ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: ตุลาคม 09, 2010, 12:20:49 am »

 :13: อนุโมทนาครับพี่เล็ก^^
ข้อความโดย: lek
« เมื่อ: ตุลาคม 08, 2010, 08:03:49 pm »


= = = = ความสุข ความทุกข์ ราคาเสมอกัน = = = =



บล็อกเรื่องนี้ เขียนโดย ว.วชิรเมธี ผู้อำนวยการสถาบันวิมุตตยาลัย



นำมาจาก เว็บบอร์ด palungjit.com ค่ะ



วันหนึ่งผู้เขียนได้รับหนังสือแจกในงานศพของใครคนหนึ่ง
ซึ่งมีผู้มาบริจาคไว้ที่ห้องสมุดที่วัด พลิกดูผ่านๆ พลันก็ได้พบ
กับคำคมของ หลวงพ่อชา สุภัทโท พระวิปัสสนาจารย์
ผู้มีชื่อเสียงขจรไกลไปทั่วโลก

และเพราะคำคมของท่าน ทำให้ต้องกลับมาพลิกอ่านหนังสือเล่มนั้นต่อไปจนจบ

หลวงพ่อชา กล่าวว่า

“ทุกอย่างในโลกนี้มันถูกอยู่แล้ว มีแต่ความเห็นของเราเท่านั้นที่ผิด”

คำของหลวงพ่อ ง่ายๆ ไม่ซับซ้อน แต่อุดมด้วยเนื้อหาแห่งสัจธรรมที่ไม่อาจปฏิเสธ


ด้วยประโยคง่ายๆ นี้เอง ทำให้นึกถึงพระพักตร์ของพระพุทธองค์
ที่มักจะทรงแย้มสรวลด้วยความผ่อนคลายและเปี่ยมด้วยเมตตาอยู่เสมอ

ยามที่มีสัตว์โลกผู้ถูกความทุกข์ท่วมทับจนทุกข์หนักหนาสาหัสแทบล้มประดาตาย
เข้าไปกราบขอให้พระองค์ทรงเป็นที่พึ่ง

แต่ทุกครั้งที่มีสัตว์ผู้ตกทุกข์ได้ยากเข้าไปเฝ้าขอพึ่งพระบารมี
ไม่มีเลยแม้แต่ครั้งเดียวที่พระองค์จะทรงตกพระทัย
หรือทรงเห็นว่าเป็นเรื่องใหญ่จนทรงสูญเสียปกติภาพ



ตรงกันข้าม พระองค์กลับทรงปฏิสัมพันธ์ต่อความสุข ความทุกข์
ของมนุษยชาติ ด้วยราคาเดียวกัน อย่างเสมอต้นเสมอปลาย

ที่เป็นเช่นนี้ นั่นคงเป็นเพราะทรงตระหนักเป็นอย่างดีว่า
“ทุกอย่างในโลกนี้มันถูกอยู่แล้ว มีแต่ความเห็นของเราเท่านั้นที่ผิด”


คราวหนึ่งมีสตรีชาวบ้านคนหนึ่งถูกความทุกข์อันเนื่องมาจากการสูญเสีย
ลูกชายครอบงำจนวิกลจริต
เธอไม่อนุญาตให้มีการฌาปนกิจศพลูก เพราะเชื่อมั่นว่า ลูกยังไม่ตาย
หรือถึงตายไปแล้ว แต่ก็ต้องมียาวิเศษที่จะชุบชีวิตลูกให้ฟื้นขึ้นมาจนได้

วันหนึ่ง เธออุ้มศพลูกน้อยที่เริ่มส่งกลิ่นเน่าเหม็น ซมซานไปจนถึงพุทธสำนัก

เมื่ออยู่ต่อพระพักตร์พระพุทธองค์แล้ว เธอจึงได้สติ พลางกราบทูลถามว่า

พระองค์สามารถจะเยียวยาลูกชายของเธอ ให้ฟื้นคืนชีวิตขึ้นมาดังเดิมได้หรือไม่

ทรงทอดพระเนตรดูเธอ ผู้กรมเกรียมเพราะถูกไฟแห่งความพลัดพรากแผดเผามายาวนาน



พลางแย้มพระสรวลด้วยเมตตา ตรัสแก่เธอว่า



“น้องหญิง เราสามารถชุบชีวิตลูกชายของเธอได้



แต่ว่า เธอต้องไปหาเมล็ดผักกาดจากเรือนที่ยังไม่เคยมีคนตายมาก่อน มาให้เราสักหนึ่งกำมือเถิด



