ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: ตุลาคม 24, 2010, 02:46:00 am »

 :13: อนุโมทนาสาธุครับ ขอบคุณครับพี่มด^^
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ตุลาคม 22, 2010, 03:53:46 am »


บทที่ 1 อาการจิต 10 ประการ
พื้นฐานของการเจริญวิปัสสนาภูมิ หรือฌานสมาบัติ
อบรมอาการจิต 10 : วันที่ 9 ธันวาคม 2547

(ข้อความกรอบนํา)
“ จิต10 อาการ นี้เขาเรียกว่า ภูมิวิปัสสนาญาณ
เป็นภูมิเป็นหัวใจของวิปัสสนาและของฌานสมาบัติ ของปัญญา ของสติ
ของความรู้ทั้งปวง
ทั้งส่วนโลกิยะ โลกุตระ ทั้งส่วนกุศล อกุศล และอัพยากฤต
เหมือนดั่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสั่งสอนเราไว้ว่า
“ ผู้ฉลาดในจิตถือว่าฉลาดในโลก ผู้รู้เรื่องจิต ถือว่ารู้ทุกเรื่องในโลก”
เพราะฉะนั้นรู้เรื่องจิตเบื้องต้น คือต้องรู้เรื่องจิต 10 อาการนี้เสียก่อนว่า
เมื่อใดที่จิตเกิด มันต้องมีเหตุปัจจัย และเหตุปัจจัยที่ทําให้จิตเกิดคือ
รับอารมณ์ จําอารมณ์ คิดในอารมณ์ รู้ในอารมณ์

บุพกิจเบื้องต้น
การประกอบความเห็นที่ตรงถูกต้องที่จะก้าวล่วงเข้าสู่องค์ฌาน
การศึกษาเรียนรู้เรื่องสมาบัติ หรือองค์แห่งฌาน
มันต้องมีบุพกิจเบื้องต้นในการเตรียมพร้อมที่จะก้าวล่วงเข้าสู่องค์ฌาน
บุพกิจเบื้องต้นในเรื่องนี้ก็คือ การเพ่งอารมณ์และการเจริญปัญญา
การเจริญปัญญาเบื้องต้นคือ การเจริญสติ เพื่อประคับประคองฌานวิถีนั้น
ให้กลายเป็นสัมมาสติ และสัมมาสมาธิ ถูกตรงตามมรรคาปฏิปทา
สมาธิใดที่ไร้ปัญญา สมาธินั้นก็ถือว่าเป็นมิจฉาสมาธิ
สติใดที่ไร้ปัญญา สตินั้นก็ถือว่าเป็นมิจฉาสติ
ความเห็นใดที่ขาดปัญญา ความเห็นนั้นก็ถือว่าเป็นมิจฉาวิชา
หรือที่ภาษามรรควิถีเขาเรียกว่าความเห็นไม่ตรง ไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง
ถ้าจะเป็นสัมมาทิฐิ ก็ต้องเป็นความเห็นที่ตรงถูกต้อง
นั่นคือต้องประกอบและสัมปยุตไปด้วยปัญญา
 
ความเห็นที่ขาดปัญญาก็คือมิจฉาทิฐินั่นเอง เพราะฉะนั้น ลําดับต่อไปนี้ก็คือเรื่องที่ต้องรู้เป็นเบื้องต้น เป็นพื้นฐานของการเจริญองค์วิปัสสนาภูมิ วิปัสสนาภูมิจะเจริญไม่ได้เลยถ้าเราไม่รู้พื้นฐาน แล้วก็จะเจริญฌานสมาบัติที่เป็นสัมมาสมาบัติ เป็นสัมมาสติ สัมมาสมาธิไม่ได้เลยถ้าไม่รู้ที่เกิดแห่งฌานสมาบัติ เพราะฉะนั้นกระบวนการต่อไปนี้ก็คือ กระบวนการหรือบุพกิจที่จะต้องเดินก้าวเข้าไปสู่ที่เกิดของฌานสมาบัติ หรือที่เกิดแห่งวิปัสสนาภูมิ แล้วที่เกิดอันนั้นก็จะปฏิเสธไม่ได้ จะเป็นใครไปไม่ได้ ถ้าไม่ใช่ จิต เพราะฉะนั้นต่อไปนี้ก็เป็นการศึกษาเรียนรู้สภาพจิต 10 ประการ เรียกว่า อาการของจิต 10 อย่าง

- อาการของจิต 10 อย่าง
ให้เตรียมตัวจด เขียนชื่อ ลงบนหัวกระดาษ และจดอาการของจิต 10 อย่าง

1. คิด เป็น จิต
2. น้อมไปในอารมณ์ที่คิด เรียกว่า มโน
3. เก็บอารมณ์นั้นไว้ เรียกว่า หทัย
4. พอใจ เรียกว่า มนัส
5. แช่มชื่นเบิกบาน เรียกว่า ปัณฑระ
6. สบต่อในอารมณ์นั้น ๆ เรียกว่า มนายตนะ
7. เป็นใหญ่ในอารมณ์นั้น ๆ เรียกว่า มนินทรีย์
8. รับรู้อารมณ์ เรียกว่า วิญญาณ
9. รู้เป็นเรื่อง ๆ อย่าง ๆ เรียกว่า วิญญาณขันธ์
10. รู้แจ้งในอารมณ์นั้น ๆ เรียกว่า มโนวิญญาณธาตุ

:yoyo045:   ขอบพระคุณ คุณมดค่ะ
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: ตุลาคม 21, 2010, 05:18:47 pm »

การอบรมวิถีจิต

อาการจิต ๑๐



การปฏิบัติวิปัสสนาเพื่อเห็นแจ้งสภาวะแห่งการรับรู้ของจิต ๙-๑๒ ธ.ค. ๒๕๔๗ ทองผาภูมิ กาญจนบุรี

ฝึก รู้อาการจิต ๑๐ รู้ไปเรื่อย ๆ รู้อย่างนี้เรียกว่า ผู้รู้จริง รู้แบบผู้รู้ และองค์ฌานที่เกิดขึ้นจากการที่รู้แบบนี้มันเป็นองค์ฌานที่โตและไม่ตาย เพราะมันมีปัญญาเป็นเครื่องค้ำจุน มีสัมมาสติเป็นเครื่องรองรับ มีสัมมาสมาธิเป็นผล สภาพจิตอย่างนี้จึงถือว่าเกิดจากสัมมาทิฐิ คือความเห็นตรงและถูกต้องตามความเป็นจริง เป็นวิถีแห่งมรรคาปฏิปทา
เราจะ เห็นว่าเราไม่ต้องหลับตา ไม่ต้องภาวนา แค่เฝ้าระวังสังเกตจิต ที่จริงแล้วก็คือคำสอนใน จิตตานุปัสสนาสติปัฎฐาน หนึ่งในมหาสติปัฏฐาน ๔

สติ ปรากฏทุกขณะที่เราขีด การขีดเป็นการกระตุ้นเตือนตัวรู้ให้ปรากฏอยู่ตลอดเวลา อย่าปล่อย เมื่อปล่อย สติจะไม่ได้รับการกระตุ้นเตือนให้ทำงาน เมื่อสติไม่ทำงานก็ไม่มีสติมาจับจิต ทีนี้เราก็จะใช้สติสำหรับการเพ่งอารมณ์ ให้ถึงองค์ฌานก็ไม่ได้อีก ฤทธิ์ที่เราปล่อยปละละเลยมัน คือคร้านที่จะขีด ขี้เกียจขีด ต้องขยันขีด..

 คำนำ, จากผู้จัดทำ, วิธีการใช้หนังสือ, ขอบคุณ

บทที่ 1 อาการจิต 10
บทที่  2 เดินตามรอยเท้าโค ตามรู้อาการจิต 10
บทที่ 3 มรรคจิต หนทางสู่วิชาแปด
บทที่ 4 อายตนะแดนเกิดจิต
บทที่ 5 สุขุมจิต
บทที่ 6 วิธีสร้างสุขุมจิต
บทที่ 7 ตื่นสติ – ตื่นรู้
บทที่ 8 รู้อารมณ์ภายนอก(วิญญาณ) กับรู้อารมณ์ภายใน (มโนวิญญาณธาตุ)
บทที่ 9 จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน กับการเจริญองค์คุณแห่งปฐมฌาน
บทที่ 10 จิตของผู้ทรงฌาน
บทที่ 11 การยกระดับจิตในองค์ฌาน

 ภาคผนวก :
วิธีการบริหารกายและจิตเพื่อความผ่อนคลาย,
ลักษณะจิต 4 “รับ จำ คิด รู้” อบรมผู้บวชเนกขัมมะ ณ.วัดอ้อน้อย






 :yoyo108:
 
 
http://www.dharma-isara.onoi.org/index.php?option=com_content&view=article&id=178:2009-07-07-18-57-32&catid=45:2009-06-20-11-19-53&Itemid=73