ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Siranya
« เมื่อ: ตุลาคม 30, 2010, 01:23:16 pm »

ธรรมะเพิ่มสติทุกข์คลายใจสงบ :45: :13:
ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: ตุลาคม 30, 2010, 02:30:27 am »

 :13: อนุโมทนาครับ ขอบคุณครับพี่แป๋ม^^
ข้อความโดย: สายลมที่หวังดี
« เมื่อ: ตุลาคม 29, 2010, 11:05:34 pm »

 :45:คิดดีทำดี จะได้เจอแต่เรื่องดีๆ
ขอบคุณนะค่ะพี่แป๋ม :19:
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ตุลาคม 29, 2010, 12:36:53 pm »

ความไม่เห็นแก่ตัว ทำให้เกิดอะไรขึ้นในร่างกาย

นักวิทยาศาสตร์ต่างก็ยอมรับอย่างแน่นอนแล้วว่า การช่วยเหลือคนอื่นอย่างไม่เห็นแก่ตัวนั้น ส่งผลดีสุขภาพของผู้กระทำ เหตุผลเป็นเพราะอะไรหรือ ?
ทั้งนี้เป็นเพราะคนที่ทำดีต่อผู้อื่น จะได้รับความรักความนับถือจากผู้อื่น และเกิดปีติสุขนี้ในการกระทำนั้น ๆ การเกิดปีติสุขนี้ก็เป็นผลมาจากการที่สมองหลั่งสารเอ็นดอร์ฟีนออกมานั่นเอง (เกิดขึ้นเช่นเดียวกับหลังจากการวิ่งเหยาะ ๆ หรือทำสมาธิ) ด้วยเหตุนี้คนที่ทำดีต่อผู้อื่น จึงมีจิตใจที่เป็นสุขและปราศจากความเครียด ซึ่งย่อมส่งผลดีต่อภูมิต้านทานโรค รวมทั้งสุขภาพของคน ๆ นั้น

นักจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยโอไฮโอ ศึกษาเปรียบเทียบสตรีที่แต่งงานและมีชีวิตคู่จำนวน 38 คน กับสตรีที่เป็นโสดหรือหย่าร้างในจำนวนเท่า ๆ กัน พบว่า สตรีที่มีชีวิตคู่ มีระดับของภูมิต้านทานโรคดีกว่าสตรีโสดหรืหย่าร้าง และสตรีที่มีชีวิตคู่กลุ่มที่บอกว่ามีชีวิตครอบครัวที่เป็นสุขนั้น มีระดับของภูมิต้านทานโรคดีที่สุด นอกจากนี้ยังพบว่ากลุ่มสตรีโสดหรือหย่าร้างมีอัตราการป่วยที่ต้องปรึกษา แพทย์มากกว่าสตรีที่มีชีวิตคู่ถึงร้อยละ 30

การมีชีวิตคู่ที่ดีนั้น ย่อมหมายถึงการเห็นใจและช่วยเหลือคนอื่น (สามีและบุตร) เป็นอย่างดี ได้ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรคแก่สตรี ผู้มีความความสุขนั้น ๆ

เพียงแต่คิดจะทำดี ก็ดีต่อสุขภาพแล้ว

นักจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้ทำการศึกษาวิจัยโตยให้นักศึกษากลุ่มหนึ่งดูภาพยนตร์แสดงถึงเรื่องราวของ แม่ชีเทเรซา แม่พระที่ทำงานช่วยเหลือคนยากจน และผู้ป่วยในชุมชนเมืองกัลกัตตา อินเดีย ผู้ซึ่งเคยได้รับรางวัลแมกไซไซเมื่อหลายปีก่อน หลังจากดูภาพยนตร์จบ ก็ได้ทำการเจาะเลือด นักศึกษานำไปตรวจหาระดับของภูมิต้านทานโรค ปรากฏว่าภูมิต้านทานของนักศึกษาเหล่านี้ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากผู้กระทำดี มีระดับเพิ่มสูงขึ้นกว่าปกติ

ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า แม้จะไม่ได้ลงมือกระทำดี เพียงแต่ชื่นชม หรือคิดที่จะทำดีก็มีส่วนเสริมสร้างภูมิต้านทานโรคแล้ว มโนกรรม วจีกรรม และกายกรรม ในเชิงกุศลย่อมช่วยเสริมสร้างสุขภาพของคนเรา

