ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2010, 11:35:26 am »





เชิงอรรถ

42* พระสังฆราชองค์แรกของวงศ์เซ็นคือพระกัสสปะ พระอานันทะเป็นองค์ที่ 2 พระปรัชญาตาระเป็นองค์ที่ 27 พระโพธิธรรมเป็นองค์ที่ 28 และเป็นสังฆราชองค์ที่ 1 ในประเทศจีนด้วย

43* รอยประทับจิต คือการเข้าสู่จิตแบบเซ็น จะมีสภาวะที่เหมือนกันทุกประการ ซึ่งสามารถทำการพิสูจน์กับของจริงได้เสมอ และเป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลานานและต้องทำให้มั่นคงดุจตราประทับเลยทีเดียว

44* มหา แปลว่า ใหญ่ ยานะ แปลว่า ยานพาหนะ เป็นรูปแบบที่ทรงพลังอำนาจอันยิ่งใหญ่ของพระพุทธศาสนาในเอเชียฝ่ายเหนือ เอเชียกลางและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ศัพท์ว่า หินยาน จึงถูกนำมาใช้เรียก นิกายฝ่ายเถรวาทด้วย

45*Atom* ในยุคแรก พุทธศาสนานิกายสรวัสติกวาทิน ได้กล่าวถึงเรื่องของอนุภาคปรมาณูเอาไว้ว่า ปรมาณูเป็นสิ่งที่จะรู้ได้ด้วยสมาธิเท่านั้น และอนุภาคทั้ง 7 เหล่านี้ ก่อให้เกิดปรมาณูต่าง ๆ ขึ้นมา และปรมาณูทั้ง 7 ก็ก่อให้เกิดอนูขึ้น ซึ่งจะมองเห็นได้ก็เฉพาะผู้ที่มีโพธิจักษุเท่านั้น นิกายสรวัสติกวาทิน กล่าวอ้างว่า ร่างกายของมนุษย์นั้นเกิดมาจากอนูต่าง ๆ ถึง 84,000 84,000 มักนำมาใช้กับปริมาณที่นับไม่ได้อยู่บ่อย ๆ (*ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา , ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นเห็นธรรม …ในพระบาลี )



จบบทที่ 2 ธรรมเทศนาดุจกระแสเลือด ( โลหิตสูตร )



Pic by : K. peem http://www.tairomdham.net
: Google


ข้อมูลส่วนนี้นำมาจาก : http://www.yimwhan.com/board/show.php?user=modx&topic=47&Cate=8

โพสต์โดย : คุณมดเอ็กซ์

อนุโมทนาสาธุธรรม และอนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2010, 10:48:55 am »




การถ่ายทอดธรรม คือการถ่ายทอดจิตสู่จิต

ตราบใดที่คนยังสร้างกรรมอยู่ เขาก็ต้องวกวนไปสู่การเวียนว่ายตายเกิดอยู่ร่ำไป เมื่อใดคนได้รู้ประจักษ์แจ้งในธรรมชาติของตนเอง เขาก็หยุดสร้างกรรม ถ้าเขาไม่เห็นธรรมชาติของตนเอง ก็อ้อนวอนพระพุทธเจ้าเรื่อยไป

ซึ่งไม่อาจปลดเปลื้องตนเองออกจากกรรมได้เลย แม้ว่าเขาจะเป็นคนขายเนื้อก็ตาม แต่เมื่อใดเขาประจักษ์แจ้งในตนเอง ความสงสัยทั้งปวง ก็หมดไป แม้กรรมของการค้าเนื้อก็ไม่มีผลแก่คนขายเนื้อนั้น

ในอินเดียมีสังฆปรินายกถึง 27 องค์ 42* ที่ทำหน้าที่ถ่ายทอดรอยประทับจิตหรือพุทธจิต 43* ฉันมาสู่ประเทศจีน ด้วยเหตุผลเพียงประการเดียว คือ การถ่ายทอดการรู้ธรรมแบบฉับพลัน ( อึดใจเดียว ) ของมหายาน 44* ( คำกล่าวของท่านโพธิธรรม )


“ จิตนี้คือพุทธะ ฉันไม่ได้พูดถึงการถือศีล, การให้ทาน หรือการเคร่งครัดแบบฤาษี เช่น การลุยน้ำลุยไฟ เหยียบมีดเหยียบหนาม รับประทานวันละมื้อ หรือไม่นอนเลย การบำเพ็ญเหล่านี้เป็นความคลั่งไคล้ เป็นคำสอนที่สร้างภาพพจน์ชั่วคราวไม่ยั่งยืน เมื่อใดท่านรู้จักและเข้าใจการเคลื่อนไหวของตนเอง รู้จักธรรมชาติแห่งการตื่นตัวอย่างปาฏิหาริย์ จิตของท่านก็จะเป็นเช่นเดียวกับจิตของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์”

พระพุทธเจ้าทั้งในอดีตและอนาคต ล้วนแต่กล่าวถึง การถ่ายทอดเรื่องจิต พระองค์ไม่ได้สอนเรื่องอื่นเลย ถ้าผู้ใดเข้าใจคำสอนนี้ได้ แม้เขาจะไม่รู้หนังสือเลย เขาก็เป็นพุทธะได้คนหนึ่ง แต่ถ้าท่านไม่เห็นตนเองไม่เห็นธรรมชาติแห่งการตื่นตัวอย่างปาฏิหาริย์ของตนเอง ท่านก็จะไม่พบพระพุทธเจ้า แม้ท่านจะปฏิบัติกรรมฐานไปจนทำลายตัวเองให้เป็นผุยผงก็ตาม 45*

