ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: ตุลาคม 10, 2010, 01:04:14 am »

 :13: อนุโมทนาครับพี่นวลปราง^^
ข้อความโดย: นวลปราง
« เมื่อ: ตุลาคม 09, 2010, 10:40:49 pm »


ความงามของตำหนิและการแลเห็นความสมบูรณ์ของความไม่สมบูรณ์ในสรรพสิ่ง คือแก่นแท้ของศิลปะแบบวะบิ-ซะบิ
วะบิ-ซะบิ คือความงามของสรรพสิ่งที่ไม่สมบูรณ์แบบ ไม่คงทนถาวร และไม่เสร็จสมบูรณ์ คือความงามของสรรพสิ่งที่สงบเสงี่ยมและอ่อนน้อม อย่างไม่ยึดติดในแบบแผนตายตัว...นี่คือความงามในทัศนะของเซน

...ในความหมายหนึ่ง วะบิ-ซะบิคือเซนของสรรพสิ่ง ผู้ที่เกี่ยวพันกับวะบิ-ซะบิในญี่ปุ่น ถ้าไม่เป็นอาจารย์แห่งพิธีชา ก็เป็นนักบวช หรือไม่ก็เป็นนักรบ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นผู้ที่ฝึกฝนเซน และดื่มด่ำในเจตนารมณ์ของเซนอย่างลึกซึ้งทั้งสิ้น

ซะบิ ในภาษาญี่ปุ่นหมายถึง “ร่วงโรย”
วะบิ ในความหมายดั้งเดิม หมายถึง ความทนทุกข์ของการใช้ชีวิตเพียงลำพังในธรรมชาติ ไกลห่างจากสังคม และชวนให้นึกถึงสภาวะความรู้สึกที่ท้อแท้ ซึมเศร้า ชวนหดหู่ใจ
 

แต่วะบิ-ซะบิ ที่ใช้เรียกควบรวมในความหมายแห่งยุคปัจจุบันกลับมีความหมายในเชิงบวก ที่บ่งชี้ให้เห็นถึงความเป็นจริงแห่งชีวิตที่เรียบง่าย ชีวิตที่รุ่มรวยทางจิตวิญญาณแม้จะอยู่อย่างสมถะโดยสมัครใจ วิธีการมองสรรพสิ่งที่ล่วงพ้นไปจากคติแบบแผนที่สังคมตกลงยอมรับและยึดถือสืบต่อกันมาการมุ่งมีประสบการณ์เชิงศิลปะที่น่าตื่นใจอย่างสงัด การเอาชนะความอลังการ ความหรูหรา ด้วยความเรียบง่ายอย่างติดดินและไม่สมบูรณ์แบบ แต่ทำให้จิตจดจ่อมีสมาธิอยู่กับ สิ่งที่มีอยู่ เป็นอยู่ และปรากฏอยู่จริง เพื่อเปิดโอกาสให้มีการเข้าถึงอย่างบูรณาการสู่ธรรมชาติ ในขั้นสูงสุดของการดำรงอยู่ จนกระทั่งเข้าสู่ความศักดิ์สิทธิ์เชิงจิตวิญญาณได้อย่างเป็นไปเองโดยธรรมชาติ

การสัมผัสประสบการณ์วะบิ-ซะบิ จึงไม่อาจพบหรือสัมผัสได้ในธรรมชาติ ณ ชั่วขณะของความบานสะพรั่งและเขียวชอุ่ม แต่จะพบวะบิ-ซะบิได้ ณ ชั่วขณะของภาวะเริ่มแรก หรือการทรุดตัวพังพาบลงไป คือจะพบได้ในสิ่งที่ชั่วคราว ไม่แน่นอน และไม่เที่ยงแท้ เช่น บุปผาร่วง หิมะโปรย ฝนกระหน่ำ เมฆคลุ้มคลั่ง รวมทั้งสิ่งที่ยากจะมองเห็น เปราะบาง พร้อมที่จะสลายตัวไป อันไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยสายตาที่หยาบกระด้าง


ผู้ที่สามารถสัมผัสประสบการณ์วะบิ-ซะบิได้ คือผู้ที่สามารถชะลอความเร็วในการเร่งรีบใช้ชีวิตลงได้ สามารถมีความใจเย็น มีความอดทน และใส่ใจพอที่จะมองอย่างใกล้ชิด ฝึกฝนศิลปะต่างๆ อันสุขุมประณีตได้เท่านั้น

วะบิ-ซะบิ คือความซาบซึ้งและแลเห็นคุณค่าในความไม่จีรังของชีวิต... ต้นไม้ยามฤดูหนาวที่เหลือเพียงกิ่งก้านแห้งเหี่ยวโรยรา หรือซากสันฐานของอาคารที่แตกเป็นเศษเล็กเศษน้อยหัก และถูกปกคลุมไปด้วยตะไคร่และวัชพืชต่างๆ

วะบิ-ซะบิยังหมายถึงการเหยียบย่างบนโลกใบนี้อย่างแผ่วเบา และรู้ถึงวิธีที่จะซาบซึ้งในคุณค่ากับสิ่งใดก็ตามที่เข้ามาเผชิญหน้ากับเรา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กน้อยสักเพียงใดก็ตาม เพราะวะบิ ซะบิจะบอกให้เราหยุดความหมกมุ่นของเราที่มีต่อความสำเร็จทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นความมั่งคั่ง สถานะทางสังคม อำนาจ และความหรูหรา แต่ให้เราหันมาเบิกบานกับชีวิตที่นี่และเดี๋ยวนี้เลย โดยไม่ถูกฉุดรั้งด้วยความยึดติดใดๆ


วะบิ ซะบิจึงเป็นเรื่องของดุลยภาพอันละเอียดอ่อน ระหว่างความรื่นรมย์ที่เราได้รับจากสิ่งต่างๆ กับความรื่นรมย์ที่เราได้รับจากความเป็นอิสระจากสิ่งทั้งหลายในเวลาเดียวกัน

แม้วะบิ ซะบิจะเป็นเพียงกระบวนทัศน์ทางสุนทรียภาพชนิดหนึ่ง แต่ผู้ที่นับถือในกระบวนทัศน์ทางสุนทรียภาพชนิดนี้ ย่อมสามารถใช้ชีวิตอย่างมีศิลปะแบบเซนได้ อย่างไม่ถูกพันธนาการด้วยลัทธิวัตถุนิยมและบริโภคนิยมอันฉาบฉวยและตื้นเขิน

การจะทำอย่างนั้นได้ คนผู้นั้นจะต้องมีความพากเพียรและความมุ่งมั่นในการใช้ชีวิต ที่จะกล้าตัดสินใจเลือกที่จะไม่กระทำสิ่งต่างๆ เพื่อปล่อยให้สิ่งทั้งหลายเป็นไปตามครรลองของมัน เมื่อถึงเวลาจำเป็นและสมควรแก่กาล

สังคมเราในทุกวันนี้กำลังขาดแคลนประสบการณ์ตรงทางศิลปะ ที่สามารถหยั่งลึกสู่ประสบการณ์ทางจิตวิญญาณได้ด้วย ชีวิตที่ขาดความสง่างามของศิลปะที่เรียบง่ายเป็นธรรมชาติ จึงกลายเป็นชีวิตที่เต็มไปด้วยความสับสน ฟุ้งซ่าน ปราศจากพลัง

วะบิ-ซะบิจึงเป็นวิถีแห่งศิลปะแบบเซนที่คนสมัยนี้ไม่ควรมองข้าม!


..............................



เรียบเรียงจาก วิถีแห่งฟ้าของนักกลยุทธ์ สำนักพิมพ์ openbook โดย สุวินัย ภรณวลัย