เพื่อสุขภาพของคุณ จงลดความเห็นแก่ตัวและความเคียดแค้นชิงชังลงเสีย

แพทย์ ค้นพบว่า คนที่มีนิสัยโกรธง่าย ก้าวร้าว มีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันมากกว่าปกติ และคนที่ไม่ยอมฟังคนอื่นจ้องแต่จะโต้แย้งเป็นนิจ ก็มีโอกาสเป็นโรคความดันเลือดสูงมากกว่าปกติ
คนที่ชอบเคียดแค้นชิงชัง ไม่เป็นมิตรกับผู้อื่นเหล่านี้ ตกอยู่ในบ่วงกรรมอันน่าสงสาร กล่าวคือ ยิ่งไม่เป็นมิตร กับผู้อื่น ก็ยิ่งแยกตัวเองออกจากคนอื่น และยิ่งหมกมุ่นกับตัวเองตามลำพัง ซึ่งก็กลับมาทำให้เพิ่มความรู้สึกไม่เป็นมิตรกับผู้อื่นมากยิ่งขึ้นไปเรื่อย ๆ ไม่รู้จักจบสิ้น ซึ่งย่อมเกิดโทษต่อสุขภาพของเขาอย่างแน่นอน


การจะตัดบ่วงกรรมดังกล่าวให้ขาด มีอยู่ทางเดียวคือ ฝึกทำดีต่อผู้อื่น

นายแพทย์ออร์นิช แห่งคณะแพทย์ศาสตร์ซานฟรานซิสโกได้ทดลองรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจอุด ตัน 2 คน ซึ่งต่างก็เกลียดขี้หน้ากัน โดยให้ทั้ง 2 คนผลัดกันซักรีดเสื้อผ้าให้แก่กันและกัน ปรากฏว่า เมื่อทำได้สักพัก ระดับไขมันโคเลสเตอรอลในเลือด (ซึ่งมีผลร้ายต่อที่เป็นโรคหัวใจ) ของคนไข้ทั้งสองลดลงและอาการเจ็บหน้าอกของหัวใจก็ทุเลาลงได้อย่างน่าอัศจรรย์ใจ

การลดละความเห็นแก่ตัวและความไม่เป็นมิตรลงย่อมส่งผลดีต่อร่างกายของคนเราอย่างแน่นอน

บทสรุป

“จงลดละความเห็นแก่ตัว จงเห็นแก่ผู้อื่น”

จริยธรรมพื้นฐานที่มีอยู่ในทุกศาสนาข้อนี้ได้ถูกสั่นสะเทือนด้วยค่านิยมแห่งวัตถุนิยม และธุรกิจนิยม ในยุคปัจจุบัน อันรังแต่จะสร้างความทุกข์ ความระส่ำระสายทั้งภายในบุคคล และสังคมทั้งสังคม จนรู้สึกว่าถึงทางตัน ข้อเท็จจริงที่ได้เสนอมาทั้งหมดนี้ซึ่งชี้ชัดว่า ความเห็นแก่ตัวเป็นบ่อเกิดแห่งโรค (ทั้งทางกายใจ) และความเห็นแก่ผู้อื่นเป็นบ่อเกิดแห่งสุขภาพ น่าจะให้ความสว่างแก่สังคมเรา ขอให้คนที่ทำดีต่อผู้อื่นอยู่แล้ว จงมีกำลังใจที่จะทำดีต่อไป ผู้เขียนหวังว่าสักวันหนึ่ง คนที่รักสุขภาพของตัวเองจะได้หันมาช่วยเหลือผู้อื่นอย่างไม่เห็นแก่ตัว ดุจเดียวกับแฟชั่นวิ่งเพื่อสุขภาพ และอาหารเพื่อสุขภาพที่ได้เกิดขึ้นก่อนหน้านี้แล้ว

“จงหมั่นออกกำลังกาย จงระวังในการบริโภคอาหาร และจงช่วยเหลือผู้อื่นอย่างไม่เห็นแก่ตัว” คงจะกลายเป็นสุขบัญญัติที่ทุกคนพึงปฏิบัติเป็นกิจวัตร !


