได้กำไร
          ฉะนั้น  วันพรุ่งนี้ใครจะถวายน้ำหอมบอกฉันนะ  แต่บอกราคาไว้ด้วย  ฉันจะลดราคานิดหน่อย”
ผู้ถาม  (หัวเราะ)  “แหม...เมตตาจริง ๆ นะ”
หลวงพ่อ  “อ้าว...ได้อานิสงส์ เขาตายไปชาติหน้าจะได้หอม ๆ ใช่ไหม...อุจจาระถ่ายออกมาหอมฟุ้ง  เอาเป็นหัวน้ำหอม”


อานิสงส์ถวายข้าวพระพุทธรูป
 
ผู้ถาม  “กระผมไม่กล้าถวายข้าวพระข้าวเจ้า ถวายผลไม้แทนได้ไหมครับ...”
หลวงพ่อ  “ถ้าบังเอิญชาตินี้ไปนิพพานไม่ได้  ชาติหน้ามีแต่ลูกไม้กิน”
ผู้ถาม  “อย่างนั้นถวายข้าวด้วยดีกว่าครับ  แต่บางทียังถวายไม่เสร็จเลย  แมวกินเสียก่อนแล้ว  อย่างนี้จะว่ายังไงครับหลวงพ่อ”
หลวงพ่อ  “อ๋อ...นี่เป็นลูกศิษย์พระ  ลูกศิษย์พระมีทั้งแมว  มีทั้งหนู  มีทั้งมด  มีทั้งจิ้งจก  นั่นลูกศิษย์ของท่านนะ”
ผู้ถาม  “อ้อ...ต้องให้โอกาสเขาบ้างนะ”
หลวงพ่อ  “ใช่  เรานี่ไปแย่งเขากินนะ  แต่ความจริงการถวายข้าวพระ  จะเป็นอาหารหรือว่าเป็นลูกไม้ก็ตาม  พระพุทธรูปท่านไม่ได้ฉัน  แต่เป็นการบูชาความดีของพระพุทธเจ้า  ถ้าเป็นกรรมฐานเขาเรียก “พุทธานุสสติกรรมฐาน”  สูงมาก  ไม่ใช่ต่ำ  ถ้าเวลาเราถวายบางทีเราควบทั้งสามอย่างเลย  ทั้งพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์  ที่เขาว่า
          “อิมัง  สูปะพยัญชนะ  สัมปันนัง” แล้วก็ลงท้ายด้วย  “พุทธัสสะ  ธัมมัสสะ  สังฆัสสะ” ใช่ไหม  ที่ลงตอนท้ายนี่เป็นพุทธานุสสติ  ธัมมานุสสติ  สังฆานุสสติ  ถือว่าเป็นกรรมฐาน และถือว่าเป็นฌานด้วย  เพราะจิตเราห่วงอยู่เสมอว่า  วันพรุ่งนี้เราจะเอาอะไรถวาย  ตัวคิดตัวนี้เป็นฌานก็ทรงตัว  อันนี้เป็นการปฏิบัติกรรมฐานในพุทธานุสสติกรรมฐานโดยไม่รู้สึกตัว
          ฉะนั้น ทุกคนทุก ๆ วัน ควรจะถวายข้าวพระ  และก็กับข้าวมาก ๆ อย่าใช้ถ้วยเล็ก ๆ นะ  ถ้วยโต ๆ มีกับประเภทไหนที่เราชอบใจมากก็บอก นี่เอาถวายพระพุทธ กันคนอื่นไว้”
ผู้ถาม  “ทีนี้ญาติโยมเอาถ้วยตะไลเล็ก ๆ ถวายล่ะครับ”
หลวงพ่อ  “อันนี้ไม่เป็นไร  อยู่ที่จิตใจ  จิตตั้งใจจะถวาย  ตัวที่นึกถึงพระพุทธเจ้า  พระธรรมเจ้า และพระสงฆ์  ตัวนี้สำคัญเป็นฌาน”
ผู้ถาม  “คือคงคิดว่า  องค์หล่อท่านเล็ก ๆ ก็เลยถวายถ้วยเล็ก ๆ  ถ้าถ้วยใหญ่กลัวจะตกใจ ดีไม่ดีหล่นไปในขันน้ำว่ายไม่ได้ตาย เดี๋ยวพระพุทธรูปตาย เลยต้องเอาถ้วยเล็ก ๆ”
หลวงพ่อ  “เล็กหรือใหญ่ไม่สำคัญ  สำคัญที่นึกอยู่เสมอว่า  ตอนเช้าเราจะถวายข้าวพระพุทธรูป  ตัวนี้สำคัญมาก  การนึกถึงพระพุทธรูปเป็นพุทธานุสสติกรรมฐาน  เมื่อถึงเวลา จิตมันคิดก็เป็นฌาน “ฌานัง” แปลว่า  การเพ่ง  ตัวเพ่งตัวนี้ตั้งใจ
          ถ้านึกถึงพระธรรมด้วย พระสงฆ์ด้วย เป็นธัมมานุสสติด้วย สังฆานุสสติด้วย  ถ้าทำอย่างนี้เสมอ ๆ ตายแล้วตกนรกไม่เป็น”
ผู้ถาม  “ถวายข้าวพระพุทธรูป กับถวายข้าวพระสงฆ์  อย่างไหนอานิสงส์มากกว่ากันคะ”
หลวงพ่อ  “การถวายข้าวพระพุทธรูป  ถ้าเป็นเจตนาเพื่อเป็นพุทธบูชาจริง ก็เป็นพุทธานุสสติกรรมฐาน ตั้งใจถวายพระสงฆ์และตั้งใจถวายจริง ๆ  เป็นวัตถุทานด้วย เป็นสังฆานุสสติกรรมฐานด้วย
          แต่อย่าลืมว่าถวายแก่พระพุทธเจ้ามีอานิสงส์มากกว่าถวายพระสงฆ์เยอะ  แต่ว่าเวลานี้ถ้าไม่ถวายพระสงฆ์  เกิดไปชาติหน้าอดข้าว  เดี๋ยวหนูเกิดไปชาติหน้า  ถ้าพูดเขาไม่ให้กินต้องนั่งเฉย ๆ เดี๋ยวเขาก็ให้กิน”
ผู้ถาม  (หัวเราะ)
หลวงพ่อ  “ถวายพระพุทธเจ้าเป็นพุทธบูชาเฉย ๆ  ยังไม่ถือเป็นทาน  เราจะมีทรัพย์สิน  มีเสื้อสวม มีผ้านุ่ง มีบ้านอยู่ นั่นเป็นอานิสงส์ของทานการให้  ถ้าเราบูชาพระพุทธเจ้าจัดเป็นพุทธบูชาเฉย ๆ  นึกถึงความดีของท่าน  ไม่ถือว่าเป็นทาน  อานิสงส์ได้คนละอย่าง
          “พุทธบูชา มหาเตชะวันโต”  การบูชาพระพุทธเจ้ามีเดชมีอำนาจมาก  นั่นหมายความว่า  ถ้าเกิดเป็นเทวดาหรือพรหมมีรัศมีกายสว่างไสวมาก  เทวดาหรือพรหมนี่เขาไม่ดูเครื่องแต่งตัว  เขาดูแสงสว่างออกจากกาย
          “ธัมมบูชา   มหาปัญโญ”  การบูชาพระธรรม  มีปัญญามาก  คือใคร่ครวญในพระธรรมจนเกิดปัญญา  จ ิตเป็นสมาธิ
          “สังฆบูชา  มหาโภคะวโห”  สงเคราะห์พระสงฆ์ เกิดไปรวยมาก  เพราะเราใช้วัตถุเป็นเครื่องหมาย  อานิสงส์ต่างกัน  แต่ต้องทำ  3  อย่าง  ไม่งั้นหลวงพ่ออด”
ผู้ถาม  (หัวเราะ)  “หลังเพลก็ถวายได้ใช่ไหมคะ”
หลวงพ่อ  “ได้ถือเป็นการบูชานะ  ไม่ใช่ถวายทาน  ไม่จำกัดเวลานะ”
ผู้ถาม  “จัดอาหารไปเลี้ยงพระที่วัด  และได้จัดอาหารถวายพระพุทธรูป  ลาแล้วก็เอาให้ลูกกิน  รวมทั้งครอบครัวด้วย  เอามากินที่บ้าน  จะมีบาปหรือไม่คะ..”
หลวงพ่อ  “ชักสงสัยนะ  ความจริงถวายพระพุทธรูปแล้ว  อย่าเอามาดีกว่า  เวลาที่วางไปแล้วเรากล่าวเป็นสังฆทานนี่ ใช่ไหม...ทีหลังถวายพระพุทธรูปที่บ้านดีกว่าไม่มีเรื่องดี  หรือว่าถ้าถวายพระพุทธรูปแล้ว  ก็เก็บถวายพระในตอนเพลจะได้อานิสงส์อีก”
ผู้ถาม  “ที่บ้านหนูทำบุญบ้าน นิมนต์พระ 9 องค์  แล้วถวายข้าวพระพุทธด้วย  เสร็จแล้วก็เอามาทาน  จะได้ไหมคะ”
หลวงพ่อ  “สาธุ...ทีหลังอย่าทำก็แล้วกันนะ”
ผู้ถาม  “ต้องชำระหนี้สงฆ์ใช่ไหมคะ.....”
หลวงพ่อ  “พระยายมท่านตอบว่า  “หมิ่นไป”  ท่านบอกว่า  “ควรจะถวายพระเอาไปวัด”
ผู้ถาม  “แล้วในเวลาเพลแล้วเล่าคะ”
หลวงพ่อ  “เพลแล้วก็เป็นเรื่องของพระไป  ถ้าถวายพระแล้วท่านไม่เอา  ก็ใช้ได้เลย”
ผู้ถาม  “เอาหญ้าที่วัดไปทำยาที่บ้านเป็นไรไหมคะ”
หลวงพ่อ  “ไม่เป็นไร  เจ้าของพระศาสนาบอกเองนะ  พระก็สงเคราะห์คนได้เหมือนกัน”
ผู้ถาม  “ถ้าชำระหนี้สงฆ์แทนคนอื่นได้ไหมคะ  คือพี่ชายหนูบวชแล้วพอสึกก็เอาของวัดมาบ้าน”
หลวงพ่อ  “ตอนที่ชำระให้เขารู้ไหม”
ผู้ถาม  “ก็ไม่ทราบค่ะ  คือหนูจ่ายแทนแล้วไปบอกเขาได้ไหมคะ”
หลวงพ่อ  “ได้เลย...ต้องให้เขารู้ด้วยนะ”
ผู้ถาม  “กราบเรียนหลวงพ่อที่เคารพ  ลูกมีความไม่สบายใจเกี่ยวกับของใส่บาตรหลายประการ  วันหนึ่งแม่ทำกับข้าวเสร็จก็ใส่บาตร  แต่ไม่บอกลูก  ลูกก็เลยกินก่อนพระ  วันที่สองแม่แบ่งไว้ถวายพระ  ลูกไม่รู้นึกว่าแบ่งให้หนู  หนูก็เลยกินไปอีก  แม่เจี๊ยวจ๊าวเป็นการใหญ่หาว่ากินก่อนพระ  ก็เกิดความไม่สบายใจขึ้นมา  อยากจะขอโทษ  แม่จะให้อภัยหรือเปล่าเจ้าคะ  เพราะไม่รู้และไม่เจตนา”
หลวงพ่อ  “ไม่เจตนามันกินยังไงนะ  ต้องหลับกิน ไม่เจตนา เราก็หาของมาแทนซิ  ไม่มีอะไร  พระท่านไม่ได้ว่า  แม่จะได้ไม่สะดุดใจ  กินอะไรเข้าไปบ้างจำได้ไหม  ไปซื้อของอย่างนั้นมาให้แม่เพื่อถวายพระ  หมดเรื่องกัน  แม่จะได้ถวายพระต่อไป”






ขอขอบคุณที่มา http://www.kaskaew.com/   :45: :45: :45: