ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: ตุลาคม 24, 2010, 02:55:50 am »

 :13: อนุโมทนาครับพี่ปู ขอบคุณครับ
ข้อความโดย: होशདངພວན2017
« เมื่อ: ตุลาคม 23, 2010, 03:05:34 pm »












My Blog..............http://happyhome-sunset.blogspot.com/

My Blog..............http://sunset-3155.blogspot.com/


ย ธมฺ มา เหตุปฺ ปภวา เตสํ เหตุ ตถาคโต{อาห}

เตสญฺ จ โย นิโรโธ เอวํวาที มหาสมโณติ ฯ

ธรรมเหล่าใด

เกิดแต่เหตุ

พระตถาคตทรงแสดง

เหตุแห่งธรรมเหล่านั้น

และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น


ความเป็นมาของพระคาถาบทนี้ปรากฏอยู่ในประวัติของพระสารีบุตร พระอัครสาวกเบื้องขวา มีเนื้อความโดยย่อคือ หลังจากที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้และแสดงธรรมสั่งสอนประกาศพระศาสนาแล้ว ครั้งหนึ่งได้เสด็จมาประทับอยู่ ณ เวฬุวันมหาวิหาร กรุงราชคฤห์ วันหนึ่ง พระอัสสชิ ผู้เป็นหนึ่งใน{พระปัญจวัคคีย์}ซึ่งตามเสด็จ ฯ พระพุทธองค์มาด้วย เข้าไปบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ ระหว่างทาง อุปติสสะปริพพาชกซึ่งเดินทางมา

จากสำนักปริพพาชกได้พบเห็นพระอัสสชิมีกิริยา อาการอันสงบสำรวม น่าเลื่อมใส จึงอยากทราบว่าใครเป็นศาสดาของพระอัสสชิและมีคำสั่งสอนเช่นไร พระอัสสชิจึงแจ้งว่าตนเป็นนักบวชในสำนักของพระมหาสมณะ ผู้เป็นโอรสแห่งศากยวงศ์ พร้อมกับแสดงธรรมอันย่นย่อของพระพุทธองค์ ซึ่งก็คือพระคาถา เย ธมฺมาฯ นั่นเอง

จากนั้น{อุปติสสะปริพพาชก}จึงเดินทางกลับมายังสำนัก และบอกเล่าเรื่องที่ได้พบกับพระอัสสชิ ตลอดจนแสดงธรรมที่พระอัสสชิกล่าวให้แก่สหาย คือโกลิตตะปริพพาชกฟัง จนกระทั่งเกิดดวงตาเห็นธรรมเช่นกัน ปริพพาชกทั้งสองพร้อมด้วยบริวารจึงพากันไปเข้าเฝ้าฯ พระพุทธองค์ยังเวฬุวันมหาวิหาร และทูลขออุปสมบท พระพุทธองค์จึงประทานอนุญาตให้ปริพพาชกทั้งสองพร้อมด้วยบริวารได้อุปสมบท เป็นพระภิกษุ

พระโกลิตตะปริพพาชก ซึ่งต่อมาก็คือพระโมคคัลลานะ หลังจากอุปสมบทได้ ๗ วัน ก็สำเร็จอรหัตตผล ส่วนอุปติสสะปริพพาชก หรือพระสารีบุตร บรรลุเป็นอรหันต์หลังจากอุปสมบทได้ ๑๕ วัน ส่วนบริวารทั้งหลายภายหลังก็ได้บรรลุเป็นอรหันต์จนหมดสิ้น5

โดยพระคาถานี้ ทำให้พระพุทธองค์ทรงได้สาวกองค์สำคัญ คือพระโมคคัลลานะและพระสารีบุตรมาเป็นอัครสาวกซ้ายขวา พุทธศาสนิกชนจึงนับถือกันเป็นพระคาถาวิเศษ ถือเป็นสัมฤทธิมนต์สำหรับเปลี่ยนแปลงความนับถือของผู้ที่ยังไม่เคยสดับรับ ฟังพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ จึงนิยมจารึกไว้เพื่อประกาศพระพุทธศาสนาให้เผยแพร่ออกไป

พระคาถา เย ธมฺมาฯ จึงมักพบปรากฏอยู่ในงานศิลปกรรมทางพุทธศาสนาตั้งแต่ยุคแรก ๆ เช่นในศิลปะทวารวดีและศิลปะศรีวิชัย

นอกจากที่จารึกอยู่บนพระพิมพ์แล้ว ยังพบปรากฏอยู่บนศาสนวัตถุอื่น ๆ เช่นเสาศิลาจารึก ฐานธรรมจักร หรือภาพสลักพระพุทธรูปอีกด้วย




ขอบพระคุณข้อมูลเรื่องจารึก - วารสารเมืองโบราณ