ตอบ

ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: พฤศจิกายน 01, 2010, 06:54:21 pm »

 :13: อนุโมทนาครับพี่เล็ก^^
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤศจิกายน 01, 2010, 08:10:03 am »

 
 
 
 :13:    :45: :45: :45:
ข้อความโดย: lek
« เมื่อ: พฤศจิกายน 01, 2010, 04:54:21 am »

กิเลสทั้งหลายของมนุษย์เรานี้
เ กิ ด จ า ก จิ ต แ ต่ ผู้ เ ดี ย ว
พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ (เทสก์ เทสรังสี)
วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย

นักปฏิบัติทั้งหลาย ไม่ว่าจะเรียนมาก หรือน้อย
หรือเรียนเฉพาะกรรมฐานที่ตนจะต้องพิจารณาก็ตาม

เมื่อลงมือปฏิบัติแล้วจะต้องทอดทิ้งสิ่งทั้งปวงหมด
เพ่งพิจารณาแต่เฉพาะกรรมฐานที่ตนพิจารณาอยู่นั้นเฉพาะอย่างเดียว
จึงจะรวมลงเป็นเอกัคคตารมณ์ได้
จะเรียนมาก หรือเรียนเอาแต่เฉพาะกรรมฐานที่ตนพิจารณาอยู่นั้นก็ตาม
ก็เพื่อทำจิตให้เป็นสมาธิ เอกัคคตารมณ์อันเดียว

ดังท่านที่เจริญวิปัสสนา
ถึงแม้จิตจะแส่ส่ายตามสภาพวิสัยของมันซึ่งบุคคลยังมีชีวิตอยู่
แต่ก็รู้เท่าทันเห็นตามพระไตรลักษณ์ไม่หลงใหลตามมัน

อารมณ์ที่พบผ่านมาไม่ว่าจะเป็นตา หู จมูก ลิ้น กายแลใจก็ตาม
ล้วนแล้วแต่เป็นอุปสรรคของการทำฌาน สมาธิ ทั้งนั้น
ตกลงว่า อายตนะที่เราได้มาในตัวของเรานี้
เป็นภัยแก่การทำฌาน -สมาธิ ของเราทั้งนั้น

ผู้พิจารณาเห็นโทษดังนี้ ย่อมเบื่อหน่ายในอารมณ์นั้นๆ
เห็นจิตที่สงบจากอารมณ์นั้นแล้ว
จิตจะรวมเข้าเป็นเอกัคคตารมณ์สงบนิ่งเฉยอยู่ คนเดียว

เมื่อจิตถอนออกมาแล้ว ก็จะวิ่งตามวิสัยของมันอีก
แล้วเห็นโทษของมัน สละถอนออกจากอารมณ์นั้นอีก
ทำจิตให้เข้าสู่เอกัคคตารมณ์อีก ทำอย่างนี้จนจิตคล่องแคล่วชำนิชำนาญ
จนเห็นว่าอารมณ์ทั้งปวงสักแต่ว่าอารมณ์เกิดขึ้นมา
แล้วก็ดับไปตามสภาพของมัน

จิตก็อยู่พอจิตต่างหาก
จิตไม่ใช่อารมณ์ อารมณ์ไม่ใช่จิต
แต่อาศัยจิตเข้าไปยึดเอา อารมณ์จึงเกิด

เมื่อขาดตอนกันอย่างนี้ จิตก็จะอยู่วิเวกคนเดียว
กลายเป็นใจ ขึ้นมาทันที

ความรู้ในทางพระพุทธศาสนา
ถ้าพูดว่าลึกแลกว้างก็ลึกแลกว้าง
เพราะผู้นั้นทำตนไม่ให้เข้าถึงใจ

เมื่อจะพูดก็พูดแค่อาการของใจ (คือจิต) จิต
คิดนึกปรุงแต่งอย่างไร ก็พูดไปตามอาการอย่างนั้น
แต่จับตัว ใจ (คือผู้เป็นกลางนิ่งเฉย) ไม่ได้

อุปมาเหมือนกับคนตามรอยโค ตามไปเถิด ตามไปวันค่ำคืนรุ่ง
เมื่อยังไม่เห็นตัวของมันแลจับตัวมันยังไม่ได้ ก็ตามอยู่นั้นแหละ
ถ้าตามไปถึงตัวมันแลจับตัวมันได้แล้ว ไม่ต้องไปแกะรอยมันอีก

ธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าก็เช่นเดียวกัน
ที่ว่าลึกซึ้งแลกว้างขวางนั้น

เพราะเราไม่ทำ จิต ให้เข้าถึง ใจ
ตามแต่อาการของใจ (คือจิต) จึงไม่มีที่สิ้นสุดได้

ดังท่านแสดงไว้ในอภิธรรมว่าจิตเป็นกามาพจร
จิตเป็นรูปาพจร จิตเป็นอรูปาพจร แลจิตเป็นโลกุตร
มีเท่านั้นดวง เท่านี้ดวง

ท่านจำแนกแจกอาการของจิตไว้เป็นอเนกประการ
เพื่อให้รู้แลเข้าใจว่า อาการของจิตมันเป็นอาการอย่างนั้นๆ
เพื่อให้ผู้ปฏิบัติไม่หลงตามอาการของมันต่างหาก

แต่ผู้ท่องบ่นจดจำได้แล้ว เลยไปติดอยู่เพียงแค่นั้น
จึงไม่เข้าถึงตัว ใจสักที มันก็เลยเป็นของลึกซึ้งแลกว้างขวาง
เรียนเท่าไรก็ไม่รู้จักจบจักสิ้นสักที

ดูเหมือนพระพุทธเจ้าจะสอนพวกเราว่า

"เราได้เคยตามรอยโคมาแล้วนับเป็นอเนกชาติ
ถึงแม้ในชาติปัจจุบันเราได้เกิดมาเป็นสิทธัตถะ
เราก็ตามอยู่ถึง ๖ ปี จึงได้พบตัวโค (คือใจ)"

ถ้าจะพูดว่าแคบก็แคบ

แคบในที่นี้มิได้หมายความว่าที่มันไม่มี แลของมันไม่มี
ของกว้างๆ นั้นแหละ จับแต่หัวใจของมัน
หรือข้อสำคัญของมัน จึงเรียกว่าแคบ

เช่น จิตของคนเรา
มันคือวุ่นวายไปตามอารมณ์ของตน แลของตัวเราเอง
ไม่รู้จักหยุดจักยั้งสักทีเรียกว่ากว้าง

ผู้มาเห็นโทษของจิตว่าวุ่นวายส่งส่าย
มันเป็นทุกข์แล้วมาพิจารณาเรื่องอารมณ์มันเป็นอีกเรื่องหนึ่ง
เรื่องของจิตผู้คิดนึกไปตามอารมณ์มันเป็นอีกเรื่องหนึ่ง

แล้วเรามาแยกออกจากกันเสีย

เอาอารมณ์ออกไปไว้ส่วนหนึ่ง เอาจิตออกไปไว้ส่วนหนึ่ง
จิตก็จะอยู่คนเดียว แล้วมาเป็นใจ อารมณ์ก็หายสูญไปโดยไม่รู้ตัว

คราวนี้จะเห็นได้ชัดเลยทีเดียวว่า

สรรพกิเลสทั้งปวงและโทษทุกข์ทั้งหลาย
ที่มนุษย์คนเราได้พากันเสวยอยู่นี้
ล้วนแต่จิตผู้เดียวเป็นผู้หามาใส่

ถ้าจิตไม่ไปหามาใส่แล้ว
จิตก็จะกลายเป็นใจไม่มีอะไรเกี่ยวข้อง
อยู่เป็นสุขโดยส่วนเดียว

เหมือนต้นกล้วยไม่มีแก่น
แกะกาบไปๆ ผลที่สุดเลยหาแก่นไม่ได้
มีแต่กาบอย่างเดียว

ผู้ภาวนาทั้งหลายล้วนแต่แกะกาบหาแก่นแท้ของธรรมทั้งนั้น
ผู้หาแก่นของธรรมแต่แกะกาบไม่หมดจึงไม่เห็นธรรม....

   (คัดลอกบางตอนมาจาก : "สิ้นโลก เหลือธรรม"
แสดงธรรม โดย พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาจารย์ (เทสก์ เทสรังสี)
วัดหินหมากเป้ง อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย, หน้า ๕๕-๕๘)

ขอบพระคุณที่มาhttp://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?t=35246