ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: ตุลาคม 30, 2010, 08:09:45 pm »

 :45: ขอบคุณครับพี่หนุ่ม^^
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: ตุลาคม 30, 2010, 07:03:37 am »

แพทย์แนะหลักฟื้นสภาพจิตหลังน้ำลด (สสส.)
โดย สุนันทา สุขสุมิตร

เครียดต่อเนื่อง 2 สัปดาห์เสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้า

หลัง ผ่านวิกฤติน้ำเหนือไหล่บ่า น้ำทะเลหนุนสูง ส่งผลกระทบต่อน้ำท่วมในหลายพื้นที่ของประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลางก็ไม่เว้น เห็นทีจะเป็นเหมือนอีกหนึ่งวิกฤติที่คนไทยจะต้องพบเจอร่วมกันอีกครั้ง

เมื่อน้ำมาที ข้าวของเครื่องใช้ ยานพาหนะที่ต้องหามาด้วยหยาดเหงื่อแรงงาน ต้องสูญหายไปกับสายน้ำในทันควันไม่ทันตั้งตัว เป็นการสูญเสียที่ไม่มีใครคาดคิดหรือเตรียมตัวได้ทัน เมื่อเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นมาครั้งหนึ่ง ก็สร้างความเศร้าโศกให้กับผู้ประสบภัยไม่น้อย ไหนจะเสียบ้าน บางคนก็ต้องเสียของรัก ของสะสมที่หายาก อุปกรณ์เครื่องมือ ที่ซื้อหามาด้วยเงินทองที่บางคนอาจต้องหาเงินเป็นปีกว่าจะซื้อมาได้ เรื่องแบบนี้บางทีอาจรับได้ยากเกินในทันที เพราะเป็นเรื่องที่ไม่ได้เตรียมใจไว้ตั้งรับ

นายแพทย์ประเวช ตันติพิวัฒนสกุล นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ กรมสุขภาพจิต และผู้จัดการแผนงานสร้างเสริมสุขภาพจิต สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) บอก ว่า เหตุการณ์น้ำท่วมอย่างรุนแรงและเป็นบริเวณกว้างนั้น ก่อให้เกิดความเสียหายในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเสียชีวิต เสียทรัพย์สิน ไร่นาเสียหาย สูญเสียแหล่งรายได้ ขาดแหล่งอาหาร เจ็บป่วยและเสี่ยงต่อโรคภัยไข้เจ็บ ถนนหนทางการเดินทางและการติดต่อสื่อสารต่าง ๆ ขัดข้อง ซึ่งความเสียหายเหล่านี้จะยังคงอยู่ และอาจปรากฎผลชัดเจนขึ้น แม้เมื่อน้ำลดลงแล้ว

สิ่ง เหล่านี้ล้วนแล้วแต่กระทบต่อจิตใจก่อให้เกิดความเครียดได้มาก โดยแต่ละคนจะมีวิธีจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นแตกต่างกัน และปัญหาจิตใจของแต่ละคนก็อาจแตกต่างกัน ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาจิตใจได้มาก ได้แก่

ผู้ที่สูญเสียมาก เช่น ญาติเสียชีวิต สูญเสียไร่นา แหล่งรายได้

มีแหล่งช่วยเหลือน้อย เช่น เครือญาติและชุมชนรอบข้างที่พร้อมให้ความช่วยเหลือมีจำกัด

มีปัญหาอื่น ๆ อยู่เดิม เช่น มีโรคประจำตัว พิการ ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ เจ็บป่วยทางจิตอยู่เดิม

อยู่ในชุมชนที่ขาดระบบการจัดการ เพื่อช่วยเหลือกันเอง

ปัญหา ทางจิตใจที่อาจเกิดขึ้นได้ จะเกี่ยวข้องกับความรู้สึกสูญเสีย และปัญหาที่เกิดจากสภาพวิถีชีวิตที่ไม่เหมือนเดิม ก่อให้เกิดความกังวลใจ เศร้าโศกเสียใจ ท้อแท้ เบื่อหน่าย สับสน และมีอาการทางกายของความเครียด เช่น ปวดหัว ปวดท้อง นอนไม่หลับ บางรายอาจพบกับเหตุการณ์ตื่นตกใจ และเกิดอาการผวา หากความเครียดเป็นอยู่นาน ก็จะกระทบต่อสภาพร่างกาย ก่อให้เกิดความเจ็บป่วยได้ง่าย ผู้ที่มีโรคประจำตัว ก็อาจมีการกำเริบของโรคขึ้นได้

"ผู้ ที่เครียดมาก ๆ แล้วขาดแหล่งช่วยเหลือ อาจเก็บตัว ไม่พูดคุย ท่าทางเคร่งเครียด ท้อแท้ เศร้าหมอง และในบางราย อาจรู้สึกสิ้นหวัง จนถึงกับคิดฆ่าตัวตาย ภาวะซึมเศร้าที่เป็นมากจนความสามารถในการดำเนินชีวิตให้เป็นปกติเสียไป เช่น กินไม่ได้ นอนไม่หลับ ไม่มีพลังในการทำกิจวัตรประจำวัน และเป็นนานต่อเนื่องเกินกว่าสองสัปดาห์ขึ้นไป อาจป่วยเป็นโรคซึมเศร้า ซึ่งเป็นโรคทางจิตเวชอย่างหนึ่งที่สามารถรักษาให้หายได้ หากพบว่า ตนมีความเครียดหรืออารมณ์เศร้าต่อเนื่อง และรบกวนการดำเนินชีวิต ก็ควรได้รับการดูแลทางสุขภาพจิตจากสถานบริการใกล้บ้าน" นายแพทย์ประเวชกล่าว

คุณ หมอประเวช ยังได้แนะนำเรื่องของการฟื้นฟูสภาพจิตใจที่สำคัญ คือ การใช้พลังชุมชน ช่วยเยียวยาให้ผู้ได้รับผลกระทบไม่รู้สึกว่า ตนเป็นเหยื่อของเหตุการณ์ แต่ให้เขาได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาร่วมกันในชุมชน ซึ่งจะช่วยให้เขารู้สึกว่า ชีวิตเขา เขาจัดการแก้ไขได้ ด้วยความร่วมแรงร่วมใจกับคนในละแวกบ้านเดียวกัน ในชุมชนเดียวกัน , ช่วยให้กลับสู่การดำเนินชีวิตอย่างเป็นปกติอย่างเร็วที่สุด ให้ได้มากที่สุด หรือจะเป็นการช่วยค้นหาผู้มีความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหา เช่น ผู้มีเหตุสูญเสียรุนแรง ผู้มีแหล่งช่วยเหลือจำกัด ผู้มีปัญหาอื่น ๆ อยู่เดิม และในพื้นที่ที่ชุมชนยังอ่อนแอ และเร่งให้ความช่วยเหลือ เพื่อนำวิถีการดำเนินชีวิตกลับสู่ภาวะปกติให้เร็วที่สุด หากพบปัญหาเจ็บป่วยทางกายหรือใจ ก็ให้การดูแลช่วยเหลือ



ส่วนการดูแลสุขภาพร่างกายและจิตใจตนเองและคนใกล้ตัว ก็สามารถใช้หลักพื้นฐานของการสร้างเสริมสุขภาพ ได้แก่ รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เลี่ยงสารเสพติด นอนหลับให้เพียงพอ ออกกำลังกายด้วยวิธีง่าย ๆ เท่าที่สภาพสิ่งแวดล้อมจะเอื้อ พูดคุยกับคนใกล้ตัว ไม่เก็บปัญหาไว้กับตนเอง ปฏิบัติตามหลักคำสอนทางศาสนาของตน เช่น สวดมนต์ ไหว้พระ ทำสมาธิ มองโลกแง่ดี มีความหวัง และที่สำคัญกลไกของราชการที่เข้าช่วยเหลือ ต้องเน้นที่การช่วยเหลือฟื้นฟูชุมชน ให้ชุมชนได้เป็นเจ้าของการแก้ปัญหา แทนการช่วยเหลือแบบสงเคราะห์แต่เพียงอย่างเดียว

ส่วน คนที่ไม่รู้จะหันหน้าไปปรึกษาทางไหนดี คุณหมอประเวชแนะนำว่า ให้ปรึกษาได้ที่หน่วยบริการสาธารณสุขใกล้บ้านทุกแห่ง เพราะมีขีดความสามารถในการดูแลปัญหาสุขภาพจิตอยู่แล้ว และหากบุคลากรสาธารณสุขพบว่า ปัญหามีความซับซ้อนเกินความสามารถ ก็จะส่งต่อให้กับหน่วยงานที่เหมาะสมต่อไป หรือหากต้องการใช้ระบบโทรศัพท์ในการปรึกษาปัญหา ก็สามารถใช้โทรสายด่วนสุขภาพจิต หมายเลข 1323 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

นอก จากนี้ทางกระทรวงสาธารณสุขก็มีการเปิดสายด่วนเพิ่มอีก 10 คู่สาย ที่หมายเลข 0-2590-1994 เพื่อรับประสานความช่วยเหลือผู้ประสบภัย ตลอด 24 ชั่วโมง หรือสายด่วน 1300 ศูนย์ประชาบดี นอกเหนือจากสายด่วน 1669 ของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน

สำหรับพื้นที่ประสบภัยที่อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ปรึกษาที่โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ อำเภอ ปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา อยู่ในความรับผิดชอบของโรงพยาบาลจิตเวชเลยราชนครินทร์ และโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ จังหวัดอุบลราชธานี ส่วนที่จังหวัดลพบุรี ขณะนี้โรงพยาบาลศรีธัญญา ลงพื้นที่ไปให้ความช่วยเหลือแล้ว ซึ่งหากมีผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง แต่ละหน่วยจะแจ้งรายละเอียดมายังศูนย์ปฏิบัติการ หรือวอร์รูมที่กรมสุขภาพจิต เพื่อปรับแผนให้ความช่วยเหลือโดยด่วน

วันนี้ ภัยธรรมชาติที่ถาโถมเข้ามาแบบไม่ทันตั้งตั วได้สร้างความเจ็บปวดให้กับผู้ประสบภัยจำนวนมาก แต่น้ำใจของคนไทยที่หยิบยื่นความช่วยเหลือที่พอจะช่วยได้ตามแต่อัตภาพ คือ แรงสำคัญที่จะช่วยผลักดันให้ผู้คนเหล่านั้นเกิดกำลังใจที่ดี ขอแค่คนไทยทุกคนรักและสามัคคีกัน และร่วมสร้างกำลังใจที่ดีไปถึงผู้ประสบภัย ก็คงเป็นอีกหนึ่งทางออกที่จะช่วยสร้างแรงใจให้พวกเขาเหล่านั้นลุกขึ้นสู้ต่อ

แพทย์แนะหลักฟื้นสภาพจิตหลังน้ำลด | ThaiHealth.or.th
http://www.thaihealth.or.th/node/17752

การดูแลสุขภาพ แนะหลักฟื้นฟู สุขภาพจิต หลัง น้ำท่วม
http://health.kapook.com/view18269.html