ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: ตุลาคม 30, 2010, 08:20:28 pm »

 :13: อนุโมทนาครับพี่แป้ง ^^
ข้อความโดย: Siranya
« เมื่อ: ตุลาคม 30, 2010, 01:30:26 pm »

สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ..... :07: :07: :13: :13:
ข้อความโดย: sasita
« เมื่อ: กันยายน 28, 2010, 09:45:54 am »


จิตที่มีสุขภาพดีย่อมส่งผลให้กายมีสุขภาพดีตามไปด้วย ผู้ที่ฉุนเฉียว โกรธง่าย มีโอกาสเสียชีวิตเพราะโรคหัวใจมากกว่าคนทั่วไปถึงร้อยละ 29 ยิ่งคนที่มีความวิตกกังวลด้วยแล้ว จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจมากกว่าคนทั่วไปถึง 4 เท่า ความวิตกกังวล ความเครียด ความซึมเศร้า และความฉุนเฉียวนั้น เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่จะทำให้เกิดโรคและปัญหาสุขภาพตามมาไม่ว่าจะเป็น ปัญหาสุขภาพกายหรือปัญหาสุขภาพจิต


สำหรับคนไทยแล้วปัญหาสุขภาพจิตที่กำลังคุกคามคนไทยในปัจจุบันพบว่า อันดับแรก คือ ความเครียด รองลงมา คือ ซึมเศร้า ซึ่งสาเหตุของปัญหามักจะเกี่ยวข้องกับการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก สูญเสียทรัพย์สิน หรือแม้แต่เสียหน้า ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาที่ส่งผลต่อความรู้สึกว่าสูญเสียเช่นกัน


เมื่อมีปัญหาสุขภาพจิต จึงมีผู้ป่วยหลายรายที่เลือกหันหน้าเข้าหาสิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจ ด้วยการยึดหลักคำสอนทางศาสนา เพื่อช่วยทำให้จิตใจเกิดความเข้มแข็งสามารถยอมรับความจริงที่เกิดขึ้นใน ต่อมาแวดวงจิตแพทย์จึงได้เริ่มนำหลักพุทธธรรมมาใช้ในการบำบัดจิตใจให้กับผู้ที่กำลังเผชิญปัญหาสุขภาพจิต หรือที่เรียกว่า "ธรรมะบำบัด"


เรื่องนี้ นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต บอกว่า การนำธรรมะมาประยุกต์ใช้ในการบำบัดผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิต ทั่วโลกจะเน้นเรื่องการปรับอารมณ์ ความคิดเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ช่วยทำให้ผู้ป่วยมีความสุขมากขึ้น ในปัจจุบันจิตแพทย์หลายๆ ท่านก็ได้ประยุกต์ใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาบำบัดผู้ป่วยทางจิตควบคู่ไป กับแนวทางการรักษาตามหลักจิตเวชศาสตร์ โดยมองว่าพระพุทธเจ้าเป็นนักจิตวิทยาที่ยิ่งใหญ่ของโลก เนื่องจากแนวทางจิตบำบัดจะเน้นในเรื่องการปรับความคิด ซึ่งสอดคล้องกับหลักพระพุทธศาสนาที่เน้นในเรื่องการปรับความคิด เรื่องสติปัญญา และเรื่องฝึกจิตสมาธิเช่นกัน


อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อจำกัดอยู่ที่การเลือกผู้ป่วยซึ่งจะต้องอยู่ในกลุ่มของคนที่มีความ พร้อม เช่น เป็นผู้ที่ได้รับการบำบัดรักษาแล้วอาการดีขึ้นในระดับหนึ่ง ไม่มีอาการหลงผิดมีการรับรู้เรื่องราวของตัวเอง เป็นคนที่มีความคิดวิเคราะห์ที่จะประมวลเรื่องราวต่างๆ เพื่อนำมาสู่การพัฒนาตัวเอง ควรเป็นผู้ป่วยที่มีความสนใจในเรื่องธรรมะ มีความเต็มใจหรือสมัครใจที่จะรับการรักษาด้วยวิธีดังกล่าว หากไม่เต็มใจหรือเป็นคนที่จิตใจฟุ้งซ่านไม่ยอมรับรู้เรื่องราวต่างๆ ก็ยากที่จะใช้ธรรมะบำบัดได้