ถ้าได้เมล็ดผักกาดจากเรือนที่ยังไม่เคยมีคนตายมาแล้ว เราตถาคต
จะปรุงยาชุบชีวิตลูกชายของเธอด้วยเมล็ดผักกาดนั้น”



หญิงสาวดีใจจนน้ำตาไหล เธอออกเดินทางจากพระอาราม
มุ่งหน้าเข้าสู่หมู่บ้าน เพื่อขอเมล็ดผักกาดจากบ้านที่ยังไม่เคยมีคนตาย



แต่จนแล้วจนรอด เธอกลับได้รับแต่คำตอบปฏิเสธ
จากทุกหลังคาเรือนที่เธอเอ่ยปากถาม



เมล็ดผักกาดนั้น จะหาจากเรือนหลังไหนก็ได้



แต่พอเธอเสนอเงื่อนไขที่สองที่ว่า “จากบ้านที่ยังไม่เคยมีคนตาย”



เมล็ดผักกาดก็กลายเป็นของหายากขึ้นมาทันที




คุณแม่ยังสาวผู้สูญเสียลูกชาย อุ้มศพลูกน้อยเดินขึ้นเดินลงจากเรือนหลังนั้น สู่หลังนี้

แต่ทุกหลังคาเรือนที่เธอไปเยือน ล้วนแต่มีคำตอบปฏิเสธ

เรือนหลังไหนๆ บ้านหลังไหนๆ ก็ล้วนแล้วแต่เคยมีคนตายมาก่อนแล้วทั้งนั้น




ในที่สุด ทุกๆ คำตอบปฏิเสธ ก็ได้สอนบทเรียนบทหนึ่งให้แก่เธอว่า



“ความตายเป็นของธรรมดา ใช่แต่เพียงลูกชายของเราเท่านั้น ที่ต้องตาย



แท้ที่จริง คนในโลก ล้วนแต่จะต้องตายเหมือนกันทั้งหมด โดยไม่มีข้อยกเว้น”












พลันที่จิตตื่นรู้ อันเป็นผลจากประสบการณ์ตรงที่เกิดแต่การเที่ยวหา
เมล็ดผักกาดจากบ้านที่ยังไม่เคยมีคนตาย

เมฆหมอกแห่งความทุกข์ ก็คลี่คลายหายห่างออกไปจากชีวิตของเธอ

หญิงสาวยินยอมให้มีการเผาศพลูกชายโดยดุษฎี

จากนี้จึงตรงไปเฝ้าพระพุทธองค์ กราบทูลรายงานสิ่งที่เกิดขึ้น
จากประสบการณ์ตรงให้ทรงทราบ

สิ้นเสียงกราบทูลรายงานความคืบหน้าในทางธรรมของเธอแล้ว



พระบรมครูทรงแย้มพระสรวลน้อยๆ พระพักตร์เจือด้วยพระเมตตาเต็มเปี่ยม



นาทีนั้น หญิงสาวเข้าใจทันทีว่า สำหรับพระองค์แล้ว
ความทุกข์ ความสุข มีราคาเดียวกันจริงๆ



นับแต่นั้นเป็นต้นมา อดีตคุณแม่ผู้ถูกความพลัดพรากจู่โจม
จนวิกลจริต จึงหันหน้าเข้าเส้นทางธรรม



อุทิศตนบวชเป็นภิกษุณีในพระธรรมวินัย
และกลายเป็นพระอรหันต์ภายในเวลาไม่นานนัก



คำของหลวงพ่อชาที่ว่า



“ทุกอย่างในโลกนี้มันถูกอยู่แล้ว มีแต่ความเห็นของเราเท่านั้นที่ผิด”



เป็นถ้อยคำสำคัญมาก



คำๆ นี้ เปลี่ยนชีวิตคนมาแล้วมากต่อมาก มิน่าเล่าเมื่อแรกที่พระพุทธองค์ทรงแสดงปฐมเทศนา



จึงทรงเริ่ม มรรคมีองค์ ๘ ด้วย “สัมมาทิฐิ”



“สัมมาทิฐิ” คือ การเห็นชอบ การเห็นถูก การเห็นตรง (ตามความเป็นจริง)



การเห็นชอบ = การเห็นถูก



การเห็นถูก = การเห็นตรง



การเห็นตรง = การเห็นไม่ผิด



ที่ว่าเห็นไม่ผิด คือ เห็นสอดคล้องกับความจริงที่เป็นจริงของมันอย่างนั้นเอง



“ทุกชีวิตเกิดมาล้วนต้องตาย”



นี่เป็นความจริงอันเป็นสัจธรรมของโลก



หากคนส่วนใหญ่เห็นความตายตามความเป็นจริงอย่างตรงไปตรงมา



ความทุกข์เพราะความตาย คงไม่ใช่ความทุกข์อันยิ่งใหญ่



หรือบางที อาจไม่เป็นความทุกข์เลยด้วยซ้ำ











ปราชญ์ทางพุทธธรรมท่านหนึ่งกล่าวว่า


“มีแต่ความตาย ไม่มีผู้ตาย”



นี่เป็นความจริงที่ลึกซึ้งกว่าข้อความข้างต้นอีกชั้นหนึ่ง



หากเราทุกคนมองเห็นความจริงตามความเป็นจริงเช่นนี้ได้ ความตายคงไม่ใช่เรื่องน่ากลัวแม้แต่น้อย



แต่ก็นั่นแหละ การเห็นตามความเป็นจริง ไม่ใช่เรื่องง่าย



และเพราะไม่ใช่เรื่องง่ายนั่นเอง



ความตายจึงยังคงเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่สำหรับคนทั่วไปอยู่จนทุกวันนี้











ทว่าสำหรับผู้ฝึกตนจนมีสัมมาปัญญาแล้ว



ท่านเหล่านั้นล้วนปฏิสัมพันธ์ต่อความสุข ความทุกข์ด้วยราคาเดียวกัน



สุขก็ธรรมดา



ทุกข์ก็ธรรมดา



มีแต่ธรรมดาเท่านั้นเกิดขึ้น



มีแต่ธรรมดาเท่านั้นดำรงอยู่



มีแต่ธรรมดาเท่านั้นแตกดับไป



นอกจากธรรมดาแล้ว ไม่มีอะไรเกิด ไม่มีอะไรดับ



ใครเห็นธรรมดา คนนั้น เห็นธรรม ใครเห็นธรรม คนนั้นเห็นธรรมดา



ใจที่เห็นธรรมดา เป็นใจที่ไม่หวั่นไหวเพราะสุขและทุกข์อีกต่อไป



เนื่องเพราะ สุขและทุกข์ ไม่ใช่สองด้านของเหรียญอันเดียวกัน




 

แต่เป็นด้านเดียวกันมาตั้งแต่ต้นอยู่แล้ว




 

มีแต่ความเห็นของเราเท่านั้นที่ไปสร้างสมมุติซ้อนขึ้นมา



ว่าสุขและทุกข์เป็นด้านทั้งสองของเหรียญแห่งชีวิตอันเดียวกัน





 






 

ธรรมสวัสดี



 

ร่มไม้เย็น ค่ะ




 
 ............................................................
 
  "   เงินและอาหารเป็นเสบียงอันประเสริฐในโลกนี้ฉันใด
 
             บุญกุศลก็เป็นเสบียงในทางปรโลกฉันนั้น
 
                  ใช้ชีวิตนี้ให้มีคุณค่า   สะสมเสบียงให้เพียงพอ
 
                          เรียกว่า  สั่งสมบุญบารมี   "
 
   หลวงปู่จันทร์ศรี ...