ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: ตุลาคม 20, 2010, 09:12:55 pm »

จัดจราจรเฝ้า8ถนนริมเจ้าพระยา

เมื่อวันที่ 19 ต.ค. พล.ต.ต.ภาณุ เกิดลาภผล รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) ดูแลงานจราจร เปิดเผยว่า ตนได้มีบันทึกสั่งการให้ทุก สน.เตรียมพร้อมเจ้าหน้าที่และอุปกรณ์ช่วยเหลือผู้ใช้ถนนจากเหตุน้ำท่วม เช่น รถยก น้ำยาไล่ความชื้น สายลากจูง สายเชื่อมแบตเตอรี่ เป็นต้น ประจำจุดเสี่ยง ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อรองรับสถานการณ์น้ำไหลบ่าจากพื้นที่ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าสู่กรุงเทพฯ โดยให้เฝ้าระวังถนน 8 สาย ที่อยู่ติดแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นพิเศษ ได้แก่ 1. ถนนสามเสน 2. ถนนพระอาทิตย์ 3. ถนนมหาราช 4. ถนนเจริญกรุง 5. ถนนรถไฟสายเก่า 6. ถนนจรัญสนิทวงศ์ 7. ถนนอรุณอมรินทร์ 8. ถนนเจริญนคร นอกจากนี้ยังได้กำชับให้ฝ่ายจราจร สน.ที่มีพื้นที่ติดแม่น้ำเจ้าพระยา ประสานหน่วยงานในพื้นที่เตรียมเรือสำรองไว้คอยช่วยเหลือประชาชนอีกส่วนหนึ่ง หากพื้นที่ใดเกิดน้ำท่วมฉับพลันให้แต่ละ สน.แจ้ง บก.02 เพื่อช่วยประชาสัมพันธ์ข้อมูลเส้นทางผ่านสื่อต่าง ๆ ให้ประชาชนรับทราบอย่างเร็วที่สุด ให้ประชาชนสามารถวางแผนการเดินทางได้อย่างทันเหตุการณ์ และให้หน่วยงานต่าง ๆ เข้าช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนได้อย่างทันท่วงที.

http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=354&contentID=99213
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: ตุลาคม 20, 2010, 07:59:46 pm »

ข่าวนํ้าท่วม น้ำท่วมกรุงเทพ



ข่าวน้ำท่วม น้ำท่วมกรุงเทพ


เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก ไทยโพสต์


สถานการณ์ น้ำท่วมในหลายจังหวัดยังคงน่าเป็นห่วง สาเหตุที่ทำให้เกิดอุทกภัยครั้งนี้ เนื่องจากเกิดภาวะฝนตกหนัก ติดต่อกันหลายวัน ส่งผลให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเข้าขั้นวิกฤติ มีปริมาณน้ำเกินกว่าระดับกักเก็บไว้ได้ และจำเป็นต้องระบายน้ำออกจากเขื่อน ทำให้เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ และเขื่อนทางภาคเหนือไหลลงมายังแม่น้ำเจ้าพระยา ประกอบกับช่วงวันที่ 23-26 ตุลาคม เป็นช่วงที่น้ำทะเลหนุน ด้วยเหตุนี้จึงอาจทำให้กรุงเทพฯ จมอยู่ใต้บาดาลได้



ข่าวน้ำท่วม



สำหรับ พื้นที่กรุงเทพฯ ที่เสี่ยงต่อน้ำท่วมมากที่สุด คือ รัชดาภิเษก ลาดพร้าว บางนา ศรีนครินทร์ ส่วนพื้นที่เสี่ยงหลังแม่น้ำเหนือไหลทะลักลงมากรุงเทพฯ คือ ชุมชนริมแม่น้ำเจ้าพระยา คลองบางกอกน้อย และคลองมหหาสวัสดิ์ ทั้งหมด 13 เขต ดังนี้

1. เขตบางซื่อ ได้แก่ ชุมชนพระราม 6 (ฝั่งติดแม่น้ำ) และชุมชนปากคลองบางเขนใหญ่

2. เขตดุสิต ได้แก่ ชุมชนเขียวไข่กา ชุมชนราชผาทับทับทิมร่วมใจ (เชิงสะพานกรุงธน) ชุมชนซอยสีคาม (ซอยสามเสน 13) และชุมชนวัดเทวราชกุญชร (ถนนศรีอยุธยา)

