ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: กรกฎาคม 18, 2010, 07:23:31 pm »

 :13: สาธุครับ
ข้อความโดย: mmm
« เมื่อ: กรกฎาคม 18, 2010, 01:39:14 am »





เคยเอาเงินทำบุญกฐินไปใช้
 
ผู้ถาม  “กราบเท้าหลวงพ่อที่เคารพอย่างสูง  คือว่าหลายครั้งหลายหน  ที่ลูกนำเงินซองกฐินซองผ้าป่าที่เขาฝากทำบุญมา  เอาไปใช้เรียบร้อย  และที่ใช้ไปนั้นก็ด้วยความจำเป็นทุกครั้ง  ทีนี้ลูกมีพร้อมแล้วที่จะถวาย  แต่ลูกจำชื่อวัดไม่ได้  จึงขอนำเงินมาถวาย เพื่อให้หลวงพ่อสะเดาะเคราะห์แทนด้วยจะได้ไหมเจ้าคะ”
หลวงพ่อ  “อย่าใช้คำว่าสะเดาะเคราะห์  ใช้คำว่าชำระหนี้สงฆ์จึงจะถูกต้อง  หลวงพ่อเอาไป  หลวงพ่อก็ใช้เงินส่วนตัวไม่ได้  แต่ว่าเป็นส่วนกลางได้  เพราะเขามุ่งเป็นของสงฆ์  กฐินนี่เป็นสังฆทานใหญ่  เป็นของสงฆ์  พลาดไม่ได้”
ผู้ถาม  “ถ้าหากว่าเราไม่ใช้คืน  เวลาตายแล้วจะไปอยู่ที่ไหนครับ”
หลวงพ่อ  “โอ๊ย..มีฤทธิ์มาก  มีอำนาจมาก  คนเอาไปก็มีอำนาจมาก  สามารถอยู่อเวจีได้  อเวจีนี่ลงยาก  ไม่ใช่ลงง่ายนะ  พวกที่ไปง่ายนี่พวกเดียว คือพวกพระ  พระนี่ลงง่ายจริง ๆ  ฆราวาสลงยาก  เพราะบุญมันหนัก ลงลึกหน่อย  คือว่าพระเป็นปูชนียบุคคล  เป็นบุคคลที่เขาไหว้เวลาเขาให้  เขาให้ของด้วย และก็ไหว้ผู้รับ   ถ้าชาวบ้านธรรมดาผู้รับเป็นผู้ไหว้  นี่ผู้ให้เป็นผู้ไหว้  คือว่ามีสิกขาบทต้องปฏิบัติมากหน่อย
          ถ้าเวลาทำบุญเท่ากัน  พระก็ได้มากกว่าฆราวาส  สมมุติว่า  ฆราวาสทำบุญ 1 บาท  พระทำบุญ  1  บาท  พระได้มากกว่า  ฆราวาสทำบุญ 100 บาท  พระทำบุญ  1  บาท  พระได้มากกว่า  เพราะฉะนั้น บาปก็มีอานิสงส์สูงเหมือนกัน  อเวจีนี่พระชอบลงเป็นแถว ๆ เยอะ”



เอาพระวัดอื่นมาให้ครบองค์กฐิน
 
ผู้ถาม  “หลวงพ่อขอรับ  กระผมไปทอดกฐินที่วัดที่มีภิกษุจำพรรษาไม่ครบ  4  องค์  แต่เวลาที่จะทอดจริง ๆ  มีพระวัดอื่นมาร่วมด้วย ครบ  5  องค์  ขึ้นไป  เพื่อให้ครบองค์กฐิน  อยากเรียนถามว่า  การที่เอาพระวัดอื่นมาร่วมให้ครบองค์กฐิน  กฐินนั้นจะสมบูรณ์แบบหรือไม่ครับ”
หลวงพ่อ  “นี่เขาทำเป็นปกตินะ  คือว่าเขาใช้คำ คณะปูรกะ  คือเต็ม  เพราะรับกฐินนี่ต้อง  5  องค์ขึ้นไป  แล้วก็เวลารับต้องมีพระตั้งแต่  5  องค์  ขึ้นไปเป็นคณะสงฆ์  เพราะว่าถ้าไม่เต็มคณะสงฆ์  เวลารับก็ไม่เป็นกฐิน  ถวายยังไงก็เป็นผ้าป่าไป”
ผู้ถาม  “ขนาดตั้งใจเป็นกฐินนะครับ”
หลวงพ่อ  “ตั้งใจเต็มที่ก็ไม่เป็น  แบบว่าเอาน้ำมาใส่หม้อแทนข้าว  หุงเท่าไรมันก็ไม่เป็นข้าว ใช่ไหม  ฉะนั้น  เอาพระมานั่งให้เต็มเป็นคณะปูรกะ  แต่ว่าพระที่มานั่งให้เต็ม ไม่มีสิทธิ์รับทรัพย์สมบัติที่เขาเอามาถวายนะ  มีสิทธิ์แต่นั่งอย่างเดียว กับมีข้าวฉันได้ คือไม่มีสิทธิ์เพราะว่าไม่จำพรรษาที่นั่น  ลาภที่จะเกิดขึ้นในขณะนั้น ต้องเฉพาะพระที่จำพรรษาที่นั่น”