พระพุทธเจ้าคือธรรมกายของท่าน คือ ใจดั้งเดิมของท่าน จิตนี้ไม่มีรูปลักษณ์ ไม่มีเหตุหรือผล ไม่มีเอ็นหรือกระดูก มันเป็นเสมือนอวกาศ ไม่อาจจับต้องได้ มันไม่ใช่จิตของพวกวัตถุนิยม หรือวิญญาณนิยม นอกจากพระตถาคตแล้ว ปุถุชนหรือคนหลง ไม่มีใครจะสามารถหยั่งรู้ความจริงอันนี้ได้

แต่จิตนี้ก็ไม่ใช่สิ่งที่อยู่นอกกายภายนอก ในธาตุ 4 ถ้าปราศจากจิตนี้ เราก็ไม่อาจเคลื่อนไหวได้ กายที่ไม่มีความรู้สึกตัว ก็เหมือนกับต้นไม้หรือก้อนหิน กายที่ไม่มีจิตจะเคลื่อนไหวได้อย่างไร จิตนี้ชื่อว่าทำให้กายนี้เคลื่อนไหวได้

ภาษาและพฤติกรรม สัญญาและเจตนาล้วนเป็นหน้าที่ของจิต การเคลื่อนไหวทั้งปวง ล้วนเป็นการเคลื่อนไหวของจิต การเคลื่อนไหวจึงเป็นหน้าที่ของจิต ปราศจากการเคลื่อนไหวก็ไม่มีจิต ปราศจากจิตก็ไม่มีการเคลื่อนไหว แต่การเคลื่อนไหวไม่ใช่จิต และจิตก็ไม่ใช่การเคลื่อนไหว*

( * ข้อสังเกต “ หลวงพ่อเทียน น่าจะเป็น…ปรมาจารย์เซ็นในประเทศไทย ”

การเคลื่อนไหวโดยพื้นฐานไม่ใช่จิต และจิตโดยพื้นฐานก็ไม่ใช่การเคลื่อนไหว แต่การเคลื่อนไหวก็ดำรงตัวเองไม่ได้ ถ้าปราศจากจิต และจิตก็ดำรงตัวเองไม่ได้ ถ้าปราศจากการเคลื่อนไหว และไม่มีการเคลื่อนไหวที่อยู่นอกจิต การเคลื่อนไหวจึงเป็นหน้าที่ของจิต และหน้าที่ของจิตก็คือความเคลื่อนไหว

ทฤษฎีของท่านโพธิธรรมเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว มาตรงกับวิธีการที่ชี้นำสู่ตัวพุทธธรรม โดยวิธีการของหลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ ได้อย่างสอดคล้องกัน ถึงแม้ว่าท่านจะไม่ได้กล่าวถึงการยกมือสร้างจังหวะ หรือเดินจงกรมก็ตาม และถึงแม้ว่าท่านทั้งสองจะมีชีวิตอยู่ห่างกันถึงเกือบ 2,000 ปีก็ตาม แต่การชี้นำเข้าสู่พุทธธรรมของท่านผู้รู้ทั้งสองท่าน เกือบตรงกันทุกเรื่อง ถึงแม้สำนวนภาษาดูไม่เหมือนกันก็ตาม แต่โดยสาระแทบจะเป็นอันเดียวกัน

ดังนั้น น่าจะกล่าวได้ว่า แนวการบรรลุธรรมของท่านทั้งสองไม่ต่างกัน แต่วิธีการ การถ่ายทอดอาจต่างกันไปตามยุคตามสมัย ดังนั้น ถ้าท่านโพธิธรรมเป็นผู้ให้กำเนิดพุทธศาสนามหายานแบบเซ็นในประเทศจีน หลวงพ่อเทียนก็อาจกล่าวได้ว่า เป็นผู้ให้กำเนิดมหายานแบบเซ็นที่แท้จริงแก่ประเทศไทย ได้เช่นกัน…
ผู้แปลไทย)

เพราะฉะนั้น จิตจึงไม่ใช่ทั้งการเคลื่อนไหวหรือการทำหน้าที่ เพราะสาระสำคัญในหน้าที่ของจิตคือความว่าง และความว่างโดยเนื้อแท้ก็ไม่มีการเคลื่อนไหว ความเคลื่อนไหวก็เป็นอันเดียวกันกับจิต และจิตโดยเนื้อแท้แล้วก็ไม่มีการเคลื่อนไหว
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กรกฎาคม 18, 2010, 06:46:34 pm »





เพราะตัณหาเกิด ทุกข์ก็เกิด เมื่อตัณหาดับ ทุกข์ก็ดับ

กามจะสิ้นสุดตามความพอใจของท่าน ( เมื่อท่านพอใจจะเลิก ) แม้ว่าราคานุสัยบางอย่างยังเหลืออยู่ มันก็ไม่เป็นอันตรายแก่ท่าน เพราะธรรมชาติจิตของท่านมีความบริสุทธิ์เป็นพื้นฐาน แม้จะยังอาศัย รูปธาตุ 4 อยู่ก็ตาม

ธรรมชาติของท่านก็ยังมีความบริสุทธิ์อยู่ ธรรมกาย ( กายจริง ) เป็นภาวะบริสุทธิ์โดยพื้นฐาน มันไม่ถูกทำให้เศร้าหมองได้ง่าย กายดั้งเดิมของท่านสะอาดบริสุทธิ์มาแต่เดิม ธรรมกายของท่าน ไม่มีความรู้สึกทะยานอยาก ไม่มีความหิวกระหาย , ไม่อุ่นหรือเย็น , ไม่เจ็บไม่ป่วย , ไม่รักไม่ชัง , ไม่สุขไม่ทุกข์ , ไม่ดีไม่ชั่ว , ไม่สั้นไม่ยาว , ไม่อ่อนไม่แข็ง จริง ๆ แล้วไม่มีอะไรเลย เพราะเรายึดติดรูปกายนี้เท่านั้น จึงทำให้ทุกสิ่งมี คือมีหิวกระหาย มีอุ่นมีเย็น มีเจ็บมีป่วยปรากฏขึ้น*

( *เมื่อมีอุปาทาน ธรรมชาติเป็นของคู่ก็มี… ผู้แปลไทย)

เมื่อใดท่านไม่ยึดมั่นถือมั่น ปล่อยให้ทุกสิ่งเป็นไปตามหน้าที่ของมัน ท่านก็จะพ้นจากความเกิด และความตาย ท่านจะเปลี่ยนแปลงไปทุกอย่าง ( จิตเปลี่ยน ) ท่านจะเป็นนายของจิต 41* คือมีกำลังใจ ซึ่งไม่มีอะไรจะมาขัดขวางได้ ท่านจะพบกับความสงบสุขทุกหนทุกแห่ง

ถ้าท่านยังสงสัยเรื่องนี้อยู่ ท่านก็ยังไม่เห็นตนเองอย่างแท้จริง ท่านไม่ต้องทำอะไรเลยจะดีกว่า เพราะถ้าท่านทำลงไป ท่านก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงการเวียนว่ายตายเกิดได้

เมื่อใดท่านเห็นธรรมในตนเอง ท่านก็เป็นพุทธะได้คนหนึ่ง แม้ท่านจะเป็นพ่อค้าเนื้อก็ตาม แต่คนค้าเนื้อสร้างกรรมโดยการฆ่าสัตว์เขาจะเป็นพุทธะได้อย่างไร ?

ฉันพูดถึงการเห็นธรรมชาติในตนเอง ไม่ได้พูดถึงการสร้างกรรม ถ้าไม่ยึดติดกับสิ่งที่เราทำ กรรมก็ไม่ติดตามเรา แม้ตลอดกัปอันหาเบื้องต้นและที่สุดไม่ได้ มันเป็นเพราะเราไม่เห็นตนเองเท่านั้น จึงทำให้เราต้องไปสิ้นสุดกันที่ขุมนรก

เชิงอรรถ

41* พุทธศาสนิกชนพึงสำเหนียกถึงพลังหรืออำนาจวิเศษ 6 ประการ คือความสามารถในการเห็นรูปทั้งปวง ความสามารถในการฟังเสียงทั้งปวง ความสามารถในการดมกลิ่นทั้งปวง ความสามารถในการรับรู้ความคิดเห็นของผู้อื่น ความสามารถในการระลึกรู้อดีตของตนและผู้อื่น ความสามารถในการที่จะอยู่ที่ไหนทำอะไรอย่างตั้งอกตั้งใจ และความสามารถในการที่จะรู้จักความสิ้นสุดลงแห่งการเวียนว่ายตายเกิด* ( *หมายถึง ญาณทั้ง 3 ที่ทำให้ได้ตรัสรู้นั่นเอง.... ผู้แปลไทย )


ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กรกฎาคม 18, 2010, 06:00:52 pm »




คนตาบอดย่อมไม่รู้จักคนตาบอด

พระสูตรกล่าวว่า “พวกที่เป็นอิจฉันติกะ 38 (มิจฉาทิฏฐิ) ไม่สามารถทำให้เกิดความเชื่อเลื่อมใสได้ ดังนั้นการฆ่ามิจฉาทิฏฐิจึงไม่ผิด ยกเว้นคนมีศรัทธาถูกต้อง ย่อมเข้าถึงพุทธภาวะได้”

เมื่อท่านเห็นธรรมชาติของตนเองแล้ว ก็ไม่ควรเที่ยววิพากษ์วิจารณ์ความดีของผู้อื่น การหลอกลวงตัวเองไม่ได้ทำให้ท่านก้าวหน้าเลย ความดีและความชั่วเป็นสภาพที่แตกต่างกัน เหตุและผลเป็นสภาวะที่ชัดเจนแจ่มแจ้ง สวรรค์และนรกเป็นสิ่งที่ปรากฏเฉพาะหน้าของท่านเอง

แต่คนโง่เขลาเบาปัญญา ไม่มีศรัทธาย่อมตกไปสู่นรกอเวจีอันมืดมิด ไม่อาจรู้พุทธภาวะนี้ได้ สิ่งที่เข้ามาบดบังความเชื่อเลื่อมใสของเขาก็คือ กรรมอันหนักหน่วงของเขานั้นเอง พวกเขาเหมือนคนตาบอดที่ไม่เชื่อว่าจะมีแสงสว่างเช่นนั้น หากท่านอธิบายเรื่องแสงสว่างให้เขาฟัง เขาก็ยังไม่เชื่อ เพราะพวกเขาเป็นคนตาบอด พวกเขาจะสามารถแยกแสงสว่างได้อย่างไร

สำหรับคนโง่ที่ยึดถือความจริงในทางผิด ย่อมตกอยู่ในภพภูมิชั้นต่ำ 39* อันได้แก่พวกที่มีชีวิตยากจนและเป็นทุกข์ พวกเขาไม่อาจมีชีวิตหรือไม่อาจตายได้ และในสถานที่เป็นทุกข์ทรมานเช่นนั้น ถ้าท่านถามเขา เขาก็จะบอกว่าเขามีความสุขเหมือนเทวดา ปุถุชนทุกคนเขาคิดว่าเขาเกิดมาดีแล้ว เพราะความไม่รู้จักชีวิต เขาจึงมีกรรมอันหนักหน่วง คนโง่เช่นนั้นไม่อาจสร้างความเชื่อในพุทธภาวะได้และไม่สามารถพบอิสรภาพอันแท้จริงได้เลย*
( * ความสุขของปุถุชน ก็เหมือนความสุขของหนอนที่อยู่ในส้วม มีกินมีใช้ทุกอย่าง แต่เป็นความสุขที่ไม่ประเสริฐ…. ผู้แปลไทย)


บุคคลที่เห็นจิตของตนเองเป็นพุทธะแล้ว ไม่จำเป็นต้องโกนผมห่มผ้าเหลืองก็ได้ 40* อุบาสกก็เป็นพุทธะได้เช่นกัน เว้นแต่คนที่ไม่เห็นตนเอง ( ตามความเป็นจริง ) แล้วไปโกนผมห่มผ้าเหลือง นับเป็นความหลงใหลคลั่งไคล้ธรรมดา ๆ นั่นเอง แต่อุบาสกที่แต่งงานแล้วยังไม่เลิกจากกาม พวกเขาจะเป็นพุทธะอย่างไร?

ฉันพูดถึงการเห็นตนเองเท่านั้น ไม่ได้พูดถึงเรื่องกาม ก็เป็นธรรมดาเพราะท่านยังไม่เห็นตนเองเมื่อใดท่านเห็นตนเอง ก็เห็นว่ากามเป็นเพียงนามรูปขั้นต่ำ แล้วท่านก็จะเบื่อหน่ายไปเอง*
( * เหมือนเด็ก ที่ชอบเล่นของสกปรก เมื่อเขาโตขึ้นก็ย่อมเลิกเล่นไปเอง มนุษย์เมื่อจิตยังต่ำย่อมหมกมุ่นในกาม เมื่อพัฒนาจิตสูงขึ้นก็เบื่อหน่ายไปเอง… ผู้แปลไทย)

เชิงอรรถ

38* คือชีวิตอีกแบบหนึ่ง ที่เกี่ยวข้องมัวเมาในกามสุขอันวิเศษ ซึ่งความเชื่อในทางพุทธศาสนาถือว่าเป็นเรื่องยุ่งยากและไกลตัว พวกเขาละเมิดข้อห้าม ( ศีล ) และไม่ยอมรับผิดหรือรับโทษที่จะตามมา ในคัมภีร์จีน นิพพานสูตรตอนแรกกล่าวปฏิเสธว่า อิจฉันติกะ มีธรรมชาติแห่งพุทธะ โดยอ้างว่าศีลของชาวพุทธนั้นต่อต้านการฆ่าเป็นเจตนาที่จะป้องกันการฆ่าผู้ที่มีความสามารถเข้าถึงพุทธภาวะได้ การฆ่าอิจฉันติกะนั้นจึงไม่น่าตำหนิ นี้เป็นเพียงทัศนะในหลักทฤษฎี อย่างไรก็ตาม การแปลความหมายในพระนิพพานสูตรตอนหลัง ๆ มา ก็ได้แก้ไขข้อความตอนนี้ใหม่ โดยกล่าวว่า แท้จริงแล้ว อิจฉันติกะ มีธรรมชาติแห่งพุทธะอยู่ [อิจฉันติกะ (คือมิจฉาทิฏฐินอกศาสนา)]

39* ได้แก่ ภูมิของสัตว์เดรัจฉาน เปรต และสัตว์นรก

40* เมื่อพระศากยมุนีเสด็จออกจากพระราชวังของพระบิดา ในยามราตรี เพื่อเสาะแสวงหาความหลุดพ้นนั้น พระองค์ได้ตัดพระเกศาที่ยาวปกไหล่ ด้วยพระขรรค์เสีย พระเกศาที่เหลืออยู่ก็กลายเป็นรูปทักษิณวัฏฏ์ ( หมุนเป็นวงกลมไปทางขวามือเหมือนก้นหอย ) โดยไม่ต้องตัดอีกต่อไป ต่อมาเหล่าพระสาวกของพระองค์ ก็ได้เริ่มปลงผมของพวกเขาเพื่อให้ดูต่างออกไปจากนิกายอื่น ๆ ในยุคนั้น

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กรกฎาคม 18, 2010, 05:30:50 pm »




เชิงอรรถ

33* ในระหว่างเหล่าสาวกทั้งหลาย ทั้งชาวพุทธและต่างนิกาย ส่วนมากได้รับการตำหนิติเตียนว่าเป็นเหมือนคนบ้า เป็นผู้ที่หลงใหลในการบำเพ็ญทุกรกิริยา และการทรมานตนให้ลำบาก หรือเป็นผู้ทำตามตัวหนังสือโดยไม่เข้าใจธรรมชาติที่แท้นั้นเอง

34* หมายถึง อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ อันเป็นเป้าหมายสูงสุดของพระโพธิสัตว์ ให้ดูความเป็นมาใน ระตะนะสูตร

35* ศากยะ เป็นราชวงศ์ของพระพุทธเจ้า มุนี คือนักบวชโคตมะ เป็นนามแห่งตระกูลของพระองค์ และมีพระนามเดิมว่า สิทธัตถะ ส่วนกาลเวลานั้นมีกล่าวไว้หลากหลาย แต่ที่ยอมรับโดยทั่วไปนั้นคือ ก่อนคริสตศักราช 557– 487 หรือในราว ๆ นั้น

36* พระอานนท์ เป็นพระญาติของพระศากยมุนี ซึ่งเกิดในคืนวันที่พระพุทธองค์ทรงได้ตรัสรู้ และ 25 ปี ต่อมา ท่านก็ได้บวชในพุทธศาสนาและได้ทำหน้าที่เป็นผู้อุปัฏฐาก หลังจากที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว ท่านได้รับหน้าที่เป็นผู้สาธยายคำสอนของพระพุทธเจ้า ( วิสัชชนาพระสูตร ) ในคราวที่ทำปฐมสังคายนาด้วย

37* พระอรหันต์ คือบุคคลที่เป็นอิสระจากการเกิดใหม่ เป็นเป้าหมายสูงสุดของสาวกฝ่ายหินยานหรือยานเล็ก ในขณะที่พระอรหันต์เป็นผู้ไกลจากกิเลส เขาก็เป็นผู้ไกลจากความกรุณาที่จะให้กับผู้อื่นไปด้วย เขาไม่เข้าใจว่าความตายล้วนเป็นธรรมชาติที่เสมอกันของสรรพสิ่ง และนั่นคือไม่มีพุทธะอื่นอีกแล้ว นอกจากพุทธะของคนทุกคน
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กรกฎาคม 18, 2010, 04:21:13 pm »




การศึกษาข้างนอกมากเกินไป ทำให้ลืมการศึกษาภายใน

ถ้าท่านต้องการพบมรรคจริง ๆ อย่ายึดมั่นถือมั่นในสิ่งใด ๆ เมื่อใดท่านถึงที่สุดแห่งกรรม ( สิ้นกรรม ) จงดำรงรักษาความรู้สึกตัวทั่วพร้อมของท่านไว้ อาสวะใด ๆ ที่ยังเหลืออยู่ก็ค่อย ๆ หมดไป

ความเข้าใจธรรมะจะเกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติ ท่านไม่ต้องสร้างความพยายามใด ๆ แต่ความหลงใหลคลั่งไคล้ 33* ไม่ได้ทำให้เข้าใจ ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน

ถ้าพยายามที่จะรู้ธรรมะ ก็เป็นสิ่งที่ยากที่จะรู้ขึ้นไปอีกต่อไป พวกเขาก็จะได้แต่จดจำเอาความรู้ของพวกนักปราชญ์เท่านั้น ( จำธรรมะไม่ใช่รู้ธรรมะ )

ตลอดเวลาอันยาวนานที่พวกเขาอ้างพระพุทธเจ้า และสาธยาย พระสูตร ( ติดคัมภีร์ ) เขาก็ยังใบ้บอดต่อธรรมชาติอันเป็นทิพย์ของตนเอง และไม่อาจพ้นไปจากวัฏฏสงสารได้เลย

พระพุทธเจ้าคล้ายเป็นคนขี้เกียจ เพราะพระองค์ไม่ได้วิ่งตามลาภสักการะและโลกธรรมทั้งหลาย ที่สุดแล้วโลกธรรมมันมีอะไรดีเล่า ?

บุคคลที่ยังไม่เห็นตนเอง ได้แต่คิดและอ่านแต่พระสูตร อ้อนวอนแต่พระพุทธเจ้า จะศึกษายาวนานเพียงใด ปฏิบัติจริงจังทั้งเช้าจรดเย็น จนไม่หลับไม่นอน หรือได้ความรู้ทางธรรมมามากมายก็ตาม ก็ยังชื่อว่าลบหลู่ดูหมิ่นพระธรรมอยู่

พระพุทธเจ้าทั้งในอดีตและอนาคต ทรงกล่าวถึงการเห็นธรรมชาติของท่านเท่านั้น ( การเห็นตนเอง ) การปฏิบัติทุกอย่างยังไม่แน่นอน เว้นแต่ว่าเขาได้เห็นตนเอง คนที่อ้างว่าได้บรรลุธรรมอันเลิศ 34* สำเร็จหมดแล้วเป็นคนมุสา

ในบรรดาพระสาวกองค์สำคัญที่สุด 10 องค์ของพระศากยมุนี 35* พระอานนท์ 36* เป็นสาวกผู้เลิศในการเรียนรู้ แต่ท่านก็ไม่รู้จักพระพุทธเจ้า ( ตามความเป็นจริง ) ท่านเป็นผู้ศึกษาและจดจำทุกอย่างได้เท่านั้น

พระอรหันต์ทั้งหลาย 37* ก็ไม่รู้จักพระพุทธเจ้าทั้งหมด ที่ท่านรู้จัก คือ การปฏิบัติเพื่อการรู้แจ้งให้มากเท่านั้น และท่านก็ถูกดักไว้ด้วยเหตุผล สภาพเช่นนั้นเป็นกรรมของปุถุชน ไม่อาจหลีกเลี่ยงการเกิด และการตายได้ คนที่ทำตรงกันข้ามกับสิ่งที่เขาตั้งใจ คนเช่นนั้นชื่อว่ากล่าวตู่พระพุทธเจ้า การฆ่ามิจฉาทิฏฐิไม่มีความผิด



ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กรกฎาคม 18, 2010, 02:00:06 pm »



การตัดเวรตัดกรรม คือการตัดความคิดปรุงแต่ง

ถ้าท่านฝันในเวลากลางคืน ทำให้ท่านเห็นพระจันทร์และดวงดาวสว่างทั่วท้องฟ้า นั้นเป็นนิมิตหมายว่า การบำเพ็ญเพียรทางใจของท่านใกล้ถึงที่สุด แต่อย่าบอกนิมิตนั้นแก่คนอื่น

ถ้าความฝันของท่านไม่ชัดเจนเหมือนท่านกำลังเดินในที่มืด นั่นเป็นเพราะจิตของท่านถูกครอบคลุมไปด้วยความวิตกกังวล ปรากฏการณ์นี้เป็นสิ่งที่ท่านต้องกำหนดรู้เท่านั้น






ถ้าท่านเห็นธรรมชาติของตน (เห็นตัวเอง) ก็ไม่จำเป็นต้องอ่านพระสูตร
หรืออ้อนวอนพระพุทธเจ้า
ความเป็นผู้คงแก่เรียนหรือมีความรู้ไม่เพียงแต่เป็นสิ่งไร้สาระเท่านั้น ยังเป็นสิ่งที่บดบัง
ความรู้สึกตัวของท่านเองด้วย

ธรรมะหรือคำสอนเป็นเพียงสิ่งชี้นำให้รู้จักจิตเท่านั้น เมื่อท่านเห็นจิตของตนเอง
อยู่เสมอแล้ว
ทำไมต้องไปสนใจคำสอนอีกเล่า ?


การก้าวจากความเป็นปุถุชน ไปสู่ความเป็นพุทธะ ทำให้ท่านสิ้นกรรม จงดูแลรักษาความรู้สึกตัวทั่วพร้อมของท่านให้ดี * และยอมรับทุกสิ่งที่เกิดขึ้นกับชีวิต (ตามความเป็นจริง )
( *เจริญสติสัมปชัญญะอยู่เสมอ… ผู้แปลไทย)

ถ้าท่านเป็นคนมักโกรธ ความโกรธนั้นจะเป็นอุปสรรคขัดขวางตัวท่านไม่ให้บรรลุมรรคผล การหลอกลวงตัวเองไม่ทำให้ท่านก้าวหน้าได้เลย พระพุทธเจ้าผ่านพ้นความเกิดและความตายอย่างอิสระ จะอุบัติหรือจุติได้ตามความตั้งใจ กรรมไม่อาจหยุดยั้งท่านได้ แม้ภูตผีปีศาจและมารก็ไม่อาจเอาชนะท่านได้

เมื่อใดปุถุชนเห็นธรรมชาติของตนเอง (เห็นตนเอง ) อุปาทานทั้งปวงก็หมดไป ความรู้สึกตัวทั่วพร้อมไม่ใช่สิ่งลึกลับ แต่ท่านสามารถพบมันได้ในปัจจุบันขณะ (ตลอดกาล) มันเป็นปัจจุบันธรรม
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กรกฎาคม 18, 2010, 01:17:27 pm »




จงทำตามธรรม แต่อย่าทำตามความคิด

อย่าหลงติดใจในปรากฏการณ์ แล้วท่านจะผ่านพ้นอุปสรรคชีวิตทั้งปวงได้ ความไม่แน่ใจแต่ละขณะ จะทำให้ท่านตกอยู่ภายใต้การสะกดของมาร ธรรมกายของท่าน ( กายจริง ) เป็นภาวะบริสุทธิ์หนักแน่น แต่เพราะโมหะธรรมจึงทำให้ท่านหลงลืมกายนั้น ( สติ – สัมปชัญญะ )เพราะเหตุนี้ท่านจึงทุกข์ เพราะความหลงทำให้ท่านทำในสิ่งที่ไร้สาระ เมื่อใดท่านหลงเกิดความยินดีพอใจ 31* ท่านก็ถูกผูกมัด ( ด้วยอุปาทาน ) แต่เมื่อใดท่านตื่นรู้ต่อกายใจดั้งเดิมของท่าน ( รูป – นาม ) ท่านก็ไม่ถูกผูกมัดด้วยอุปาทานต่อไป
( 31* ร่างกาย คือ ธาตุ 4 จิตใจคือขันธ์ 5 ที่มีการแสดงตัวในลักษณะต่าง ๆ แต่ท่านโพธิธรรมกล่าวว่า ได้แก่ตัวพุทธะนั้นเอง )

