ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: ตุลาคม 24, 2010, 11:59:21 pm »

 :13: อนุโมทนาครับพี่มด^^
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: ตุลาคม 24, 2010, 05:21:32 pm »


หมายเหตุ : - สถาบันสันติศึกษาจะจัดส่ง E-mail “สายธารอาหารใจ” เดือนละ 2 ฉบับ ดังนี้
ฉบับประจำวันที่ 1-15 ของทุกเดือน ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา อ.เพ็ญนภา พัทรชนม์
ฉบับประจำวันที่ 16-30 ของทุกเดือน ศูนย์การจัดการความขัดแย้ง อ.โชคชัย วงษ์ตานี
- บางฉบับอาจจะลงข้อมูลที่มาจากนักศึกษาและบุคลากรที่ส่งมายังสถาบันสันติศึกษาและได้ผ่านการพิจารณาแล้ว
(ขอความกรุณาส่งอ้างอิงตามตัวอย่างที่ http://share.psu.ac.th/blog/saitan/11986)
- อ่านข้อมูลย้อนหลังได้ที่ http://share.psu.ac.th/blog/saitan/toc
ถ้อยแถลง “สายธารอาหารใจ”
- สารฉบับนี้ สถาบันสันติศึกษาได้จัดทำขึ้นตามนโยบายการบ่มเพาะนักศึกษาของ
 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยใช้รูปแบบการส่ง Email “สายธารอาหารใจ”
 ไปถึงนักศึกษาทุก 2 สัปดาห์ เพื่อให้นักศึกษามีพลังใจที่จะคิดดี ทำดีและมีความเพียรพยายาม
 ในการที่จะช่วยจรรโลงสังคมให้มีความดีงามและสงบสุข... (อ่านต่อได้ที่ 
 http://share.psu.ac.th/blog/saitan/11812 )
*-------------*-----------*------------*-------------*---------------*

แนะนำบทความน่าสนใจ
-
แนะนำเว็บไซท์
-   
*-------------*-----------*------------*-------------*---------------*
หากท่านผู้อ่านมีความคิดเห็น หรือมีคำแนะนำดีๆ /บทความที่น่าสนใจอยากบอกต่อเพื่อนๆ
            กรุณากรอกข้อความลงในช่องความคิดเห็นล่างบทความนี้ ขอบคุณค่ะ
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: ตุลาคม 24, 2010, 05:21:00 pm »

คอลัมน์ จับจิตด้วยใจ


             มีท่านผู้อ่านสงสัยและเขียนถามไปมากพอสมควรเกี่ยวกับคำว่า “ไม่ตัดสิน” ซึ่งนับเป็นเรื่องหนึ่งที่ทำความเข้าใจกันค่อนข้างยากสักนิดหนึ่งอาจจะในแง่ของภาษาด้วย ผมอยากจะขอลองเล่าประสบการณ์ที่เกิดขึ้นกับตัวผมเองก่อนหน้าที่จะได้รู้จัก “สุนทรียสนทนา” ซึ่งหมายถึงก่อนหน้าที่จะได้เข้าใจถึงเรื่องของ “การไม่ตัดสิน”

            ผมเองก็เคยเป็นคนหนึ่งที่มีชีวิตเป็น “ไม้บรรทัด” และยึดถือคุณค่าของความถูกต้องแบบ “ตรงเป๊ะ” มากเกินไปไม่ยืดหยุ่นจนทำให้ชีวิตไม่มีความสุขเท่าที่ควร ก็ดูชื่อผมสิครับ “วิธาน” แปลว่า “การจัดหมวดหมู่ จัดระเบียบวินัยข้อบังคับ” คือเรื่องการยึดถือความถูกต้องนั้นเป็นเรื่องที่ดีแต่การยึดถือแบบ “ตรงเป๊ะเป็นไม้บรรทัด” โดยมุ่งการตัดสินคนนั้นเป็นเรื่องที่นำความลำบากมาให้ผมเองในการทำงาน 




            ในสมัยที่ทำงานเป็นแพทย์ใช้ทุนนั้น แพทย์รุ่นพี่คนไหนไม่ดูคนไข้หรือดูคนไข้ไม่ดี (ในสายตาของผม) ผมก็ถือว่าแพทย์คนนั้นเลว ไม่ได้มาตรฐาน พยาบาลคนไหนทำงานไม่ดี ไม่ดูคนไข้ รายงานอาการของคนไข้ไม่ถูกต้อง ทำแผลคนไข้ไม่เรียบร้อย ผมก็จะตัดสินทันทีว่าพยาบาลคนนั้นทำงานไม่ได้เรื่อง แย่ ไม่ได้มาตรฐาน
            พอไปเรียนต่อระหว่างที่เป็นแพทย์ประจำบ้าน ผมต้องไปทำงานตั้งแต่ 06.30 น. ทุกวัน แพทย์รุ่นน้องคนไหนมาทำงานสายกาว่าผมซึ่งเป็นแพทย์รุ่นพี่ 5 นาที แพทย์รุ่นน้องคนนั้นก็กลายเป็นแพทย์ที่เลว ขี้เกียจและไม่รับผิดชอบ
            ชีวิตที่  “ตัดสินคน” แบบนี้ทำให้ผมพบว่าผมเจอ “คนที่ได้มาตรฐาน” ของผมน้อยลงไปทุกวันๆ ทำไปทำมาคนที่ทำงานรอบๆข้างของผมเลวไปหมด พยาบาลส่วนมากทำงานไม่ได้เรื่อง แพทย์ส่วนใหญ่ก็ทำงานห่วย สู้ผมไม่ได้สักคน และบางครั้งผมรู้สึกว่าเหลือผมเป็นคนดีอยู่คนเดียวจริงๆ
            เรื่องการตัดสินยังไม่จบแค่นั้นเพราะเป็นเรื่องที่แทรกซึมเข้าไปอยู่ในวิถีชีวิตของผมทุกๆเรื่องอย่างแยกไม่ออกเลยทีเดียว




            ร้านก๋วยเตี๋ยวแสนอร่อยร้านหนึ่งทำก๋วยเตี๋ยวให้กับลูกค้าแซงคิวผม ผมถือว่าไม่ได้มาตรฐาน บริหารห่วย มีอย่างที่ไหนไม่ดูเลยว่าใครมาก่อนมาหลัง ผมก็ไม่เหยียบร้านก๋วยเตี๋ยวร้านนั้นอีกเลย ร้านคอมพิวเตอร์ร้านหนึ่ง ส่งช่างไปซ่อมคอมพิวเตอร์ของผมไม่ทันใจ  ผมก็ตัดสินทันทีว่าร้านนี้ทำงานไม่ดี ห่วย ผมก็เปลี่ยนร้านและไม่ซื้อของจากร้านนั้นอีกเลย ปั๊มน้ำมันปั๊มหนึ่ง เด็กปั๊มไม่ยอมให้น้ำดื่มแถมตามที่เขียนบอกไว้ ผมก็ว่าปั๊มนี้ห่วย ฯลฯ
            ทำไปทำมา ผมเหลือร้านอาหารที่จะเข้าได้เพียงไม่กี่ร้าน เพราะร้านนั้นก็ไม่ดี ร้านนี้ก็ไม่ดี ทำไปทำมา ผมแทบจะไม่เหลือร้านคอมพิวเตอร์ให้เข้า ทำไปทำมา ผมแทบจะไม่เหลือปั๊มน้ำมันให้เติม เพราะมีแต่ปั๊มห่วยๆ ไม่ได้มาตรฐาน
            ผมรู้สึกว่าสังคมแย่จัง มีแต่เรื่องไม่ได้มาตรฐาน ชุ่ย แฉะและเลวร้าย ผมไม่รุ้ตัวหรอกว่าสุขภาพของผมก็เลวร้ายตามไปด้วย ผมโกรธง่าย อารมณ์ฉุนเฉียวและเป็นแผลในกระเพาะอาหารที่รักษาไม่หายเสียที

            สองเรื่องที่ช่วยให้ผมเข้าใจถึงโทษของ “การตัดสิน” และทำให้ผมได้เรียนรู้และก้าวไปสู่พื้นที่ของ “การไม่ตัดสิน” มากขึ้นเรื่อยๆ หนึ่งคือการพยายามฝึกตัวเองให้เข้าไปสู่ “สภาวะแห่งความเป็นปกติ ” ตามที่ได้เขียนถึงมาตลอดในคอลัมน์นี้แล้ว และสองก็คือ “สุนทรียสนทนา” นั่นเอง

            “สภาวะแห่งความเป็นปกติ” นั้นเป็นเรื่องของปัจเจกแต่ละบุคคล มีวิธีการหลายวิธีมาที่จะช่วยนำทางให้เราเข้าสู่ “สภาวะ” แบบนี้ได้ เช่น การฝึกลมหายใจ โยคะ ชี่กง เทคนิคการใช้พลังงานของหัวใจ การนั่งสมาธิ กีฬาที่พ้นมิติการแข่งขันและเงินรางวัล ฯลฯ





            “สุนทรียสนทนา” เป็นเรื่องของกลุ่มของชุมชนที่ช่วยเอื้อซึ่งกันและกัน องค์ประกอบที่สำคัญที่สุดหนึ่งในสามเรื่องของ “สุนทรียสนทนา” ก็คือ “การไม่ตัดสิน” หรือ “การแขวนการตัดสิน” “การชะลอการตัดสิน” “การไม่ตัดสิน” ตรงนี้มาจากภาษาอังกฤษคำว่า “Nonjudgement” ไม่เกี่ยวข้องกับคำว่า “การตัดสินใจ” (Decision)




             การตัดสินนั้นเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน และ “คุณสมบัติอย่างหนึ่ง” ที่สำคัญของความเป็นวิทยาศาสตร์เก่าอย่างชัดเจน เพราะวิทยาศาสตร์เก่านั้นต้องการจะบ่งบอกถึง “ความแน่นอน” “ความชัดเจน” “ไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่งเท่านั้น” “ไม่ใช่ข้างฉันก็เป็นศัตรูกับฉัน”ความเป็นวิทยาศาสตร์แบบเก่ามีแนวโน้มที่จะผลักดันให้มนุษย์คิดแบบตายตัว เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง เหมือนกับว่าชีวิตนี้มีเรื่องเพียงสองแบบให้คุณต้องเลือก “ไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง” (Either) เท่านั้น แต่วิทยาศาสตร์ใหม่บอกว่า เราสามารถเลือกแบบใดแบบหนึ่งก็ได้ เลือกทั้งสองแบบก็ได้ หรือไม่เลือกทั้งสองแบบก็ได้ (Both, And) พอความคิดของเราสามารถพัฒนาไปพ้น “ทวิภาวะ” (Dualism) ได้ เราจะรู้สึกถึง “ความเบาสบาย” อย่างแปลกประหลาดเพราะการตัดสินนั้นทำให้เราไปไม่พ้น “ทวิภาวะ” เป็นขอบเขตที่มนุษย์ไปกำหนดเอาเอง

             ผมพบว่าเมื่อผมลอง “ไม่ตัดสิน” ลอง “แขวนการตัดสิน” ไว้ ผมรู้สึกได้ว่าผมเข้าใจคนที่มีความคิดเห็นแตกต่างไปจากผมได้ เหมือนกับว่าเรารู้เท่าทันความคิดที่ผุดขึ้นมาในศีรษะของเราอย่างทันท่วงทีก่อนที่ความคิดเหล่านั้นจะไป ทำให้เกิดปฏิกิริยาออกมาเป็นอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น จากเดิมที่พอคนพูดอะไรไม่เข้าหูก็จะโกรธทันทีเลย กลายมาเป็นสามารถมองเห็นความดีในคนอื่นๆมากขึ้น มองเห็นได้ว่าคนมีทั้งดีทั้งเลวอยู่ในตัว ไม่มีใครดีทุกเรื่อง ไม่มีใครเลวทุกเรื่อง แต่แท้ที่จริงแล้ว การไม่ตัดสินทำให้ตัวเราเองนั่นแหละมีความสุขมากขึ้นต่างหาก
ที่เขียนเล่านี้ไม่ได้มีเจตนาจะยกตัวเองว่าดีว่าเก่งอะไรนะครับ ผมเพียงรู้สึกว่าอยากจะเล่าถึงเรื่องราวที่เปลี่ยนแปลงไปของผมมาประกอบบ้าง และตัวผมเองก็ยังจะต้องพัฒนาในเรื่องนี้ต่อไปอีกมากเพราะยังจะมีเรื่องหลายเรื่องที่ทำให้ผม “ติดกับดัก” การตัดสินได้อีกทีผมจะต้องเรียนรู้ต่อไปอีกเช่นกัน   


ที่มา : น.พ.วิธาน ฐานะวุฑฒ์. คอลัมน์จับจิตด้วยใจ. กรุงเทพฯ : มติชน, 2547. ปีที่ 27. ฉบับที่ 9759. *****@_@*****&*****@_@*****&*****@_@*****

ขอบคุณข้อมูลจาก : ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา สถาบันสันติศึกษา
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ http://peacestudies.psu.ac.th/   
**------------------------------------------------------------------**

http://share.psu.ac.th/blog/saitan/16835