ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: พฤศจิกายน 01, 2010, 08:59:26 pm »

 :13: อนุโมทนาสาธุครับพี่แป๋ม^^
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤศจิกายน 01, 2010, 07:23:38 pm »

เมื่อสติปัญญาเพิ่มขึ้น มันจะรู้ เห็นและเข้าใจโทสะ โมหะ โลภะ
เมื่อเรารู้มัน ทุกข์ในจิตใจจะลดลง
คนส่วนใหญ่เข้าใจผิดและคิดว่า โทสะ โลภะและโมหะ เป็นสิ่งปกติ
แต่ผู้รู้กล่าวว่า โทสะ โมหะ โลภะ เป็นทุกข์ เป็นของน่าเกลียดสกปรก

ดังนั้นเขาจะไม่ให้สิ่งนั้นมาเข้าใกล้นี้เรียกว่า การรู้ชีวิตจิตใจของตนเองซึ่งมีความสะอาด สว่างและสงบ
เมื่อเรารู้จุดนี้ มันจะเกิดศักยภาพอันยิ่งใหญ่เหมือนดังลำธารสายเล็กๆ ไหลลงกลายเป็น แม่น้ำใหญ่     

ดังนั้น วิธีของการปฏิบัติคือ มีความรู้สึกตัวมากขึ้นๆ รู้อิริยาบถของร่างกาย
และการเคลื่อนไหวเล็กๆ เช่น กะพริบตา เหลียวซ้ายแลขวาหายใจเข้าและหายใจออก
การเคลื่อนไหวทั้งหมดเหล่านี้สามารถเห็นได้ด้วยตา แต่เราไม่อาจเห็นความคิดด้วยตาได้


เราเพียงสามารถรู้และเห็น ด้วยสมาธิ สติปัญญา สมาธิที่ข้าพเจ้ากำลังพูดถึงอยู่นี้
มิใช่การนั่งหลับตา สมาธิ หมายถึงการตั้งจิตใจเพื่อให้รู้สึกถึงตัวของเราเอง
เมื่อเรามีความรู้สึกตัว อย่างต่อเนื่องนี้ เรียกว่า สมาธิ หรืออาจเรียกว่า สติ

เมื่อจิตใจคิดเราจะรู้ความคิดทันที และความคิดจะสั้นเข้าๆ เหมือนดังบวกกับลบ
ถ้าหากจะพูดก็มีเรื่องจะต้องพูดอีกมาก
แต่ข้าพเจ้าประสงค์ให้พวกเธอทั้งหมดปฏิบัติการเคลื่อนไหว ปฏิบัติด้วยตัวของเธอเอง
โดยวิธีของการเคลื่อนไหว ผลจะเกิดขึ้นด้วยตัวของมันเอง     

     การแสวงหาพระพุทธเจ้าก็ตาม     
     แสวงหาพระอรหันต์ก็ตาม     
     แสวงหามรรคผลนิพพานก็ตาม     
     อย่าไปแสวงหาที่ๆ มันไม่มี
     
     แสวงหาตัวเรานี้     
     ให้เราทำความรู้สึก ตื่นตัว อยู่เสมอ นี่แหละจะรู้จะเห็น


ข้อความทั้งหมดนี้ได้คัดลอกจากหนังสือ “แด่เธอผู้รู้สึกตัว”
ของหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ (พันธ์ อินทผิว)
หน้าที่ ๙๓-๑๑๓ และประวัติของท่าน
พร้อมรายชื่อวัดในสายงานของหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ

โดยได้รับอนุญาตจากพระภิกษุฉัตรชัย จันทรสโร
รองประธานมูลนิธิฝ่ายบรรพชิต
ตามหนังสือมูลนิธิ, ลงวันที่ ๒พฤษภาคม ๒๕๔๗ ที่แนบ


http://thai.mindcyber.com/buddha/why2/1129.php
อกาลิโก โฮม บ้านที่แท้จริง agaligo home
สุขใจดอทคอม

อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ...
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤศจิกายน 01, 2010, 07:15:26 pm »

มีการปฏิบัติกรรมฐานต่างๆ อยู่หลายวิธี ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติวิธีต่างๆมาเป็นอันมาก แต่วิธีเหล่านั้นไม่นำไปสู่ปัญญา

บัดนี้วิธีที่เรากำลังปฏิบัติอยู่นี้คือวิธีที่นำไปสู่ปัญญาโดยตรง ทุกคนสามารถปฏิบัติได้ถ้าเขารู้วิธีการอย่างถูกต้อง เมื่อปัญญาเกิดขั้นเขาจะรู้ เห็น และเข้าใจด้วยตัวของเขาเอง ดังนั้นวิธีของการพลิกมือขึ้นและลงนี้ คือวิธีสร้างสติ เจริญปัญญา

เมื่อมีการปฏิบัติอย่างทั่วถึงโดยตลอดแล้ว มันก็จะสมบูรณ์และเป็นไปเอง     

ทุกคนสามารถปฏิบัติได้โดยไม่ยกเว้น ไม่ว่าเขาจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ไม่ว่าเขาจะทำงานอะไร ไม่ว่าเขาจะนับถือศาสนาไหน เขาสามารถปฏิบัติได้ทุกคนมีร่างกายและจิตใจ ร่างกายคือวัตถุที่เราสามารถเห็นได้ด้วยตา เราอาจเรียกมันว่ารูป แต่จิตใจเราไม่สามารถเห็นได้ด้วยตา เราไม่สามารถสัมผัสด้วยมือเราอาจเรียกมันว่า นาม ทั้งสองสิ่งนี้เป็นสิ่งเดียวกัน     

เมื่อเราสร้างสติ เจริญสติ ปัญญาจะเกิดขึ้นและรู้ด้วยตัวของมันเองเพียงแต่ให้สิ่งที่มีอยู่แล้วได้เติบโตงอกงามขึ้น สิ่งที่ไม่เป็นจริงเราไม่ต้องทำมันขึ้นมา เมื่อเรารู้รูป-นาม เรารู้ทุกสิ่งและเราสามารถแก้ทุกข์ได้จริงๆ

ยกตัวอย่างเช่น เราจะไม่ยึดติดใจสมมุติ เมื่อรู้สิ่งนั้นแล้ว เราปฏิบัติความรู้สึกตัวให้มากขึ้นเคลื่อนไหวมือดังที่ข้าพเจ้าแนะนำเธอ บัดนี้ทำให้เร็วขึ้น ความคิดเป็นสิ่งที่เร็วที่สุด มันเร็วยิ่งกว่ากระแสไฟฟ้า

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤศจิกายน 01, 2010, 06:41:24 pm »

   ดังนั้น ศีล (ความเป็นปกติ) เป็นเครื่องกำจัดกิเลสอย่างหยาบ
   กิเลสอย่างหยาบ คือ โทสะ โมหะ โลภะ ตัณหา อุปาทาน กรรม เมื่อสิ่งเหล่านี้จืดลง
   จางลง และคลายลง ศีลจึงปรากฏ     
   สมาธิ เป็นเครื่องกำจัดกิเลสอย่างกลาง กิเลสอย่างกลาง คือ ความสงบ     

   เห็น รู้ และเข้าใจ กามาสวะ (อาสวะ คือ “ความใคร่ ความอยาก”)
   ภวาสวะ (อาสวะ คือ “ความเป็น”) และ
   อวิชชาสวะ (“อาสวะคือ การไม่รู้”) เพราะกิเลสนี้เป็นกิเลสอย่างกลางซึ่งทำให้จิตใจสงบ     

   นี้คืออารมณ์หนึ่งของการเจริญสติวิธีนี้ เมื่อเรารู้และเห็นอย่างนี้ เราจะรู้ ทาน (“การ-ให้”)
   การรักษาศีลและกระทำกรรมฐาน (“การภาวนา”)ทุกแง่ทุกมุมแล้ว
   ญาณปัญญา จะเกิดขึ้นในจิตใจ ฯลฯ           

จบอารมณ์ของการเจริญสติวิธีนี้ มันจะเป็นอย่างมหัศจรรย์และยิ่งใหญ่ที่สุด ซึ่งมีอยู่ในจิตใจของคนทุกคนไม่ยกเว้น ถ้าเรายังคงไม่รู้เดี๋ยวนี้ เมื่อใกล้จะหมดลมหายใจ เราต้องรู้อย่างแน่นอนที่สุด ผู้ที่เจริญสติ เจริญปัญญามีญาณจะรู้ ส่วนผู้ที่ไม่เคยเจริญสติ เจริญปัญญา เมื่อใกล้จะหมดลมหายใจมันจะเป็นอย่างเดียวกัน แต่เขาไม่รู้ เพราะว่าเขาไม่มีญาณรู้อย่างแจ่มแจ้ง และเห็นอย่างแท้จริง มิใช่เป็นเพียงการจำหรือการรู้จัก รู้ด้วยญาณปัญญาของการเจริญสติที่แท้ สามารถรับรองตัวเองได้

กล่าวกันว่าเมื่อถึงที่สุดแล้ว ญาณย่อมเกิดขึ้น ให้ระมัดระวังความผิดปกติที่อาจจะเกิดขึ้น
ให้รู้สึกตัวของเธอเองอย่าได้ยึดติดในความสุขหรือสิ่งใดๆ ที่เกิดขึ้น
ความสุขก็ไม่เอา ความทุกข์ก็ไม่เอา เพียงกลับมาทบทวนอารมณ์บ่อยๆ จากรูป-นาม จนจบทีละขั้นๆและรู้ว่าอารมณ์มีขั้นมีตอน     

แน่นอนทีเดียว ถ้าเธอเจริญสติอย่างถูกต้อง การปฏิบัติอย่างนานที่สุดไม่เกิน ๓ ปี อย่างกลาง ๑ ปี
และอย่างเร็วที่สุด ๑ วัน ถึง ๙๐วัน เราไม่จำต้องพูดถึงผลของการปฏิบัตินี้ ความทุกข์ไม่มีจริงๆ
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤศจิกายน 01, 2010, 06:22:36 pm »

แล้วให้เราเห็น เวทนา-สัญญา-สังขาร-วิญญาณ (การรู้สึก-การจำได้-การปรุงแต่ง-การรับรู้)
เห็นมัน รู้มัน และสัมผัสมัน เข้าใจสิ่งนี้จริงๆเราไม่ต้องสงสัย     

บัดนี้ จะเกิด ปีติ (ความยินดี) ขึ้นเล็กน้อย แต่ปีติเป็นอุปสรรคของการปฏิบัติในชั้นสูง เราไม่ต้องสนใจกับปีตินั้น
เราต้องมาดูความคิด นี้คือจุดเริ่มต้นของอารมณ์ปรมัตถ์ของการเจริญสติแบบนี้ของผู้มีปัญญา     

ดูความคิดต่อไป จะเกิดความรู้หรือ ญาณ หรือ ญาณปัญญา(ความรู้ของการรู้) ขึ้น       
เห็น รู้ และเข้าใจ กิเลส (ยางเหนียว) ตัณหา (ติด, หนัก)
อุปาทาน (ไปยึดไปถือ)
และ กรรม (การกระทำหรือการเสวยผล) ดังนั้นความยึดมั่นถือมั่นจะจืดลง จะหลุดตัวออก จะจางหายไป
เหมือนดังสีที่คุณภาพเสื่อมไปแล้ว ไม่สามารถจะย้อมติดผ้าได้อีก

จะเกิดปีติขึ้นอีก เราต้องไม่สนใจในปีตินั้น ถอนความพอใจและความไม่พอใจออกเสีย     

ดูความคิดต่อไป ดูจิตใจที่กำลังนึกคิดอยู่ จะเกิดญาณชนิดหนึ่งขึ้นเห็น รู้ และเข้าใจ
ศีล ศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ หรือ

   อธิศีลสิกขา (ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกหัด อบรมในทางความประพฤติอย่างสูงๆ”)
   อธิจิตตสิกขา (“ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกหัดอบรมในทางจิตเพื่อให้เกิดสมาธิอย่างสูง”)
   อธิปัญญาสิกขา (“ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกหัดอบรมในทางจิต เพื่อให้เกิดความรู้แจ้งอย่างสูงในทางหลุดพ้นหรือถอนราก”)
   ขันธ์ หมายถึง รองรับหรือต่อสู้สิกขา หมายถึง บดให้ละเอียดหรือถลุงให้หมดไป
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤศจิกายน 01, 2010, 05:43:57 pm »

   ภาค ๒ : อารมณ์ปรมัตถ์   

   ใช้สติดูความคิด เมื่อความคิดเกิด รู้มัน เห็นมัน เข้าใจมัน สัมผัสมัน ทันทีที่ความคิดเกิด ตัดมันทิ้งไปทันที
ทำเหมือนแมวตะครุบหนู หรือเหมือนนักมวยที่ขึ้นเวทีต้องชกทันที เขาไม่จำเป็นต้องไหว้ครู ไม่ว่าแพ้หรือชนะนักมวยต้องชก

เราไม่ต้องคอยใครหรือเหมือนกับการขุดบ่อน้ำ เมื่อเราค้นพบน้ำ เป็นหน้าที่ของเราที่จะต้องตักโคลน ตักเลนออก ตักน้ำออกจนหมดน้ำเก่าเอาออกให้หมด บัดนี้น้ำใหม่จากภายในจะไหลออกมา เราจะต้องกวนที่ปากบ่อ ล้างปากบ่อ ล้างโคลน ล้างเลนออกให้หมด ทำมันบ่อยๆ น้ำจะใสสะอาดโดยตัวของมันเอง

เมื่อน้ำใสสะอาดมีอะไรตกลงไปในบ่อ เราจะรู้เห็นและเข้าใจทันที การตัดความคิดก็เช่นเดียวกัน ยิ่งเราตัดเร็วเท่าไรก็ยิ่งดีเท่านั้น   

   แล้วให้เราเห็น วัตถุ (สิ่งที่มีอยู่)
   เห็น ปรมัตถ์ (สิ่งที่กำลังมีอยู่เป็นอยู่ สัมผัสอยู่)
   
เห็น อาการ (การเปลี่ยนแปลงของสิ่งที่กำลังมีอยู่)

   วัตถุ หมายถึงของที่มีอยู่ในโลก ทุกสิ่งทุกอย่างในตัวคนและจิตใจของคนและสัตว์
   ปรมัตถ์ หมายถึงของที่มีอยู่จริง เรากำลังเห็น กำลังมี กำลังเป็น เดี๋ยวนี้ต่อหน้าต่อตาของเรา สัมผัสอาการได้ด้วยจิตใจ
   อาการ หมายถึงการเปลี่ยนแปลง สมมุติเรามีสีย้อมผ้าอยู่เต็มกระป๋อง เดิมคุณภาพร้อยเปอร์เซ็นต์ ถ้าเรานำมาย้อมผ้ามันจะติดเนื้อผ้าร้อยเปอร์เซ็นต์

เมื่อเรารู้ เราเห็น เราสามารถสัมผัสด้วยจิตใจ สียังเต็มกระป๋องเหมือนเดิม แต่คุณภาพได้เสื่อมไปแล้ว นำมันไปย้อมผ้ามันจะไม่ติดเนื้อผ้า สิ่งที่เราต้องเห็นจริงๆ ต้องรู้จริงๆ     
แล้วเห็น โทสะ โมหะ โลภะ
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤศจิกายน 01, 2010, 05:09:06 pm »



