ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: ตุลาคม 14, 2010, 11:36:54 pm »

 :13: ขอบคุณครับ อนุโมทนาครับพี่มด^^
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: ตุลาคม 14, 2010, 10:21:58 pm »

เคยไปพม่าเมื่อ 5 ปีที่แล้วมีความประทับใจในวิถีชีวิตของชาวพม่าที่มีความผูกพันกับพระพุทธศาสนาอย่างแน่นแฟ้น ให้ความรู้สึกว่าสักวันฉันจะต้องกลับไปอีก หลังจากนั้นไม่นานจากการแนะนำของเพื่อนคนหนึ่ง ทำให้มีโอกาสเข้ารับอบรมวิปัสสนา 10 วัน สอนโดยอาจารย์โกเอ็นก้า (Goenka) และได้เข้าอบรมวิปัสสนาอย่างต่อเนื่องปีละครั้ง ประกอบกับได้อ่านประวัติของครูบาอาจารย์ในสายนี้ กระตุ้นถึงความรู้สึกส่วนลึกที่อยากกลับไปพม่าขึ้นมา ฉันได้พูดคุยกับเพื่อนๆ ในที่สุดเรารวมตัวกันได้ 4 คน เพื่อไปตามรอยวิปัสสนาที่พม่า
 
 
 
มาตามรอยวิปัสสนาจารย์ในสายนี้กัน หลังพุทธกาลประมาณ 500 ปี วิธีการปฏิบัติวิปัสสนาได้สูญหายไปจากประเทศอินเดีย แต่ในดินแดนสุวรรณภูมิ ซึ่งรวมถึงประเทศพม่า ภิกษุสงฆ์ยังคงรักษาวิธีการปฏิบัติวิปัสสนาแบบดั้งเดิมไม่มีการเปลี่ยนแปลง สืบต่อเนื่องกันมา จนถึงสมัยพระอาจารย์เลดี ซายาดอว์ (พ.ศ.2389- 2466) ท่านเป็นพระภิกษุในสายเถรวาท มีชื่อเสียงมากทั้งในแง่ปริยัติและปฏิบัติ ท่านได้เขียนหนังสือธรรมะเป็นจำนวนมากทั้งในภาษบาลีและพม่า ในขณะเดียวกันท่านได้ตระหนักว่านอกจากพระภิกษุแล้ว ฆราวาสก็สามารถช่วยเผยแผ่ธรรมะได้อย่างกว้างขวาง ท่านจึงได้พัฒนาเทคนิคการสอนวิธีปฏิบัติแก่บุคคลทั่วไปด้วย ซึ่งลูกศิษย์คนสำคัญก็คือท่านอาจารย์ซายา เทตจี (พ.ศ. 2416-2488) ซึ่งได้สืบทอดการสอนวิปัสสนา ผ่านมายังท่านอาจารย์อูบาขิ่น (พ.ศ2442-2514) และต่อไปยังอาจารย์โกเอ็นก้า ในปัจจุบันอาจารย์โกเอ็นก้า ได้เผยแผ่เทคนิควิปัสสนาไปอย่างขวางทั่วโลก โดยมีศูนย์วิปัสสนามากกว่า 200 แห่ง ทุกทวีป ไม่ว่าจะเป็นเอเชีย ยุโรป อเมริกา หรือแม้แต่แอฟริกา
 
 
 
 
เราได้เดินทางไปเยี่ยมสถานที่ต่างๆ ของพระอาจารย์เลดี ซายาดอว์ ท่านอาจารย์ซายา เทตจี และ ท่านอาจารย์อูบาขิ่น ที่ท่านทั้งหลายเคยอยู่หรือใช้เป็นที่อบรมธรรมะ เรายังได้เยี่ยมวัดของพระอาจารย์เวบู ซายาดอว์ (พ.ศ.2439-2520) พระภิกษุผู้ผลักดันให้ท่านอาจารย์อูบาขิ่นต้องเริ่มลงมือสอนวิปัสสนาอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง หลังจากท่านอาจารย์อูบาขิ่นได้เริ่มต้นชีวิตของการเป็นอาจารย์สอนวิปัสสนา พระอาจารย์เวบู ซายาดอรว์ยังเดินทางมาเยี่ยมศูนย์วิปัสสนานานาชาติที่ท่านอาจาย์อูบาขิ่นสอนอยู่อย่างสม่ำเสมอ
 
 
 
 
มาดูโปรแกรมการเดินทางของเรา
 
 
 
 
วันแรก (2 ก.พ.)
 
 
ถึงย่างกุ้ง เยี่ยมศูนย์วิปัสสนาธรรมโชติ (Dhamma Joti) และ ศูนย์วิปัสสนานานาชาติ (International Meditation Center : IMC) ก่อตั้งโดยท่านอาจารย์อูบาขิ่น (U Bha Kin) ตอนเย็นไปสักการะมหาเจดีย์ชเวดากอง
 
 
 
 
วันที่สอง (3 ก.พ.)
 
 
ไปหมู่บ้านท่านอาจาย์ซายาเท็ตจี (Saya Thetgyi)
 
 
 
 
วันที่สาม (4 ก.พ.)
 
 
บินไปมัณฑะเลย์ เยี่ยมศูนย์ฯธรรมมันดาปะ (Dhamma Mandapa) ศูนย์ฯธรรมมันดาลา (Dhamma Mandala) และ ศูนย์ฯมหาโพธิ (Maha Bodhi Vipassana Yogi Meditaion Center)
 
 
 
 
วันที่สี่ ( 5 ก.พ.)
 
 
ไปเมืองจ๊อกเซ (Kyaukse) วัดของพระอาจารย์เวบู ซายาดอว์ (Webu Sayadaw)
 
 
 
 
วันที่ห้า (6 ก.พ.)
 
 
ไปเมืองโมนยวา (Monywa) วัดที่เกี่ยวข้องกับพระอาจารย์เลดี ซายาดอว์ (Ledi Sayadaw) และ ศูนย์ฯธรรมญานะตัสสะ (Dhamma Nyanadhaja)
 
 
 
 
วันที่หก ( 7 ก.พ.)
 
 
ไหว้พระเจดีย์สัมพุทเธ(Thanbhothay) วัดพระพุทธรูป 1000 องค์ (Bodhi Tataung) วัดที่อยู่บนเนินเขาสะไกดย์ (Sagaing) และวัดมหามุนี
 
 
 
 
วันที่เจ็ด (8 ก.พ.)
 
 
บินจากเมืองมัณฑะเลย์ กลับย่างกุ้ง
 
 
 
 
วันที่แปด (9 ก.พ.)
 
 
เดินทางไปพระธาตุอินแขวน (Kyaiktiyo Paya)
 
 
 
 
วันที่เก้า (10 ก.พ.)
 
 
กลับสู่ย่างกุ้ง
 
 
 
 
วันที่สิบ (11 ก.พ.)
 
 
เดินเล่นในเมืองย่างกุ้ง
 
 
 
 
วันที่สิบเอ็ด (12 ก.พ.)
 
 
บินกลับกรุงเทพฯ
 
 
 
 
รายละเอียดเล็กๆน้อยๆ
 
 
-ค่าธรรมเนียมทำวีซ่าเข้าพม่า 810 บาท
 
-อัตราการแลกเงินในตลาดโบซก 1 US$ ประมาณ 1,050 - 1,080จ๊าต ปีที่แล้วแลกได้ถึง 1200-1300 จ๊าต
 
-ค่าที่พักแบบเกสต์เฮ้าส์เลือกตาม Lonely Planet ประมาณ 12-15 US$
 
-ค่าแท๊กซี่ในย่างกุ้งประมาณ 1500-2000 จ๊าต
 
-ราคาอาหารตามร้าน 1500-2000 จ๊าต แต่ข้างถนนประมาณ 700 - 1000 จ๊าต
 
-ค่าภาษีสนามบินพม่าขากลับ 10 US$
 
 
จะเห็นได้ว่านอกจากการตามรอยวิปัสสนาจารย์แล้ว เรายังได้ไปเยี่ยมศูนย์วิปัสสนาต่างๆในย่างกุ้งและมัณฑะเลย์ รวมถึงถือโอกาสในการเที่ยวเยี่ยมชมและสักการะสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย รายละเอียดจะอยู่ในเอนทรี่ถัดๆไป


มีอีก นะ ตามไป อ่าน ว่าง ๆ จะมาลงต่อ
 
http://www.oknation.net/blog/woratip/2009/02/18/entry-2