ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: ตุลาคม 08, 2010, 11:40:17 pm »

 :06: อันนี้ชอบครับ มีประโยชน์มากๆ เผื่อพี่ช๊อคจะได้เตรียมตัวไว้ ไม่บอกตัวเองก็บอกคนอื่นได้ ขอบคุณครับน้องอุ๋ม
ข้อความโดย: Plusz
« เมื่อ: ตุลาคม 08, 2010, 01:39:50 pm »

การปฐมพยาบาลเบื้องต้นผู้ป่วยชักเกร็ง
หลายคนคงเคยสงสัยว่าหากมีผู้ป่วยชักเกร็งอยู่ตรงหน้าจะทำการปฐมพยาบาลอย่างไรดี
เราลองมาทำความรู้จักกับการชักและวิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นกันดีกว่าค่ะ
 
การชัก (Convulsion) คือ การที่ร่างกายของบุคคลมีอาการสั่นเกร็งขึ้นอย่างรวดเร็ว อาจกระตุก คือมีเกร็งสลับกับผ่อนคลายเป็นจังหวะ
และไม่สามารถควบคุมได้ การชักเกิดจากการเกิดคลื่นไฟฟ้าที่ผิดปกติขึ้นในสมอง และกระตุ้นให้เกิดการกระตุกผิดปกติของกล้ามเนื้อตามมา
 
สำหรับผู้เข้าช่วยเหลือเบื้องต้น (First responder) ควรจะสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยอย่างถูกต้องโดยอาศัยหลักการดังต่อไปนี้
 
1. เมื่อมีการชักเกิดขึ้น เป้าหมายหลักก็คือ การป้องกันการบาดเจ็บของผู้ป่วยที่อาจเกิดขึ้นขณะชัก พยายามไม่ให้ผู้ป่วยล้มลง
จัดให้ผู้ป่วยนอนลงกับพื้นในบริเวณที่ปลอดภัย ไม่ควรมีเฟอร์นิเจอร์ หรือวัตถุแหลมคม ที่ผู้ป่วยอาจไปกระทบกระแทกได้ขณะชัก
2. หาหมอนหรือสิ่งนุ่มๆรองศีรษะไม่ให้ถูกกระแทก
3. จัดผู้ป่วยให้อยู่ในท่าพัก (Recovery position) โดยนอนตะแคงซ้าย เพื่อป้องกันทางเดินหายใจส่วนบนอุดกั้น และป้องกันการสำลักอาหาร
ลงปอด (aspiration) โดยเฉพาะในรายที่มีความเสี่ยงที่จะอาเจียน
 วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น
4. จัดเสื้อผ้าผู้ป่วยให้หลวมๆ โดยเฉพาะบริเวณลำคอ ไม่ควรจะรัดมากเกินไป
5. อยู่กับผู้ป่วยคนกว่าผู้ป่วยจะหยุดชัก หรือจนกว่าจะมีบุคลากรทางการแพทย์มาช่วยเหลือ โดยอาจช่วยจับชีพจร และดูการหายใจไปด้วย
 
ข้อควรระวัง ห้ามทำสิ่งต่อไปนี้ในผู้ป่วยชัก
 
1. ห้ามผูกตรึง (Restrain) ผู้ป่วย
2. ห้ามนำวัตถุใดๆรวมถึงนิ้วมือของผู้ช่วยเหลือใส่ในปากของผู้ป่วยระหว่างฟันบนและล่าง เนื่องจากไม่ได้ช่วยเหลืออะไร
ซ้ำร้ายยังสามารถเกิดอันตรายจากวัตถุที่ทำให้เกิดแผลในปากผู้ป่วย และนิ้วของผู้ช่วยเหลือขาดได้
3. อย่าเคลื่อนย้ายผู้ป่วยขณะกำลังชักเกร็ง ยกเว้นกรณีชักอยู่ในบริเวณที่ไม่ปลอดภัย
4. ไม่ต้องพยายามทำให้ผู้ป่วยหยุดชัก เนื่องจากผู้ป่วยไม่รู้ตัวและห้ามตัวเองไม่ได้ ต้องได้รับยาฉีดเข้าเส้นเลือดเท่านั้น
5. อย่าให้ผู้ป่วยรับประทานอะไรทางปากจนกว่าผู้ป่วยจะหยุดชักและตื่นดีแล้ว
(อย่าให้กินอะไรจะดีกว่าเนื่องจากเสี่ยงต่อการชักซ้ำและเกิดการสำลักอาหารหรือน้ำลงปอดได้)
 วิธีปฐมพยาบาล
เห็นไหมล่ะคะว่าง่ายแค่ไหน หากท่านพบผู้ป่วยกำลังชักเกร็งไม่ต้องตกใจ ให้รีบตั้งสติก่อน แล้วลงมือปฏิบัติตามแนวทางที่กล่าวไว้ข้างต้นก็จะทำให้
การช่วยเหลือเป็นไปได้อย่างปลอดภัย อย่าลืมเรียกรถพยาบาลไปช่วยหลังจากได้ปฐมพยาบาลแล้วนะคะ เพราะผู้ป่วยอาจชักซ้ำอีกก็ได้ และควร
หาสาเหตุของการชักด้วยทุกครั้ง แล้วพบกันใหม่ค่ะ
 
ขอบคุณข้อมูลจาก www.narenthorn.or.th