วิธีปฏิบัติในท่านั่งมีดังนี้

ภาค ๑ : อารมณ์สมมุติ 

   ต้องรู้ รูป-นาม (ร่างกาย-จิตใจ) ต้องรู้ รูปทำ-นามทำ

   ต้องรู้รูปโรค-นามโรค : รูป-โรค-นามโรค มีสองชนิด

โรคในทางร่างกาย เช่น ปวดหัว ปวดท้อง หรือมีบาดแผล เราต้องไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล

โรคทางจิตใจ คือ โทสะ โมหะ โลภะ (ความโกรธ, ความหลง, ความโลภ)

   ในการแก้ไขเราต้องใช้วิธีของการเจริญสตินี้     

ต่อไปต้องรู้ ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา (ทนไม่ได้, ไม่เที่ยง, บังคับควบคุมไม่ได้)     

แล้วต้องรู้ สมมุติ (สิ่งที่ยอมรับตกลงกัน) ไม่ว่าสมมุติ อะไรในโลกรู้ให้ถึงที่สุด
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤศจิกายน 01, 2010, 04:48:03 pm »

ดังนั้นการปฏิบัตินี้เราต้องเรียนรู้ด้วยตัวของเราเอง เราต้องสอนตัวเราเอง เราต้องเห็นด้วยตัวของเราเอง เราต้องรู้ด้วยตัวของเราเองเราต้องเข้าใจด้วยตัวของเราเอง เราต้องทำด้วยตัวของเราเอง

ดังนั้นเธอไม่จำเป็นต้องสนใจในบุคคลอื่น เพียงปฏิบัติการเคลื่อนไหวนี้ให้มาก ทำเฉยๆ ไม่รีบร้อน ไม่ลังเลสงสัย ไม่คาดคิดล่วงหน้า และทำโดยไม่คาดหวังผล ให้ง่ายๆ และเพียงแค่เคลื่อนไหว เคลื่อนไหวทีละครั้ง และรู้ เมื่อเธอไม่รู้ ปล่อยมันไป เมื่อเธอรู้ ปล่อยมันไป บางครั้งเธอรู้ บางครั้งเธอไม่รู้ มันเป็นเช่นนั้น แต่ให้รู้

เมื่อร่างกายเคลื่อนไหว รู้มัน เมื่อจิตใจเคลื่อนไหว รู้มัน การปฏิบัตินี้เป็นการปฏิบัติตลอด ๒๔ ชั่วโมง ดังนั้นให้ผ่อนคลายและให้เป็นธรรมชาติ เป็นปกติธรรมดา จงตั้งใจปฏิบัติจริงๆและปฏิบัติอย่างสบายๆ


วิธีของการเจริญสติในชีวิตประจำวัน       เมื่อเราขึ้นรถหรือลงเรือ และนั่งลงเรียบร้อยแล้ว เราพลิกมือขึ้นพลิกมือลง เราเคลื่อนมือ เหยียดมือ หรือคลึงนิ้วมือ กะพริบตา หายใจกลืนน้ำลาย และอื่นๆ

ให้รู้สึกตัวถึงการเคลื่อนไหวเหล่านี้ มันเป็นวิธีที่เรียกความรู้สึกให้กลับมาที่ตัวของเราเอง เมื่อความคิดเกิดขึ้นให้รู้ถึงความคิดนั้นและปล่อยวาง วิธีของการเจริญสติเมื่อเราอยู่บ้าน   

 เราอาจจะนั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ นั่งบนเก้าอี้ หรือนั่งเหยียดขา เราอาจจะยืนหรือนอนสร้างจังหวะได้เช่นเดียวกัน     

 เมื่อเราเดินจงกรม (เดินกลับไปกลับมาระยะประมาณ ๘ – ๑๒ ก้าว) เราต้องไม่แกว่งแขน เราอาจกอดอกหรือเอามือประสานไว้ข้างหน้า หรือประสานไว้ข้างหลังก็ได้
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤศจิกายน 01, 2010, 04:35:12 pm »

   

   แด่เธอผู้รู้สึกตัว
และเดินทางลัด ของหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ
ประจักษ์ได้ด้วยการรู้ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง
   
   วิธีปฏิบัติการเจริญสติ


   พระพุทธเจ้าทรงสอนให้รู้จักหน้าที่ของเรา หน้าที่ของมนุษย์คือการปฏิบัติธรรม  หน้าที่ของมนุษย์คือการสอนมนุษย์ให้เป็นมนุษย์  ดังนั้นเราจึงควรดูที่ตัวของเราเองก่อน เราควรพิจารณาตัวของเราเองก่อน เราควรสอนตัวของเราเองก่อน ถ้าเราทำชีวิตของเราให้สูญไปโดยไร้ประโยชน์ เราไม่สามารถจะซื้อมันกลับมาได้อีก ถ้าเราปล่อยให้ชีวิตของเราเป็นทุกข์ เราทำชีวิตของเราให้สิ้นเปลือง
   
   พระพุทธเจ้ามิได้ทรงสอนอะไรอื่นนอกจากการดับทุกข์ แต่เมื่อเราไม่รู้เราแสวงหาออกนอกตัวเรา แต่ทุกข์ชนิดนั้นมิได้ดำรงอยู่   คำสอนของผู้เป็นครูของโลกทั้งหลายเปรียบเหมือนกับใบไม้ทั้งป่า แต่ใบไม้ที่สามารถนำมาทำยาได้มีเพียงเล็กน้อย อย่าได้เอามาทั้งหมดทั้งรากและลำต้น เมื่อมาปฏิบัติกรรมฐาน หรือวิปัสสนา เราควรจะเอาเฉพาะสิ่งที่สามารถป้องกันไม่ให้ทุกข์เกิด สามารถดับทุกข์ที่ต้นเหตุของมัน  สามารถทำลายโมหะ เราเอาเฉพาะแก่น 
   
   แก่นของคำสอนที่ข้าพเจ้าพูดถึงอยู่นี้คือ การมีสติ มีปัญญา เห็นความคิด เมื่อความคิดเกิดขึ้น เห็นมัน รู้มันเข้าใจมัน รู้มันในทุกลักษณะที่มันเกิด และรู้ถึงวิธีป้องกันมิให้มันมาลวงเรา     
   
   ไม่ว่าเราจะอยู่ ณ ที่ใด นั่นคือที่ที่เราจะต้องปฏิบัติ ไม่มีใครจะทำแทนเราได้ ไม่ว่าเราจะไปที่ใดเราเป็นบุคคลที่ไป ไม่ว่าเราจะอยู่ที่ใด เราเป็นบุคคลที่อยู่ นั่ง กิน ดื่ม นอนหลับ เราเองเป็นผู้กระทำ ถ้าเราเป็นบุคคลที่รักษาศีลหรือให้ทาน เราสามารถปฏิบัติได้ และถ้าเราเป็นบุคคลที่ไม่เคยกระทำสิ่งเหล่านี้ เราก็สามารถปฏิบัติได้เช่นเดียวกัน การช่วยเหลือบุคคลอื่นนั้นเป็นสิ่งที่ดี แต่ก็ดีในทางโลก ส่วนการปฏิบัติเจริญสติ สมาธิ ปัญญา นั้นดีในทุกๆ ทาง 
   
   ดังนั้นก่อนที่เธอจะสอนผู้อื่นเธอควรจะฝึกฝนตนเองกระทั่งเธอเห็น รู้ และเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งและอย่างแท้จริง เมื่อเธอเห็นจริง รู้จริง และเป็นจริงแล้วเธอจะสามารถสอนผู้อื่นได้อย่างสบาย