ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: ตุลาคม 24, 2010, 03:13:19 am »

 :13: อนุโมทนาครับ ขอบคุณครับพี่มด
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: ตุลาคม 21, 2010, 04:10:47 pm »




การทำทองเลนเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น
จากหนังสือเรื่อง ประตูสู่สภาวะใหม่ ของ โซเกียล รินโปเช

 



                การทำทองเลน คือ การฝึกภาวนาเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น โดยมีหลักการ คือการเปิดใจรับเอาความทุกข์ ความเจ็บปวดของผู้อื่นมาที่ตัวเราและเปิดหัวใจ ส่งผ่านความดี ความสุข ความปิติ ความกรุณา ความเข็มแข็งของเราให้ผู้นั้น ใช้สำหรับเยียวยาตัวเองหรือผู้อื่น หรือใช้เพื่อยอมรับความผิดพลาดของตัวเองหรือผู้อื่น

 

การดูแลด้วยหัวใจสำคัญกว่าเรื่องเทคนิค ใจที่มีเมตตา มีความเห็นอกเห็นใจ ความเป็นเพื่อน ส่งความปรารถนาดีผ่านทางการสัมผัส เช่น กุมมือของผู้ป่วยไว้ สัมผัสด้วยเมตตา อาจสื่อได้ด้วยน้ำเสียง แววตา ผู้ป่วยจะรับรู้ได้ แม้อยู่ในภาวะโคม่าก็ตาม

 

                นอกจากวิธีเหล่านี้ ก็อาจจะมีวิธีอื่นที่ทำให้เกิดพลังแห่งความเมตตาส่งไปที่ตัวผู้ป่วยได้ สัมผัสผู้ป่วยในขณะที่ใจเมตตา นึกภาวนาให้เขาหายจากโรคร้ายด้วยใจสงบนิ่ง แม้จะไม่พูดเลย ความรู้สึกที่เกิดขึ้นในใจเราจะมีพลัง และเป็นวิธีง่าย ๆ ที่สื่อไปถึงเขาได้




 

พระไพศาล วิสาโล ประยุกต์กระบวนการทำทองเลนมาใช้ในการฝึกอบรม “เผชิญความตายอย่างสงบ” ของเครือข่ายพุทธิกา

 

ขั้นตอนการทำทองเลนแบบประยุกต์สำหรับทำกับตัวเอง โดยน้อมใจตามคำกล่าว ดังนี้

 

                นั่งตามสบาย หายใจเข้า-ออกด้วยความผ่อนคลาย น้อมจิตให้อยู่กับลมหายใจ รู้ถึงลมหายใจเข้า-ออก ปล่อยวางความคิดทั้งมวลไว้ชั่วคราว ให้ใจอยู่กับปัจจุบัน รับรู้ถึงลมหายใจเข้า-ออก

 

                ให้นึกถึงเขา เอาใจไปสัมผัสรับรู้ความเจ็บปวดของเขา หรือนึกในใจว่าถ้าเราอยู่ในสภาวะอย่างเขา เราจะเป็นอย่างไร หรือเรียกว่า เอาใจเขามาใส่ใจเรา

 

                เรารู้สึกรับรู้ถึงความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นกับกายของเขาไม่ว่าจะเป็นที่ปอด หัวใจ หรือส่วนที่โรคร้ายเกาะกุมร่างกายของเขาอยู่

 

                ในใจของเรานั้น เปี่ยมไปด้วยความเมตตา

 

                ให้นึกในใจ หรือสร้างภาพให้เห็นขึ้นในใจของเราว่า มีควันพวยพุ่งขึ้นมาจากร่างกายที่เจ็บปวดของเขา ส่วนที่เจ็บปวดทรมาน ความเจ็บปวดทรมานแสดงออกมาเป็นควันที่ดำคล้ำ  ลอยขึ้นมาจากอวัยวะที่ถูกโรคร้ายเกาะกุมอยู่ เห็นชัดเจนว่ากลุ่มควันลอยขึ้นมาจากร่างที่เจ็บปวด ไม่ว่าจะเป็นส่วนใดของร่างกายก็ตาม  ให้ใจของเราเปิดรับ น้อมเอาความเจ็บปวดที่แสดงออกมาเป็นควันดำ ลอยขึ้นมาเป็นสายเข้ามาในตัวเรา เปิดใจให้กว้าง อย่างไม่เห็นแก่ตัว น้อมเอาความทุกข์ของเขามาที่ตัวเรา ควันสีดำที่ลอยมาที่ตัวเรา มาสู่ใจของเรา ควันนั้นก็ค่อย ๆ ขจัดความเห็นแก่ตัวของเรา ความยึดถือในตัวเราได้ถูกควันนั้นกัดกร่อนทำลาย ให้ความยึดถือในตัวเราลดน้อยลงไป ให้น้อมว่าเราได้รับความทุกข์จากตัวเขาได้มากแล้ว ใจที่เปิดกว้างก็ยิ่งน้อมรับความทุกข์ของเขาได้มากขึ้น

 

                เริ่มเบา ยิ่งความเห็นแก่ตัวที่ลดลง จิตก็เปล่งเป็นสีขาว และจิตที่เห็นแก่ตัวก็ได้ถูกทำลายลงไป ให้แผ่รังสีขาวนวลจากใจของเราที่ไม่มีความเห็นแก่ตัว ได้แผ่เมตตาไปที่ตัวผู้ป่วย ให้อาบรดไปที่ตัวผู้ป่วย ให้ความปรารถนาดีไปเยียวยาความทุกข์ของเขา ให้เขาบังเกิดความสดชื่น แจ่มใส เป็นสุข มีกำลังใจ นึกถึงเขาด้วยใบหน้าที่ยิ้มแย้ม ขณะที่ได้รับรังสีขาวแห่งความเมตตา ไม่มีความเห็นแก่ตัว ให้รังสีสีขาวนวลได้อาบรดร่างกายของเขา ได้เยียวยาตัวเขา  ได้เวลาพอสมควร ให้เราค่อย ๆ ลืมตาขึ้น

 

ระยะเวลา   ประมาณ ๑ ชั่วโมง

http://www.peacefuldeath.info/web1/?q=taxonomy/term/5