สำหรับ "ธรรมะบำบัด" ในพระพุทธศาสนา นั้นมีหลักอยู่ 3 ประการคือ ทำความดี ละความชั่ว ทำจิตใจให้ปลอดโปร่งและสงบ


หลักธรรมทั้ง 3 ประการเป็นวิธีคิดง่ายๆ ที่เป็นเหตุเป็นผลกันเมื่อเราทำความดีคุณค่าในตัวเราก็สูงขึ้น เราจะมีความรู้สึกภาคภูมิใจ ความยอมรับนับถือในตัวเองก็จะเพิ่มมากขึ้น การละความชั่วจะทำให้คนอื่นรักและนับถือเรามากขึ้นด้วย คนที่มีคุณค่าในตัวเองนับถือตัวเองจะเป็นคนที่มีสุขภาพจิตดี เมื่อเรารักตัวเองเป็นแล้วก็ต้องรู้จักรักคนอื่นด้วยซึ่งหลักธรรมในทุกๆ ศาสนาสามารถนำมาใช้ในการป้องกันปัญหาสุขภาพจิตได้โดยเฉพาะหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ถ้าเราได้ฝึกปฏิบัติธรรมให้รู้จักปล่อยวาง จะช่วยทำให้จิตใจดีขึ้นเราก็จะพ้นจากความทุกข์มีความสุขมากขึ้น


ถ้าเป็นศาสนาคริสต์ธรรมะบำบัดก็จะเป็นเรื่องของการไถ่บาป การให้อภัย หรือแม้แต่ศาสนาอิสลามเมื่อเราเกิดความทุกข์ทางใจหรือเกิดความยุ่งยากใน ชีวิต ธรรมะบำบัดก็จะเป็นในเรื่องความเชื่อในพระเจ้า ซึ่งมีความเชื่อว่าจะต้องก้าวผ่านด่านทดสอบให้ได้ ความเชื่อและความศรัทธาตามหลักศาสนาทุกๆ ศาสนา สามารถใช้เป็นหลักคิดให้เราเชื่อและนำไปปฏิบัติตาม ซึ่งก็จะช่วยให้สามารถป้องกันปัญหาสุขภาพจิตได้


สำหรับการนำหลักศาสนามาประยุกต์ใช้กับปัญหาสุขภาพจิตนั้นสามารถทำได้ 2 ทาง ทางแรกนำมาเป็นแนวทางฝึกคิดฝึกปฏิบัติเพื่อที่จะไม่ให้เรายึดติด เช่น อาการซึมเศร้า ที่เกิดจากเราสูญเสียอะไรบางอย่างในชีวิตแสดงว่าเรายึดติดถ้าเราฝึกคิดอย่าง เป็นระบบมีเหตุผลเราก็จะสามารถปล่อยวางและเป็นสุขขึ้นได้ แต่ถ้าเราทุกข์ใจมากๆ ทางเลือกอีกทางหนึ่งที่จะช่วยได้ก็คือการไปพบทีมสุขภาพจิต จิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาจะช่วยเป็นกระจกสะท้อนปัญหาให้เราได้


ธรรมะบำบัดยังสามารถใช้ได้ดีกับผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น อัมพฤกษ์ อัมพาต เบาหวาน มะเร็ง หรือแม้กระทั่งเอดส์ เนื่องจากผู้ป่วยจะมีความทุกข์ใจเกี่ยวกับปัญหาของการเจ็บป่วยของตัวเองอยู่แล้ว กรณีเช่นนี้ ธรรมะบำบัดจะช่วยให้ผู้ป่วยได้เรียนรู้ความจริงของชีวิต เรียนรู้ที่จะอยู่กับความทุกข์จากการเจ็บป่วยได้อย่างมีความสุข เรียนรู้ที่จะทำสมาธิหรือสติบำบัด ผู้ป่วยโรคทางกายต้องทำให้ใจไม่ป่วยไปตามกาย เมื่อมีจิตใจที่เข้มแข็งร่างกายก็จะไม่ทรุด ซึ่งในปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขได้มีโครงการที่จะทำเรื่องสมาธิหรือจิตบำบัดรักษาผู้ป่วยโรคทางกายด้วย


อย่าปล่อยให้กายป่วยไปพร้อมๆ กับใจป่วยลองบำบัดด้วย “ธรรมะ” หลักใจใกล้ตัวที่ใครๆ ก็ทำได้.


ที่มา http://www.dmh.go.th