ข้อมูลสื่อ : นิตยสารหมอชาวบ้าน
นักเขียนหมอชาวบ้าน : รศ.นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ
 :13: http://203.121.145.180/forum/viewtopic.php?f=57&t=186203&sid=40866896be3ee2a08853b49ee7857e66&start=1830
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ตุลาคม 29, 2010, 12:13:09 pm »

การอุทิศตนของบุคคลเหล่านี้ จะช่วยยืนยันถึงอานิสงส์ของความไม่เห็นแก่ตัวที่มีต่อสุขภาพได้ไหมหนอ?

สุขภาพของคนเราจะดีได้ เพราะเหตูใด?

โดยหลักทางแพทย์ สุขภาพของคนเราขึ้นกับปัจจัย 2 ส่วน คือ มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม

ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม ได้แก่ เชื้อโรค สัตว์ พืช ปัจจัยสี่ ส้วม น้ำสะอาด มลภาวะ การศึกษา วัฒนธรรม เศรษฐกิจ การเมือง เป็นต้น

ปัจจัยในตัวมนุษย์ ได้แก่ กรรมพันธุ์ จิตวิญญาณ ความเชื่อ พฤติกรรม เป็นต้น

อาทิเช่น คนเราจะป่วยเป็นโรคติดเชื้อ เช่น ไข้หวัด อหิวาต์ ก็ต้องรับเชื้อโรคเหล่านี้มาจากสิ่งแวดล้อมภายนอก แต่ทำไมบางคนรับเชื้อมาแล้วเป็นโรค บางคนรับมาแล้วไม่เป็นโรค ทั้งนี้ก็เป็นเพราะปัจจัยภายในตัวของคน ๆ นั้น ถ้าเขามีภูมิต้านทานโรคดี ก็ไม่เป็นโรค แต่ถ้าเขามีภูมิต้านทานต่ำ เมื่อรับเชื้อเข้ามากลายเป็นโรค

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด ๆ ก็คือ วัณโรคปอด ก็คือ วัณโรคปอด ในเวลานี้คนไทยที่เป็นผู้ใหญ่ไดรับเชื้อวัณโรคเข้ามาในร่างกายกันแล้วเป็น ส่วนใหญ่ (จากการสูดหายใจเอาเชื้อโรคจากลมหายใจของคนที่มีเชื้ออยู่ในปอด) แต่มีเพียงคนส่วนน้อยเท่านั้นที่เป็นโรค (คือมีอาการไอและไข้เรื้อรัง ผอมแห้งแรงน้อย)

คนส่วนใหญ่ถึงแม้มีเชื้อวัณโรคอยู่ในร่างกายก็ไม่เป็นอะไร ทั้งนี้ เป็นเพราะร่างกายมีภูมิต้านทานโรค ทำให้เชื้อวัณโรคที่ซ่อนตัวอยู่ในร่างกายนั้นแผลงฤทธิ์ไม่ได้ แต่ถ้าวันดีคืนดีเกิดร่างกายอ่อนแอ เช่น ตรากตรำงานหนัก เที่ยวหัวราน้ำ ติดเหล้าหรือยาเสพติด ขาดอาหาร เป็นโรคเบาหวาน กลุ้มใจ ตรอมใจ กินยาสเตียรอยด์(ซึ่งกดภูมิต้านทาน) เชื้อวัณโรคที่ซ่อนตัวอยู่ก็จะแบ่งตัว เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว จนร่างกายต้านไม่อยู่ ก็จะกลายเป็นวัณโรคในที่สุด

จะเห็นว่าภูมิต้านทานโรคของร่างกายมีความสำคัญต่อการเกิดโรคอย่างยิ่งยวด แม้แต่โรคที่ไม่เกี่ยวกับการติดเชื้อ คือโรคที่เกิดขึ้นโดยไม่ต้องมีเชื้อโรคเป็นต้นเหตุ เช่น โรคมะเร็ง โรคภูมิแพ้ (เช่น ลมพิษ ผื่นคัน แพ้อากาศ หืดหอบ) ก็มีผลมาจากความบกพร่องหรือแปรปรวนของภูมิต้านทานโรคของร่างกาย ดังเห็นได้จากคนที่เป็นโรคภูมิแพ้ ถ้าจิตใจเครียดหรือร่างกายไม่ได้พักผ่อน อาการก็จะกำเริบหนัก ตรงกันข้าม ถ้าร่างกายและจิตใจแข็งแรง อาการก็จะบรรเทาได้เอง หรืออย่างกรณีที่บุคคลที่เป็นใหญ่เป็นโต เมื่อสูญเสียอำนาจ เกิดการตรอมใจ ไม่นานก็กลายเป็นโรคมะเร็งตาย เป็นต้น

ดัง นั้น จึงกล่าวได้ว่า สุขภาพของคนเราจะเสื่อมทรุดก็เพราะภูมิต้านทานโรคบกพร่องแปรปรวนเป็นสำคัญ ภูมิต้านทานโรคของร่างกาย จะสมบูรณ์ก็ต้องอาศัยปัจจัยทางกรรมพันธุ์ อาหารการกิน การพักผ่อนนอนหลับ การออกกกำลังกาย การไม่เสพสิ่งที่เป็นพิษ และจิตใจที่เป็นสุข

จิตใจที่เป็นสุขเป็นบ่อเกิดของสุขภาพ

วงการแพทย์ยอมรับว่าความทุกข์ใจตรอมใจ หรือความเครียดทางอารมณ์ เป็นปัจจัยสำคัญของการเกิดโรค ร่างกายของคนที่มีภาวะจิตใจติดลบแบบนี้จะหลั่งสารเคมีออกมามากกว่าปกติ ที่สำคัญ 2 ตัว ได้แก่ อะดรีนาลินกับสเตียรอยด์ ซึ่งสร้างโดยต่อมหมวกไตในร่างกาย

สารอะดีนาลิน ทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น ใจเต้นใจสั่น ทำให้ความดันเลือดสูง และหลอดเลือดแดงทั่วร่างกายหดตัว ดังเห็นได้จากเวลาที่เราตกใจจะมีอาการใจหวิว ใจสั่น มือเท้าเย็น และหน้าซีดเซียว (เพราะหลอดเลือดหดตัว) คนที่มีความเครียดเป็นประจำ ในที่สุดจะกลายเป็นโรคความดันเลือดสูง และโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน

ส่วนสารสเตียรอยด์ที่ร่างกายสร้างขึ้นมาเวลามีความเครียดก็จะทำให้กระเพาะอาหาร มีการหลั่งกรดมากจนกลายเป็นโรคกระเพาะ และทำให้ภูมิต้านทานบกพร่องอ่อนแอ เป็นโรคติดเชื้อง่าย (เช่น คออักเสบ ฝีพุพอง วัณโรคปอด เป็นต้น) ยาเพร็ดนิโซโลนที่มีขายในท้องตลาด ซึ่งนิยมผสมในยาชุดต่าง ๆ ก็จัดเป็นสารสเตียรอยด์ชนิดหนึ่ง การเสพยานี้นาน ๆ ก็ให้โทษต่อร่างกายในทำนองเดียวกัน

ทั้งอะดีนาลินและสเตียรอยด์จึงเรียกว่า สารทุกข์ เพราะเกิดจากความทุกข์ใจ และยังส่งผลร้ายต่อสุขภาพ(ถ้าหลั่งมากเกินกว่าที่ร่างกายต้องการ)ตรงกันข้าม ร่างกายของคนเราก็สามารถหลั่งสารสุขได้ด้วยตัวเอง
สารสุขตัวหนึ่งที่เรารู้จักดีในเวลานี้ก็คือ สารเอ็นดอร์ฟีน ที่สมองเป็นตัวสร้าง คนที่ชอบออกกำลังกาย หรือทำสมาธิจนจิตสงบ จะพบว่ามีสารนี้หลั่งออกมามาก สารนี้มีฤทธิ์เช่นเดียวกับฝิ่น (ชื่อภาษาอังกฤษ “เอ็นดอร์ฟีน” ก็แปลว่า ฝิ่นภายในร่างกายนั่นเอง) ทำให้จิตใจสงบเคลิบเคลิ้ม และคลายความเจ็บปวด กล่าวคือทำให้รู้สึกเป็นสุขอย่างประหลาด ซึ่งย่อมช่วยให้ร่างกายปลอดภัยจากโรคทีเกิดจากความเครียด รวมทั้งทำให้ภูมิต้านทานโรคเข้มแข็งอีกด้วย


เมื่อสมองของคนเราสามารถสร้างสารสุขที่มีผลดีต่อสุขภาพดังกล่าว นักจิตวิทยาชาวอเมริกันจึงกล่าวว่า “หน้าที่หลักของสมองของคนเรา หาใช่เรื่องของการสร้างความคิดไม่ แต่เป็นเรื่องของการปกป้องร่างกายให้ปลอดพ้นจากโรคภัยต่างหาก” นอกจากนี้ยังกล่าวว่า สมองจะทำหน้าที่ดังกล่าวได้ดีก็ต่อเมื่อมีการติดต่อสัมพันธ์กับผู้อื่น ท่ามกลางญาติมิตรหรือเพื่อนร่วมงาน และความเป็นสัตว์สังคมของมนุษย์ได้ ช่วยให้เผ่าพันธุ์มนุษย์อยู่รอดและวิวัฒนาการมาเป็นลำดับ
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ตุลาคม 28, 2010, 07:16:25 pm »



ลดความเห็นแก่ตัว เพิ่มพลังต้านทานโรค
รศ.นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ

คำแนะนำของแพทย์ในอนาคต

“ถ้าอยากมีสุขภาพดี คุณควรใส่ใจปฏิบัติในสิ่งต่อไปนี้”
หนึ่ง ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
สอง กินอาหารให้ได้สัดส่วนของอาหารหลัก 5 หมู่อย่างเหมาะสม
และ สาม ทำความดีต่อผู้อื่นให้มากขึ้น”

    หลัก แห่งอายุวัฒนะ 3 ประการนี้ จะเป็นสุขบัญญัติที่แพทย์ในอนาคต ใช้แนะนำให้แก่ประชาชนทั่วไปในการเสริมสร้างสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันมิให้เกิดการเจ็บไข้ได้ป่วย หรือถ้าหากป่วยไข้ขึ้นมาก็จะช่วยลดความรุนแรงหรืออันตรายลง สำหรับหลัก 2 ประการแรกนั้น ได้มีการกล่าวขวัญกันมากแล้ว และเชื่อว่าผู้อ่านหมอชาวบ้าน คงมีความรู้ความเข้าใจว่าการออกกำลังกายและอาหารการกิน(ตามหลักโภชนาการเนมัตตัญญุตา)นั้น มีส่วนในการเสริมสุขภาพอย่างไร ดังนั้นจึงขอที่จะไม่กล่าวถึงในที่นี้แต่ที่น่าแปลกคือ ข้อแนะนำประการที่สามนั้น อาจทำให้ผู้อ่านตั้งคำถามว่า

“การกระทำความดีต่อผู้อื่นนั้น จะมีผลต่อสุขภาพของผู้กระทำ
ความดีอย่างไรกัน?”

   บังเอิญผู้เขียนได้อ่านพบบทความภาษาอังกฤษ ชื่อว่า “เหนือตัวตน” (Beyond Self) ในนิตยสารสุขภาพของสหรัฐอเมริกาเล่มหนึ่ง ชื่อว่า American Health ฉบับเดือนมีนาคมศกนี้ ซึ่งได้เปิดเผยถึงการค้นพบใหม่ ๆ จากการศึกษาวิจัยของคณะแพทย์และนักวิทยาศาสตร์หลายคณะ แห่งสถาบันวิจัยหลายแห่งในประเทศนั้นว่า การทำความดีต่อผู้อื่น(ความไม่เห็นแก่ตัว หรือความเห็นแก่ผู้อื่น)นั้น มีส่วนเสริมสร้างภูมิต้านทานโรคแก่ผู้กระทำดีอย่างแน่นอน

ข้อมูลใหม่ในเรื่องนี้ ทำให้ผู้เขียนอดรู้สึกตื่นเต้นไม่ได้ และคิดว่า คงจะมีส่วนให้กำลังใจแก่ผู้กระทำความดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งแก่บุคคลที่มีน้ำใจช่วยเหลือคนอื่น ๆ อย่างปิดทองหลังพระที่มีอยู่ในทุกซอกมุมของสังคมไทยในขณะนี้

พบว่าคนที่ชอบช่วยเหลือผู้อื่น มีอายุยืน ส่วนคนโสดและไม่ชอบสังคมมีอายุสั้น

   นัก วิจัยชื่อนายเจมส์เฮาส์และคณะ แห่งมหาวิทยาลัยมิชิแกน ได้ทำการสำรวจประชาชน 2,700 คน ในเมืองเทคัมเซ โดยใช้เวลาในการติดตามศึกษาถึง 10 กว่าปี เพื่อดูว่าการติดต่อสัมพันธ์กับผู้อื่นนั้นจะมีผลต่อสุขภาพอย่างไร
พวกเขาพบว่า คนที่ชอบทำงานอาสาสมัคร (ช่วยเหลือผู้อื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน) จะมีอายุยืนยาวกว่าอายุขัยโดยเฉลี่ยของคนทั่วไป และพบว่าในช่วงระยะเวลาของการศึกษาวิจัยนี้ ผู้ชายที่ไม่เคยทำงานอาสาสมัครจะมีอัตราการตายมากเป็น 2 เท่าครึ่งของผู้ชายที่ทำงานอาสาสมัคร (มีกิจกรรมอาสาสมัครอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง)

คุณผู้อ่านอาจสงสัยว่า แล้วกลุ่มผู้หญิงเล่าเป็นอย่างไร?

คณะวิจัยบอกว่า ในกลุ่มผู้หญิงนั้นเห็นผลแตกต่างไม่ชัดเจน ทั้งนี้เป็นเพราะว่า ผู้หญิงส่วนมาก(ไม่ว่าจะเป็นสมาชิกของกลุ่มอาสาสมัครหรือไม่ก็ตาม) ได้ใช้เวลาส่วนใหญ่ ดูแลรับใช้ผู้อื่นอยู่แล้ว
นอกจากนี้การวิจัยยังพบว่า กลุ่มคนที่ชอบอยู่อย่างโดดเดี่ยวเดียวดาย แม้ว่าจะหาความรื่นเริงบันเทิงใจ ด้วยการหนังสือ ฟังวิทยุ หรือดูโทรทัศน์ตามลำพังนั้น จะมีอัตราการตายโดยเฉลี่ยของคนในเมืองนี้

ความจริงข้อนี้ยังได้รับการยืนยันจากผลการวิจัยอีกชิ้นหนึ่ง โดยนักวิจัยชื่อ ลิซา เบิร์กแมน แห่งมหาวิทยาลัยเยล และลีโอนาร์ด ไซม์ แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซึ่งได้ทำการศึกษาวิจัยผู้ที่อาศัยอยู่ในเมืองอะลาเมดา แคลิฟอร์เนีย จำนวน 5,000 คน นานถึง 9 ปี พบว่าไม่ว่าจะเชื้อชาติอะไร เศรษฐฐานะเป็นอย่างไร และมีอาชีพอะไรก็ตาม แต่ถ้าคนโสด(ไม่แต่งงาน) มีญาติและเพื่อนน้อย และไม่ชอบสังสรรค์กับสังคมภายนอกแล้วละก็ มีโอกาสตายมากกว่าคนที่ชอบติดต่อสังคมกับคนภายนอกถึง 2 เท่าตัว

ข้อเท็จจริงเหล่านี้ทำให้สรุปได้ว่า คนที่ชอบติดต่อสังคมกับผู้อื่น และช่วยเหลือผู้อื่น จะมีอายุยืนยาวกว่าคนที่ชอบปิดประตูขังตัวเองตัดขาดจากโลกภายนอกทำให้ผู้เขียนนึกถึงมหาบุรุษที่อุทิศตนเพื่อสังคมผู้ล่วงลับไปแล้ว ดังสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือท่านมหาตมะคานธี ล้วนแต่มีสุขภาพสมบูรณ์และอายุยืนยาว หรือแม้แต่ปูชนียบุคคลแห่งสังคมไทยที่เรารู้จัก เช่น ท่านพุทธทาสมหาเถระ, ศาสตราจารย์นายแพทย์สุด แสงวิเชียร, ศาสตราจารย์นายแพทย์อวย เกตุสิงห์ และศาสตราจารย์นายแพทย์เสม พริ้งพวงแก้ว ซึ่งล้วนแต่มีอายุใกล้หรือกว่า 80 ปีกันทุกท่าน และทุกท่านก็มีร่างกายและจิตใจกระชุ่มกระชวย มีมันสมองปราดเปรื่อง และสร้างสรรค์งานแก่สังคมอย่างไม่หยุดหย่อนจวบจนทุกวันนี้




มีต่อค่ะ