ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: ตุลาคม 09, 2010, 10:19:01 pm »

 :13: อนุโมทนาครับพี่แป๋ม^^
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ตุลาคม 09, 2010, 02:25:08 pm »



แม้เราอาจจะต้องกลมกลืนไปกับยุคและกาลเวลาซึ่งตัวเองดำรงอยู่ เพราะไม่อาจร่ำร้องยุคและกาลเวลาอื่น โดยไม่ต้องทำตัวขัดกับยุคสมัย แต่ก็ไม่จำเป็นต้องเป็นไปตามสังคม เพราะการที่เราจะเข้าถึงความจริงนั้น นอกจากจะต้องสลัดภาพมายาออกไปให้มากที่สุด ไม่ใช่สร้างมายาภาพมากขึ้น จนมัดตัวเองดิ้นไม่หลุด จนกระทั่งไม่รู้สึกตัวว่า ภาระผูกพันกับสังคมที่เราต้องดำเนินอยู่นั้นมันจำเป็นหรือ? เราอาจจะสร้างภาระผูกพันอย่างไม่รู้ตัว หรือรู้ตัว แต่ไม่สามารถวางมันลงได้แม้วาระสุดท้ายของชีวิตมาเยือน เพราะภาระมากมาย ที่เราสร้างมันขึ้นมา ด้วยความรู้สึกที่ไม่เคยเพียงพอสำหรับชีวิต ทำให้เราต้องจมอยู่ การมีชีวิตอย่างอิสระ แม้ไม่ขัดแย้ง แต่ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องถูกลากจูงไปด้วย แค่เข้าใจว่า เราจะวางตัวอย่างไรเท่านั้น โดยเฉพาะฆราวาสที่ไม่ได้เลือกการออกบวช การเข้าใจโลกและความเป็นไปของโลกเป็นเรื่องสำคัญ หากเราสามารถวางตัวให้เหมาะสมกับยุคและกาลเวลา โดยไม่ต้องเจ็บปวดกับการขัดแย้งสุดโต่ง ไม่ต้องเหน็ดเหนื่อยกับการแสวงหากับสิ่งที่สังคมยัดเยียด เราก็สามารถดำรงอยู่ ไม่แตกต่างจากเซน ที่ปรับตัวและอยู่รอดมาถึงปัจจุบัน
 
การดำรงอยู่ แน่นอน…ไม่ใช่แค่อยู่รอดไปวันๆ เพราะในการแสวงหาความจริงอันยิ่งใหญ่ หากเราไม่สามารถดำรงเลี้ยงชีวิตอยู่ได้แล้ว การแสวงหาความจริงก็ไม่อาจทำได้ การดำรงอยู่ได้อย่างเรียบง่ายมีความสุขนี้ ไม่ใช่ความจริงดอกหรือ ความจริงย่อมปรากฏให้เห็นอยู่แล้วทุกขณะ ภาวะดั้งเดิมของจิตก็เช่นกัน เปิดเผยอยู่ตลอดเวลาขณะที่ไม่เป็นทุกข์ แต่ทันทีที่เอาหมอกมัวมาปกคลุมจิตใจ แสวงหาความสุขจากภายนอก เราก็จะพลาดไปจากมันทันที ความทุกข์ก็จะประดังประเดเข้ามาจนหลบไม่ไหว
 
                       