การรับกฐินด้วยผ้าผืนเดียว
 
ผู้ถาม  “แล้วเรื่องการรับผ้ากฐิน  ถ้ามีผืนเดียวละครับ”
หลวงพ่อ  “แต่ความจริงผ้าผืนเดียวนี่นะ  พระที่รับน่ะไม่ถูก  เพราะกฐินนี่มีขอบเขตจำกัดตามพระวินัยนะ  ต้องได้แก่พระที่มีผ้าเก่าที่สุด  ไม่ใช่เจ้าอาวาสได้  ทีนี้ทุกวัดทำกัน เจ้าอาวาสรับ  ไม่ถูกตามวินัย  ทีนี้ถ้าพูดถึงอานิสงส์  ฉันก็ไม่ทราบเหมือนกัน  ในเมื่อมันไม่ถูก  แต่ว่าหลวงพ่อปานไม่เคยเป็นองค์ครองกฐิน”
ผู้ถาม  “ทำไมเป็นแบบนั้นล่ะครับ  ท่านเป็นเจ้าอาวาส  เป็นครูบาอาจารย์”
หลวงพ่อ  “ท่านว่าตามวินัย  ทีนี้ก็มีปัญหาอยู่ว่า  บางทีพระที่มีจีวรเก่าที่สุด  ไม่มีความสามารถในการครองกฐิน  ท่านก็ให้พระองค์อื่นครอง  แต่ต้องจัดผ้าไตรจีวรใหม่ไว้ให้พระองค์นั้นแทน  ต้องจัดให้ก่อนไปเลยนะ  เอาทั้งชุดใหม่เอี่ยม  ต้องซื้อผ้าใหม่  ผ้าเก่าไม่ได้  นั่นท่านทำแบบนั้น”
ผู้ถาม  “หมายความว่า  ตามวินัยดูที่พระที่มีผ้าเก่าที่สุด”
หลวงพ่อ  “ผ้าเก่าที่สุด  หมายความว่าจำนวนเก่าอาจจะไม่เท่ากันใช่ไหม  บางองค์ก็เก่ามาก บางองค์ก็เก่าน้อย  เรียกว่าเก่ามากที่สุดกว่า  เขามีสิทธิ์ครองกฐิน  นี่ถ้าผ้าไตรไตรเดียวนะ ทีนี้ถ้าเป็นมหากฐิน  ไม่ต้องอุปโลกน์   ก็เพราะพระได้รับทุกองค์”



อานิสงส์ถวายสังฆทาน วิหารทาน และธรรมทาน
 
ผู้ถาม  “หลวงพ่อคะ  ถวายสังฆทานให้พระองค์เดียวได้ไหมคะ”
หลวงพ่อ  “ได้  แต่พระไปกินองค์เดียว  พระองค์นั้นลงนรก นี่เรื่องจริงนะ  อย่างฉันรับนี่ฉันรับองค์เดียว  แต่ว่าองค์เดียวนี่ถือว่าเป็นผู้แทนคณะสงฆ์นะ  อย่าไปกินไปใช้แต่ผู้เดียวนี่ไม่ได้ของเขาย่อมมีอานิสงส์สมบูรณ์แบบ  พระองค์เดียวหรือพระ 3 องค์ ถือว่าเป็นผู้แทนสงฆ์  พระ 3 องค์  ก็แบ่งไปใช้แค่ 3 องค์ ไม่ได้ จะต้องไปรวมทั้งคณะ  คำว่าสังฆทาน  สังฆะ  เขาแปลว่า หมู่”
ผู้ถาม  “ลูกเป็นคนยากจนมีเงินน้อย  อยากจะได้อานิสงส์มาก ๆ  จะทำบุญอย่างไรดีคะ”
หลวงพ่อ  “คืออานิสงส์จริง ๆ ต้องทำบุญให้มากที่สุดเท่าที่จะพึงทำได้  สมมุติว่าเรามีเงินอยู่ 10 บาท  จะไปมาที่นี่เสียค่ารถ 6 บาท  กินก๋วยเตี๋ยว  3  บาท  ได้ครึ่งชามแล้ว  หมดไป  9  บาท เหลือ 1 บาท  เขียนที่หน้าซองเลยว่า  เงินนี้ถวายสังฆทาน วิหารทาน และธรรมทาน อันนี้อานิสงส์มากเหลือเกิน  จำนวนเงินเขาไม่จำกัด  เขาจำกัดกำลังใจ  ถ้ากำลังใจมุ่งด้านดีนะ
                     การทำบุญมาก ๆ คำว่า “ทำมาก” หมายความว่า ทำบ่อย ๆ แต่คำว่า “บ่อย”  ไม่ต้องทุกวันก็ได้นะ  คำว่า “มาก”  หมายความว่า  ทำเต็มกำลังที่พึงทำ  ไม่ใช่ขนเงินมามาก  เวลาทำบุญต้องดูก่อนว่า  ค่าใช้จ่ายเรามีความจำเป็นเพียงไร  ไอ้เงินที่มีความจำเป็นอย่านำมาทำบุญ  มันจะเดือดร้อนภายหลัง  และให้เหลือส่วนนั้นไว้บ้าง  แล้วแบ่งทำบุญพอสมควร
                     และประการที่  2  การทำบุญถ้าใช้วัตถุมาก  แต่กำลังใจน้อยก็มีอานิสงส์น้อย  ถ้าหากใช้วัตถุน้อย กำลังใจมีมากก็มีอานิสงส์มาก  อย่างถวายสังฆทานที่บรรดาญาติโยมพุทธบริษัทนำมานี่ลงทุนไม่มาก  แต่อานิสงส์มหาศาล
                     ความจริงถ้าจะพูดถึงอานิสงส์กันจริง ๆ ละก็  รู้สึกว่าจะมากกว่าจัดงานที่บ้านหรือที่วัดตั้งเยอะแยะ  ทั้งนี้เพราะว่าอะไร  เพราะว่าถวายสังฆทานเราทำกันแบบเงียบ ๆ ไม่มีกังวล  การบำเพ็ญกุศลแต่ละคราว  ถ้ามีกังวลมากอานิสงส์มันก็น้อย  เพราะว่าจิตที่เราเข้าสู่กุศล  มันห่วงงานอื่นมากกว่า  ไม่ตั้งจิตโดยเฉพาะ
                     และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง  การถวายสังฆทานในหมู่ตั้งแต่  4 รูป ขึ้นไป  ตามพระวินัย ท่านเรียกกันว่า คณะสงฆ์ ถ้าต่ำกว่านั้นเป็น คณะบุคคล   ถ้าบุคคลเดียวเป็นปาฏิ
ปุคคลิกทาน  ทานโดยเฉพาะ  ทีนี้การถวายสังหทานแก่พระสงฆ์เป็นหมู่นี้มีอานิสงส์มาก”



ถวายสังฆทานชุดใหญ่ชุดเล็ก
 
 ผู้ถาม  “กราบเท้าหลวงพ่อที่เคารพอย่างสูง  บางครั้งลูกก็ทำอย่างนั้น บางครั้งลูกก็ทำอย่างนี้ เลยไม่รู้อย่างไหนจะดีกันแน่  ลูกก็ทำบุญถวายสังฆทานกับหลวงพ่อแต่ละครั้ง  ส่วนใหญ่จะทำจำนวน 2,000 บาท  บางครั้งลูกก็เอาพระชุดหใญ่ทีเดียวเลย  บางครั้งลูกก็ว่า เอ...เราทำทีเดียวนี่  เราก็คงจะได้บุญทีเดียวไม่ได้เยอะ ๆ เลยต้องเปลี่ยนเป็นทีละถัง  ถังละ 100 บาท จนกระทั่งครบ 20  ถัง  เรียนถามหลวงพ่อว่า  การถวายแบบนี้อานิสงส์จะต่างกันไหม...หลวงพ่อมีคำแนะนำอย่างไร  ก็ขอได้โปรดเมตตาสงเคราะห์ลูกเถิด”
 
หลวงพ่อ  “อานิสงส์สังฆทานก็คือสังฆทาน  ถ้าถวายครั้งเดียวก็มีอานิสงส์ใหญ่  เหมือนกับถูกล๊อตเตอรี่รางวัลที่ 1  ถวายองค์เล็กก็เหมือนถูกรางวัลเล็กลงมา  จนกว่าจะเท่ารางวัลที่ 1  เพราะปริมาณน้อยกว่า  อานิสงส์สังฆทานได้ครบ  แต่วิมานจะไม่เท่ากัน”
 
ผู้ถาม  “ถวายองค์ใหญ่ดีกว่า”
 
หลวงพ่อ  “ถวายเที่ยวเดียวไม่ต้องบ่อย”   







ขอขอบคุณที่มา http://www.kaskaew.com/     :45: :45: :45: