ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: ตุลาคม 09, 2010, 10:11:52 pm »

 :13: ขอบคุณครับพี่แป้ง^^
ข้อความโดย: sasita
« เมื่อ: ตุลาคม 09, 2010, 11:04:46 am »



เมื่อแพทย์ตรวจหาอาการและรักษาไม่ได้ ผู้ป่วยมักนึกไปเองว่าถูกคุณไสยหรือมนต์ดำ หากความจริงแล้ว เป็นความผิดปกติที่เล่นซ่อนแอบกันหมอ

อัญชลี เจียรพฤฒ ผู้จัดการฝ่ายการตลาดของบริษัทบัญชีและกฎหมายแห่งหนึ่งต้องทุกข์ทรมานกับอาการปวดหัวมานาน เข้าใจว่าเป็นไมเกรน โรคฮิต แต่หาหมอไม่หาย แต่กลับกระจายไปทั่วเนื้อตัว

 เธอทนมีชีวิตร่วมกับอาการปวดมา 8 ปี ถึงขนาดบางครั้งปวดจนนอนไม่ได้ต่อให้ง่วงหรือเพลียแค่ไหนก็ตาม จนถึงขั้นเป็นคนอารมณ์แปรปรวน ซึมเศร้า เหนื่อยตลอดเวลา ไม่อยากที่จะออกไปเที่ยวข้างนอกเหมือนทุกครั้ง

 กว่าที่จะตรวจวินิจฉัยได้ว่าเป็นโรคชื่อประหลาดว่า ไฟโบรมัยอัลเจีย อัญชลีต้องไปพบแพทย์ที่เชี่ยชาญด้านต่างๆ ถึง 9 แห่ง ไม่ว่าจะเป็นแพทย์ด้านประสาทวิทยา ผู้เชี่ยวชาญด้านการฝังเข็ม ผู้เชี่ยวชาญการบำบัดโรคด้วยวิธีจับกระดูกสันหลัง แพทย์แผนจีน และแพทย์อายุรเวท แต่ก็ไม่เป็นผล

 ผลการตรวจวินิจฉัยแต่ละสำนักก็แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นการทำงานหนัก ยืนผิดท่า กระดูกเสื่อม และอื่นๆ แม้รักษามาแล้วทุกวิธีแต่ก็ไม่หายขาดจากอาการพิกล

 รศ.นพ.ประดิษฐ์ ประทีปะวณิช นายกสมาคมการศึกษาเรื่องความปวดแห่งประเทศไทยแถลงไขภาวะปวดเรื้อรังหรือไฟโบรมัยอัลเจียว่า เป็นโรคที่ยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก แม้กระทั่งในกลุ่มแพทย์เองก็เถอะทำให้การตรวจวินิจฉัยทำได้ยาก

 "ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บปวดลุกลามอย่างเรื้อรังและทำให้ร่างกายอ่อนแอ ขาดความสามารถที่จะใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ บั่นทอนคุณภาพชีวิต" รศ.นพ.ประดิษฐ์กล่าว

 อาการไฟโปรมัยอัลเจียไม่ได้มีอาการปวดอย่างเดียว แต่ยังมีอาการร่วมอย่างอื่น เช่น อ่อนเพลีย นอนกระกสับกระส่าย ปวดข้อ มีรายงานพบว่าผู้ป่วยบางรายมีอาการกลืนลำบาก กระเพาะปัสสาวะผิดปกติ ชา ความจำถดถอย และเริ่มมีข้อมูลพบว่าผู้ป่วยมีอาการทางจิตแทรกอยู่ด้วย เช่น หงุดหงิด  ซึมเศร้า แต่ไม่ใช่ทุกรายต้องมีอาการเหลานี้หมด

 คาดว่ามีประชากรราว 2% มีอาการปวดแบบไฟโปรมัยอัลเจีย ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาที่ยอมรักกันสำหรับอาการดังกล่าว บางครั้งแพทย์ใช้การบำบัดทางจิต และพฤติกรรมบำบัดเข้าช่วย นอกเหนือจากให้ความรู้ผู้ป่วย ยา และให้อออกกำลังกาย

 เนื่องจากเป็นโรคที่ยังไม่อยู่ในสารบบของแพทย์ทำให้ความเห็นเกี่ยวกับต้นเหตุของโรคแตกต่างกันไป การวินิจฉัยก็แตกต่างกันด้วย แพทย์บางรายไม่จัดให้ไฟโปรมัยเอเจียอยู่ในกลุ่มของโรค เพระาไม่มีอาการผิดปกติที่ตรวจสอบได้ทางร่างกาย ไม่มีวิธีทดสอบแบบมาตรฐาน


 อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาผู้ป่วยด้วยเครื่องเอ็มอาร์ไอพบหลักฐานว่า ผู้ป่วยไฟโบรมัยอัลเจียมีการทำงานของสมองต่างจากกลุ่มควบคุม แต่การศึกษาดังกล่าวยังแค่ชี้ให้เหนถึงความสัมพันธุ์กัน แต่ยังไม่ได้ระบุสาเหตุ

 อาการปวดไฟโปรมัยอัลเจียยังเป็นผลมาจากความเครียดสมัยเด็ก หรือเพราะได้รับความเครียดสะสมรุนแรงมานาน นอกเหนือจากความผิดปกติทางสมอง

 หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ปัจจุบันพบว่า สาเหตุกลไกพยาธิสภาพความปวดของโรคไฟโบรมัยอัลเจียเกิดจากสมองส่วนที่ทำหน้าที่รับรู้ความปวดและความเครียดอยู่ในสภาวะที่ไวกว่าปกติ ทำให้เกิดอาการปวดได้ง่าย และรุนแรงกว่าปกติ และมักจะมีอาการได้หลายแห่งทั่วร่างกาย

 จากการสำรวจแพทย์ 941 คนและผู้ป่วย 506 รายจาก 5 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์และไทย เกี่ยวกับแนวโน้มสถานการณ์และความรู้ความเข้าใจของโรคไฟโบรมัยอัลเจียในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของเครือข่ายพันธมิตรเพื่อการรักษาความปวดจากไฟโบรมัยอัลเจียพบว่า โรคดังกล่าวมักพบมากในผู้หญิงวัยทำงานมากกว่าผู้ชาย อัตราส่วนหญิงต่อชายอยู่ที่ 9:1 หรือประมาณ 87% เป็นผู้ป่วยเพศหญิง

 ผู้ป่วยโรคไฟโบรมัยอัลเจียจะเริ่มจากอาการปวดเพียงจุด ๆ เดียว ในระดับที่ไม่ปวดมากนัก ก่อนที่ความปวดจะทวีความรุนแรงและขยายไปสู่จุดอื่น ๆ ทำให้มีอาการปวดเมื่อยตามตัว ฝืดตึงตามข้อต่างๆ และเป็นอาการเรื้อรังทำให้เครียด ส่งผลต่อการนอนหลับ

 "การตรวจวินิจฉัยเบื้องต้น แพทย์จะสอบประวัติของความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นกับร่างกายทั้งส่วนบนและส่วนล่าง รวมถึงบริเวณสันหลัง จากนั้นจะดู 18 จุดปวดทั่วร่าง และกดด้วยแรงกดประมาณ 4 กิโลกรัม หากพบว่า มีความเจ็บปวดมากตั้งแต่ 11 จุดขึ้นไป ถือว่า ผู้นั้นเป็นโรคไฟโบรมัยอัลเจีย โดยที่หากเป็นความเจ็บปวดบริเวณที่ติดกันของกระดูกหรือกล้ามเนื้อ ไม่ถือเป็นภาวะโรคนี้" รศ.นพ.ประดิษฐ์กล่าว

 สำหรับการรักษา จำเป็นต้องใช้เวลาเพื่อบำบัดรักษาภาวะปวดเรื้อรัง ทำให้แผนการรักษาแบบองค์รวมเป็นสิ่งจำเป็น ผู้ป่วยจะได้รับยาเพื่อระงับความเจ็บปวด กลุ่มยากันชักเพื่อรักษาไฟโบรมัยอัลเจีย การออกกำลังกายแบบแอโรบิค การรักษาทางใจเพื่อลดอาการซึมเศร้า และข้อมูลเพื่อความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคที่ตนเองเผชิญอยู่

 "ผู้ป่วยสามารถรักษาให้หายขาดได้ หากตรวจพบและรักษาตัวได้เร็ว" แพทย์ กล่าว

  สำหรับคนที่สงสัยว่า ตนเองจะเป็นโรคนี้อยู่หรือไม่ สามารถสังเกตได้ 2 ประการหลักคือ ปวดเรื้อรังมาเป็นระยะเวลานานเกิน 3 เดือนและบริเวณที่ปวดนั้น เป็นทั่วร่างกาย โดยเป็นอาการปวดที่เกิดขึ้นหลายจุดพร้อมกัน หากมีอาการข้างต้น ควรรีบปรึกษาแพทย์โดยเร็ว


ที่มา กรุงเทพธุรกิจ