การนำหมอกมัวมาปกคลุมจิตใจ โดยไม่รู้ว่าตัวเองนั่นเอง เป็นผู้ที่ทำให้หมอกมัวต่างๆ เกิดขึ้น เพราะตัวเองนั่นเอง ที่เป็นผู้ดิ้นรนไขว่คว้าไม่จบสิ้น ทะยานอยากกับการอยากมีอยากเป็น อยากแม้กระทั่งนิพพาน และเมื่อต้องการเดินทางกลับมาหาจิต กลับต้องเผชิญกับความยากลำบาก ของอุปสรรคที่สร้างขึ้นไว้เองอย่างพะรุงพะรัง งุนงงกับการสะสางอุปสรรคเหล่านี้ เปรียบเหมือนคนที่ยกของ มากขึ้นมากขึ้นจนหนัก และกำลังหาทางที่จะทำให้ตัวเองไม่หนัก โดยคิดหาวิธีต่างๆ มากมาย ในการทำให้ของเหล่านั้นไร้น้ำหนัก จนกระทั่งลืมคิดไปว่า เราไม่ควรยกมันขึ้นมาเท่านั้น แต่เมื่อยกมันขึ้นมาแล้ว ก็สามารถแก้ไขปัญหาได้ง่ายๆ เพียงแค่วางมันลงเท่านั้น แต่หลายคน กลับหาวิธีที่จะทำของหนักเหล่านั้นไม่ให้หนัก ก็เพราะไม่อาจวางมันลงได้ง่ายๆ ซึ่งยิ่งหาหนทางก็กลับยิ่งติดกับ การจะวางทุกข์โดยที่ยังอยากกอดความทุกข์นั้นให้อยู่กับตัว แน่นอน…ไม่อาจทำเช่นนั้นได้จริงๆ เหมือนการก้าวข้ามไปยังอีกฝั่งแม่น้ำ การที่จะอยู่อีกฝั่งหนึ่งได้ ก็ต้องไม่อยู่ฝั่งนี้แล้วเท่านั้น
 
การไม่หวังจะลุถึงสภาวะใดๆ นี่ไม่ใช่การบรรลุหรอกหรือ การแสวงหาวิธีให้มากมายเพื่อการบรรลุ กลับทำให้ยิ่งสับสน เซนนั้นให้ปล่อยวางแม้กระทั่งความว่างเปล่า เพราะเมื่ออยากว่างเปล่า ความว่างนั้นย่อมไม่อาจเกิดขึ้น จิตว่างจึงไม่อาจยึดอยู่ในความว่าง การลุถึงจึงไม่ใช่การลุถึง คนที่บรรลุธรรมไม่อาจบอกว่าตัวเองบรรลุอะไรได้ นิกายเซนเน้นคำสอนการบรรลุฉับพลัน ปล่อยวางตัวตนทันที เพราะการสรรหาวิธีพัฒนาจิต ให้ก้าวหน้าไปจนถึงการบรรลุธรรมนั้นไม่มี นอกจากการปล่อยวางอัตตาลงแค่นั้น
 
เมื่อเราหยุดวิ่งตามโลก เราก็ไม่ต้องเหนื่อย ไม่ต้องติดตามครอบครองวัตถุที่หาความจีรังไม่ได้ นอกจากมีแต่จะเสื่อมไปกับกาลเวลา แม้โลกอาจเห็นว่าเราล้าหลัง แต่สิ่งที่โลกไม่รู้ก็คือ เรากำลังก้าวตามตัวเองทัน เมื่อเราก้าวตามตัวเองทัน เราก็เริ่มรู้จักตัวเอง และเราสามารถจะรู้จักตัวเอง ในแง่ที่จะสัมพันธ์กับธรรมชาติของตัวเราเองและธรรมชาติของโลก เมื่อมี…เราก็รู้จักใช้ประโยชน์จากมัน เมื่อไม่มี…เราก็เป็นอิสระจากมันโดยไม่ทุกข์ หากเป็นดังนี้ได้ ไม่ว่ายุคไหนๆ เราก็จะสามารถเข้าถึงธรรมในตัวเราเอง

 


ทุกสรรพสิ่งล้วนเกิดขึ้นก็เพราะจิต ความขัดแย้งต่างๆ บนโลก บ่งบอกถึงสภาวะขัดแย้งภายในใจมนุษย์เอง ศตวรรษที่ 21 ความเจริญเกิดขึ้นจริงๆ หรือ นักบินอวกาศอาจไปเยือนดาวอังคาร แต่ก็ยังมีขอทานที่ไม่มีข้าวจะกิน ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี กับข่าวฆ่าตัวตายของจำนวนคนที่มากขึ้นเรื่อยๆ เพราะขาดพื้นฐานความรักความเข้าใจต่อกันในสังคม ความคาดหวังต่อความสำเร็จของตัวเองในสังคมที่เต็มไปด้วยการแข่งขันที่หนักข้อขึ้น ลูกหลานเซ่นไหว้บรรพบุรุษทางอินเทอร์เน็ต ความโดดเดี่ยวในสังคมที่เต็มไปด้วยความสนุกสนาน โลกที่ไม่มีเงินไม่มีชีวิต ฯลฯ แต่ถ้าหากเราถอยกลับมาตั้งหลักสักนิด มีชีวิตให้เรียบง่ายขึ้น โดยไม่เข้าไปสับสนกับโลกใบนี้นัก ไม่ทำชีวิตให้ซับซ้อนมากนัก เราอาจกำลังสร้างความเจริญทางจิตใจ และกำลังจะอยู่รอดอย่างเซน แบบไม่ต้องแบกทุกข์เอาไว้มาก เพราะต้องมีวัตถุล้ำสมัยกองพะเนินอยู่รอบตัวก็ได้
 
จิตหนึ่งนี้เองที่เป็นพุทธะ แต่สัตว์โลกกลับไปยึดมั่นต่อรูปธรรมภายนอก แม้แต่การค้นหาพุทธภาวะ ก็ยังเที่ยวแสวงหาจากภายนอก เพียงแค่หยุดภาวะรูปธรรม ซึ่งก่อเกิดมาจากการปรุงไปต่างๆ ของจิต พุทธภาวะก็ปรากฏอยู่ตรงหน้า
 
…เพียงแค่หยุดการแสวงหาเท่านั้น พุทธภาวะภายในย่อมปรากฏ…



http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=suparatta&month=11-2005&date=17&group=14&gblog=2

สุขาวดีนั้นอยู่สุดแสนไกล
นับด้วยล้านโกฏภพ
ฉันจะไปที่นั่นได้อย่างไร
หากอาศัยเพียงรองเท้าฟางคู่หนึ่ง
- ไฮกุ ท่านอิกคิวซัง -



http://www.buddhayan.com/
http://www.agalico.com/
นำมาแบ่งปันโดย : คุณมดเอ็กซ์

Pics by : Google
ขอบพระคุณที่มาทั้งหมดมากมาย
อนุโมทนาสาธุค่ะ
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ตุลาคม 09, 2010, 01:07:21 pm »

เซนกับยุค 2000
โดย สุภารัตถะ

แม้เซนจะมีต้นกำเนิดขึ้น ด้วยการถ่ายทอดธรรมะจากจิตสู่จิต จากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสู่ท่านมหากัสสปะ สังฆปรินายกองค์ที่ 1 สายอินเดีย สืบทอดมาถึงท่านมหาโพธิธรรม สังฆปรินายกองค์ที่ 28 สายอินเดีย ที่เดินทางมาถึงจีนประมาณปี พ.ศ. 1070 เพื่อถ่ายทอดธรรม จวบจนเจริญพัฒนาเป็นเซนสมบูรณ์แบบในจีน ในสมัยสังฆปรินายกองค์ที่ 33 ท่านเว่ยหล่าง ซึ่งนับเป็นสังฆปรินายกองค์ที่ 6 สายจีน และเป็นสังฆปรินายกองค์สุดท้ายนั้น ท่านได้ทำให้การถ่ายทอดธรรมะแบบจิตหนึ่งสู่จิตหนึ่งอย่าเซน (ธยานะ) เจริญขึ้นอย่างสูงสุด พร้อมการพัฒนามาตามลำดับ เข้าสู่การเป็นเซนที่สามารถอยูรอดได้อย่างยาวนานในจีน จนกระทั่งจีนได้ประกาศตัวเป็นประเทศสาธารณรัฐ เซนซึ่งอาจเรียกได้ว่า เติบโตและพัฒนาเป็นเซนสมบูรณ์ในประเทศจีนนี้ ก็สามารถแผ่ขยายเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้านข้างเคียง และเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก ครอบครองหัวใจชาวพุทธ และผู้ที่ไม่ใช่ชาวพุทธ ที่อยู่ทั่วทุกมุมโลกตราบจนถึงปัจจุบัน

ศาสนาพุทธนั้น กล่าวได้ว่า มีไว้เพื่อทุกคนที่ต้องการแสวงหาความจริงของชีวิต ไม่ใช่เพื่อใครที่เป็นชาวพุทธ หรือห้ามใครที่ไม่ใช่ชาวพุทธ แต่สำหรับใครก็ได้ ที่พร้อมจะเผชิญหน้ากับความเป็นจริง ไม่วิ่งหนี ไม่หลอกลวงตัวเอง ไม่ปรุงแต่งจิตสร้างภาพมายาดารดาษ ให้ตัวเองต้องวิ่งวนอยู่ภายในกลลวงของสมมุตินี้ นิกายเซนก็เช่นกัน ความมีเสน่ห์ของเซน อยู่ที่การถ่ายทอดธรรมอย่างโกอานหรือปริศนาธรรม และการดำรงอยู่อย่างเรียบง่ายสมถะ แต่ท่ามกลางกระแสคลื่นแห่งความเจริญของโลกสมัยใหม่ ความเจริญทางด้านวัตถุ การสื่อสารด้วยเทคโนโลยีล้ำยุค จะไม่มีผลกระทบต่อเซนเชียวหรือ
 
ห้างสรรพสินค้าชื่อดังใช้ชื่อว่า “เซน” แม้จะไม่ได้ขายสินค้าเฉพาะที่จำเป็นต่อชีวิต แต่ดูจะขายแต่สินค้าที่เกินจำเป็นไปเสียมาก ก็อาจเป็นเครื่องชี้แสดงได้ว่า เซนนั้น ได้เป็นที่รู้จักขยายออกไปในวงกว้าง แต่ผู้คนในวงกว้างเหล่านั้น รู้จักเซนกันแค่ไหน อย่างไร หรือเข้าใจแค่ว่า เซนเป็นที่นิยมชมชื่นของสังคม เป็นเพียงสีสันตกแต่งสังคม
 
ความเจริญอย่างฉุดไม่อยู่ของยุคอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี กับความฉาบฉวยของยุคสังคมบริโภคนี้ สร้างเรื่องน่าแปลก ในการบริโภคทุกอย่างที่ขวางหน้าอย่างเหลือเชื่อ แม้แต่ความรู้ในทางศาสนาก็ตาม มีสื่อและหนังสือมากมายให้ศึกษา ผิดกลับยุคสมัยก่อน แม้จะไม่มีตำรามากมายที่จะสอนพุทธศาสนา แต่คนสมัยก่อนกลับดูจะมีธรรมะในใจมากกว่าคนสมัยนี้ คนยุคนี้ร่ำเรียนทฤษฎีจดจำได้ทุกรูปแบบ แต่กลับยากจะเข้าใจในสิ่งที่ศึกษานั้นได้อย่างจริงจัง ประวัติศาสตร์อันยาวนานของพุทธศาสนา อภิธรรมอันแสนยาก กลายเป็นตำราหนังสือมากมายกองพะเนิน ที่ผู้คนสนใจคร่ำเคร่งร่ำเรียน แต่การจดจำโดยไม่ปฏิบัติ ย่อมไม่อาจนำไปสู่ความเข้าใจได้จริงๆ

               
 
ทำไมคนยุคนี้ ชอบแต่จะเรียนรู้แต่ไม่ชอบลงมือทำ กลไกอันซับซ้อนของสังคมศิวิไลซ์ เกิดค่านิยมอันแปลกประหลาด ความเจริญสะดวกสบาย ทำให้คนอยากเสพ อยากบริโภคทุกอย่างแม้แต่ความรู้ ด้วยความสบายในรูปแบบที่เรียกว่าสำเร็จรูป แต่กลับกลัวความลำบากในการลงมือปฏิบัติ การปฏิบัติธรรมอย่างแสนสบาย ในสถานปฏิบัติที่อำนวยความสะดวกครบครัน จึงเป็นที่นิยมและได้รับความสนใจอย่างสูง
 