3. เขตพระนคร ได้แก่ ชุมชนท่าวัง ชุมชนท่าช้าง และชุมชนท่าเตียน

4. เขตสัมพันธวงศ์ ได้แก่ ชุมชนวัดปทุมคงคา (ท่าน้ำสวัสดิ์) และชุมชนตลาดน้อย

5. เขตบางคอแหลม ได้แก่ ชุมชนวัดบางโคล่นอกชุมชนหน้าวัดอินทร์บรรจง ชุมชนซอยมาตานุสรณ์และชุมชนหลังโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์

6. เขตยานนาวา ได้แก่ ชุมชนโรงสี (ถนนพระราม 3)

7. เขตคลองเตย ได้แก่ ชุมชนสวนไทรริมคลอง พระโขนง

8. เขตบางพลัด ได้แก่ ชุมชนวัดฉัตรแก้ว

9. เขตบางกอกน้อย ได้แก่ ชุมชนสันติชนสงเคราะห์ ชุมชนปากคลองน้ำตาล-คลองพิณพาทย์ ชุมชนครอกวังหลัง และชุมชนดุสิต-นิมิตรใหม่

10. เขตธนบุรี ได้แก่ ชุมชนปากคลองบางกอกใหญ่

11. เขตคลองสาน ได้แก่ ชุมชนเจริญนครซอย 29/2

12. เขตราษฎร์บูรณะ ได้แก่ ชุมชนดาวคะนอง

13. เขตทวีวัฒนา ได้แก่ ชุมชนวัดปรุณาวาส



ขณะที่นายพรเทพ เตชะไพบูลย์ พร้อมคณะผู้บริหาร ลงพื้นที่ตรวจการเรียงกระสอบทราย ริมแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณถนนทรงวาด และตรวจงานก่อสร้างแนวป้องกันน้ำท่วม ริมคลองบางกอกน้อย บริเวณชุมชนสันติชนสงเคราะห์ พร้อมระบุว่า กรุงเทพฯ มีความพร้อมเต็มที่ในการป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ต่าง ๆ

อย่างไรก็ตาม ขณะ นี้กรมชลประทาน ได้ปล่อยน้ำจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ และเขื่อนพระราม 6 รวม 3,655 ลูกบาศก์เมตร/วินาที ลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งยังไม่น่าเป็นห่วง เนื่องจากแนวป้องกันน้ำท่วมที่มีอยู่ สามารถรับน้ำได้ที่ระดับความสูงประมาณ 2.5 เมตร จากระดับน้ำทะเล และจากการตรวจวัดปริมาณน้ำ ในช่วงเช้ามีความสูงประมาณ 1.5 เมตร ยังสามารถรับน้ำเพิ่มได้อีก 1 เมตร โดยโครงการก่อสร้างแนวป้องกันน้ำท่วมริมแม่น้ำเจ้าพระยา มีความยาวรวม 77 กิโลเมตร ก่อสร้างเสร็จแล้วกว่า 75 กิโลเมตร

ส่วน ที่เหลือคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2554 โดยจุดที่ยังไม่เสร็จทางกรุงเทพฯ ได้นำกระสอบทรายกว่า 2 แสนใบ มาวางเป็นแนวป้องกันน้ำท่วมชั่วคราวที่ความสูง 2.5 เมตร เช่นเดียวกัน พร้อมทั้งเตรียมเครื่องสูบน้ำ และเจ้าหน้าที่ประจำจุดเสี่ยงต่าง ๆ ด้วย นอกจากนี้ ได้เตรียมเวชภัณฑ์ ยา และสถานที่พักชั่วคราว บรรเทาความเดือดร้อน ให้ประชาชนหากเกิดน้ำท่วมในพื้นที่ต่าง ๆ

อย่างไรก็ตาม จากการพยากรณ์อากาศและคาดการสถานการณ์น้ำ ในระหว่างวันที่ 26 - 27 ต.ค. คาดว่า จะมีน้ำเหนือไหลบ่าและน้ำทะเลหนุนสูง จึงต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ แต่เชื่อว่ายังสามารถรับมือได้


เบอร์โทรศัพท์ติดต่อสอบถาม ประสานงานเหตุอุทกภัย


- ศูนย์กลางช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ติดต่อ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โทร 1784

- ประชาชนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ ต้องการความช่วยเหลือเรื่องน้ำท่วม โทร.1555 และ 0 2248 5115 ตลอด 24 ชั่วโมง

- ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกัน และแก้ไขปัญหาอุทกภัย จ.นครราชสีมา โทร 044-342-652 ถึง 4 และ 044-342-570 ถึง 7

- ประสานงานด้านการแพทย์ฉุกเฉิน หรืออุบัติเหตุ โทรฟรี 1669 หรือ 02-591-9769 ตลอด 24 ชั่วโมง

- สอบถามเส้นทางรถไฟ และเวลาเดินทาง การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร 1690

- สอบถามสภาพอากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา โทร 02-398-9830

- กฟภ.ตั้งศูนย์ช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วมที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 3 นครราชสีมา โทร.044214334-5 หรือ CallCenter1129

- สอบถามน้ำท่วม ถ.มิตรภาพ ที่แขวงการทางต่าง ๆ ได้ที่โทร 044-242047 ต่อ 21, 044-212200, 037-211098, 036-461422, 036-211105 ต่อ 24

การเตรียมการรับมือกับภัยพิบัติน้ำท่วม

1. หมั่นติดตามข่าวสาร และประกาศเตือนทุกช่องทาง เช่น วิทยุ โทรทัศน์ เสาสัญญาณ เป็นต้น

2. เตรียมข้าวสาร อาหารแห้ง แก๊ชสำหรับหุงต้ม ยารักษาโรค ไฟฉาย เทียน ไม้ขีดไฟ และอุปกรณ์ที่จำเป็นอื่น ๆ เพื่อเอาตัวรอดในยามน้ำท่วม

3. เตรียมกระสอบทรายไว้เพื่อทำผนังกั้นน้ำ (แต่ห้ามวางไว้พิงกำแพง เพราะจะเพิ่มแรงดันให้น้ำทะลักเข้ามาได้ง่าย)

4. หมั่นทำความสะอาดพื้น ไม่ให้มีของอันตรายหากเกิดน้ำท่วมสูง

5. เก็บของมีค่า และสัตว์เลี้ยง รวมถึงอุปกรณ์ไฟฟ้า ไปไว้ชั้นบนของบ้าน

6. เตรียมเบอร์ติดต่อ หน่วยงานของรัฐ เผื่อต้องการความช่วยเหลือ

7. ชาร์จแบตโทรศัพท์มือถือ และอุปกรณ์สื่อสารให้พร้อม

8. หากเกิดน้ำท่วมให้หนีขึ้นที่สูง และปิดวงจรไฟฟ้า เพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร

9. พยายามหาส่วนแห้งเพื่อหลบภัย และป้องกันไฟดูด

10. ห้ามรับประทานน้ำที่ท่วมสูง หากขาดแคลนน้ำดื่ม ให้ต้มก่อนทุกครั้ง เพื่อป้องกันโรคระบาด

11. หากน้ำท่วมไม่สูงมาก ให้ระวังการใช้รถใช้ถนน และดูแลเด็กเล็กไม่ให้ออกจากบ้าน

12. ระวังสัตว์มีพิษที่มากับน้ำ หากถูกกัดให้ล้างแผลด้วยน้ำต้มสุกและเช็ดแอลกอฮอล์รอบแผล จากนั้นหาทางไปโรงพยาบาลทันที

13. เตรียมน้ำสะอาดไว้ดื่ม และชำระร่างกาย

14. เตรียมถุงดำเล็ก - ใหญ่ ไว้ทิ้งขยะและปลดทุกข์

15. เตรียมอุปกรณ์สำหรับขอความช่วยเหลือ เช่น นกหวีด ชูชีพ

16. หากน้ำท่วมเป็นเวลานาน อาจเกิดแผ่นดินทรุดตัวได้ แนะนำให้อยู่ห่างตึกหรืออาคารสูง ๆ


อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก กรุงเทพธุรกิจ , INN
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย, กรมอุตุนิยมวิทยา


.


ข้อความโดย: แปดคิว
« เมื่อ: ตุลาคม 19, 2010, 06:31:34 pm »

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: ตุลาคม 18, 2010, 10:13:41 pm »

 :45: ขอบคุณครับพี่หนุ่ม
ฝนตกหนักมาก ช่วงนี้น้ำไหลผ่านบ้านผมเห็นๆเลยครับดีที่ไม่ท่วม 55+
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: ตุลาคม 18, 2010, 07:28:37 pm »

รู้จักภัยน้ำท่วม และวิธีการรับมือน้ำท่วม



เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

          เมื่อ ย่างเข้าสู่ปลายเดือนพฤษภาคม สายน้ำแห่งความชุ่มฉ่ำ จะค่อย ๆ ไหลรินลงมาจากก้อนเมฆบนท้องฟ้า นั่นหมายความว่า กำลังเข้าสู่ฤดูฝน ซึ่งสายฝนจะตกโปรยปรายลงมาให้ชุ่มฉ่ำ พืชผลทางการเกษตร ดอกไม้ ใบหญ้า จะได้สัมผัสกับน้ำฝนอย่างเต็มที่ เหล่าพายุต่าง ๆ แห่แหนพัดผ่านอยู่เนือง ๆ จนกว่าจะหมดฤดูในช่วงเดือนตุลาคม ซึ่งก่อนที่น้ำฝนจะเทลงมาในฤดูฝนนั้น เกษตรกรในแถบที่ราบสูงของไทย ต้องเผชิญกับความแห้งแล้งแสนสาหัส ถึงขนาดที่ต้องพึ่งพาโครงการฝนหลวง เพื่อให้ผลผลิตการเกษตรยังคงออกดอกออกผลอยู่ได้ แต่เมื่อเข้าสู่ฤดูฝนในปีนี้ ความดีใจของเกษตรกรกลับเปลี่ยนแปลงเป็นความทุกข์ใจอีกครั้ง เพราะฝนที่ยังคงตกอย่างต่อเนื่องไม่มีทีท่าว่าจะหยุด ได้เปลี่ยนให้แผ่นดินที่แห้งแล้ง ต้องเผชิญกับน้ำป่าไหลหลากและน้ำท่วมสูงจนทะลักเข้าสู่ที่พักอาศัย

          อุทกภัย หรือ ที่เราเรียกติดปากว่า น้ำท่วม คือ มหันตภัยร้ายที่เกิดขึ้นโดยเงื้อมมือของธรรมชาติ และเป็นสิ่งที่ไม่สามารถควบคุมได้ โดยน้ำท่วมออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ดังนี้





          1. น้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมฉับพลัน เนื่อง จากฝนที่ตกติดต่อกันหลายชั่วโมง จนผืนดินไม่สามารถดูดซับน้ำได้ทัน น้ำฝนที่เทลงมาจึงไหลลงสู่พื้นราบอย่างรวดเร็ว ซึ่งมักเกิดขึ้นในที่ราบสูง และไหลลงสู่พื้นที่ต่ำกว่า จนทำให้น้ำทะลักเข้าท่วมบ้านเรือน และทรัพย์สินเสียหาย

          2. น้ำท่วมขัง และน้ำล้นตลิ่ง เพราะ ฝนที่ตกอย่างหนักทำให้พื้นที่ที่เป็นหลุมเป็นบ่อ มีน้ำท่วมขังไม่สามารถระบายน้ำออกได้ อีกทั้งน้ำในแม่น้ำลำคลองยังมีปริมาณมากจนล้นตลิ่ง และอาจทะลักเข้าถึงบ้านเรือนได้

          ในประเทศไทย เคยเกิดเหตุน้ำท่วมอยู่บ่อยครั้งทั่วทุกภาคของประเทศ โดยเฉพาะในแถบภาคเหนือ และภาคอีสาน ไม่เว้นแม้แต่เมืองหลวงอย่างกรุงเทพมหานครเอง ก็เคยประสบภัยน้ำท่วมมาแล้วเช่นกัน





ย้อนรอยน้ำท่วม

          จ.ลพบุรี ที่ ราบสูงตอนกลางของประเทศไทย เป็นหนึ่งในจังหวัดที่ประสบปัญหาน้ำท่วมเป็นประจำทุกปี เพราะมีแม่น้ำหลายสายไหลผ่าน โดยเฉพาะแม่น้ำสายสำคัญ อย่างแม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำลพบุรี ปัญหาน้ำท่วมจึงมีให้เห็นเป็นประจำอยู่ทุกปี แม้จะมี เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ คอยกักเก็บและควบคุมปริมาณน้ำอยู่ก็ตาม ในปี 2553 นี่ก็เช่นกัน จ.ลพบุรี ประสบปัญหาน้ำท่วมหนัก ต้องปิดโรงเรียน และระดมหน่วยงานเข้าไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยหลายครัวเรือน

          จ.ลำปาง หนึ่ง ในพื้นที่ที่ประสบภัยน้ำท่วมในภาคเหนือ โดยเฉพาะที่ อ.แจ้ห่ม ซึ่งอยู่ใกล้กับแม่น้ำ ที่มีแม่น้ำแม่สอย และแม่น้ำวัง ไหลผ่านมาบรรจบกัน อีกทั้งสภาพภูมิศาสตร์ จ.ลำปาง ยังเป็นพื้นดินต่ำ มีภูเขาล้อมรอบ จนถูกเรียกว่า อ่างลำปาง โดยล่าสุดน้ำป่าไหลหลากและน้ำจากแม่น้ำก็ไหลทะลักเข้าท่วมบ้านเรือนใน อ.แจ้ห่ม และบริเวณรอบ ได้รับความเสียหาย มีระดับน้ำท่วมสูงเกือบ 1 เมตร มีผู้ประสบภัยนับ 1,000 หลังคาเรือน

          จ.เชียงราย คือจังหวัดใหญ่ทางภาคเหนือ ที่แม้จะอยู่เหนือสุดของประเทศไทย แต่ก็ยังต้องประสบภัยน้ำท่วมอย่างหนักในปีนี้ เนื่องจากฝนที่ตกหนักทำให้น้ำป่าไหลหลากทะลักล้นเข้าสู่บ้านเรือน ใน 5 อำเภอ ที่ได้รับความเดือดร้อนหนัก คือ อ.ดอยหลวง, อ.พญาเม็งราย, อ.แม่จัน , อ.แม่ฟ้าหลวง และ อ.เวียงเชียงรุ้ง อีกทั้งล่าสุดอ่างเก็บน้ำห้วยพลู ก็ยังแตกออกจนเป็นเหตุให้น้ำทะลักและดินทรุดตัวลง รวมถึงถนนขาดออกจากกันอีกด้วย

          กรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของประเทศไทย ก็เคยประสบปัญหาน้ำท่วมมาแล้วเช่นกัน โดยเฉพาะในปี 2538 น้ำท่วมขังอยู่นานราว 2 เดือน คนเมืองหลวงต่างต้องใช้ชีวิตท่ามกลางน้ำท่วมขัง ถือเป็นภัยน้ำท่วมครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นกับกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้สาเหตุมาจากกรุงเทพฯ มีพื้นที่ต่ำและกำลังทรุดตัวลงอยู่เรื่อย ๆ ประกอบกับน้ำทะเลที่ค่อย ๆ หนุนสูงขึ้นทุกปี

          นี่เป็นเพียงตัวอย่างบางจังหวัดของประเทศไทย ที่เคยประสบปัญหาน้ำท่วมหนัก และยังคงมีอีกหลายจังหวัดที่ยังเผชิญกับปัญหาน้ำท่วมอยู่ในขณะนี้ ดังนั้นการเตรียมตัวเพื่อรับมือกับปัญหาน้ำท่วม จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากที่ประชาชนจะต้องรับรู้ไว้ เพื่อรับมือกับปัญหาน้ำท่วมที่อาจเกิดขึ้นได้

วิธีรับมือน้ำท่วม     

          1. หมั่นติดตามข่าวสาร และประกาศเตือนทุกช่องทาง เช่น วิทยุ โทรทัศน์ เสาสัญญาณ เป็นต้น

          2. เตรียมข้าวสาร อาหารแห้ง ยารักษาโรค ไฟฉาย และอุปกรณ์ที่จำเป็นอื่น ๆ เพื่อเอาตัวรอดในยามน้ำท่วม

          3. เตรียมกระสอบทรายไว้เพื่อทำผนังกั้นน้ำ (แต่ห้ามวางไว้พิงกำแพง เพราะจะเพิ่มแรงดันให้น้ำทะลักเข้ามาได้ง่าย)

          4. หมั่นทำความสะอาดพื้น ไม่ให้มีของอันตรายหากเกิดน้ำท่วมสูง

          5. เก็บของมีค่า และสัตว์เลี้ยง รวมถึงอุปกรณ์ไฟฟ้า ไปไว้ชั้นบนของบ้าน

          6. เตรียมเบอร์ติดต่อ หน่วยงานของรัฐ เผื่อต้องการความช่วยเหลือ

          7. ชาร์จแบตโทรศัพท์มือถือ และอุปกรณ์สื่อสารให้พร้อม

          8. หากเกิดน้ำท่วมให้หนีขึ้นที่สูง และปิดวงจรไฟฟ้า เพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร

          9. พยายามหาส่วนแห้งเพื่อหลบภัย และป้องกันไฟดูด

          10. ห้ามรับประทานน้ำที่ท่วมสูง หากขาดแคลนน้ำดื่ม ให้ต้มก่อนทุกครั้ง เพื่อป้องกันโรคระบาด

          11. หากน้ำท่วมไม่สูงมาก ให้ระวังการใช้รถใช้ถนน และดูแลเด็กเล็กไม่ให้ออกจากบ้าน

          12. ระวังสัตว์มีพิษที่มากับน้ำ หากถูกกัดให้ล้างแผลด้วยน้ำต้มสุกและเช็ดแอลกอฮอล์รอบแผล จากนั้นหาทางไปโรงพยาบาลทันที

หน่วยงานให้ความช่วยเหลือน้ำท่วมและหมายเลขสอบถามข้อมูลน้ำท่วมต่าง ๆ

1. กรมอุตุนิยมวิทยา

          - เว็บไซต์ tmd.go.th

          - สายด่วนกรมอุตุนิยมวิทยา หมายเลขโทรศัพท์ 1182, 02-398-9830

          - สถานีวิทยุกระจายเสียงกรมอุตุนิยมวิทยา กรุงเทพมหานคร (AM 1287 KHz) หมายเลขโทรศัพท์ 02-383-9003-4, 02-399-4394

          - สถานีวิทยุกระจายเสียงกรมอุตุนิยมวิทยา จ.นครราชสีมา (FM 94.25 MHz) หมายเลขโทรศัพท์ 044-255-252

          - สถานีวิทยุกระจายเสียงกรมอุตุนิยมวิทยา จ.พิษณุโลก (FM 104.25 MHz) หมายเลขโทรศัพท์ 055-284-328-9

          - สถานีวิทยุกระจายเสียงกรมอุตุนิยมวิทยา จ.ระยอง (FM 105.25 MHz) หมายเลขโทรศัพท์ 038-655-075, 038-655-477

          - สถานีวิทยุกระจายเสียงกรมอุตุนิยมวิทยา จ.ภูเก็ต (FM 107.25 MHz) หมายเลขโทรศัพท์ 076-216-549

          - สถานีวิทยุกระจายเสียงกรมอุตุนิยมวิทยา จ.ชุมพร (FM 94.25 MHz) หมายเลขโทรศัพท์  077-511-421

2. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

          - เว็บไซต์ disaster.go.th

          - สายด่วนนิรภัย หมายเลขโทรศัพท์ 1784

          - ขบวนช่วยเหลือน้ำท่วมออกเรื่อย ๆ ขอรับบริจาคเน้นไปที่ น้ำ, ยาแก้ไข้, เสื้อ หมายเลขโทรศัพท์ 02-241-7450-6 แผนที่ disaster.go.th

          - หรือสามารถไปบริจาคสิ่งของได้ที่ อาคารศาลาว่าการกทม.1 (เสาชิงช้า), ศาลาว่าการกทม.2(ดินแดง) และที่สำนักงานเขตทุกแห่ง

3. ศูนย์อำนวยการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม จังหวัดนครราชสีมา

          - สามารถสอบถามและขอความช่วยเหลือได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์  044-342652-4 และ 044-342570-7

4. ศูนย์รับบริจาคเงิน-สิ่งของช่วยผู้ประสบอุทกภัยเนชั่น

          - หมายเลขโทรศัพท์  02-338-3333 และ 02-338-3000 กด 3


5. ครอบครัวข่าวช่อง 3 ช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม53

          - ชื่อบัญชี "ครอบครัวข่าว ช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม53" บัญชีกระแสรายวัน หมายเลข 014-3-003-689 ธนาคารกรุงเทพ สาขาพระราม 4 อาคารมาลีนนท์

6. สน.ประชาชน ทีวีไทย รับแจ้งข้อมูลน้ำท่วม และร่วมช่วยเหลือผู้ประสบภัย

          - หมายเลขโทรศัพท์  02-791-1385-7

7. ศูนย์รับบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมใหญ่ที่โคราช รายการเช้าข่าวข้น+อสมท.

          - สามารถนำไปให้ที่อสมท.เช่น อาหารแห้ง, เรือ, ผ้าอนามัย, ไฟฉาย หมายเลขโทรศัพท์ 02-201-6000 ที่อยู่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)‎ 63/1 ถนนพระราม 9 เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320 แผนที่ mcot.net

8. มูลนิธิกลุ่มแสงเทียน

          - รวบรวมสิ่งของบริจาค ช่วยเหลือพี่น้องที่น้ำท่วม หมายเลขโทรศัพท์  02-465-6165

9. ททบ.5

          - ชื่อบัญชี "กองทัพบก โดยททบ.ช่วยภัยน้ำท่วม" บัญชีธนาคารทหารไทย สาขาสนามเป้า บัญชีออมทรัพย์ 021-2-69426-9 หรือสามารถส่งความช่วยเหลือได้ที่สถานีททบ.5

10. จส. 100

          - สอบถามน้ำท่วมถ.มิตรภาพ ที่แขวงการทางต่าง ๆ ได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์  044-242-047 ต่อ 21, 044-212-200, 037-211-098, 036-461-422, 036-211-105 ต่อ24

11. การรถไฟแห่งประเทศไทย

          - สอบถามการเดินรถไฟได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 1690, ติดต่อหน่วยแพทย์ฉุกเฉิน หมายเลขโทรศัพท์ 1669

12. บริษัทขนส่ง

          - สอบถามการเดินรถได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 1490

13. ร.พ.มหาราช จ.นครราชสีมา

          - หมายเลขโทรศัพท์ 086-251-2188 ตลอด 24 ชั่วโมง

          - ทางโรงพยาบาลมีความต้องการน้ำดื่มบรรจุขวด นมกล่อง และอาหารแห้ง รวมทั้งของใช้เบ็ดเตล็ดผู้ป่วย เช่น ผ้าอ้อมสำเร็จรูปสำหรับเด็กและผู้ใหญ่ ผ้าอนามัย เป็นจำนวนมาก

          - สามารถโอนเงินไปได้ที่ ธนาคารกรุงไทย สาขานครราชสีมา เลขบัญชี 3013165804 และ ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาหัวทะเล นครราชสีมา เลขบัญชี 7902605487

14. สภากาชาดไทย

          - หมายเลขโทรศัพท์ 02-251-7853-6 , 02-251-7614-5 ต่อ 1603

          - สามารถบริจาคเงิน ได้ที่หมายเลขบัญชี สภากาชาดไทย ชื่อบัญชี สภากาชาดไทย เพื่อการรับบริจาคเงินต่าง ๆ เลขที่บัญชี 045-2-88000-6 บัญชีออมทรัพย์ ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาสภากาชาดไทย แล้วแฟ็กซ์ใบนำฝากพร้อมเขียนชื่อและที่อยู่มาที่ หมายเลขโทรสาร 02-252-7795 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-256-4047

          - สามารถบริจาคสิ่งของ ได้ที่สำนักงานบรรเทาทุกข์และ ประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย 1871 ถนนอังรีดูนังต์ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 หมายเลขโทรศัพท์ 02-251-7853-6 , 02-251-7614-5 หมายเลขโทรสาร 02-252-7976

          - สามารถลงทะเบียนร่วมเป็นอาสาสมัครช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ได้ที่ http://www.rtrc.in.th/ หรือสอบถามรายละเอียดที่หมายเลขโทรศัพท์  02-251-7853-6 , 02-251-7614-5 ต่อ 1603

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ, สำนักงานทรัพยากรน้ำภาค 8, ศูนย์วิจัยภัยธรรมชาติ, สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือ, สภากาชาดไทย

.

http://hilight.kapook.com/view/52058

.