ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: ตุลาคม 09, 2010, 10:43:20 pm »

 :13: ขอบคุณครับพี่หนุ่ม^^
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: ตุลาคม 09, 2010, 10:01:37 pm »

คนไทยป่วยอาหารเป็นพิษเพิ่มในรอบ 20 ปี

อันตรายสะสมเกิดมะเร็งเฉียบพลันถึงตาย

สสส. จับมือ นสธ. นักวิชาการ ปฏิรูประบบอาหารปลอดภัย ชี้คนไทยป่วยอาหารเป็นพิษเพิ่มในช่วง 20 ปี อันตรายสะสมเกิดมะเร็ง ถ้าเฉียบพลันถึงตาย พบไทยนำเข้าอาหารทะลัก แต่คุมไม่ดีพอ เชื่อการค้าเสรีทำเสี่ยงเพิ่ม ชูข้อเสนอสร้างระบบอาหารปลอดภัย เพิ่มศักยภาพเทคโนโลยี กำลังคน
เมื่อวันที่ 7 ต.ค. ที่โรงแรมรามาการ์เด้นส์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ร่วมกับ แผนงานสร้างเสริมการเรียนรู้กับสถาบันอุดมศึกษาไทยเพื่อการพัฒนานโยบาย สาธารณะที่ดี (นสธ.) สถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภค จัดเวทีนโยบายสาธารณะ ปฏิรูปประเทศไทย ปฏิรูประบบอาหารปลอดภัย

ศ.เกียรติคุณ นพ.ไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์ ประธานกรรมการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การจัดการด้านอาหารของประเทศไทย เป็นประธานในการประชุม กล่าวว่า ประเทศไทยมีระบบและกลไกดูแลเฝ้าระวังอาหารปลอดภัยตั้งแต่ไร่นาจนถึงโต๊ะ อาหาร (From farm to table) แต่จากข้อมูลกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างอาหารในท้องตลาด พบ 1 ใน 3 ของตัวอย่างอาหารถูกปนเปื้อนทั้งเชื้อโรค สารเคมี และโลหะหนัก ที่เกินค่ามาตรฐานกำหนด ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพการแก้ปัญหาควรเน้นการบังคับใช้กฎหมายให้เต็ม ประสิทธิภาพ และให้ทุกภาคส่วนโดยเฉพาะภาคประชาชน ผู้บริโภค หันมาสนใจระบบและกลไกการเฝ้าระวังความปลอดภัยของอาหารในประเทศให้เข้มแข็ง และกครอบคลุมมากขึ้น

รศ.ดร.นวล ศรี รักอริยะธรรม ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า จากการศึกษาระบบนำเข้าอาหารในประเทศไทย พบว่า ในปี 2552 ประเทศไทยมีปริมาณการนำเข้าอาหารถึง 2 แสนล้านบาท มีอาหารทะเลนำเข้ามากที่สุดถึง 6 หมื่นล้านบาท ผลไม้ ข้าวและธัญพืช ผัก ผลิตภัณฑ์นม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ โกโก้ จากผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพอาหารนำเข้าที่ด่านอาหารและยาในภาคเหนือ ปีล่าสุด พบอาหารที่มีสารปนเปื้อนคือ 1.ผัก ผลไม้ มียาฆ่าแมลงเกินมาตรฐาน 10.81% พบมากใน ผักกาดฮ่องเต้ สลัดแก้ว เซอร์รารี่ กวางตุ้ง ถั่วลันเตา องุ่น ทับทิม สาลี่ ลูกพลับ 2.อาหารแห้ง พบสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์เกินมาตรฐาน 83.9% โลหะหนักเกินมาตรฐานเช่น ตะกั่ว ปรอท สารหนู 37.5% พบมากใน สาหร่าย เยื่อไผ่ เห็ดหอมแห้ง 3.อาหารทะเล พบสารหนูเกินมาตรฐาน 4.1% สารฟอร์มาลินเกินมาตรฐาน 33.3% และพบโลหะหนักปนเปื้อนซึ่งเกิดจากธรรมชาติมากขึ้น 4.ขนมพร้อมบริโภค พบสีสังเคราะห์เกินมาตรฐาน 20% พบมากใน ลูกอม เยลลี่ อาหารกระป๋อง และ5.ผลิตภัณฑ์นม พบเมลามีนเกินมาตรฐาน 3.3% ทั้งนี้ การเปิดการค้าเสรีมากขึ้น ปริมาณการนำเข้าอาหารก็จะเพิ่มขึ้น ส่งผลให้คนไทยต้องอยู่ในภาวะเสี่ยงด้านสุขภาพเพิ่มมากขึ้น

“จาก การสำรวจของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ช่วง 20 ปีที่ผ่านมา มีแนวโน้มการเจ็บป่วยจากสารพิษในอาหารเพิ่มมากขึ้น ทั้งเจ็บป่วยแบบเฉียบพลันและเป็นโรคเรื้อรัง เช่น สารปรอทในอาหารทะเล เมื่อสะสมมากทำให้ป่วยโรคสมองฝ่อ พิการ ส่งผลต่อระบบประสาทกล้ามเนื้อ สาร หนู ทำให้เกิดอาการเฉียบพลัน อาเจียน ท้องเสียจนถึงขั้นหัวใจล้มเหลวได้ ยาฆ่าแมลง จะทำลายประสาทส่วนกลาง เสี่ยงต่อมะเร็ง และโรคพาร์กินสัน สารหนู ก่อให้เกิดมะเร็งผิวหนัง หัวใจล้มเหลวได้” รศ.ดร.นวลศรี กล่าว

รศ.ดร.แก้ว กังสดาลอำไพ หัวหน้าฝ่ายพิษวิทยาทางอาหารและโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ปัจจุบันสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) ใช้ค่ามาตรฐานในอาหารอ้างอิงจากองค์การกำหนดมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ (CODEX) ทำ ให้สารหลายอย่างไม่ถูกกำหนดให้ตรวจหาค่าความปลอดภัย เช่น สารซัคคารีน เป็นสารให้ความหวานในอาหารแห้ง เช่น บ๊วยหวาน ฝรั่งแช่อิ่ม ตรวจพบที่ด่านแม่สายสูง 80% หากได้รับสารชนิดนี้มากเสี่ยงเป็นมะเร็งในกระเพาะปัสสาวะ ระคายเคืองในช่องปาก และกระเพาะอาหารได้ ทั้งนี้ หากพบการฝ่าฝืน ควรมีบทลงโทษโทษอย่างเข้มงวด ขณะเดียวกัน อาหารบางอย่างประชาชนไม่ทราบว่าทำให้เกิดอันตรายได้ เช่น เนื้อตุ๋น หมูตุ๋น หากตุ๋นอาหารเกิน 2 ชั่วโมงจะทำให้เกิดสารHeterocyclicamine ทำให้เกิดอันตรายต่อตับ โดยพบมากในผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป แต่สามารถแก้ได้ด้วยการเติมผักให้มาก

ผศ.ดร.พรรัตน์ สินชัยพานิช สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ปัญหาอาหารปนเปื้อนสารพิษ มา จากระบบตรวจสอบอาหารของไทยมีข้อจำกัด โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีการตรวจคุณภาพอาหาร และบุคลากรไม่เพียงพอ รัฐบาลต้องมีนโยบายที่ชัดเจนให้ความสำคัญกับหน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องความ ปลอดภัยของอาหาร ทั้งงบประมาณ อัตรากำลัง ศักยภาพบุคลากร พัฒนาชุดทดสอบห้องปฏิบัติการ ให้ความรู้ประชาชน ผู้ประกอบการให้เท่าทัน ขณะเดียวกัน ผู้บริโภคเองต้องให้ความสำคัญ เพื่อเป็นแรงหนุนเสริมกลไกการตรวจสอบเพื่ออาหารที่ปลอดภัยมากขึ้น
ที่มา:สำนักข่าว สสส
http://www.thaihealth.or.th/node/17352