คนเรียนมากได้วุฒิบัตรจากสังคม คนมีการศึกษาได้รับการยอมรับกว่าผู้ที่มีการศึกษาน้อยกว่า คนรุ่นใหม่ส่วนมาก เป็นเจ้านายคนอย่างขาดการปฏิบัติ หากพินิจพิเคราะห์โดยละเอียดแล้ว ผู้ที่ประสบความสำเร็จรุ่นปู่ย่าตายายของเรานั้น การที่ท่านจะก้าวขึ้นมาเป็นเจ้าคนนายคนได้ เริ่มจากการปฏิบัติ และลงมือทำเองทุกขั้นทุกตอน จึงจะสามารถรู้รายละเอียด และรู้ระบบในการทำงานของฝ่ายต่างๆ เพราะหากไม่ลงมือเรียนรู้จากการปฏิบัติด้วยตนเองแล้ว ก็ยากที่จะรู้รายละเอียดภายใต้โครงสร้างโดยรวมได้ถ่องแท้ การลงมือทำ ไม่จำเป็นต้องได้รับการยืนยันจากวุฒิบัตรใดๆ จากภายนอก ธรรมะก็เช่นกัน ผู้ที่เรียนรู้แต่ทฤษฎีโดยไม่ลงมือปฏิบัติ ก็ยากที่จะเข้าใจได้แท้จริง แม้จะคิดว่าตนรู้ทฤษฎีมาก สอนผู้อื่นด้วยธรรมะขั้นสูง แต่กลับอาจจะทำให้ยิ่งห่างไกลจากธรรมะที่ตัวเองสอน โดยยากจะรู้ตัว เพราะหัวใจของธรรมนั้น อยู่ที่การปฏิบัติหรือลงมือทำทันที
 
ความสามารถที่ไม่ใช่เพียงคิด ได้แต่ทำได้จริง เสมือนเราเป็นเจ้านายและลูกน้องในตัว มีความสมบูรณ์ในการพึ่งพิงตัวเอง ความสมบูรณ์ในเซนก็เฉกเช่นกัน ไม่เป็นภาระให้ใคร ไม่ต้องทำให้ใครวุ่นวาย การปฏิบัติธรรมอย่างเซน จึงถูกกระทบจากทางโลกน้อยมาก แม้ไม่ต้องอ้อนวอนใคร แต่ก็อยู่อย่างกลมกลืนกับโลก วางรูปแบบที่จะสร้างความวุ่นวายกับตัวเองลงเสีย ชีวิตก็จะง่ายขึ้นอย่างมาก
หิวก็กิน ง่วงก็นอน ดูจะกลายเป็นถ้อยคำอมตะของนิกายเซน (ธยานะ) ไปเสียแล้ว
 
แม้โลกจะเจริญขึ้นด้วยวัตถุ แต่กลับจะดูวุ่นวายและซับซ้อนขึ้นทางจิตใจ เด็กที่สอบไม่ได้ที่หนึ่งจากที่เคยได้ อาจผิดหวังจนไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ คณะสงฆ์ผู้สืบทอดศาสนาแห่งความจริง กลับแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกัน จนไม่มีเวลาสอนศาสนาให้แม้แต่ตัวเอง การเรียกร้องสันติภาพระหว่างประเทศทั่วโลก โดยไม่หยุดยั้งเกมของสงครามและเศรษฐกิจ การกระทำต่อกันด้วยความเห็นแก่ตัวทางเศรษฐกิจ จากประเทศที่มีอำนาจที่เข้ามากอบโกยทรัพยากรจากประเทศด้อยอำนาจ ภายใต้การช่วยเหลือที่เหมือนมีน้ำใจในด้านอื่นๆ ด้วยฉากหลังการสนับสนุนเพื่อการพัฒนาของประเทศ เป็นเพียงการล่าอาณานิคมรูปแบบใหม่

                         
 
อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ยังเร่งผลิตเครื่องอุปโภคบริโภคจนเกินกำลังซื้อ ความล้ำหน้าทางเทคโนโลยีการสื่อสารจนเกินกำลังใช้ แต่กลับหลอกล่อให้ผู้บริโภคใช้ทุกวิถีทาง เพราะนักลงทุนแสวงหาเงินทุกกลวิธี มนุษย์ตกอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ของเงินตรา ที่มนุษย์สร้างอำนาจให้กับมันและก็ตกอยู่ในอำนาจของมันเอง จากเศษกระดาษที่เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการ มนุษย์ยอมถลุงทรัพยากรโลกออกมาแปรรูปอย่างเกินกำลัง ความปรารถนาเงินตรา อำนาจ ความเจริญ และตัณหาอีกมากมาย ของมนุษย์ผู้ไม่รู้สึกตัว
 
สถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างน่าสับสนเช่นนี้ บ่งบอกถึงความเจริญนั้น ไม่ได้ช่วยทำให้มนุษย์มีความสุข มนุษย์ผู้ไม่เคยอิ่ม ไม่เคยรู้จักคำว่าพอ มีแต่ความขัดแย้งดีเลวในใจตลอดเวลา แต่ถ้าเราจะทำอย่างเซน ก็เพียงแต่หยุดความสับสนในใจตัวเอง และทำความเรียบง่ายให้เกิดกับชีวิต วัตถุมากมายไม่อาจทำให้มนุษย์มีความสุข หากไม่รู้จักที่จะมีอิสระไปจากมัน
 
อะไรกันที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตได้จริงๆ และไม่ว่ายุคใดๆ ชีวิตก็ไม่ได้ต้องการอะไรไปมากกว่านั้น น้อยมาก น้อยเสียจนคำว่าปัจจัยสี่คงใช้ได้กับทุกยุคสมัย อาหารพออิ่ม ที่หลบร้อนหนาว เสื้อผ้าสองสามชุด ยารักษาคามเจ็บไข้ แม้ในยุค 2000 ก็ใช่ว่าจะต้องมีทุกสรรพสิ่งที่สังคมเสนอเสมอไป แต่ก็ใช่จะต้องปฏิเสธทั้งหมด เทคโนโลยีบางอย่าง ก็ช่วยให้ทำงานได้มากขึ้น แต่ไม่ได้หมายความว่าเราจะขาดมันไม่ได้ การทำตัวให้เป็นอิสระ ไม่ยึดติดกับสิ่งต่างๆ ต่างหาก ที่จะทำให้ไม่ต้องทุกข์เมื่อขาดมัน ทำไมปัจจัยเกินสี่ทุกรูปแบบ กลับมีความสำคัญจำเป็นกับคนสมัยนี้อย่างยิ่ง ทั้งๆ ที่ให้ความสุขเพียงน้อย ประโยชน์ของมันก็มีมากจนเกินใช้ จนแทบไม่เคยใช้ แต่กลับทำให้เป็นทุกข์อย่างมาก กับการที่ต้องพากเพียรแสวงหามันมาให้ได้ จนทำให้คนหลายคนยอมจำนนด้วยชีวิต ทำทุกวิถีทางในการแสวงหาของนอกกายเหล่านี้ แม้จะแลกกับความตาย ก็เพียงขอให้ได้ความสบาย ดีกว่าอยู่อย่างไม่มีอะไร ตกอยู่ในภาพพจน์จะต้องมีต้องเป็น และต้องสร้างเกียรติขึ้นในสังคมแห่งหน้าตา แม้จะมีเบื้องหลังในการแสวงหา อย่างน่าเกลียดและไม่ถูกต้องด้วยซ้ำ ส่วนผู้คนอีกหลายคน ที่เริ่มเห็นความสุขที่แสนทุกข์นี้ ทุกข์จากการมีมาก เหน็ดเหนื่อยกับการแสวงหาที่ไม่จบสิ้น ก็หันหลังกลับมาแสวงหาความสุขที่แท้กว่า…ความเรียบง่าย ความสุขใจจริงๆ ของชีวิตที่อยู่อย่างอิสระ โดยไม่ต้องติดตามหรือขึ้นต่อยุคสมัย