ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: ตุลาคม 25, 2010, 01:08:04 am »

 :13: อนุโมทนาสาธุครับพี่สาว
ข้อความโดย: เลดี้เบื๊อก
« เมื่อ: ตุลาคม 24, 2010, 06:36:48 pm »

   สัทธานิสังสสูตร

   ว่าด้วยอานิสงส์ของศรัทธา ๕ ประการ

   [๓๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรผู้มีศรัทธา ย่อมมีอานิสงส์ ๕ ประการ
๕ ประการเป็นไฉน คือ สัปบุรุษผู้สงบในโลกทุก ๆ ท่าน เมื่อจะ อนุเคราะห์
ย่อมอนุเคราะห์ผู้มีศรัทธาก่อนผู้อื่น ย่อมไม่อนุเคราะห์ผู้ไม่มี ศรัทธาก่อนผู้อื่น
๑ เมื่อจะเข้าไปหา ย่อมเข้าไปหาผู้มีศรัทธาก่อนผู้อื่น ย่อมไม่เข้าไปหาผู้ไม่มี
ศรัทธาก่อนผู้อื่น ๑ เมื่อจะต้อนรับ  ย่อมต้อนรับผู้มีศรัทธา ก่อนผู้อื่น ย่อมไม่
ต้อนรับผู้ไม่มีศรัทธาก่อนผู้อื่น ๑ เมื่อจะแสดงธรรม  ย่อม แสดงธรรมแก่ผู้มี
ศรัทธาก่อนผู้อื่น ย่อมไม่แสดงธรรมแก่ผู้ไม่มีศรัทธาก่อน ผู้อื่น ๑ กุลบุตรผู้มี
ศรัทธาเมื่อตายไปแล้ว ย่อมเขาถึงสุคติโลกสวรรค์ ๑ ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย
กุลบุตรผู้มีศรัทธาย่อมมีอานิสงส์ ๕ ประการนี้แล. ดูก่อนภิกษุ
   
   ทั้งหลาย  เปรียบเหมือนต้นไทรใหญ่ที่ทางสี่แยก  มีพื้นราบเรียบ   ย่อม
เป็นที่พึ่งของพวกนกโดยรอบ  ฉันใด  กุลบุตรผู้มีศรัทธาก็ฉันนั้นเหมือนกัน   
ย่อมเป็นที่พึ่งของชนเป็นอันมาก  คือ  ภิกษุ  ภิกษุณี  อุบาสก  อุบาสิกา.
   
           ต้นไม้ใหญ่  สล้างด้วยกิ่ง   ใบ    และ  ผล  มีลำต้นแข็งแรง
   มีรากมั่นคง  สมบูรณ์ด้วยผล    ย่อมเป็นที่พึ่งของนกทั้งหลาย
   ฝูงนกย่อมอาศัยต้นไม้นั้น      ซึ่งเป็นที่รื่นรมย์ใจ  ให้เกิดสุข
   ผู้ต้องการความร่มเย็นย่อมเข้าไปอาศัยร่มเงา  ผู้ต้องการผลก็
   ย่อมบริโภคผลได้  ฉันใด      ท่านผู้ปราศจากราคะ   ปราศจาก
   โทสะ   ปราศจากโมหะ   ไม่มีอาสวะ    เป็นบุญเขตในโลก   ย่อม
   คบหาบุคคลผู้มีศรัทธา   ซึ่งสมบูรณ์ด้วยศีล  ประพฤติถ่อมตน
   ไม่กระด้าง     สุภาพอ่อนโยน    มีใจมั่นคง     ฉันนั้นเหมือนกัน
   ท่านเหล่านั้น ย่อมแสดงธรรมเครื่องบรรเทาทุกข์ทั้งปวงแก่เขา
   เขาเข้าใจทั่วถึงธรรมนั้นแล้ว    ย่อมเป็นผู้หมดอาสวกิเลส
   ปรินิพพาน.
   
                                          จบสัทธานิสังสสูตรที่  ๘
   
   อรรถกถาสัทธานิสังสสูตร

   พึงทราบวินิจฉัยในสัทธานิสังสสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้ :-
   บทว่า อนุกมฺปนฺติ คือ อนุเคราะห์.
   บทว่า ขนฺธิมาว มหาทุโม คือ เหมือนต้นไม้ใหญ่สมบูรณ์ด้วยลำต้น.
   บทว่า มโนรเม อายตเน ได้แก่ ในสถานที่ชุมนุมอันน่ารื่นรมย์.
   บทว่า ฉายํ ฉายตฺถิกา ยนฺติ ได้แก่ ผู้ต้องการร่มเงา ก็เข้าไปอาศัยร่มเงา.
   บทว่า นิวาตวุตฺตึ คือ ประพฤติ อ่อนน้อม.
   บทว่า อตฺถทฺธํ คือ เว้นความเป็นคนกระด้าง เพราะโกธะ และมานะ.
   บทว่า โสรตํ ได้แก่ เป็นผู้ประกอบด้วยความสงบเสงี่ยม มีศีล สะอาด.
   บทว่า สขีลํ คือ น่าบันเทิงใจ.
   
   จบอรรถกถาสัทธานิสังสสูตรที่ ๘
   
    http://www.palungjit.com/tripitaka/default.php?cat=3600116