ใครก็ตาม ยังไม่ละเลิกความติดยึดในกามคุณ ซึ่งปรากฏในหลากหลายรูปแบบ ( รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ) เขาก็ยังเป็นปุถุชนอยู่

พระพุทธเจ้าคือบุคคลที่ค้นพบอิสรภาพ คือเป็นอิสระจากโลกธรรมและความชั่วทั้งหลาย การค้นพบเช่นนั้นเป็นอำนาจของพระองค์ ที่ทำให้กรรมไม่อาจติดตามทันได้ ไม่ว่ากรรมชนิดใดก็ให้ผลต่อพระองค์ไม่ได้ เพราะพระพุทธเจ้าทรงเปลี่ยนแปลงกรรมได้ สวรรค์และนรก 32* ก็ไม่มีผลอะไรต่อพระองค์ แต่ความรู้สึกตัวทั่วพร้อมของปุถุชน เป็นภาวะที่คลุมเครือ เศร้าหมอง เมื่อเปรียบเทียบกับของพระพุทธเจ้า ผู้ซึ่งรู้แจ้งทุกสิ่งทุกอย่างทั้งภายในและภายนอก
( 32* พุทธศาสนิกชนทั่วไป เข้าใจเรื่องสวรรค์เป็นรูปธรรมว่ามี 4 ชั้น แต่ละชั้นแบ่งออกได้อีก 16 – 18 ชั้น และที่ไม่มีรูปอีก 4 ชั้น ซึ่งตรงข้ามกับสังสารวัฏ คือ นรกร้อน 8 ขุม และนรกเย็นอีก 8 ขุม แต่ละขุมก็มีบริวารอีกขุมละ 4 มีนรกพิเศษอีกจำนวนหนึ่ง คือนรกมืดและทุกข์ตลอดกาล )

ถ้าท่านไม่แน่ใจอย่าพึ่งทำอะไร เมื่อท่านทำลงไป ก็ต้องเวียนว่าย ตายเกิด และเป็นทุกข์เพราะไม่มีที่พึ่ง ความทุกข์ยากลำบากเกิดขึ้น เพราะความคิดผิด (มิจฉาทิฏฐิ ) การเข้าใจสภาวะจิตเช่นนี้ ท่านต้องทำแบบไม่ทำ* ด้วยวิธีนี้เท่านั้นจะทำให้ท่านเห็นทุกสิ่งจากญาณทัศนะของพระตถาคต
( *คือทำสักแต่ว่าทำ หมายถึงการมีสติปัญญากำหนดรู้ใน กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมตลอดเวลา เมื่อกรรมถูกกำหนดรู้อย่างเท่าทัน กรรมนั้นจะดับด้วยพลังของ ญาณปัญญา, อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ไม่อาจเข้าไปแทรกแซง ปรุงแต่ง แต่เป็นกรรมได้ เรียกว่า ทำแบบไม่ทำ … ผู้แปลไทย )


แต่เมื่อท่านเข้าปฏิบัติตามมรรคครั้งแรก ความรู้สึกตัวทั่วพร้อมของท่านยังไม่มีจุดรวม ท่านก็เห็นทุกสิ่งเป็นเรื่องแปลก เหมือนภาพในฝัน แต่ท่านอย่าสงสัยว่า ความฝันทุกอย่างล้วนเกิดจากจิตของท่านเอง ไม่ได้เกิดจากที่อื่น

ถ้าท่านฝันว่าท่านเห็นแสงสว่างเจิดจ้ายิ่งกว่าแสงพระอาทิตย์ ( นั้นเป็นนิมิตหมายว่า ) อุปาทานของท่านที่ยังเหลืออยู่ก็จะหมดไปโดยเร็ว และธรรมชาติของสัจจธรรมก็ปรากฏตัวขึ้น ปรากฏการณ์เช่นนั้นจะเป็นเครื่องช่วยเป็นพื้นฐานแห่งการบรรลุธรรม แต่เรื่องนี้เป็นสิ่งรู้ได้เฉพาะตนเท่านั้น ไม่อาจอธิบายให้ผู้อื่นทราบได้

หรือหากท่านกำลังยืน เดิน นั่ง หรือนอนในป่าอันสงัดวิเวก ท่านอาจเห็นแสงสว่าง ( อันเกิดจากนิมิต ) ไม่ว่าเป็นนิมิตที่แจ่มใส หรือคลุมเครืออย่าบอกเรื่องนั้นแก่ผู้อื่น และอย่ากำหนดจดจำนิมิตเช่นนั้นไว้ เพราะมันเป็นภาวะที่สะท้อนออกมาจากธรรมชาติภายในของท่านเอง

ถ้าท่านกำลังยืน เดิน นั่งหรือนอน ในที่สงบเงียบ และมืดในยามกลางคืน ( นิมิตปรากฏให้ท่านเห็น ) ทุกสิ่งปรากฏเสมือนกลางวัน ก็อย่าตกใจ เพราะปรากฏการณ์นั้นเกิดจากจิตของท่านเอง ที่ต้องการ เปิดเผยตัวมันเอง


ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กรกฎาคม 18, 2010, 04:59:44 am »



Pic by : K. peem http://www.tairomdham.net


แม้ท่านจะสามารถอธิบายพระสูตร ได้หลายพันสูตรก็ตาม 30* เมื่อท่านเห็นธรรมชาติของท่าน ที่ยังเป็นธรรมชาติของอัตตาอยู่ การเห็นตัวเอง* ที่ยังเป็นอัตตาอยู่เช่นนั้น ยังเป็นคำสอนของปุถุชน ไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า
( 30* เป็นหมวดหมู่แห่งคำสอนของพุทธศาสนาในจีน หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า พระไตรปิฎก แต่งขึ้นในตอนต้นศตวรรษที่ 6 เท่าที่ปรากฏมีจำนวนถึง 2,213 เล่ม และในบรรดาคัมภีร์เหล่านี้ เป็นพระสูตร 1,600 เล่ม และมีหลายสูตรที่เพิ่มเข้าในพระไตรปิฎกในยุคนั้น อย่างไรก็ตาม แม้ว่าคัมภีร์จะมีเป็นจำนวนมากมาย ก็ยังมีการสูญหายไปบ้างมิใช่น้อย ที่คงเหลืออยู่ในปัจจุบันมีจำนวน 1,662 เล่ม )
( *การเห็นตัวเองตามความเป็นจริง หมายถึงการเห็นที่ว่างจากการยึดมั่นถือมั่นมิใช่เห็นด้วยความสำคัญมั่นหมายว่าเป็นตัวตน … ผู้แปลไทย . )

มรรคที่แท้จริงคืออริยมรรค อริยมรรคไม่สามารถจะสื่อกันได้ด้วยภาษา แล้วตำราหรือคัมภีร์จะมีประโยชน์อะไร ?

คนที่พบเห็นตนเองแล้ว ย่อมพบทางแห่งอริยมรรค แม้เขาจะอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ก็ตาม คนที่เห็นธรรมในตนเองก็คือพุทธะ และธรรมกายของพุทธะเป็นกายที่บริสุทธิ์ ไม่มีมลทินโดยแท้ ทุกสิ่งที่ท่านตรัสก็เป็นสิ่งที่แสดงออกมาจากใจอันบริสุทธิ์ของท่าน

เมื่อพุทธะเป็นความว่างมาแต่เดิมแล้ว พุทธะก็ไม่อาจค้นพบได้ในคำพูดหรือคำสอนในคัมภีร์ใด ๆ อันมีถึงสิบสองหมวดก็ตาม (พระไตรปิฎกมหายาน)

อริยมรรคเป็นมรรคที่สมบูรณ์มาแต่เดิม ไม่ต้องการความสมบูรณ์ใด ๆ อีก อริยมรรคไม่มีรูปหรือเสียง เป็นสภาพที่ละเอียดประณีต และยากแก่การเข้าใจ เหมือนกับท่านดื่มน้ำ ท่านย่อมรู้เองว่าความร้อนความเย็นเป็นอย่างไร แต่ท่านไม่อาจจะบอกผู้อื่นได้


ในบรรดาสภาพธรรมเหล่านั้น พระตถาคตเจ้าเท่านั้นทรงรู้ มนุษย์และเทวดายังเข้าใจไม่ได้ ความรู้สึกตัวทั่วพร้อมของปุถุชนยังไม่สมบูรณ์ ตราบใดที่เขายังยึดมั่นถือมั่นอยู่กับปรากฏการณ์ เขาก็ยังไม่รู้ว่าจิตของเขาเป็นความว่างและเพราะการยึดติด ตามปรากฏการณ์ของทุกสิ่งอย่างผิด ๆ พวกเขาจึงหลงทาง

ถ้าท่านทราบว่าทุกสิ่งล้วนออกมาจากจิต ก็อย่ายึดมั่นถือมั่น เมื่อใดท่านหลงยึดถือก็ย่อมหลงลืมตัวเองเมื่อนั้น เมื่อใดท่านเห็นธรรมชาติของตัวเองเมื่อนั้นคัมภีร์ธรรมะทั้งหมดก็กลายเป็นเพียงคำพูดธรรมดา ๆ

พระสูตรและคาถาเป็นจำนวนหลาย ๆ พันสูตร เป็นประโยชน์เพียงเพื่อเป็นเครื่องมือชำระจิต ความเข้าใจเกิดจากคำพูดเป็นสื่อกลาง แล้วคำพูดคำสอนที่เป็นสื่อกลางแบบไหนล่ะ ? ที่เป็นคำสอนที่ดี

ปรมัตถสัจจะ ย่อมอยู่เหนือคำพูด คำสอนเป็นเพียงคำพูด คำสอนจึงไม่ใช่อริยมรรค มรรคไม่ใช่คำพูด คำพูดเป็นมายาภาพ ไม่มีอะไรแตกต่างไปจากสิ่งที่ปรากฏในความฝันของท่านในเวลากลางคืน ซึ่งท่านอาจฝันเห็นปราสาท ราชวัง ราชรถหรือวนอุทยาน หรือทะเลสาปหรือพระราชฐานอันโอ่อ่า อย่าหลงติดใจกับสิ่งที่เป็นความฝัน เพราะทั้งหมดเป็นเหตุให้สร้างภพใหม่ จงตั้งใจให้ดีเท่านั้น ขณะที่ท่านใกล้ตาย
ข้อความโดย: aun63
« เมื่อ: กรกฎาคม 17, 2010, 06:22:08 am »

 :13: