ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: sippakorn
« เมื่อ: ตุลาคม 27, 2010, 02:28:07 pm »

 :07: ยอดเยี่ยมมาก เหมือนกับดวงตาที่หายไปได้หวนกลับมาอีกครั้ง
ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: กันยายน 22, 2010, 11:31:43 pm »

 :06: แปลกๆดีครับพี่มด อนุโมทนาครับพี่
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: กันยายน 22, 2010, 09:43:45 am »




 ในข้อเท็จจริงเท่าที่ผู้เขียนรู้ คำว่าวิทยาศาสตร์นั้นแรกเริ่มเดิมทีเป็นความรู้ที่อธิบายว่าธรรมชาติอะไรก็ตามในโลกนี้ จักรวาลนี้คืออะไร? และมันทำงานอย่างไร? ไม่มีอะไรที่เกี่ยวข้องกับคำว่าเทคโนโลที่คนไม่รู้เอามารวมกับวิทยาศาสตร์ เป็นคำมาทีหลังมากนัก และพูดกันตามความจริง เทคโนโลยีไม่ได้เกี่ยวอะไรกับบทความนี้เลย แต่เพราะนักวิทยาศาสตร์สังคม โดยเฉพาะนักการเมือง นักธุรกิจเศรษฐกิจ  ส่วนใหญ่มากๆ - ขอโทษ - “ชุ่ย” และไม่รู้ว่าคำว่าวิทยาศาสตร์แปลว่าอะไร ซึ่งพึ่งพจนานุกรมปัจจุบันไม่ได้ เพราะว่าอะไรๆ ส่วนใหญ่ตกเป็นขี้ข้าเงิน จึงต้องกลับไปดูที่รากคำภาษาละติน อย่าลืมว่า คำว่าเทคโนโลยีนั้นมากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ แลกกับการทำลายธรรมชาติอย่างรุนแรงทั้งนั้น ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ยากที่ผู้ใดจะโต้เถียงได้ว่าเทคโนโลยี และหากว่ารวมกันกับระบบเศรษฐกิจทุนนิยมการตลาดเสรีเอฟทีเอ แทบจะไม่ใช่มีความหมายอย่างเดียวกันกับคำว่าตัณหาราคะ “บ่อเกิดแห่งทุกข์” จึงดูเหมือนว่านักการเมือง นักธุรกิจ นักเศรษฐกิจ ฯลฯ ส่วนใหญ่มากๆ พวกนี้ต้องการที่จะให้ประชาชนในประเทศของตน ทุกสังคมเลย มีแต่กิเลสตัณหาราคะและความทุกข์ทั่วทั้งโลกเลยกันถ้วนหน้า มิน่าเล่าคนทั้งโลกส่วนใหญ่จึงไม่กลัวปี 2012-2013 เพราะความทุกข์นี่เอง ปีที่กล่าวนั้นคือปีที่จะมีความพินาศหายนะชนิดที่คนไม่เคยคาดคิดมาก่อนว่าภัยธรรมชาติมันจะมีความรุนแรงถึงขนาดนี้ได้ จนกระทั่งมีคนตายกันยิ่งกว่าคำว่า “เป็นเบือมากนัก” ธรรมชาติที่จะต้อง “ตามมา” คือ ความเป็นหนึ่งเดียวกันของความรู้ในทางวิทยาศาสตร์ กับความเชื่อทางศาสนา นั่นคือ ความเห็นพ้องต้องกันระหว่างวิทยาศาสตร์กับสภาวะจิตวิญญาณ  (spirituality) นั่นคือ ผู้เขียนเชื่อว่า ศตวรรษนี้จะเป็นศตวรรษที่เราจะเห็นวิทยาศาสตร์แห่งความตาย ส่วนความพินาศของโลกนั้นมีความจำเป็น เพราะคนเรากดขี่ข่มเหงธรรมชาติ - ด้วยกิเลสตัณหาจนโลก “ติดลบ”  ที่พูดมานั้น เราต้องเปลี่ยนพฤติกรรมของเราแต่วันนี้เดี๋ยวนี้
 เพราะเป็นเรื่องของชีวิต ก็ต้องพูดถึงการจบสิ้นของชีวิตหรือความตายในทางวิทยาศาสตร์หรือชีววิทยาที่ใครๆ ไม่อยากพูดถึงกันบ่อยนัก ความตายที่คนชาวตะวันตกกลัวกันนักกลัวกันหนาจนไม่ค่อยพูดถึง จึงทำให้ผู้เขียนคิดว่าประเทศหรือสังคมตะวันตกหรือสังคมที่ยิ่งพัฒนาขึ้นมาเท่าไร สังคมนั้นๆ ก็ยิ่งมีความเสื่อมสลายทางศีลธรรมหรือทางจิตลงไปเท่านั้น การพัฒนาที่เราพยายามทำให้สังคมและประชาชนที่อยู่ในสังคมนั้นๆ ให้มีคุณภาพของชีวิตที่ดีขึ้น หรือ “เจริญ” ขึ้นนั้น “ผิด” ธรรมชาติทั้ง 2  ระดับเลย เพราะว่าธรรมชาติไม่มีการพัฒนา มีแต่การ “ค่อยๆ” เปลี่ยนแปลง เรียกว่า วิวัฒนาการ และแล้วการพัฒนากับความเจริญที่ว่านั้น เรา-ชาวตะวันออกก็ค่อยๆ รับเอาวัฒนธรรมตะวันตกมาทั้งกระบิ  เพราะคิดว่าชาวตะวันตกฉลาดกว่า เก่งกว่า หล่อกว่าเรา ฯลฯ พลอยทำให้เราทั้งไม่คิดให้รอบคอบ กลัวความตายเหมือนฝรั่งตะวันตกไปเช่นเดียวกัน และนั่นเป็นวัฒนธรรมของฝรั่งอันแรกๆ ที่ผู้เขียนสังเกตเห็นตอนไปเมืองนอกใหม่ๆ ว่า วัฒนธรรมของเราชาวตะวันออก โดยเฉพาะผู้ที่นับถือศาสนาพุทธ แตกต่างไปจากวัฒนธรรมของชาวตะวันตกอย่างไร ก็อยากจะบอกเสียตอนนี้และเดี๋ยวนี้ว่า การกลัวตายนั้นกลัวได้ เพราะเป็นธรรมชาติของความไม่รู้ แต่ว่าเราจะต้องไม่กลัวถึงขนาดที่ชาวตะวันตกกลัว เพราะเรารู้ตามที่ศาสนาพุทธสอนเราว่า เราเองก่อประกอบขึ้นด้วยรูปกับนาม หรือกายกับจิต ฉะนั้น ความตายของเราจึงเป็นความตายของกายเท่านั้นที่แน่นอน เราต้องคืนร่างกายที่มี 3 มิติของเรา คืนให้กับโลกที่มี 3 มิติเช่นเดียวกัน จะให้เราทำอย่างอื่นได้อย่างไรอีกในกรณีนี้ แต่จิตที่เป็นเราที่แท้จริง (ไร้สำนึก) ไม่ได้ตายไปจริงๆ ทั้งหมด แต่เราจะต้องมีการ “เกิดใหม่” มารับความทุกข์ต่อไปจนกว่าจะสิ้นกรรมหรือบรรลุนิพพาน  ส่วนจิตรู้หรือจิตสำนึกหรือวิญญาณขันธ์ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าใจอันเป็นแต่ตัวรู้ (cognition ) จะต้องตายไปจากโลกเช่นเดียวกัน เพราะตั้งแต่นี้ต่อไปเราไม่ต้อง “รู้” เรื่องของโลก 3 มิติอันเป็นเพียง “มายา” เพื่อให้เราอยู่ได้รอดและปลอดภัยในโลก 3 มิติโลกนี้อีกต่อไป จิตสำนึกจึงเป็นเพียงตัวเชื่อมประสานระหว่างภายในกับภายนอก หรือจิตกับกาย คือ เป็นผลของการบริหารของสมอง - ซึ่งการมองด้านนี้เพียงด้านเดียว จิตสำนึกก็เป็นเหมือนกับสมองคือเป็นกาย แต่ประเด็นที่ว่า สิ่งอะไรหรืออะไรหรือ? ที่สมองต้องบริหารจัดการ? โจทย์หรือคำถามข้อนี้ก็จะต้องตอบว่าคือจิตไร้สำนึกโดยรวมของจักรวาล หรือจิตร่วมจักรวาล (universal unconscious continuum) ของคาร์ล จุง (ที่ผู้เขียนคิดว่าเป็นจิตที่แท้จริงอันเดียวของจิตหลายๆ อย่าง) รวมที่พระพุทธเจ้าจัดเป็นวิญญาณระดับสูงที่สุด ที่ผู้เขียนคิดเอาเองว่าเป็นอันดับเดียวกับจิตหนึ่ง (ชามา) และเป็นอันเดียวกับนิพพาน (ขากลับ) หรือคือเต๋าในศาสนาเต๋า) ถ้าหากเรามองเฉพาะด้านนี้ จิตสำนึกและตัวรู้อื่นๆ ก็เป็นจิต) อมิต โกสวามี นักควอนตัมฟิสิกส์แห่งมหาวิทยาลัยโอเรกอนอธิบายทางควอนตัมแม็คคานิกส์ กล่าวว่า จิตสำนึกหรือตัวรู้เป็นทั้งกายทั้งจิต - ดูบทความผู้เขียน จิตคืออะไร? - (Amit Goswami : Visionary Window, 1996)   

  ความตายของมนุษย์ สัตว์โลกและสิ่งต่างๆ ทุกสิ่งทุกอย่าง จากดาวเคราะห์นี้ที่มี 3 มิติคือ ความยาว ความกว้างและความลึก นั่น-เราว่ากันทางวิทยาศาสตร์กายภาพที่ชอบวัด แถมยังพูดว่าอะไรที่วัดไม่ได้จะต้องไม่มีจริง ส่วนในทางศาสนา ในที่นี้หมายถึงพุทธศาสนา จะเรียกโลกของเรานี้ว่าสังสารวัฏ นั่นคือธรรมชาติปกติธรรมดาของชีวิตทุกชีวิตโดยไม่มีการยกเว้น แต่แปลก! ที่ทางวิทยาศาสตร์ที่ทำหน้าที่อธิบายว่าธรรมชาตินั้นๆ คืออะไร? มันทำงานอย่างไร? ไม่ต้องไปถึงว่าแล้วทำไม? ถึงต้องตายด้วย? ไม่ยักอธิบายธรรมชาติของความตาย “อย่างละเอียด” แม้แต่ทางการแพทย์เอง โดยเฉพาะที่เมืองไทยเราเองที่มีทั้งสูตินรีแพทย์ มีทั้งกุมารกุมารีแพทย์คอยดูแลรักษาเด็กเล็กๆ แต่ไม่มีแพทย์ดูแลรักษาคนที่แก่มากๆ ช่วยตัวเองไม่ได้ที่อาจจะอยู่ได้นานๆ เป็นห้าปีสิบปี คนแก่ที่ก่อนหน้านี้ - หากไม่มีญาติ ญาติไม่เอาหรือติดต่อไม่ได้ - หลวงเขาจะเอาไปไว้ที่พระประแดง นอนเตียงไม้เตียงสังกะสีที่เจาะเป็นรูเอาไว้ตรงกลางเพื่อให้ถ่าย แล้วเอาน้ำราดได้สะดวกโดยไม่มีแพทย์พยาบาลประจำ - ที่มีน้อยคนนัก - คอยดูแลรักษาพยาบาล

ในด้านวิทยาศาสตร์นั้น ตั้งแต่โคเอร์นิคัสร่วม 600 ปีมาแล้ว นักปรัชญาหรือนักวิทยาศาสตร์ทั้งหมดหรือแม้แต่ส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นนักวัตถุนิยม แต่ตั้งแต่ชาร์ลส์ ดาร์วิน ค้นพบความลี้ลับที่สุดลี้ลับที่หมู่เกาะกาลาปากอสเมื่อปี 1835 และเกิดวินัยทางวิชาการหรือวิชาชีววิทยา หรือวิทยาศาสตร์สาขาสุดท้ายขึ้นมา นักปรัชญาและนักวิทยาศาสตร์ส่วนมากก็ค่อยๆ ห่างไกลจากความเป็น “มนุษย์ผู้ประเสริฐ” ออกไปเรื่อยๆ นั่น-ผู้เขียนไม่ได้พูดเอง แต่นักชีววิทยาที่มีชื่อเสียงแห่งมหาวิทยาลัยโอเพน ประเทศอังกฤษ  เมวัน-โฮ เป็นผู้พูดในทำนองนั้น ผู้เขียนคิดว่า หากชาร์ลส์ ดาร์วิน ค้นพบความลี้ลับที่สุดจะลี้ลับของชีวิต  หมายถึงมนุษย์ที่กาลาปากอสในปี 1835 ดาร์วินิซึ่มก็จบสิ้นลงที่กาลาปากอสหลังจากมันอยู่ในโลกไม่ถึง  200 ปีดี คนเราหรือมนุษย์เรานั้น “รักตัวเองหรือรักมนุษยชาติมากที่สุด” วิชาชีววิทยากับแพทยศาสตร์ถึงได้เป็นวิทยาศาสตร์ที่มีผู้เรียนมากที่สุด เพราะอะไรเกี่ยวกับคนหรือมนุษย์แล้ว “ต้อง” สำคัญพิเศษสุดทั้งนั้น (anthropocentric) และเป็นเช่นนี้มาตั้งแต่สมัยกรีก (Ptolemy‘s conceit) ศตวรรษที่ 20th จึงเป็นศตวรรษของชีววิทยา “ดาร์วินิซึ่ม” ที่จบลงที่การประชุมที่ยิ่งใหญ่ที่หมู่เกาะกาลาปากอส ที่มีดาเนียล เด็นเน็ต นักปรัชญาผู้ต่อต้านศาสนา ต่อต้านจิตวิญญาณ (spirituality) เป็นประธาน และผู้เขียนเชื่อว่าวิทยาศาสตร์ชีววิทยาดาร์วินิซึ่มและนีโอ-ดาร์วินิซึ่มกับวิศวะพันธุกรรมได้จบลงที่นั่น ต่อไปนี้ศตวรรษที่ 21st นี้  วิทยาศาสตร์กับสภาวะจิตวิญญาณจะได้รวมกันเสียที

ทุกวันนี้ทศวรรษที่ 2000 แทบว่าได้ผ่านไปแล้ว เรากำลังเข้าไปใกล้ๆ ปี 2012 -2013 หรือปี 2017 -2018 ปีที่องค์การนาซาบอกในอินเทอร์เน็ตว่าน้ำจะท่วมโลกและภัยธรรมชาติร้ายแรงเข้าไปทุกที นั่น-ไม่ใช่ว่าเราจะไม่เชื่อทั้งหมดนั่น แต่เราส่วนหนึ่งที่พอจะรู้อะไรเกี่ยวกับวัฏจักรของโลกบ้างเชื่อว่าเป็นไปได้  แถมยังคิดว่าไม่ว่าเราจะเชื่อหรือไม่เชื่อ แต่เราจะทำอะไรได้? ส่วนหนึ่งที่พอจะมีฐานะหน่อย ไม่ว่าจะเชื่อหรือไม่เชื่อจะหาที่ดินสูงๆ ใกล้ภูเขาเพื่อหนีน้ำเผื่อเหนียวกันไว้ก่อน ส่วนผู้ไม่เชื่อเลย เพราะว่าไม่เคยมีมาตั้งแต่สมัยปู่ย่าตาทวด ที่รู้มาบ้างก็โดยการอ่านประวัติศาสตร์หรือโบราณคดีวิทยา โดยลืมนึกไปว่า หรือไม่รู้ว่าเราเพิ่งมีตัวหนังสือบันทึกอะไรก็เพียงเมื่อไม่ถึง 3,000 ปีมานี้เอง แถมยังไม่รู้ว่ามนุษย์นั้นอยู่ในยุคอินเตอร์เกลเชียลพีเรียด หรือยุคสมัยที่มีอากาศอบอุ่น เราจึงเคยชินเลยกลายเป็นสามัญสำนึก จนมั่นใจว่ามนุษย์คงไม่มีทางจะเป็นอะไรมาก จึงปล่อยเลยตามเลย เพราะไม่มีทางจะทำอะไรอยู่แล้ว ทั้งยังไม่ค่อยเชื่ออยู่ด้วย นั่น-เป็นเพราะวิทยาศาสตร์เก่าที่เรามีมาตั้ง 500 ปีแล้ว วิทยาศาสตร์เก่าที่แยกย่อยรูปวัตถุนิยมที่ทำงานดุจเครื่องจักรเครื่องยนต์ (mechanism-materialism) จนเราเคยชินอย่างที่ว่า จนคิดว่า ความจริงมีแค่นั้นคือแค่ตาเห็น ส่วนอะไรที่มองไม่เห็นจริงๆ จิต วิญญาณ ผี จิตใจหรือใจไม่มีจริง หรือสามารถจะอธิบายได้ด้วยวัตถุรูปกายทั้งหมด

 วิทยาศาสตร์ของความตายคือความพยายามอธิบายเรื่องของความตายที่เราไม่เห็นถึงได้ไม่รู้เลยแม้แต่น้อย ทำให้เราเอาแต่กลัวการตายจากไปลูกเดียวโดยไม่มีความรู้เรื่องของความตายแม้แต่น้อยในด้านชีววิทยาเลย ทั้งๆ ที่จำเป็น ที่เรามีก็เป็นความรู้ที่นักวิทยาศาสตร์กายภาพที่มักจะเป็นเรื่องความเชื่อในทางจิตทางศาสนา ทางจิตที่นักวัตถุนิยมแบ่งแยกย่อยย่อ (reduction materialist) ไม่เชื่อไม่ยอมรับ  เพราะไม่มีข้อพิสูจน์ ซึ่งข้อพิสูจน์คือวิธีการ (methodology) ที่ใช้หูใช้ตาและใช้ประสาทสัมผัสที่ให้สัตว์ต่างๆ ล้วนไม่เห็น-ไม่ได้ยินเหมือนกับที่คนเราเห็น-ได้ยินแม้แต่ตัวเดียว แถมยังเรียกผู้ที่เชื่อศาสนา เรื่องจิต เรื่องผี เจ้าพ่อเจ้าแม่ นรก-สวรรค์ ว่าโง่ งมงาย ตรงกันข้าม เราต้องมองเรื่องความเชื่อต่างๆ เหล่านี้ ด้วยใจที่เปิดกว้าง มีสติและเป็นวิทยาศาสตร์ที่รวมทั้งฟิสิกส์แห่งยุคใหม่ ควอนตัมแม็คคานิกส์ อย่างรู้จริงๆ ทั้งนี้ โดยการสังเกตอย่างเป็นระบบเรื่องราวอะไรก็ตามที่เกี่ยวข้องกับความตายและความเป็นไปได้ของชีวิตหลังความตายไปจากโลกแล้ว เช่น การระลึกชาติ (reincarnation) ประสบการณ์ใกล้ตาย  (near death experience or NDE) ที่ไกลไปจากการหายากมาก (rare) ทั้งคู่ โดยเฉพาะประเด็นหลัง ซึ่งมีรายงานเป็นหมื่นๆ ราย หรือประมาณ 6-18% ของผู้ที่ตายไปแล้วทางการแพทย์ (clinical death) ทั้งหมดจากโรคหัวใจที่ฟื้นขึ้นมาหลังจากช่วยไว้ (CPR) ซึ่งการตรวจทุกๆ อย่างเป็นศูนย์ รวมทั้งคลื่นไฟฟ้าของหัวใจและของสมอง (EKG and EEG) การวิจัยของประเด็น หลัง (NDE) นั้นอันเป็นการวิจัยที่ใหญที่สุด-กินเวลาที่ยาวนานที่สุด เพราะใช้โรงพยาบาลใหญ่ๆ ถึง 8 โรงพยาบาลที่อังกฤษ - ในโลกเท่าที่มีมา - ที่กำลังทำการวิจัยอยู่ในขณะนี้ ผู้ที่เป็นหัวหน้าทีมนักวิจัยคือนักประสาทวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียง ผู้ค้นพบหลักฐานของดวงวิญญาณหลังความตาย (soul) ชื่อมาริโอ บูเรการ์ด คงจะให้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งทางวิทยาศาสตร์แห่งความตาย (Mario Beuregard : The Spiritual Brain ; a neuroscientist’s  case of evidence of the soul, 2007)

http://www.thaipost.net/sunday/190910/27630